รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
19 พฤศจิกายน 2554
 
All Blogs
 
ตำแหน่งที่อยู่ของจิตอยู่ที่ไหน

ตำแหน่งที่อยู่ของจิต หรือ บางท่านจะเรียกว่า ฐานของจิต อยู่ที่ไหน

เรื่องนี้จะต้องพิจารณาจาก 2 อย่างคือ

1. จิต เมื่อ ไม่ตั้งมั่น

ตำแหน่งที่อยู่ของจิตในข้อ 1 นั้น เมื่อจิตไม่ตั้งมั่น จิตจะวิ่งไปวิ่งมาไปยังสัมผัส
ตามอายตนะต่าง ๆ ที่จิตวิ่งไปวิ่งมา จิตจะจับยึดการสัมผัสเพราะเหตุแห่งตัณหาทีมีอยู่มากในจิต
เอง (ซึงหมายความว่า ตัณหา มาก ก็แสดงว่า สัมมาสมาธิ มีน้อย อันเป็นสิ่งที่อยู่ตรงกันข้ามเสมอ )

เมื่อ ตา ไปกระทบกับแสง สี ที่เห็นเป็นภาพ จิตก็จะวิ่งไปที่ประสาทตา
เมื่อ หู ได้ยินเสียง จิตก็จะวิ่งไปที่ ประสาทหู
เมื่อ ลิ้น ได้สัมผัส รส จิตก็จะวิ่งไปที่ ประสาทลิ้น
เมื่อ จมูก ได้สัมผัส กลิ่น จิตก็จะวิ่งไปที่ ประสาทที่จมูก
เมื่อ ร่างกาย ได้สัมผัส จิตก็จะวิ่งไปยังที่สัมผัส เช่น เมื่อคันที่ขา จิตก็จะวิ่งไปยังจุดที่คัน
เมื่อ จิตใจนึกคิด จิตก็จะวิ่งไปยังที่นึกคิด

ท่านจะเห็นว่า จิตที่วิ่งไปวิ่งมา เพราะมีการกระทบสัมผัสตามอายตนะต่างๆ นั้น เพราะจิตไม่มีสัมมาสมาธิ จิตไม่ตั้งมั่น อาการอย่างนี้ นักภาวนาบางท่านจะเรียกว่า จิตไหล หรือ จิตไหลออก หรือ จิตส่งออก

คนที่จิตไหลออก เพราะไม่มีกำลังแห่งสัมมาสมาธิ เขาจะไม่เห็นจิตว่าอยู่ที่ไหนอีกด้วย
แต่เขาจะเข้าใจว่า เขาเป็นคนเห็นภาพ เขาเป็นคนได้ยินเสียง เขาเป็นคนได้กลิ่น เขาเป็นคนได้รสที่ลิ้น เขาได้รับการสัมผัสที่กาย เขาเป็นคนนึกคิด ซึ่งอาการอย่างนี้ ท่านพระอาจารย์พุทธทาสเรียกว่า ตัวกู ของกู หรือ จะเรียกกันว่า อวิชชา ก็ได้ คือ การไม่รู้เห็นความเป็นจริงของธรรมชาติ

2. เมื่อจิตตั้งมั่น

อาการเมื่อจิตตั้งมั่น เกิดจากเหตุที่นักภาวนาได้ฝักสัมมาสติที่ตรงทางอริยมรรค จนเกิดสัมมาสมาธิขึ้น เมื่อเกิดสัมมาสมาธิแล้ว จิตจะตั้งมั่นอยู่ที่ฐานของจิต ไม่วิ่งไปวิ่งมายังอายตนะต่างๆ
คำถามมีว่า แล้ว ฐานของจิตอยู่ที่ใด

ผมอยากจะขอชี้แจงให้ท่านทราบว่า ถ้าท่านยังอยู่ในข้อ 1 คือ จิตยังไม่ตั้งมั่น ท่านจะไม่เห็นจิต แต่เมื่อท่านฝึกสัมมาสติอย่างถูกต้องไปสักระยะหนึ่ง เมื่อจิตเริ่มตั้งมั่น จิตแยกตัวออกมาจากสิ่งที่ถูกรู้ได้เมื่อไร ท่านจะเข้าใจได้ว่า ฐานของจิตอยู่ที่ใด ซึ่งหมายความว่า ท่านยังไม่ต้องไปสนใจมันว่า อยู่ที่ไหน ขอให้ท่านฝึกอย่างถูกต้อง จนจิตแยกตัวออกมาก่อน แล้วท่านจะเข้าใจได้เองเพราะมันจะปรากฏตัวให้ท่านได้เห็นเอง ซึ่งขอให้จิตเขาปรากฏขึ้นให้ท่านเห็นเองตามธรรมชาติของจิตเขาเอง อย่าได้ไปบังคับให้จิตไปอยู่ที่นั่นที่นี่ ตามความอยากในใจท่าน

เมื่อจิตปรากฏตัวให้ท่านสัมผัสได้ใหม่ ๆ จิตจะปรากฏตัวบ้าง หายไปบ้าง ท่านก็อย่าไปทำอะไร ให้เขาปรากฏอยู่เสมอ แต่ขอให้หมั่นฝึกฝนอย่างถูกต้องต่อไปเรื่อย ๆ เพื่อให้สัมมาสมาธิตั้งมั่นมากขึ้น ยิ่งกำลังสัมมาสมาธิตั้งมั่นมากขึ้นเท่าใด จิตก็จะปรากฏตัวให้เห็นได้นานขึ้นเท่านั้น ถ้าสัมมาสมาธิตั้งมั่นสุด ๆ จิตก็จะปรากฏตัวไม่หายไปไหนอีกเลย

เมื่อจิตตั้งมั่นด้วยสัมมาสมาธิ จิตจะตั้งอยู่ที่ฐานของจิตเอง จิตจะไม่วิ่งไปวิ่งมายังอายตนะต่าง ๆ และจิตจะเห็นสิ่งต่าง ๆ ว่า มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา และเห็นอาการไตรลักษณ์ของขันธ์ต่าง ๆ เอง อันเป็นการรู้ความจริงตามวิปัสสนาปัญญา

.....

ผมพยายามชี้ให้ท่านเห็นว่า การฝึกฝนสัมมาสติที่ถูกต้องตรงทางเท่านั้น จึงจะทำให้นักภาวนาเกิดสัมมาสมาธิ จิตจะตั้งมั่น เมื่อจิตตั้งมั่น จิตจะเห็นอาการต่างๆ ของขันธ์ เป็นไตรลักษณ์ได้เอง เมื่อจิตสิ่นสุดตัณหาเมื่อไร จิตเป็นอิสระอย่างแท้จริง ความว่างเปล่าเหลือแต่ธรรมชาติรู้ของจิตจะเผยตัวออก อันเป็นการสิ้่นสุดแห่งอำนาจของอวิชชาในตัวจิต หรือ พระบางรูปเรียกว่า การไม่มีจิต ก็ได้เช่นกัน แต่อาการทั้งหมดนั้นจะเกิดได้เพราะการฝึกฝนสัมมาสติ จนเป็นสัมมาสมาธิ อย่างตรงทางในอริยมรรคเท่านั้น

ความรู้ในธรรมทั้งปวง เกิดจากจิตไปรับรู้เอง เห็นเองทั้งสิ้น ไม่ใช่เกิดจากการคิดใคร่ครวญในสิ่งใดเลย ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นธรรมชาติอยู่แล้ว เพียงแต่นักภาวนาที่จิตยังไม่ตั้งมั่นอย่างที่สุด ไม่อาจเห็นได้ แต่เมื่อจิตตั้งมั่นอย่างที่สุดแล้ว มันก็จะปรากฏให้เห็นได้เอง

ผมอยากจะชี้ให้ท่านเข้าใจอีกประการหนึ่งก็คือ มีคำกล่าวกันในหมู่นักภาวนาว่า จิตหยาบ จิตละเอียด ซึ่งคำกล่าวนี้ ผมแนะนำว่า ท่่านอย่าไปใส่ใจเลย เพราะธรรมชาติของจิต มันอยู่ที่ว่า จิตท่านมีตัณหาอยู่หรือไม่เท่านั้น ถ้าท่านอยากเข้าใจในธรรมอย่างแท้จริง ท่านเพียงฝึกสัมมาสติ สัมมาสมาธิให้จิตตั้งมั่นให้ได้ ซึ่งเมื่้อจิตตั้งมั่นแล้ว ทุกอย่างก็เข้าล๊อคของเขาเอง

การพยายามทำสิ่งใด เพื่อให้จิตละเอียดขึ้นตามทีท่านอยากจะเป็นเพราะได้ยินมาว่า จิตละเอียดจึงจะเห็นธรรมได้ ล้วนเป็นการสร้างตัณหาขึ้นในจิต ยิ่งท่านสร้างตัณหา ท่านก็จะยิ่งห่างจากธรรมมากขึ้น ท่านอย่าลืมว่า มีแต่สัมมาสมาธิที่ทำให้จิตตั้งมั่นเท่านั้นจึงจะชนะอำนาจแห่งตัณหา แล้วธรรมก็จะปรากฏเอง

พระพุทธองค์ทรงสอนว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอจงเจริญสมาธิเถิด เพราะเมื่อจิตตั้งมั่น เธอจักเห็นธรรมตามความเป็นจริง

ปัญหาอยู่ที่ว่า ชาวพุทธชาวไทย ไม่เข้าใจคำสอนของพระพุทธองค์อย่างถ่องแท้ในเรื่องของสัมมาสมาธิ แต่กลับไปฝึกสมาธิแบบฤาษีแทน แล้วเข้าใจว่า นี่คือสมาธิที่พระพุทธองค์ทรงสอน ถ้าท่านเข้าใจสมาธิผิด ท่านก็จะกลายเป็นฤาษีแทนที่จะเป็นผู้หลุดพ้นตามคำสอนในพุทธศาสนา


Create Date : 19 พฤศจิกายน 2554
Last Update : 25 มกราคม 2555 20:28:48 น. 9 comments
Counter : 6421 Pageviews.

 
เลื่อนกิจกรรมครั้งที่ 3 ออกไปก่อนครับ เนื่องจากสถานการณ์น้ำท่วมยังไม่คลี่คลาย
สำหรับวันใหม่ ผมจะประกาศให้ทราบต่อไป


โดย: นมสิการ วันที่: 19 พฤศจิกายน 2554 เวลา:15:21:40 น.  

 
อืม วันนี้เพิ่งตั้งคำถามไปเองค่ะ เพราะสงสัยว่าฐานของจิตอยู่ที่ไหน อยากมีที่ที่ให้จิตยึด มากกว่านั่งตามดูลมเฉยๆ

จากที่อ่านของคุณนมสิการคือ จิตยังไม่ตั้งมั่น
คงหมายถึงยังนั่งสมาธิได้ไม่ดี
ให้นั่งไปเรื่อยๆก่อนนั่งสมาธิไปเรื่อยๆก่อนใช่มั้ยคะ

ขอบคุณสำหรับบทความนะคะ เพิ่งหัดนั่งสมาธิได้ไม่นาน
+กับพยามมีสติในชีวิตประจำวัน แต่เผลอลืมซะส่วนมากค่ะ ^ ^


โดย: อ้วนดีนะ IP: 49.49.131.30 วันที่: 19 พฤศจิกายน 2554 เวลา:17:18:22 น.  

 
การปฏิบัตินั้น อย่าให้จิตยึดสิ่งใด ยึดลมก็ไม่ถูกครับ เพราะมันไม่ใช่สัมมาสติครับ

การฝีกนั้น ถ้าเข้าใจ จะนั่ง จะเดิน จะยืน จะนอน ทำได้ทั้งสิ้น
ไม่ใช่ทำได้แต่ท่านั่งสมาธิ

แนะนำให้คุณอ้วนดีนะ ทำความเข้าใจเรื่องสัมมาสติ สัมมาสมาธิให้ดีก่อน

ถ้าไม่เข้าใจ ฝึกไปก็ผิดครับ


โดย: นมสิการ วันที่: 19 พฤศจิกายน 2554 เวลา:17:51:36 น.  

 
การปฏิบัติทำได้หลายวิธี ยืน เดิน นั่ง นอน. ซึ่งแต่ละครั้งวิถีของจิตจะเหมือนกัน ซึ่งบางครั้งอาจจะเคร่งเกินไป หรือบางครั้งอาจจะหย่อนเกินไป แล้วอะไรล่ะที่จะ ไม่เคร่ง และไม่หย่อน คือ ภาระและความเหนื่อยล้า นั่นเอง. และแต่ละครั้งจะมีความแตกต่างถ้ารู้จักสังเกตุดูว่านั่งแล้วเป็นไงบ้าง มีอะไรที่ก้าวหน้า หรือมีอะไรที่ไม่เกิดขึ้นเลย ลองสังเกตุดู เพราะแต่ละท่านจะแตกต่างกันไป. ท่านนมสิการได้เขียนเล่าบอกนั้น ได้ประโยชน์มากสำหรับเรียนรู้ ซึ่งผมเองก็ได้ประโยชน์ที่ได้เข้ามาอ่านด้วย......และจะติดตามต่อไป


โดย: กินรี IP: 110.169.228.54 วันที่: 19 พฤศจิกายน 2554 เวลา:19:40:56 น.  

 


โดย: Pan (Pan@CA ) วันที่: 19 พฤศจิกายน 2554 เวลา:21:47:03 น.  

 
ขอบคุณค่ะ คุณนมสิการ
เมื่อกี้เข้าไปอ่านเรื่อง สติรู้อารมณ์นั้นเป็นอย่างไร ที่คุณนมสิการเขียนไว้ เราก็ทำคล้ายๆกับแบบนั้นนะ
แต่เราจะแค่บอกตัวเองว่า ณ. ตอนนั้นกำลังทำอะไรอยู๋
เช่นเรากำลังกินข้าว เรากำลังเดิน
คือบอกตัวเองกว้างๆอะ ละก็ลืมไป ลืมนึกถึงเรื่องรู้ตามความรู้สึก อย่างกินข้าวก็ไม่เคยคิดว่า รู้สึกอย่างไรตอนกินข้าว รู้สึกอย่างไรตอนเดิน สมมติมีอารมณ์โกรธเกิดขึ้น
เราก็แค่จะบอกตัวเองว่า อย่าโกรธ อย่าโมโห อย่าโกรธ
อย่าโมโห เพราะรู้ว่าความโกรธมันไม่ดี แต่ไม่เคยคิดว่า นี่กำลังโกรธอยู๋นะ เวลาโกรธแล้วใจหงุดหงิด ไม่สบายใจ
อันนี้ดันลืมคิด สัมมาสติที่คุณนมสิการว่า คือแบบนี้หรือเปล่าคะ




โดย: อ้วนดีนะ IP: 223.204.91.145 วันที่: 20 พฤศจิกายน 2554 เวลา:8:33:22 น.  

 
สัมมาสตินั้น ไม่ใช่เป็นอย่างที่คุณเขียนมาครับ

ถ้าคุณกำลังกินข้าว แล้ั้วบอกตัวเองว่า กำลังกินข้าว นี่ไม่ใช่สัมมาสติ
ถ้าคุณกำลังโกรธ แล้วบอกตัวเองว่า อย่าโกรธ อย่าโกรธ นี่ก็ไม่ใช่สัมมาสติ

อาการสัมมาสตินั้น คือ การรับรู้ความรู้สึกที่เกิดขึ้นเท่านั้น ไม่ต้องพูด ไม่ต้องบอกว่ากำลังทำอะไร เช่นขณะกำลังเคี้ยวอาหารในปาก ก็มีเพียงรับรู้ความรู้สึกถึงการบดเคี้ยว การไหวๆไปมาของปากในขณะที่กำลังเคี้ยว

ในขณะที่โกรธ ก็รู้สึกถึงพลังงานที่มันพลุ่งพล่านภายในจิตใจ

ลองเข้าไปดูใน youtube ที่ผมได้บรรยายเอาไว้เพื่อทำความเข้าใจก่อน ให้เข้าไปหา link ได้ที่ https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=namasikarn&group=8&month=17-10-2010&gblog=142
ให้เลื่อนไปล่าง ๆ


โดย: นมสิการ วันที่: 20 พฤศจิกายน 2554 เวลา:12:43:36 น.  

 
ขอบคุณค่า เข้าไปดูคลิปละค่ะ
แต่ยังดูไม่จบทั้ง 13 ตอน อิอิ
แต่ก็คิดว่าพอจะเข้าใจบ้างเพิ่มมากขึ้นค่ะ
เดี๋ยวไว้ไปดูต่อให้จบค่ะ ^ ^


โดย: อ้วนดีนะ IP: 223.205.20.246 วันที่: 20 พฤศจิกายน 2554 เวลา:20:56:37 น.  

 
ผมจำเป็นต้องปิดการเขียนของท่านผู้อ่าน เนื่องจากกฏหมายอินเตอร์เนท

ท่านที่จะสนทนา หรือ ถามคำถาม ขอให้ส่ง email ถึงผมได้ที่
asknamasikarn@gmail.com

หรือสำหรับสมาชิก pantip จะส่งมาทางหลังไมค์ก็ได้เช่นกัน


โดย: นมสิการ วันที่: 25 มกราคม 2555 เวลา:20:29:16 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.