รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2554
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
9 กรกฏาคม 2554
 
All Blogs
 
อย่างไร คือ ปัญญา - อย่างไร คือ ความฟุ่งซ่าน

เรื่องที่จะเขียนนี้ ขอให้ท่านมือใหม่ทำความเข้าใจให้ดี เพราะนี่คือพื้นฐานทีสมควรเข้าใจให้ถูกต้อง มิฉะนั้น ท่านจะภาวนาไม่ตรงทาง แล้ว ก็จะไปได้ไม่ดีครับ

คำถามมีว่า เมื่อทำจิตให้สงบแล้วจะยกจิตขึ้นวิปัสสนาได้อย่างไร

ขอให้ดูจากภาพ ผมจะอธิบายจากภาพ



1... คำว่า จิตไม่สงบ นั้น ในภาษาพระเรียกว่า จิตมีนิวรณ์ อันมี 5 อย่าง ซึ่งท่านหาอ่านเองได้ใน google แต่คำว่า นิวรณ์ นักภาวนาควรทำความเข้าใจเพิ่มด้วยว่า การเป็นนิวรณ์ได้นั้น จิตรู้(วงกลมสีเหลือง) จะต้องไหลเข้าไปใน .มโน. และผูกยึดแน่นกับอาการต่าง ๆ ของขันธ์ 5 ใน มโน นั้น อย่างนี้จึงจะเป็น นิวรณ์ (ดังภาพด้านบนเหนือเส้นปะ)

เมื่อ จิตรู้ ถูกดึงและยึดติดเข้ากับอาการของขันธ์แล้ว จิตรู้ จะขาดอิสระ และจะตกอยู่ใต้อำนาจของอาการของขันธ์ทันที ซึ่งจะเรียกว่า จิตมีนิวรณ์

เช่น เมื่อนักภาวนาคิดถึงสิ่งใด ก็จะวนเวียนคิดถึงแต่สิ่งนั้นไม่หยุด ครั้นจะหยุดก็หยุดไม่ได้ อย่างนี้ คือ ความฟุ่งซ่าน

2.. ในภาพใต้เส้นปะ อย่างนี้เป็น จิตที่สงบ แล้ว นักภาวนาถ้าเป็นอย่างนี้ ไม่ต้องไปทำอะไรให้จิตมันสงบ เพราะมันสงบอยู่แล้วนั้นเอง ขอให้นักภาวนาดูภาพ ความต่างระหว่างจิตสงบและจิตไม่สงบนั้นอยู่ที่ว่า จิตรู้ (วงกลมสีเหลือง) นั้น แยกตัวเป็นอิสระจากอาการของขันธ์ (อาการของขันธ์ จะปรากฏตัวขึ้นใน มโน )

เมื่อ จิตรู้ แยกตัวออกจากอาการของขันธ์ จิตรู้จะเห็นอาการของขันธ์ เป็นสิ่งหนี่งที่ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของเรา และจิตรู้จะไม่เป็นทุกข์กับอาการของขันธ์นั้นเลย เรียกอาการอย่างนี้ว่า จิตกำลังเจริญปัญญา

3..นักภาวนาจะรู้ได้อย่างไรว่า จิตรู้ แยกตัวออกมาจากอาการของขันธ์หรือว่ารวมตัวเกาะยึดติดกับอาการของขันธ์

AA ถ้า จิตรู้หรือจิตสงบอยู่ แยกตัวออกมาจากอาการของขันธ์นั้น มีอาการดังนี้
AA.1 จิตรู้จะ**เห็น**อาการของขันธ์ เป็นอีกสิ่งหนึ่งต่างหาก นักภาวนาจะเห็นอย่างนี้ได้จริง ๆ
AA.2 จิตรู้จะไม่เป็นทุกข์เพราะอาการของขันธ์นั้น ทำให้นักภาวนาไม่เป็นทุกข์ไปกับอาการของขันธ์นั้น

BB แต่ถ้าจิตรู้รวมตัวเกาะยึดติดกับอาการของขันธ์ จะมีอาการดังนี้
BB.1 จิตรู้จะ**ไม่เห็น**อาการของขันธ์ แต่จะเพียงรู้ว่ามีอาการดังกล่าวเกิดขึ้น (** นีคือความต่าง เห็นและไม่เห็น )
BB.2 นักภาวนาจะเป็นทุกข์ไปกับอาการของขันธ์นั้น


4..ท่านนักภาวนาครับ ถ้าท่านภาวนาได้ดี จิตสงบและเกิดปัญญา.เห็น.อาการของขันธ์เองแล้ว นี้คือการเจริญปัญญาอันเป็นวิปัสสนาแล้วครับ เมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้น ปล่อยให้จิตรู้เขาเจริญวิปัสสนาไปเองตามธรรมชาติของเขา อย่าไปยุ่งกับเขาเลย

แต่ว่า ถ้าท่านยังภาวนาไม่ได้ดี จิตรู้ถูกดูดเข้าไปเกาะติดกับอาการของขันธ์เมื่อไร (อย่างนี้คือ จิตมีนิวรณ์) อย่างนี้ซิครับ ท่านสมควรจะหยุดอาการของขันธ์นั้นโดยเร็วที่สุด หรือ ไปทำจิตให้สงบ ส่วนจะหยุดอาการของขันธ์อย่างไร จะทำจิตให้สงบอย่างไร นั้นก็แล้วแต่เทคนิคของแต่ละท่านเอง

5..จุดที่ผมจะชี้ให้เห็นให้เข้าใจในการปฏิบัติก็คือ

5.1 จิตถ้าสงบอยู่แล้วดังข้อ 2 ท่านนักภาวนาอย่าไปทำอะไรให้จิตสงบอีก เพราะถ้าไปทำ นี่จะกลายเป็นว่า จิตกำลังดีอยู่แล้วกลับทำให้จิตไม่สงบ นะครับ

5.2 การเจริญวิปัสสนานั้น จิตจะเจริญของเขาเอง นักภาวนาไม่มีทางทำให้จิตเจริญวิปัสสนาได้ครับ นักภาวนาเพียงแต่หัดเจริญสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ที่ถูกต้องเท่านั้น ฝึกให้มาก ๆ ฝึกบ่อย ๆ ให้ชำนาญ พอชำนาญจนจิตจะตั้งมั่น เมื่อเกิดอาการของขันธ์ขึ้น จิตเขาจะตั้งมั่นแล้วจะเจริญวิปัสสนาของเขาเอง (ซึ่งก็คือ จิตเห็นอาการของขันธ์ว่า ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา )

5.3 ท่านนักภาวนาสมควรทำความเข้าใจกับคำว่า

*** อาการอย่างไร คือ นิวรณ์ อาการอย่างไร คือไม่ใช่นิวรณ์ ***

เมื่ออาการของขันธ์เกิดขึ้น ท่านจะได้รู้ว่า สมควรหยุดอาการของขันธ์หรือไม่
เพราะถ้าท่านไม่เข้าใจ ท่านจะคิดเองว่า อาการของขันธ์ทุกอย่างคือนิวรณ์ ถ้าท่านเข้าใจอย่างนี้ ท่านจะไปสกัดอาการของขันธ์ แล้ว เจริญแต่จิตสงบ ถ้าเป็นอย่างนี้ ท่านจะไม่มีปัญญาแบบพุทธศาสนาเลยครับ แล้วท่านจะหลุดพ้นจากกองทุกข์ไม่ได้เลย

6..ผลแห่งปัญญาที่จิต.เห็น.อาการของขันธ์ อันเป็นวิปัสสนาปัญญานั้น จะส่งผลให้จิตมีพลังมากขึ้นและเป็นอิสระมากขึ้นและยากมากขึ้นที่จะไหลเข้าไปรวมตัวกับกิเลสต่าง ๆ

นี่คือการตัดกิเลสแบบพุทธ ที่มาจากการเห็นกิเลส แล้วจิตไม่จับยึดกับกิเลสเอง
ไม่ใช่ไปสกัดไม่ให้กิเลสเกิดขึ้นนะครับ ขอให้นักภาวนาทำความเข้าใจในเรื่องนี้ให้ดี จะได้เดินได้ถูกทาง ไม่หลงไปกับหลักการจิตสงบแบบฤาษี อันไม่ใช่หนทางแห่งพุทธศาสนา

Update 8 Feb 2014

อาการทีพบในขณะปฏิบัติจริง

A...ถ้าเป็นปัญญา เวลาเกิดความคิดขึ้น ความคิดจะมีลักษณะเพียงแว๊บสั้น ๆ เพียง 1 วินาทีหรือสั้นกว่า 1 วินาที แล้วหายไป พอความคิดอย่างนี้เกิด จะเป็นปัญญา แต่ผลของปัญญานี้จะมี 2 อย่างตามมาคือ

1..จิตรู้ไตรลักษณ์ของความคิด
2..มีการแปลความคิดออกมาเป็นภาษาทางโลก ทำให้เข้่าใจธรรมได้กระจ่างมากขึ้น อย่างทีเกิดกับผม คือ เข้าใจสมมุติ ปรมัตถ อย่างแจ่มแจ้ง แต่อาการในข้อ 2 นี้ ไม่แน่ว่าจะเกิดได้ทุกครั้ง แต่ข้อ 1 เกิดทุกครั้งเสมอ
3..จิตจะเฉยๆ เป็นอุเบกขาเสมอ ไม่สุข ไม่ทุกข์

B...ทีนี้สิ่งตรงข้ามเป็นฟุ่งซ่านคือ
1..ความคิดเกิดนาน ไม่ยอมดับ เรื่องแรกหยุดไป ก็จะต่อเรื่องที 2 หรือ ต่อไปอีกเรื่อยๆ 2..ถ้าคิดเรื่องเป็นทุกข์ ก็จะทุกข์ ถ้าคิดเรื่องเป็นสุข ก็จะสุข แต่ถ้าเป็นปัญญา จิตจะไม่สุขไม่ทุกข์ จิตจะเฉยๆ เท่านั้น


Create Date : 09 กรกฎาคม 2554
Last Update : 8 กุมภาพันธ์ 2557 6:14:51 น. 4 comments
Counter : 1240 Pageviews.

 
Saa... Thu...

_/\\_


โดย: Pan IP: 71.204.171.183 วันที่: 9 กรกฎาคม 2554 เวลา:10:35:19 น.  

 
ขอบคุณคะ่สำหรับทางลัด ธรรมมะกับธรรมชาติคือเรื่องเดียวกันคะ่


โดย: prawitpal@hotmail.com IP: 124.121.167.213 วันที่: 9 กรกฎาคม 2554 เวลา:11:35:00 น.  

 
สาธุุ. แจ่มแจ้งค่ะ


โดย: จิตติ IP: 124.121.189.119 วันที่: 9 กรกฎาคม 2554 เวลา:16:43:17 น.  

 
อนุโมทนาสาธุคะ


โดย: Nim IP: 110.169.143.57 วันที่: 11 กรกฎาคม 2554 เวลา:19:52:48 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.