รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2554
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
19 ธันวาคม 2554
 
All Blogs
 
คนที่ไม่เข้าใจลักษณะอาการของสัมมาสติ ฝึกอย่างไรก็ไมเข้าองค์มรรค

หัวใจแห่งการฝึกฝนนั้น นักภาวนาต้องทำความรู้จักกับคำว่า สัมมาสติ เสียก่อน
เพราะนี่คือหัวใจ ถ้าเข้าใจไม่ตรง ฝึกอย่างไร ก็ไม่เข้า(สัมมา)มรรคได้เลย

ผมอยู่ในวงการภาวนามานานร่วม 20 ปี อ่านหนังสือธรรมปฏิบัติ ฟังซีดีมาก็มาก
ในความเห็นของผม อาจารย์ที่สอนตรงจำนวนมาก (อาจารย์ที่สอนไม่ตรงก็มี
แต่ผมจะไม่เลยไปถึงท่านเหล่านั้น) ต่างสอนตรงกันว่า การปฏิบัติที่สำคัญคือการมีสติ
ทำอะไรให้มีสติ ท่านเหล่านั้น สอนตรงครับ แต่ที่ปัญหาตามมา คือ คนฟังไม่เข้าใจว่า
ลักษณะอาการแห่งสตินี่เป็นอย่างไร เมื่อไม่เข้าใจ ก็ไม่มีทางเดินได้ตรง

ท่านลองเข้าไปค้นใน google ก็ได้ จะเห็นว่า คำว่า สติ หรือ สัมมาสติ
มีคำอธิบายด้วย ท่านลองคุยกับเพื่อน ๆ สัก 5 คนดุครับว่า สิ่งที่ท่านและเพื่อ่น
อ่านกันใน google นั้น เข้าใจตรงกันหมดทุกคนหรือไม่

สติ นั้นเข้าใจยาก เพราะมันเป็นคำสมมุติที่แทนลักษณะอาการอย่างหนึ่ง
ที่เป็นปรมัตถ์ธรรม ถ้าคำสมมุติไม่อธิบายไว้ชัด คนอ่านจะไม่มีทางเข้าใจได้ตรงกันเลย

สัมมาสติ ต่างจาก สติทางโลก ด้วยครับ ต้องแยกแยะให้ออก มิฉะนั้น
การปฏิบัติก็จะเป๋อีกเช่นกัน

1..สติทางโลก
คำ ๆ นี้ ไม่ค่อยมีคนพูุดกัน มักพูดกันแค่ว่า สติ เท่านั้น แต่ผมต้องการแยกแยะให้ท่านเห็นต่างระหว่าง สติทางโลก และ สัมมาสติ จึงเรียก สติทางโลก ขึ้นมา
ผมยกตัวอย่าง สติทางโลก ให้ท่านเห็น

- ถ้าท่านขับรถ ท่านขับด้วยความระมัดระวัง ไม่ให้เกิดอุุบัติเหตุ ท่านต้องมีสติทางโลก
จึงจะขับอย่างนี้ได้
- เวลาทีท่านรีดผ้า ท่านต้องมีสติทางโลก มิฉะนั้น ท่านจะรีดผ้าไม่ได้
- เวลาท่านฟังครูสอนหนังสือ ท่านต้องมีสติทางโลก ฟังครูสอน มิฉะนั้น ท่านจะฟังครูุไม่รู้เรื่อง
และ อื่น ๆ

ท่านจะเห็นว่า สติทางโลก คือ สิ่งพื้น ๆ ที่คนทั่ว ๆ ไปกระทำในชีวิตประจำวันนั้นเอง
ขอให้ท่านลองพิจารณาดูเองว่า สติทางโลก มีอาการอย่างไร ท่านคงรูุ้จักมันดีกันแล้ว

สิ่งทีท่านมี สติทางโลก มันจะไม่ใช่ สัมมาสติ ครับ ดังนั้น คนที่มีสติทางโลก จะทำอะไร
ก็ตาม จะไม่มีทางเข้าถึงธรรมได้เลย ถ้าเขาขาดสัมมาสติ

2..สัมมาสติ

คำ ๆ นี้เป็นคำสมมุติ อธิบายอยู่ใน มรรค 8 ในอริยสัจจ์ข้อที่ 4 ท่านลองไปอ่านดู ผมรับประกันว่า ท่านก็จะไม่เข้าใจอยู่ดีว่า สัมมาสติ นี่เป็นอย่างไรกัน ต่างจากสติทางโลกอย่างไร
(ท่านต้องหาความต่างให้พบ ระหว่าง สติทางโลก และ สัมมาสติ จึงจะเข้าใจได้ชัด )

ในแง่การปฏิบัตินั้น ผมจะสรุป อาการของ สัมมาสติ ให้ท่านเห็น

2.1 สัมมาสติ เป็นองค์ธรรมด้านกุศล (ภาษาธรรมจะเรียกว่า โสภณจิต หรือ โสภณเจตสิก) ดังนั้น องค์ธรรมด้านอกุศล ต้องไม่มีในขณะที่มีสัมมาสติ
พูด ๆ ก็คือ ขณะมีสัมมาสติ จิตท่านต้องไม่มี กิเลส ตัณหา เจืออยู่ด้วยในขณะนั้น

ท่านที่ภาวนาด้วยความอยาก เช่น ต้องการรู้ลมที่ปลายจมูก หรือ ต้องการรู้เท้าที่กำลังกระทบพื่นหรือ ต้องการรู้มือที่กำลังเคลื่อน หรือ ต้องการรู้ท้องที่กำลังไหว นี่คือความอยาก อันเป็นตัณหา
ดังนั้น ถ้าท่านต้องการรู้ มันก็ไม่ใช่สัมมาสติ เพราะจิตเจือด้วยกิเลส ตัณหา

ทีนี้ ท่านจะภาวนาอย่างไร ให้เป็นโสภณจิต หรือ โสภณเจตสิก ท่านต้องภาวนาแบบไร้ความอยาก แต่ต้องให้จิตเขาไปรับรู้เอง ที่ผมกล่าวไว้ในกฏ 3 ข้อ
ที่จิตรับรู้ได้เอง นี่นักภาวนาต้องไม่มีความอยากที่จะรู้ ที่จิตรับรู้ได้เอง เพราะจิตเขาทำหน้าที่นี้อยู่แล้วโดยธรรมชาติของเขาเอง

2.2 สัมมาสติ ที่ระลึกรู้นั้น จะเป็นว่า จิตให้ระลึกรู้สภาวะของ ปรมัถต์ธรรมของกายและใจ
ปรมัตถ์ธรรมของกายและใจ มีอะไรบ้าง

รู้ว่ามีการกระทบเกิดขึ้น เช่น ตามองเห็นได้ หูุได้ยินเสียงได้ กายรู้สึกถึงได้ จมูกได้กลิ่นได้
ลิ้นได้รู้รสได้ จิตใจรู้สึกได้ถึงอาการของจิตใจ

ท่านจะเห็นว่า การระลึกรู้แบบสัมมาสติ นั้นจะเป็นการระลึกรู้พร้อมกันในหลาย ๆ การกระทบตามระบบประสาท ถึงแม้ว่า ตำราจะบอกว่า จิตรับรู้ได้คราวละอย่างเดียวก็ตาม ซึ่งท่านสามารถพิสูจน์ด้ด้วยตัวเองได้ทันทีว่า ท่านสามารถรับรู้ได้พร้อม ๆ กันหลาย ๆ อย่างหรือไม่
ท่านลองเพียงรุ้สึกตัวธรรมดา เอาขนมกรอบ ๆ มาเคี้ยวเล่น เอาพัดลมมาเป่าให้ถูกร่างกาย เปิดวิทยุฟังไปด้วย ตาก็อ่าน blog ผมไปด้วย ท่านรู้สึกได้หลาย ๆ พร้อม ๆ กันได้จริงไหมครับ
อนึ่ง ในตำรามีการสอนถึงว่า ให้รู้ด้วยสิ่งทีรู้ได้มันคืออะไร ซึ่งในการปฏิบัติ ไม่จำเป็นต้องไปรู้ถึงขนาดนั้น แต่จะรู้ถึงก็ได้ ไม่ผิดครับ แต่ไม่จำเป็นครับ

***
เทีบบเคียงอริยสัจจ์ 4

การรู้ปรมัตถ์ธรรมของกายและใจ นี่คือการรู้ทุกข์ในอริยสัจจ์ 4 ข้อที่ 1
การรู้ด้วยไร้ความอยาก คือ การละตัณหา อันเป็นอริยสัจจ์ 4 ข้อที่ 2

เขียนไปเขียนมา ต้องเข้าสู่อริยสัจจ์ 4 ได้โดยไม่ขัดกัน จึงจะใช้ได้ครับ


****
ทีนี้ ท่านต้องลองคิดเองแล้วละว่า สติทางโลกและสัมมาสตินั้นต่างกันตรงไหน

ถ้าท่านเข้าใจในความต่างแล้ว..
เวลาท่านทำงาน หรือ อยู่ในชีวิตประจำวัน ท่านจะมีทั้งสติทางโลกและสัมมาสติพร้อมกันไปในตัว
ได้หรือไม่

ถ้าท่านมองไม่ออก และมีเพียงสติทางโลกอย่างเดียว ท่านก็จะไม่มีทางเข้าสู่เส้นทางธรรมได้เลย
แต่ถ้าท่านมีแต่สัมมาสติ ท่านก็จะไม่สามารถทำงานอยู่ในโลกนี้ได้เช่นกัน มันเป็นไปไม่ได้เลย
ที่นักภาวนาที่รู้่ธรรมจะไม่ทำอะไรอยู่ในโลกใบนี้ อย่างน้อย ๆ ก็จะยังมีการกิน มีการขับถ่าย
มีการใส่เลืื้อผ้า มีการพูดคุยกับคนอื่น ๆ ซึ่งเป็นเรื่องทางโลกทั้งสิ้น

****
การเห็นธรรม แล้วจะเข้าใจในธรรม

สติทางโลก พอกระทำแล้ว จิตใจมีการสั่นไหว มีการปรุงแต่งอยู่เสมอ ๆ เช่น แค่เคี้ยวพริกขี้หนูเข้าปากเท่านั้น ท่านก็รู้สึกอะไรได้หลายๆ อย่างแล้ว เพียงท่านมีสัมมาสติ รับรู้ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการเคี้ยวพริกขี้หนู่นั้น เพียงเท่านี้ ท่านก็กำลังปฏิบัติธรรมแล้วครับ เพราะท่านกำลังมีสัมมาสติ ระลึกสภาวะของกายหรือใจอยู่

ถ้าท่านสัมมาสติท่านเจ๋งพอ ท่านจะเห็นการระลึกรู้ถึงความรู้สึกนี้ นี่คือท่านเห็นธรรมแล้วในระดับหนึ่ง ถ้าท่านเห็นธรรมแบบนี้ได้เนือง ๆ การภาวนาของท่านก็จะมีแต่ความก้าวหน้าอยู่เสมอ ๆ
แล้วปัญญาในทางธรรมของท่านก็จะเพิ่มพูลมากขึ้น มากขึ้น....







Create Date : 19 ธันวาคม 2554
Last Update : 25 มกราคม 2555 20:20:23 น. 9 comments
Counter : 1304 Pageviews.

 
สาธุ


โดย: เสือสุมตรา IP: 101.108.65.206 วันที่: 20 ธันวาคม 2554 เวลา:20:58:22 น.  

 
อนุโมทนา และขอบคุณมากคะ


โดย: Nim IP: 124.122.44.135 วันที่: 22 ธันวาคม 2554 เวลา:19:19:39 น.  

 
บล็อกสวยครับ. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .


โดย: Leonado (taweeporn2011 ) วันที่: 24 ธันวาคม 2554 เวลา:22:12:27 น.  

 
อาจารย์คะ

คนธรรมดาปกติ เวลาจะเริ่มต้นปฏิบัติ
เขาก็จะต้องมีความอยากเป็นแรงขับ
ถ้าไม่อยากก็คงไม่ออกมาศึกษา ไม่ออกมาปฏิบัติธรรม

เช่น อยากหลุดพ้น อยากได้มรรคผลนิพาน อยากออกไปจากสังสารวัฏ
คงต้องอยากอะไรซักอย่างหนึ่งอยู่แล้ว

แต่ว่าพอถึงตอนท้ายเราจะต้องปล่อยวางหมดทุกอย่าง
คือแบบพระอรหันต์ ที่มีเพียงกิริยา


ตอนเริ่มต้นกับตอนท้ายมันจะมาเจอกันได้ยังไงหรอคะ




โดย: อาณาจักรสีเขียว วันที่: 25 ธันวาคม 2554 เวลา:13:42:40 น.  

 
คุณเข้าใจถูกแล้ว เริ่มต้นต้องมีความอยากก่อน แต่ตอนฝึกฝน ต้องฝึกแบบไม่ให้มีความอยากครับ

อันความอยากนั้น มันมีอยู่ในคนเราอยู่แล้ว แต่ว่า เราไม่เห็นมันเท่านั้นเอง
เราฝึกเพื่อต้องการจะเห็นความอยากนี้

การฝึกฝนทีไร้ความอยากนั้น และต้องฝึกให้ถูกวิธีด้วย คือ ถึงไร้ความอยาก แต่ต้องฝึกรู้ปรมัตถ์ของกายใจด้วย เมื่อฝึกไปแบบนี้ จะเพิ่มกำลังสัมมาสติขึ้นมาครับ นี่คือ ขั้นตอนการฝึกฝน

ทีนี้ ในชีวิตจริง คนเรามีความอยากเป็นทุุนเดิมอยู่ แต่อาศัยกำลังแห่งสัมมาสติในระหว่างฝึกฝนที่ผ่านมา ถ้ากำลังสัมมาสติมีมากพอ นักภาวนาจะเห็นความอยากมันแว๊บขึ้นมาในชีวิตจริงที่ไม่ใช่ตอนฝึก เมื่อเขาเห็นก็จะเกิดปัญญา พอเกิดปัญญา กำลังสัมมาสติก็จะยิ่งมีกำลังมากขึ้นเพราะปัญญาที่เกิดนั้น ทำให้เขาจะเห็นสภาวะธรรมต่าง ๆ ได้มากขึ้น พอเห็นสภาวะธรรมต่าง ๆ ได้มากขึ้น ปัญญาก็ยิ่งมากขึ้นเพราะเห็นได้มากขึ้น พอปัญญายิ่งมากขึ้น สัมมาสติก็ยิ่งมากขึ้น มันจะเสริมกันแบบนี้ไปมาเป็นทอด ๆ เสริมไปเสริมมา

พอกำลังสัมมาสติมากขึ้น ก็จะเกิดปัญญาญาณ ญาณเห็นจิต พอเห็นจิตตัวเองได้ ก็จะเห็นความไม่เทียงของจิต พอเห็นความไม่เที่ยงของจิต ก็จะรู้แจ้งในอริยสัจจ์ 4 หมดสงสัยในธรรมทั้งปวง


โดย: นมสิการ วันที่: 25 ธันวาคม 2554 เวลา:18:16:32 น.  

 
ขอบพระคุณมากคะ


โดย: อาณาจักรสีเขียว วันที่: 26 ธันวาคม 2554 เวลา:14:22:58 น.  

 
อนุโมทนา สาธุ คะ


โดย: sugasy IP: 49.129.51.149 วันที่: 27 ธันวาคม 2554 เวลา:11:10:41 น.  

 
สาธุครับ อาจารย์มนสิการ

-----------------------------

ผมขอสนับสนุนความเห็นของอาจารย์ว่า คนเราสามารถรับรู้ความรู้สึกได้หลายๆอย่าง พร้อมกันในเวลาเดียวกัน

-----------------------------

ในตำรา ท่านกล่าวว่า จิตรับรู้ได้ทีละอย่าง หมายความว่า

เวลาเรามีความสุข เราจะไม่รับรู้ความทุกข์ หรือเวลาเราดีใจ เราจะไม่รับรู้ความเสียใจ หรือเวลาเราโกรธ เราจะไม่รับรู้ความเมตตา หรือเวลาเรามีความเมตตา ความโกรธก็จะหายไป แบบนี้เป็นต้น

-----------------------------------

ตัวอย่างของคนที่สามารถรับรู้ความรู้สึกทางอายตนะทั้ง 6 อย่าง ได้พร้อมกันในเวลาเดียวกัน ได้แก่

นักดนตรีที่กำลังบรรเลงเพลงอยู่ในวงออเคสตร้า ในขณะที่เขากำลังบรรเลงเพลงอยู่นั้น

สายตาของเขาอ่านตัวโน้ต และมองดูวิทยากรที่กำลังให้จังหวะเพลงอยู่หน้าเวที

มือของเขาบังคับเครื่องดนตรีให้ทำเสียงโด - เร - มี ไปตามตัวโน้ตที่เขามองเห็น

หูของนักดนตรี ทำหน้าที่ ฟังเสียงเพลงจากเครื่องดนตรีของตนเองและของเพื่อนๆในวง

ปากของนักดนตรี ทำหน้าที่เป่า ลมแรง - ลมเบา ไปตามทำนองเพลง

จมูกของนักดนตรี ทำหน้าที่สูดลมเข้า - ออก เร็วบ้างช้าบ้าง ไปตามจังหวะของเพลง

ลิ้นของนักดนตรีทำหน้าที่ บังคับลมให้ไหลออกมา สั้นบ้างยาวบ้าง ตามจังหวะเพลง

ในจิตใจของนักดนตรี จะกำหนดความเร็ว - ช้า ของเสียงเพลง ให้เป็นไปตามจังหวะเพลงที่วิทยากรกำลังควบคุมอยู่หน้าเวที และถ่ายทอดอารมณ์เพลง ให้เป็นไปตามที่นักประพันธ์ได้แต่งเพลงนั้นๆขึ้นมา


ทั้งหมดนี้จะเห็นได้ว่า จิตของนักดนตรีสามารถรับรู้อายตนะทั้ง 6 อย่างได้ในเวลาเดียวกัน และนักดนตรีแต่ละคน ยังสามารถรู้จังหวะเพลงได้พร้อมเพรียงกันทุกคน เวลาหยุดเพลงก็หยุดได้พร้อมกัน เวลาเล่นเพลง ก็เริ่มเล่นได้พร้อมกัน ไม่มีความผิดพลาด


การที่คนส่วนมากไม่สามารถรับรู้อายตนะทั้ง 6 อย่างได้พร้อมกันในเวลาเดียวกัน เป็นเพราะว่า เขาขาดการฝึกฝนมาอย่างเพียงพอ ไม่ใช่เป็นเพราะจิตรับรู้ได้ทีละอย่าง ตามที่ได้ตีความจากตำรามาแบบผิดๆ






โดย: พญาไท IP: 118.172.249.82 วันที่: 11 มกราคม 2555 เวลา:9:21:29 น.  

 
ผมจำเป็นต้องปิดการเขียนของท่านผู้อ่าน เนื่องจากกฏหมายอินเตอร์เนท

ท่านที่จะสนทนา หรือ ถามคำถาม ขอให้ส่ง email ถึงผมได้ที่
asknamasikarn@gmail.com

หรือสำหรับสมาชิก pantip จะส่งมาทางหลังไมค์ก็ได้เช่นกัน


โดย: นมสิการ วันที่: 25 มกราคม 2555 เวลา:20:20:53 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.