รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ **กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผม ทาง e-wallet ครับ** **ผมขอสงวนสิทธิการเป็นเจ้าบ้านของ blog ลบข้อเขียนใดๆ ก็ได้ใน blog นี้ตามที่ผมเห็นสมควร**
Group Blog
 
<<
กันยายน 2554
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
24 กันยายน 2554
 
All Blogs
 
ฝึกกายานุปัสสนาอย่างเดียว จะรู้แจ้งแทงตลอดในธรรมได้จริงหรือไม่

ท่านผู้อ่านที่ติดตามอ่านเรื่องที่ผมเขียน จะเห็นว่า ผมเน้นแต่การฝึกกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน โดยผมไม่พูดถึงการฝึก เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน และ ไม่พูดถึงวิธีฝึก จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ไว้เลย

แล้วการฝึกแต่กายานุปัสสนาสติปัฏฐานเพียงอย่างเดียว จะทำให้รู้แจ้งแทงตลอดในธรรมได้จริง ๆ หรือไม่ ในเมื่อสติปัฏฐาน 4 ก็มีการกล่าวถึง 4 ฐานใหญ่ ที่เรียกโดยย่อว่า กาย เวทนา จิต ธรรม

ท่านที่สงสัยแบบนี้ เป็นเรื่องปรกติ ซึ่งแต่ก่อน ผมก็เคยสงสัยแบบนี้เหมือนกัน

ท่านที่สงสัย เป็นเพราะว่า ความคุ้นเคยทางโลก ที่แยกแยะเป็นเรื่อง ๆ เฉพาะ ๆ ไป
และคำสอนการฝึกที่มีอยู่กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันว่า การทำสมาธิ คือ การฝึกเจาะจงรู้เพียงอย่างเดียวอย่างแนบแน่น เช่น เมื่อฝึกเพื่อจะรู้ลมหายใจ ก็จะรู้แต่ลมหายใจอย่างเดียว ไม่ต้องไปรู้อย่างอื่นเลย นี่คือสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดความสงสัยอย่างนี้ขึ้นมาได้

ถ้าท่านเปิดพระไตรปิฏกเรื่่องสติปัฏฐาน 4 สูตร ( //www.bloggang.com/viewdiary.php?id=namasikarn&month=09-2009&date=01&group=4&gblog=3 )ซึ่งในพระสูตรได้กล่าวถึงหัวใจหลักของการฝึกสติปัฏฐานไว้ว่า อาตาปี สัมปชาโน สติมา ซึ่งแปลว่า มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ

ในธรรมชาติที่เป็นความจริงของจิตใจ เมื่อท่านกำลังอยู่ในสภาวะแห่งการมีสัมปชัญญะ มีสติ พร้อมอยู่ การรู้ถึงฐานทั้ง 4 ของสติปัฏฐาน กาย เวทนา จิต ธรรม จะปรากฏขึ้นให้ท่านได้สัมผัสได้ทันทีทั้ง 4 ฐานพร้อม ๆ กัน

ไม่ใช่ว่า สภาวะธรรมจะปรากฏขึ้นทีละฐานแล้วแต่ท่านจะเลือกรู้ เช่น ท่านฝึกกายานุปัสสนา ท่านก็รู้เพียงกาย ท่านฝึกเวทนานุปัสสนา ท่านก็รู้เพียงเวทนา ท่านฝึกจิตตานุปัสสนา ท่านก็รู้เพียงจิต มันไม่ใช่อย่างน้้นเลยครับ

ถ้าท่านฝึกแล้วเลือกรู้ในฐานตามที่ท่านกำลังต้องการจะรู้ ท่านทำได้ครับ แต่มันเป็นเพียงครึ่งหนึ่งของสติปัฏฐาน 4 คือเป็นเพียง สมถะภาวนา ที่ไม่่ใช่สติปัฏฐาน 4 เต็มใบ ที่จะต้องมีทั้งสมถะและวิปัสสนาพร้อม ๆ กันไปในคราวเดียวกัน

ขอให้ท่านสังเกตตัวเองดูก็ได้ ในยามที่ท่านเพียงรู้สึกตัวที่เป็นธรรมชาติอยู่ ตาท่านก็มองเห็นได้ใช่ใหม ขณะเดียวกัน หูุท่านก็ได้ยินเสียงได้อยู่ใช่ใหม ในขณะเดียวกัน ถ้ามีลมพัดมาโดนร่างกายท่าน ท่านก็จะรู้สึกได้ถึงการสัมผัสได้ใช่ไหม ถ้าท่านกำลังรับประทานอาหารอยู่ ท่านยังสามารรับรู้รสอาหารได้อีกใช่ใหม และถ้าอาหารอร่อย ท่านก็ยังรับรู้ได้ถึงความอร่อยได้ใช่ใหม นี่เป็นการพิสูจน์ที่ดีถึงการรับรู้สภาวะที่เกิดพร้อม ๆ กันในยามที่ท่านเพียงมีความรู้สึกตัวที่เป็นธรรมชาติอยู่ในชีวิตประจำวัน นี่แหละครับ คือการเจริญสติปัฏฐาน ที่เป็นการเจริญตามพระไตรปิฏกที่ว่า อาตาปี สัมปชาโน สติมา และ รู้สภาวะได้พร้อม ๆ กันหลาย ๆ อย่างที่เลือกรับรู้ไม่ได้เลย

ท่านอาจโต้แย้งผมที่ว่า สิ่งที่ผมเขียนข้างบน ใคร ๆ ก็รู้อยู่แล้ว ถ้าเป็นสติปัฏฐานอยู่แล้ว แต่ทำไมถึงไม่เห็นธรรมอย่างแท้จริง

ที่เป็นอย่างนี้ เพราะว่า อาตาปี สัมปชาโน สติมา ของท่านมันไม่ต่อเนื่องอย่างเต็มที่ครับ
และอีกเหตุผลหนึ่งก็คือ ปรกติ คนทั่ว ๆ ไป มักมีความคิดและความอยากในจิตใจ ทำอะไรก็ทำด้วยความคิดและความอยาก ทำให้คนไม่สามารถเข้าถึงธรรมได้อย่างแท้จริง

การฝึกฝนสติปัฏฐาน 4 นั้น ที่สำคัญคือ อาตาปี สัมปชาโน สติมา นี่คือสิ่งที่ต้องมีอยู่เนือง ๆ ส่วนกายานุปัสสนานั้นเป็นเพียงเครื่องมือที่นำมาใช้ประกอบกับ อาตาปี สัมปชาโน สติมา เพื่อให้เกิดสัมมาสติ สัมมาสมาธิทีตั้งมั่น เมื่อสัมมาสมาธิตั้งมั่นแล้ว ท่านก็จะรู้เห็นธรรมได้อย่างแท้จริง

ท่านจะเห็นว่า ผูุ้ที่เข้าใจเรื่องการฝึกกายานุปัสสนาสติปัฏฐานนั้น เขาใช้กายเป็นเครื่องมือเพื่อเพิ่มกำลังจิต คือ สัมมาสติ สัมมาสมาธิที่ตั้งมั่น ไม่ใช่เป็นการรู้กายล้วน ๆ เพียงอย่างเดียว ซึ่งคนส่วนมาก มักเข้าใจว่า กายานุปัสสนา นั้นคือ การฝึกรู้กายล้วน ๆ เพียงอย่างเดียว

ขอให้ท่านลองอ่านทบทวนในเรื่องนี้ และทำความเข้าใจในจุดมุ่งหมายแห่งสติปัฏฐาน 4 ให้ดีว่า การฝึกฝนสติปัฏฐาน 4 นั้น ต้องการอะไร เพื่ออะไร แล้วผลจึงจะออกมาให้ท่านเห็นธรรมได้รู้แจ้งแทงตลอด

ถ้าท่านยังมีข้อสงสัยอยู่ ผมแนะนำให้ท่านเข้าร่วมกิจกรรมครั้งที่ 3 วันที่ 20 พฤศจิกายน 2554
ท่านสามารถเข้าไปอ่านได้ที่
//www.bloggang.com/viewdiary.php?id=namasikarn&month=09-2011&date=18&group=14&gblog=6

หมายเหตุ
1..การรู้ของจิตนั้น ในตำรากล่าวไว้ว่า จิตรู้ได้ครั้งละอย่าง แต่ในการฝึกฝนนั้น นักภาวนาสามารถรู้ได้พร้อม ๆ หลาย ๆ อย่าาง กล่าวคือ ตาก็มองเห็น หูก็ได้ยิน จมูกก็ได้กลิ่น ลิ้นก็รู้รสได้ กายก็รู้สัมผัสได้ นี่คือการรู้ตัวทั่วพร้อมในคราวเดียวกัน

ในการฝึกฝน ขอให้ท่านหยุดตำราไว้ก่อน ถ้าท่านนำตำรามาใช้งานด้วย ท่านก็จะถึงทางตันในการฝึกฝนให้เจริญก้าวหน้าในสติปัฏฐาน

2..ในการรู้แจ้งแทงตลอดในธรรมนั้น สัมมาสติ สัมมาสมาธิที่ตั้งมั่น จะควบคุม ตัณหาและทิฐิ ในจิตใจท่าน เมื่อตัณหาและทิฐิ ถูกควบคุมได้เมื่อไร สัมมาญาณจะทำให้นักภาวนาจะรู้แจ้งแทงตลอดในธรรมได้เอง

ท่านจะเห็นว่า อาตาปี สัมปชาโน สติมา นั้น กำลังจิตที่ถึงพร้อมด้วยสติและปัญญา จะควบคุม ตัณหาและทิฐิ เมื่อการควบคุมสำเร็จ ธรรมก็จะปรากฏเองและสัมผัสได้ด้วยสัมมาญาณ ซึ่งไม่ใช่ง่ายแต่เป็นไปได้ ถ้าเข้าใจคำสอนในสติปัฏฐานสูตรอย่างท่องแท้ เมื่อเข้าใจธรรม ก็จะเข้าใจอริยสัจจ์ 4 อันเป็นธรรมที่พระพุทธองค์ได้ประกาศไว้เป็นเสาหลักแห่งพุทธศาสนา

ขอนอบน้อมแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น




Create Date : 24 กันยายน 2554
Last Update : 27 มกราคม 2555 9:41:45 น. 5 comments
Counter : 1329 Pageviews.

 
โมทนาสาธุท่าน นมสิการ


โดย: shadee829 วันที่: 24 กันยายน 2554 เวลา:23:02:36 น.  

 
สาธุ สาธุ สาธุ คะอาจารย์


โดย: แม่ลูกสอง IP: 180.183.240.178 วันที่: 25 กันยายน 2554 เวลา:1:39:42 น.  

 
โมทนาสาธุค่ะ


โดย: chaosy IP: 101.108.168.161 วันที่: 25 กันยายน 2554 เวลา:4:08:00 น.  

 
สาธุ


โดย: คนไม่ธรรมดา IP: 223.206.241.172 วันที่: 26 กันยายน 2554 เวลา:9:36:23 น.  

 
ผมจำเป็นต้องปิดการเขียนของท่านผู้อ่าน เนื่องจากกฏหมายอินเตอร์เนท

ท่านที่จะสนทนา หรือ ถามคำถาม ขอให้ส่ง email ถึงผมได้ที่
asknamasikarn@gmail.com

หรือสำหรับสมาชิก pantip จะส่งมาทางหลังไมค์ก็ได้เช่นกัน


โดย: นมสิการ วันที่: 27 มกราคม 2555 เวลา:9:42:19 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

นมสิการ
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 142 คน [?]




หลักปฏิบัติ ...รู้สึกตัว ผ่อนคลาย เฉย ๆ สบาย ๆ

มากกว่า 20 ปีที่ไปหลงทำสมถภาวนาแบบสมาธิแบบฤาษีโดยที่ไม่รู้จักกับคำว่า อะไรคือสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผลที่ได้คือความสงบขณะกำลังนั่งสมาธิจนตัวนิ่งแข็งเป็นก้อนหิน แต่ผลข้างเคียงตามมาก็คือการเป็นคนเจ้าโทสะอย่างรุนแรงขณะเวลาไม่ได้นั่งสมาธิ และ ที่อยู่ในชีวิตประจำวัน....

จนได้พบกัลยณมิตรแดนไกล ที่ได้ชักนำให้มารู้จักวิธีปฏิบัติแบบหลวงพ่อเทียน จนได้พบกับพระอาจารย์ในสายหลวงพ่อเทียน ที่ผมได้เรียนการปฏิบัติจากท่าน จนเข้าใจว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ คืออะไร แล้วลงมือฝึกฝน การปฏิบัติก็รุดหน้าและได้ลิ้มรสสิ่งบริสุทธิในจิตใจอันเป็นผลจากการปฏิบัติด้วยเวลาเพียง 5 ปี

ธรรมปฏิบัติจากฆราวาสเขียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ยากในสังคมไทย ผมรู้ได้จากที่เขียนใน blog ผมได้พบกับการก่อกวนใน blog การเขียนเหน็บแนม กระแหนะกระแหน ตำหนิการการปฏิบัติที่ผมเขียนใน blog ว่าผิดทาง เขียนแบบคาดเดาเอา ไม่รู้จริง ให้ผมหยุดเขียนแนวนี้ได้แล้ว และไปโมทนาสาธุแนะนำการปฏิบัติสมาธิแบบฤาษีให้กับผมอีกว่านี่คือทางที่ถูกต้อง ...

บทความใน blog จึงเกิดขึ้นมา เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ในการภาวนา
แก่ผู้อื่นที่กำลังเดินทางในสายแห่งอริยมรรคนี้

เมื่อท่านได้เข้ามาอ่านข้อเขียนใน blog กรุณาอย่าได้เชื่อผมจนกว่า ท่านได้ทดลองปฏิบัติแล้วและพิสูจน์ด้วยตัวท่านเอง

**กรุณา .อย่า.ได้บริจาคเงินให้ blog ผมทาง e-wallet ครับ **

******
บทความต่าง ๆ ใน blog นี้
ขอสงวนสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ห้ามนำไปดัดแปลง ลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต

****
New Comments
Friends' blogs
[Add นมสิการ's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.