DR.MOO CAN DO
Group Blog
 
 
มกราคม 2553
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
18 มกราคม 2553
 
All Blogs
 
พิษปลาปักเป้า

เป็นปลาที่มีทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม รูปร่างดูผิวเผินจะคล้ายๆกันทุกชนิด เช่น ลักษณะปากฟันงุ้มคล้ายปากนกแก้ว จึงเรียกชื่อปลานี้ว่า globe fish, puffer fish หรือ Fugu มีรูปร่างอย่างปลาทั่วๆไป แต่ลำตัวจะมีหนามสั้นหรือยาวแล้วแต่ชนิดของมัน หากมันถูกรบกวนจะเบ่งตัวพองโตขึ้นจนโป่งลม เห็นหนามได้ชัดเจน
ปลาปักเป้าเป็นสัตว์น้ำที่มีผู้คนรู้จักนำมาประกอบเป็นอาหารตั้งแต่สมัยโบราณในบันทึกโบราณของชาวจีน และญี่ปุ่น แต่ปลาปักเป้ามีพิษในตับ ลำไส้ ผิวหนัง ไข่และน้ำดี ในการบริโภคจึงเป็นการเสี่ยงอันตรายมากและพิษของมันอาจทำให้ถึงตายได้
ปลาปักเป้าแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
1. พวก Tetrodontidae
2. พวก Diodontidae

ตระกูล Tetrodontidae มีลักษณะผิวลำตัวค่อนข้างเกลี้ยง มีอยู่ทั้งในน้ำจืดและน้ำทะเลเกือบ ร้อยชนิด ที่มีในเมืองไทย เช่น ปลาปักเป้าตาแดง ปักเป้าเขียวเป็นปลาน้ำจืดตัวเล็ก ยาว 2 นิ้วเศษ มักนิยมเลี้ยงในตู้ปลาหรือบ่อปลา ส่วนปักเป้าก้นดำมีอยู่ในทะเล
นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นได้วิจัยแยกพิษของปลาปักเป้าได้สาร 2 ชนิด มีชื่อว่า Tetrodonine และ Tetrodonic acid สารพิษที่สกัดได้จากไข่ปลาปักเป้ามีลักษณะเป็นผงสีขาว ไม่มีรส ประกอบด้วย sulfer และ amino group และอาจมีสารจำพวก dextrose อยู่ด้วย เมื่อนำมาผ่านกรรมวิธีแยกต่างๆ แล้วได้สารชื่อ Tetrodotoxin ซึ่งมีฤทธิ์ต่อกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดอัมพาตต่อระบบหายใจ ระบบไหลเวียนของโลหิต และได้ทำการทดสอบกับสัตว์ทดลองเกิดอาการเป็นพิษและตายในที่สุด

อาการพิษ
เนื่องจากการบริโภคปลาปักเป้า เริ่มมีอาการหลังจากกินเข้าไปประมาณครึ่งชั่วโมง จะมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน คันริมฝีปาก กระตุกที่ลิ้น ปลายนิ้ว ระคายในลำคอ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเปลี้ย เดินไม่ไหว ร่างกายเป็นอัมพาต หายใจขัด ชีพจรเต้นเร็ว อุณหภูมิของร่างกายลดต่ำ ในที่สุดจะถึงแก่ความตายด้วยหัวใจวาย บางรายกินเข้าไปน้อยจะเกิดอาการเป็นพิษช้ากว่านี้



Create Date : 18 มกราคม 2553
Last Update : 18 มกราคม 2553 23:24:26 น. 0 comments
Counter : 1200 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

DR.MOO CAN DO
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 42 คน [?]




ผมเป็น นิติพยาธิแพทย์ หรือ จะเรียกว่า หมอนิติเวช ก็ได้ครับ นิติพยาธิแพทย์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปีแล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง นิติพยาธิอีก 3 ปี และเมื่อสอบผ่าน ก็จะได้รับวุฒิบัตรเป็นผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชศาสตร์ และได้เป็นนิติพยาธิแพทย์ โดยสมบูรณ์
หน้าที่ของหมอนิติเวช แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ
ส่วนแรก จะเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยคดี โดยในผู้ป่วยคดีนั้นแพทย์นิติเวชจะมีหน้าที่ในการตรวจ และให้ความเห็นกับพนักงานสอบสวนเกี่ยวกับบาดแผลที่ตรวจพบ ซึ่งตำรวจจะนำไปใช้ในการตั้งข้อกล่าวหากับคู่กรณี และหน้าที่ต่อมาของแพทย์นิติเวชคือการเป็นพยานในชั้นศาลในคดีดังกล่าว
ส่วนที่สอง จะเกี่ยวข้องกับผู้เสียชีวิต โดยในกรณีผู้เสียชีวิตนั้นแพทย์นิติเวชมีหน้าที่ในการตรวจสถานที่เกิดเหตุในกรณีตายผิดธรรมชาติตามที่กฎหมายกำหนด และหากมีความจำเป็นต้องผ่าชันสูตร ก็จะต้องมีการทำรายงาน และให้ความเห็นเกี่ยวกับสาเหตุของการเสียชีวิต ส่งให้พนักงานสอบสวน สุดท้ายหน้าที่หลักที่สำคัญโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้คือการเป็นพยานในชั้นศาลในคดีนั้นๆครับ
ประวัติการศึกษา
1.แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
2.วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3.ประกาศนียบัตร “Crime Scene Investigation” โครงการร่วมระหว่าง International Law Enforcement Academy กับ Federal Bureau of Investigation Academy
4.ประกาศนียบัตร “การบริหารงานโรงพยาบาล” คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ผลงาน
1.อาจารย์ประจำภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มศว.
2.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาชั้นปีที่ 3 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
3.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาปริญญาโท สาขานิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
4.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาปริญญาโท สาขานิติวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
5.วิทยากร หัวข้อ "ICD-10" ของกระทรวงสาธารณสุข
6.วิทยากร หัวข้อ "การตรวจสถานที่เกิดเหตุ" ของมูลนิธิร่วมกตัญญู และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
7.วิทยากรอบรมหลักสูตรนายร้อยตำรวจอบรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
8.วิทยากร หัวข้อ "KPI รายบุคคล" ให้กับโรงพยาบาลและมหาลัยวิทยาลัย ในภาครัฐ
9.วิทยากร หัวข้อ "Living will" ให้กับโรงพยาบาลในภาครัฐและเอกชน10.วิทยากร หัวข้อ "นิติเวชศาสตร์กับงานด้านโบราณคดี" ให้กับคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
11.ร่วมเขียนหนังสือ "KPI รายบุคคล"
12.ร่วมเขียนหนังสือ "มาตรฐาน ICD-10, ICD-9"
13.ที่ปรึกษารายการ "เรื่องจริงผ่านจอ" และ "Redline"
14.บทความทางวิชาการและผลงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ 15 เรื่อง
15.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตั้งแต่ ปี พศ.2553
16.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพ ฯ คณะแพทยศาสตร์ มศว. ตั้งแต่ปี พศ.2551
ผศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี (DR.MOO CAN DO)
New Comments
Friends' blogs
[Add DR.MOO CAN DO's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.