DR.MOO CAN DO
Group Blog
 
 
มกราคม 2553
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
18 มกราคม 2553
 
All Blogs
 
ฆาตกรรมด้วย Potassium cyanide

Potassium cyanide


สูตรโมเลกุล
KCN น้ำหนักโมเลกุล 65.12

คุณสมบัติ
มีสีขาว ลักษณะเป็นแกรนูลหรือเป็นผงดูดความชื้น มีกลิ่นของ bitter almond ละลายได้ดีในน้ำ

การใช้ที่ถูกกฎหมาย
ใช้ประโยชน์ในการทำความสะอาดโลหะ การชุบโลหะด้วยไฟฟ้าใช้ในการสกัดแร่ทองและเงินออกจากสินแร่ ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสีย้อม ใช้เป็นสารกำจัดแมลง

กฎหมายควบคุม
จัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535

บทลงโทษ
ผู้ใดผลิต นำเข้า ส่งออกหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 โดยมิได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ข้อมูลจาก กองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

การหย่อนเกลือไซยาไนด์ลงในกรดจะทำให้เกิดก๊าซไซยาไนด์ ( HCN ) พุ่งขึ้นมาทันที ก๊าซนี่กลิ่นเหมือนอัลมอนด์ การได้รับกลิ่นอันนี้พบว่ามีความเกี่ยวข้องกับยีนส์ หรือพันธุกรรม จากการศึกษาที่ผ่านมาในต่างประเทศพบว่ามีผู้ที่ไม่สามารถรับรู้กลิ่นอัลมอนด์ของก๊าซไซยาไนด์ ถึงประมาณ 22% เนื่องจากมีความบกพร่องในส่วนของยีนส์ที่รับรู้กลิ่นอัลมอนด์ของก๊าซไซยาไนด์

ความน่ากลัวของไซยาไนด์
ไซยาไนด์สามารถฆ่าคนได้อย่างรวดเร็ว โดยเข้าสู่ร่างกายคนได้จากหลายทาง ทั้งการสูดดม การกิน หรือแม้แต่การสัมผัสกับสารไซยาไนด์ ถ้าเป็นการกินไซยาไนด์เข้าไปขณะท้องว่าง ก็จะใช้เวลาออกฤทธิ์เป็นหน่วยนาที ถ้ามีข้าวอยู่เต็มกระเพาะแล้ว ก็หน่วงเวลาตายอีกหน่อยเป็นชั่วโมงแทน เพราะในกระเพาะเรามีกรดที่ใช้ในการย่อยอาหารอยู่ การกินเกลือไซยาไนด์เข้าไปขณะท้องว่าง จะส่งผลให้กรดในกระเพาะอาหารมำปฏิกิริยากับสารไซยาไนด์เกิด เป็นก๊าซไซยาไนด์อยู่ในร่างกาย ส่งผมให้เกิดการเสียชีวิตเร็วกว่ากรณีมีข้าวอยู่เต็มกระเพาะหลายเท่า แต่หากเป็นการสูดก๊าซไซยาไนด์เข้าไปนั้นจะส่งผลให้เสียชีวิตได้ในเวลาอันรวดเร็วมากๆครับ เรียกว่าภายในไม่กี่วินาทีเลยทีเดียว

กลไกการออกฤทธิ์ของไซยาไนด์
ในสภาพปกติในขบวนการผลิตพลังงานของร่างกายจากอาหารจะมีการส่งผ่านอิเล็กตรอนที่ได้จากอาหาร ให้กับตัวรับที่เรียกว่า cytochrome ระหว่างการส่งอิเล็คตรอนไปเรื่อยเป็นทอด ๆ จะมีการปล่อยพลังงานออกมาให้ตัวเก็บพลังงานรับไป แล้วเราจะได้สารเก็บพลังงานมาหนึ่งตัว เมื่อร่างกายได้รับไซยาไนด์ ไซยาไนด์ดังกล่าวจะไปเกาะที่ cytochrome ทำให้การส่งต่ออิเล็คตรอนชะงัก การสร้างสารเก็บพลังงานชะงัก ส่งผลให้เกิดการเสียชีวิตตามมา และที่สำคัญไซยาไนด์ยังสามารถไปเกาะกับฮีโมโกลบินซึ่งเป็นสารตัวที่ร่างกาย ใช้ขนส่งออกซิเจนไปตามที่ต่าง ๆ ทั่วร่างกายด้วย เมื่อมีไซยาไนด์มาเกาะแทนที่ออกซิเจนแล้ว เซลล์ในร่างกายจะขาดออกซิเจนส่งผลให้เซลล์ตาย สภาพของคนที่ตายเพราะไซยาไนด์จึงมีลักษณะเหมือนคนขาดอากาศหายใจตาย ด้วยเหตุนี้ไซยาไนด์จึงสามารถทำให้คนตายได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายในปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

อาการของคนที่กินไซยาไนด์เข้าไป
1. ในขั้นที่ยังไม่รุนแรง : จะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนล้า แขนขารู้สึกไม่มีแรง หายใจลำบาก ปวดและวิงเวียนศีรษะ ร่วมกับมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
2. ในขั้นที่รุนแรง : จะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนอย่างรุนแรง ร่วมกับมีอาการหายใจลำบาก เกิดอาการชักเกร็ง และเสียชีวิตในเวลาต่อมา

ข้อมูลเหล่านี้ นำมาจาก
//www.fda.moph.go.th/fda-net/html/product/addict/precursor/Potassium%20cyanide.htm
//www.sk132.com/index.php?action=printpage;topic=1180.0
//www.cjrteashop.net/etc/cn.html



Create Date : 18 มกราคม 2553
Last Update : 18 มกราคม 2553 21:50:13 น. 3 comments
Counter : 3064 Pageviews.

 
ใช่ตัวเดียวกับ ผงกันความชื้นในพวกอาหารหรือขนมขบเคี้ยวหรือเปล่าคะ


โดย: นู๋กบ IP: 222.123.153.38 วันที่: 26 เมษายน 2553 เวลา:2:08:39 น.  

 
ไม่ใช่ครับ แต่มีลักษณะเหมือนผงดูดความชื้นครับ


โดย: DR.MOO CAN DO วันที่: 26 เมษายน 2553 เวลา:2:29:43 น.  

 
ซื้อจากบริษัทที่ผลิตโดยเฉพาะเหรอครับ


โดย: deathman IP: 125.27.190.152 วันที่: 19 กันยายน 2553 เวลา:21:11:08 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

DR.MOO CAN DO
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 42 คน [?]




ผมเป็น นิติพยาธิแพทย์ หรือ จะเรียกว่า หมอนิติเวช ก็ได้ครับ นิติพยาธิแพทย์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปีแล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง นิติพยาธิอีก 3 ปี และเมื่อสอบผ่าน ก็จะได้รับวุฒิบัตรเป็นผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชศาสตร์ และได้เป็นนิติพยาธิแพทย์ โดยสมบูรณ์
หน้าที่ของหมอนิติเวช แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ
ส่วนแรก จะเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยคดี โดยในผู้ป่วยคดีนั้นแพทย์นิติเวชจะมีหน้าที่ในการตรวจ และให้ความเห็นกับพนักงานสอบสวนเกี่ยวกับบาดแผลที่ตรวจพบ ซึ่งตำรวจจะนำไปใช้ในการตั้งข้อกล่าวหากับคู่กรณี และหน้าที่ต่อมาของแพทย์นิติเวชคือการเป็นพยานในชั้นศาลในคดีดังกล่าว
ส่วนที่สอง จะเกี่ยวข้องกับผู้เสียชีวิต โดยในกรณีผู้เสียชีวิตนั้นแพทย์นิติเวชมีหน้าที่ในการตรวจสถานที่เกิดเหตุในกรณีตายผิดธรรมชาติตามที่กฎหมายกำหนด และหากมีความจำเป็นต้องผ่าชันสูตร ก็จะต้องมีการทำรายงาน และให้ความเห็นเกี่ยวกับสาเหตุของการเสียชีวิต ส่งให้พนักงานสอบสวน สุดท้ายหน้าที่หลักที่สำคัญโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้คือการเป็นพยานในชั้นศาลในคดีนั้นๆครับ
ประวัติการศึกษา
1.แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
2.วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3.ประกาศนียบัตร “Crime Scene Investigation” โครงการร่วมระหว่าง International Law Enforcement Academy กับ Federal Bureau of Investigation Academy
4.ประกาศนียบัตร “การบริหารงานโรงพยาบาล” คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ผลงาน
1.อาจารย์ประจำภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มศว.
2.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาชั้นปีที่ 3 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
3.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาปริญญาโท สาขานิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
4.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาปริญญาโท สาขานิติวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
5.วิทยากร หัวข้อ "ICD-10" ของกระทรวงสาธารณสุข
6.วิทยากร หัวข้อ "การตรวจสถานที่เกิดเหตุ" ของมูลนิธิร่วมกตัญญู และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
7.วิทยากรอบรมหลักสูตรนายร้อยตำรวจอบรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
8.วิทยากร หัวข้อ "KPI รายบุคคล" ให้กับโรงพยาบาลและมหาลัยวิทยาลัย ในภาครัฐ
9.วิทยากร หัวข้อ "Living will" ให้กับโรงพยาบาลในภาครัฐและเอกชน10.วิทยากร หัวข้อ "นิติเวชศาสตร์กับงานด้านโบราณคดี" ให้กับคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
11.ร่วมเขียนหนังสือ "KPI รายบุคคล"
12.ร่วมเขียนหนังสือ "มาตรฐาน ICD-10, ICD-9"
13.ที่ปรึกษารายการ "เรื่องจริงผ่านจอ" และ "Redline"
14.บทความทางวิชาการและผลงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ 15 เรื่อง
15.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตั้งแต่ ปี พศ.2553
16.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพ ฯ คณะแพทยศาสตร์ มศว. ตั้งแต่ปี พศ.2551
ผศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี (DR.MOO CAN DO)
New Comments
Friends' blogs
[Add DR.MOO CAN DO's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.