DR.MOO CAN DO
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2553
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
13 พฤษภาคม 2553
 
All Blogs
 
พืชมีพิษ

                ปัจจุบันคนไทยนิยมรับประทานผักมากขึ้น ชาวบ้านซึ่งอยู่ในหมู่บ้านที่ห่างไกลตัวเมือง อาจหาผักต่างๆ มาปรุงอาหารเองได้ ผู้ที่จะเก็บผักมาปรุงอาหารนั้น จะต้องมีความระมัดระวังในการเลือกพืชผักที่ไม่มีอันตราย ผู้ที่ซื้อผักสดจากตลาดก็ต้องระมัดระวังในการเลือกซื้อเพราะอาจได้พืชผักที่มีสารเคมีเป็นพิษติดไปด้วย จึงต้องมีความรู้ความสังเกตว่าชนิดใดมีพิษ พืชผักมีพิษที่มักจะพบบ่อยได้แก่


1) เห็ดพิษ



         มีลักษณะดังนี้


           1.สีเข้มจัด เช่น แดง ส้ม ดำ หรือมีสีฉูดฉาด


           2.มีแผ่นหรือเกล็ดขรุขระบนหมวกเห็ด


           3.มีวงแหวนพันรอบบนก้านดอกเห็ด วงแหวนนี้จะเป็นตัวเชื่อมเนื้อเยื่อของหมวกเห็ด และก้านดอกให้ติดกันเมื่อดอกเห็ดบาน


           4.มีขนหรือหนามเล็กๆ กระจายอยู่ทั่วไป


           5.มีกลิ่น


           6.มีน้ำเมือก หรือมีน้ำยางสีขาวออกมาเมื่อกรีดที่หมวกเห็ด


           7.ครีบที่อยู่ใต้หมวกมีสีขาว สปอร์ในครีบมีสีขาวเช่นกัน


         เห็ดพิษ แบ่งได้เป็น 4 ชนิดดังนี้


            1. เห็ดพันธ์อะมานิตา มัสคาเรีย (Amanita muscaria)


            เห็ดชนิดนี้คล้ายกับเห็ดโคนทั้งเวลาตูมและบาน เส้นผ่าศูนย์กลางของหมวกเห็ดเมื่อบานเต็มที่มีขนาด 2 - 4 เซนติเมตร สูง 10-12 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้น ระหว่าง1-2 เซนติเมตร สารเป็นพิษที่สำคัญในเห็ดชนิดนี้คือ มัสคารีน (muscarine) เห็ดชนิดนี้มีพิษรุนแรง เมื่อรับประทานเข้าไป 15-30 นาที จะมีอาการตัวร้อน ใจสั่น หัวใจเต้นช้าลง เส้นเลือดขยาย มีอาการผิดปกติเกี่ยวกับการเห็นภาพม่านตาหรี่ เหงื่อ น้ำลายและน้ำตาถูกขับออกมามาก ปวดบริเวณช่องท้อง คลื่นไส้ อาเจียน แน่นหน้าอก หายใจขัดและถึงตายในที่สุด


            2. เห็ดพันธ์อะมานิตา ฟัลลอยเดส (Amanita phalloides)


            เห็ดชนิดนี้มีวงแหวนบอบบาง ถ้วยเห็ดคล้ายเห็ดฟาง มีสปอร์สีขาว เส้นผ่าศูนย์กลางของหมวกเห็ดกว้างประมาณ 5-15 เซนติเมตร ลำต้นกว้างประมาณ 0.6-1.5 เซนติเมตร เห็ดชนิดนี้มีสารเป็นพิษฟัลโลท็อกซิน (phollotoxin)ซึ่งมีพิษต่อตับ และสารเป็นพิษอะมาโตท็อกซิน (amatotoxin) อาการเป็นพิษจะเห็นชัดภายใน 6-12 ชั่วโมง อย่างช้าไม่เกิน 24 ชั่วโมง จะมีอาการอาเจียน ปวดท้องอย่างแรง ท้องเดิน เป็นตะคริว ความดันเลือดต่ำ ตับบวม และถึงแก่ความตายในที่สุด หากรับประทานจำนวนมาก คนไข้จะตายภายใน 2-3 วัน


            3. เห็ดพันธุ์อีโนไซบ์ (Inocybe)


            มีลักษณะของหมวกเห็ดเป็นรูปทรงกระบอก สปอร์สีน้ำตาลอ่อน ถ้ารับประทานเห็ดชนิดนี้ จะมีอาการปวดท้อง เนื่องจากกระเพราะอาหารและลำไส้หดเกร็ง


            4. เห็ดพันธุ์โคปรีนัส อาทราเมนทาเรียส (Coprinus atramentarius)


            หรือเห็ดหมึก มีสารที่รวมตัวกับแอลกอฮอล์แล้วจะเกิดพิษ คนดื่มสุราพร้อมกับรับประทานเห็ดชนิดนี้ จะมีอาการใจสั่น หายใจหอบ หายใจลำบาก แน่นหน้าอก คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศรีษะ


            เห็ดทั้ง 4 ชนิดนี้ จะมีขึ้นเป็นดงในป่าที่มีความชื้นสูง


2) ผักหวานป่า



         เป็นไม้ยืนต้น สูงราว 6 - 15 เมตร ขึ้นตามป่าทึบและป่าเชิงเขาซึ่งมีดินปนทรายโดยเฉพาะป่าไม้เต็งรัง ในฤดูแล้งระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงพฤษภาคม จะแตกยอดอ่อนซึ่งเป็นที่นิยมเอามาต้มรับประทานกัน ส่วนผลออกเป็นพวง จะสุกประมาณเดือนเมษายนถึงมิถุนายน เยื่อบางหุ้มเมล็ดรับประทานได้มีรสหวาน ถ้านำผลมาต้มให้สุกจะรับประทานได้ทั้งเปลือกและเยื่อหุ้มเมล็ดส่วนสาเหตุของการเกิดพิษยังทำการศึกษาค้นคว้ากันอยู่


อาการเป็นพิษ


         ที่เกิดจากการรับประทานผักหวานมีพิษ คือ มึนเมา คลื่นไส้ อาเจียน กระหายน้ำ ทุรนทุราย บางรายอาการมากจะเจ็บในลำคอ เจ็บในท้อง หมดสติ และถึงแก่ความตายในที่สุด


วิธีการรักษา


         โดยการล้างท้องและให้น้ำเกลือถ้าจำเป็น


3) ขี้หนอน




           เป็นไม้ไม่ผลัดใบ สูงราว 3-6 เมตร พบทั่วไปในป่าดงดิบที่แล้งและในป่าไม้ผลัดใบผสม ใบของมันมีลักษณะคล้ายผักหวาน แต่แผ่นใบหนากว่า ผิวใบไม่มัน สีเขียวอมเทา มีหนามแหลมยาวประปรายตามกิ่ง ลำต้นและใบ ดอกอ่อนเป็นพิษ เมื่อกินเข้าไปทำให้เกิดอาการมึนเมา อาเจียนและอาจทำให้ถึงตายได้


วิธีการรักษา


         ควรล้างท้องทันที และให้น้ำเกลือถ้าจำเป็น ในกรณีที่อาเจียนมากๆ ควรปล่อยให้ผู้ป่วยนอนพักผ่อน


4) กลอย



            เป็นพืชไม้ล้มลุก ลักษณะเป็นเถาเลื้อยไปตามดินหรือพาดพันต้นไม้ใหญ่ มีกิ่งก้านออกตามเถา มีใบย่อย 3 ใบ คล้ายพืชตระกูลถั่ว เส้นใบถี่และต้นมีหนามแหลมสั้นๆ ขึ้นตามป่ารกร้างและไหล่เขาทั่วไปในป่าผสม ป่าเต็งรัง และป่าดงดิบ กลอยมีหัวอยู่ใต้ลึกประมาณ 10 - 15 เซนติเมตร ลักษณะกลมแบบข้างๆ เป็นกลีบเล็กน้อย เปลือกบาง มีขนแข็งขึ้นอยู่ขรุขระ รูปร่างคล้ายมันมือเสือ หัวกลอยเจริญและแตกเถาออกจากเหง้าในฤดูฝน และเจริญเติบโตเต็มที่ในฤดูแล้งหัวจะโตและโผล่ขึ้นมาพ้นดิน ส่วนเถาจะแห้งตายไป ถ้าหัวยังอยู่ในดินจะเริ่มเน่าเหลือแต่เหง้า ซึ่งเมื่อถึงฤดูฝนจะแตกหน่อและงอกหัวเล็กๆ ต่อไปอีกเรื่อยๆ


            ชาวบ้านนิยมเก็บหัวกลอยในฤดูร้อน ระหว่างเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม หัวโผล่พ้นดินเก็บง่าย เชื่อกันว่ายังมีพิษน้อยกว่ากลอยที่เก็บในฤดูอื่น ได้มีการทดลองเปรียบเทียบพิษของกลอยที่ขุดมาแต่ละฤดู พบว่าในเดือนสิงหาคมมีสารเป็นพิษสูงที่สุด หัวกลอยมีแป้งมาก มีสารเป็นพิษประเภทอัลคาลอยด์ ชื่อ ไดออสซิน (dioscin) ซึ่งมีคุณสมบัติทางเภสัชวิทยาคล้ายกับพิโครท็อกซิน (picrotoxin) มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง


อาการเป็นพิษ


            เนื่องจากรับประทานกลอยคือ คันปาก ลิ้น คอ ม่านตาขยาย และระบบประสาทส่วนกลางถูกกระตุ้น คลื่นไส้ อาเจียน มึนเมา วิงเวียน ใจสั่น ตาพร่า อึดอัด เป็นลม และตัวเย็น นอกจากนั้นบางรายมีอาการประสาทหลอนคล้ายกับอาการของคนบ้าลำโพง และอาจมีอาการกระตุกของกล้ามเนื้อด้วย แต่ยังไม่พบรายงานว่าถึงตาย


การรักษาพิษ


            รักษาไปตามอาการและโดยการล้างท้อง


5) ลูกเนียง, ชะเนียง



            เป็นพืชตระกูลถั่ว พันธ์ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ผลเป็นฝักใหญ่ ในหนึ่งฝักอาจมี 10-14 เมล็ด เนื้อในเมล็ดใช้บริโภค เมื่อแก่จัดเป็นสีเหลืองนวล มีรสมันกรอบ กลิ่นฉุน ธาตุและสารต่างๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ร่างกาย ในลูกเนียงประกอบด้วยแป้งร้อยละ 70 โปรตีนร้อยละ 15 นอกจากนี้ประกอบด้วยธาตุเหล็ก แคลเซียม วิตามินบี 1 บี 12 วิตามินซี ฟอสฟอรัส กำมะถัน กรดโฟลิค กรดอะมิโน 12 ชนิด และกรดแจงโคลิค (djenkolic acid) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่มีกรดกำมะถันสูงมาก และเป็นพิษต่อร่างกาย สารเป็นพิษชนิดนี้จะทำลายระบบประสาทของไตให้เสื่อมลง ถ้ารับประทานลูกเนียงดิบเป็นจำนวนมาก จะทำให้ปัสสาวะไม่ออก หรือปัสสาวะไม่สะดวก ปัสสาวะขุ่นขาวเป็นสีน้ำนม อาจมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียนอย่างรุนแรง ถ้าอาการมากระบบไตจะล้มเหลว และถึงตายในที่สุด


            การป้องกันพิษของลูกเนียง ก่อนที่จะนำมารับประทาน


            1.ให้นำลูกเนียงมาเพาะในทรายให้หน่องอกแล้วตัดหน่อทิ้งเสีย พิษของลูกเนียงจะลดน้อยลง


            2.หั่นลูกเนียงเป็นแผ่นบางๆ ตากแดดให้มาดก่อนจะนำมารับประทาน พิษของมันจะลดลง


            3.ต้มลูกเนียงในน้ำที่ผสมด้วยโซเดียมไบคาร์บอเนตนาน 10 นาที จะทำให้กรดแจงโคลิคลดลงครึ่งหนึ่ง


วิธีรักษา


            ผู้ป่วยที่แพ้พิษลูกเนียง ปัจจุบันให้ผู้ป่วยรับประทานโซเดียมไบคาร์บอเนต ดื่มน้ำมากๆ หากปัสสาวะออกน้อย หรือปัสสาวะไม่ออก ใช้สายยางสวนปัสสาวะ


            พืชอื่นที่มีลักษณะและรสใกล้เคียงกัน ซึ่งนิยมรับประทานได้แก่ สะตอ ลูกเหรียง ชะเนียงนก แต่การเกิดพิษยังไม่ค่อยมี


Create Date : 13 พฤษภาคม 2553
Last Update : 13 พฤษภาคม 2553 7:44:59 น. 6 comments
Counter : 3119 Pageviews.

 
เห็ดแดง ๆ นั่นมาริโอ้กินได้แถมตัวโตด้วยครับ อิอิ


โดย: เดอะฟักทอง IP: 124.121.100.66 วันที่: 13 พฤษภาคม 2553 เวลา:9:41:18 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ต้อนรับเช้าวันใหม่ ขอให้ทำงานอย่างมีความสุขนะคะ ^__^


โดย: หาแฟนตัวเป็นเกลียว วันที่: 13 พฤษภาคม 2553 เวลา:10:00:20 น.  

 

ขอเพิ่มอีกได้มะคะT T ทำงานมะด้าย อ้อไอเห็ดสีแดงแดงนั่นหน้าตาน่าเกลียดมากเลย


โดย: ดีจร้า IP: 125.24.148.124 วันที่: 19 มิถุนายน 2553 เวลา:22:12:38 น.  

 
ดีเนอะคะ


โดย: หาแฟน IP: 125.24.148.124 วันที่: 19 มิถุนายน 2553 เวลา:22:13:40 น.  

 
ใครสนติดต่อมาที่...............


โดย: หาแฟน IP: 125.24.148.124 วันที่: 19 มิถุนายน 2553 เวลา:22:14:45 น.  

 
ขอเพิ่ม


โดย: หาแฟน IP: 125.24.148.124 วันที่: 19 มิถุนายน 2553 เวลา:22:17:13 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

DR.MOO CAN DO
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 42 คน [?]




ผมเป็น นิติพยาธิแพทย์ หรือ จะเรียกว่า หมอนิติเวช ก็ได้ครับ นิติพยาธิแพทย์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปีแล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง นิติพยาธิอีก 3 ปี และเมื่อสอบผ่าน ก็จะได้รับวุฒิบัตรเป็นผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชศาสตร์ และได้เป็นนิติพยาธิแพทย์ โดยสมบูรณ์
หน้าที่ของหมอนิติเวช แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ
ส่วนแรก จะเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยคดี โดยในผู้ป่วยคดีนั้นแพทย์นิติเวชจะมีหน้าที่ในการตรวจ และให้ความเห็นกับพนักงานสอบสวนเกี่ยวกับบาดแผลที่ตรวจพบ ซึ่งตำรวจจะนำไปใช้ในการตั้งข้อกล่าวหากับคู่กรณี และหน้าที่ต่อมาของแพทย์นิติเวชคือการเป็นพยานในชั้นศาลในคดีดังกล่าว
ส่วนที่สอง จะเกี่ยวข้องกับผู้เสียชีวิต โดยในกรณีผู้เสียชีวิตนั้นแพทย์นิติเวชมีหน้าที่ในการตรวจสถานที่เกิดเหตุในกรณีตายผิดธรรมชาติตามที่กฎหมายกำหนด และหากมีความจำเป็นต้องผ่าชันสูตร ก็จะต้องมีการทำรายงาน และให้ความเห็นเกี่ยวกับสาเหตุของการเสียชีวิต ส่งให้พนักงานสอบสวน สุดท้ายหน้าที่หลักที่สำคัญโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้คือการเป็นพยานในชั้นศาลในคดีนั้นๆครับ
ประวัติการศึกษา
1.แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
2.วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3.ประกาศนียบัตร “Crime Scene Investigation” โครงการร่วมระหว่าง International Law Enforcement Academy กับ Federal Bureau of Investigation Academy
4.ประกาศนียบัตร “การบริหารงานโรงพยาบาล” คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ผลงาน
1.อาจารย์ประจำภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มศว.
2.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาชั้นปีที่ 3 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
3.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาปริญญาโท สาขานิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
4.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาปริญญาโท สาขานิติวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
5.วิทยากร หัวข้อ "ICD-10" ของกระทรวงสาธารณสุข
6.วิทยากร หัวข้อ "การตรวจสถานที่เกิดเหตุ" ของมูลนิธิร่วมกตัญญู และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
7.วิทยากรอบรมหลักสูตรนายร้อยตำรวจอบรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
8.วิทยากร หัวข้อ "KPI รายบุคคล" ให้กับโรงพยาบาลและมหาลัยวิทยาลัย ในภาครัฐ
9.วิทยากร หัวข้อ "Living will" ให้กับโรงพยาบาลในภาครัฐและเอกชน10.วิทยากร หัวข้อ "นิติเวชศาสตร์กับงานด้านโบราณคดี" ให้กับคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
11.ร่วมเขียนหนังสือ "KPI รายบุคคล"
12.ร่วมเขียนหนังสือ "มาตรฐาน ICD-10, ICD-9"
13.ที่ปรึกษารายการ "เรื่องจริงผ่านจอ" และ "Redline"
14.บทความทางวิชาการและผลงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ 15 เรื่อง
15.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตั้งแต่ ปี พศ.2553
16.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพ ฯ คณะแพทยศาสตร์ มศว. ตั้งแต่ปี พศ.2551
ผศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี (DR.MOO CAN DO)
New Comments
Friends' blogs
[Add DR.MOO CAN DO's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.