DR.MOO CAN DO
Group Blog
 
 
มกราคม 2553
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
18 มกราคม 2553
 
All Blogs
 
เห็ดพิษ

เห็ด (Mushroom) เป็นพืชชั้นต่ำ บางชนิดนิยมนำมารับประทานเป็นอาหารกันทั่วโลก มีรูปทรงและสีสันต่างกัน บางชนิดดูสวยงามจนไม่น่าเชื่อว่าจะมีสารพิษที่ก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้
หมวกเห็ด (cap) : ส่วนบนสุดของเห็ด มีรูปร่างลักษณะ และสีแตกต่างกันตามชนิดของเห็ด
เศษเปลือกเห็ด (remnants of universal veil) : บนหมวกเห็ด อาจจะเป็นผงหยาบๆ หรือเป็นเกล็ดคล้ายเกล็ดแป้ง
ครีบเห็ด (gills): ด้านในของหมวกเห็ด มีสีต่างๆ กัน ระหว่างครีบเห็ดจะพบมีสปอร์ ซึ่งมีสีแตกต่างกันตามชนิดของเห็ด
ลำต้นเห็ด (stalk) : มีลักษณะไม่แน่นอน อาจเป็นก้านยาว สั้น แบนหรือไม่มีก้านก็ได้ นอกจากนั้นที่ลำต้นเห็ด อาจมีกลีบบางๆ โดยรอบคล้ายสวมกระโปรง หรือคล้ายวงแหวนกลมๆ รอบลำต้น เรียกว่า วงแหวนเห็ด (ring) ซึ่งเกิดจาก ขณะยังไม่บานมีเยื่อบางๆ หุ้มหมวกเห็ด และครีบเห็ดไว้ โดยเยื่อนี้ เรียกว่า เยื่อหุ้มครีบเห็ด (veil)
ถ้วยเห็ด (volva) : ตรงโคนที่ฝังอยู่ในดิน อาจมีลักษณะเป็นกะเปาะ
รากเห็ด (root) : ส่วนล่างสุดของถ้วยเห็ด ฝังอยู่ใต้ดิน
เห็ดแบ่งออกเป็น 2 จำพวกใหญ่ๆ คือ
1.ชนิดรับประทานได้ (Edible mushrooms) ที่เรารู้จักและพบมากมายในเมืองไทย เช่น เห็ดฟาง เห็ดโคน เห็ดเหลือง เป็นต้น
2.เห็ดพิษ (Poison mushrooms) มีหลายชนิดเช่นกัน ส่วนใหญ่จะมีลักษณะพิเศษแต่บางชนิดก็คล้ายเห็ดไม่มีพิษ
หลักวิธีการสังเกตลักษณะของเห็ดพิษ
- เห็ดพิษต้องมีถ้วยเห็ด (dead cap หรือ volva)
- เห็ดพิษต้องมีเศษเปลือกเห็ด (universal veil)
- เห็ดพิษต้องมีวงแหวนเห็ด (ring)
- หมวกเห็ดต้องมีสีและมักมีสปอร์ สีขาว (cap)
เห็ดที่มีรูปร่างลักษณะทั้ง 4 ข้อ ที่กล่าวข้างต้นครบถ้วน แสดงว่าเห็ดนั้นต้องเป็นเห็ดพิษ แต่สำหรับชาวบ้านที่มีความรู้เรื่องเห็ดในเมืองไทยมีวิธีง่ายๆ ของชาวบ้านที่จะดูเห็ดพิษ คือ เมื่อหักลำต้นตรงใกล้ๆ กับถ้วยเห็ดดู ถ้ามียางเหนียวยืดได้เป็นเส้นแสดงว่าเป็นเห็ดพิษ และที่หมวกเห็ดมีเกล็ดขาวๆ อยู่ด้านบนหรือมีเศษเปลือกเห็ดซึ่งเห็ดใดมีลักษณะทั้ง 2 ข้อนี้ ชาวบ้านถือว่าเป็นเห็ดพิษ อย่างไรก็ตามตำราต่างประเทศก็ยังไม่ยอมรับลักษณะที่ชาวบ้านของเราใช้กัน เนื่องจากเห็ดมีพิษบางชนิดมีลักษณะคล้ายเห็ดไม่มีพิษ การที่จะนำเห็ดที่เราไม่เคยรู้จักมารับประทานควรมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ และยิ่งกว่านั้นหากเห็ดที่เราพบมีรูปร่างลักษณะเป็นไปตามลักษณะของเห็ดพิษข้อใดข้อหนึ่งก็ไม่ควรนำมารับประทานเลย นอกจากนี้แล้วเห็ดที่ไม่มีพิษบางชนิด (เห็ดกินได้) หากเก็บไว้นานหลายวันก็อาจเป็นพิษได้ เนื่องจากสารซึ่งเกิดจากการสลายตัวของโปรตีนที่มีอยู่มากในเห็ด เช่น phenylethylamine เห็ดที่ไม่มีพิษถ้าไปงอกขึ้นในบริเวณซึ่งมีสารเป็นพิษอยู่ในดิน อาจทำให้เกิดอันตรายได้บางกรณี ขึ้นกับว่าสารนั้นเป็นอะไร และมีพิษรุนแรงมากน้อยเพียงใด เช่น เห็ดปอดม้าที่พบในประเทศไทยเรานั้น มีความน่าสนใจ คือ บางคนรับประทานเห็ดชนิดนี้ได้โดยไม่เกิดอาการพิษ แต่คนอื่นๆ เกิดอาการพิษรุนแรง เนื่องจากผลของระบบภูมิคุ้มกัน หรือเป็นเพราะเห็ดที่เกิดขึ้นในที่บางแห่งมีทั้งสารที่เป็นพิษและสารต้านพิษ ทำให้มีฤทธิ์ต่อต้านกันพอดี จึงทำให้ไม่เกิดพิษ


Create Date : 18 มกราคม 2553
Last Update : 18 มกราคม 2553 23:35:42 น. 1 comments
Counter : 1708 Pageviews.

 
ให้สาระมากค่ะ


โดย: THaifoofOwensboro IP: 75.81.252.21 วันที่: 16 มีนาคม 2555 เวลา:9:15:42 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

DR.MOO CAN DO
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 42 คน [?]




ผมเป็น นิติพยาธิแพทย์ หรือ จะเรียกว่า หมอนิติเวช ก็ได้ครับ นิติพยาธิแพทย์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปีแล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง นิติพยาธิอีก 3 ปี และเมื่อสอบผ่าน ก็จะได้รับวุฒิบัตรเป็นผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชศาสตร์ และได้เป็นนิติพยาธิแพทย์ โดยสมบูรณ์
หน้าที่ของหมอนิติเวช แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ
ส่วนแรก จะเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยคดี โดยในผู้ป่วยคดีนั้นแพทย์นิติเวชจะมีหน้าที่ในการตรวจ และให้ความเห็นกับพนักงานสอบสวนเกี่ยวกับบาดแผลที่ตรวจพบ ซึ่งตำรวจจะนำไปใช้ในการตั้งข้อกล่าวหากับคู่กรณี และหน้าที่ต่อมาของแพทย์นิติเวชคือการเป็นพยานในชั้นศาลในคดีดังกล่าว
ส่วนที่สอง จะเกี่ยวข้องกับผู้เสียชีวิต โดยในกรณีผู้เสียชีวิตนั้นแพทย์นิติเวชมีหน้าที่ในการตรวจสถานที่เกิดเหตุในกรณีตายผิดธรรมชาติตามที่กฎหมายกำหนด และหากมีความจำเป็นต้องผ่าชันสูตร ก็จะต้องมีการทำรายงาน และให้ความเห็นเกี่ยวกับสาเหตุของการเสียชีวิต ส่งให้พนักงานสอบสวน สุดท้ายหน้าที่หลักที่สำคัญโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้คือการเป็นพยานในชั้นศาลในคดีนั้นๆครับ
ประวัติการศึกษา
1.แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
2.วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3.ประกาศนียบัตร “Crime Scene Investigation” โครงการร่วมระหว่าง International Law Enforcement Academy กับ Federal Bureau of Investigation Academy
4.ประกาศนียบัตร “การบริหารงานโรงพยาบาล” คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ผลงาน
1.อาจารย์ประจำภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มศว.
2.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาชั้นปีที่ 3 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
3.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาปริญญาโท สาขานิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
4.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาปริญญาโท สาขานิติวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
5.วิทยากร หัวข้อ "ICD-10" ของกระทรวงสาธารณสุข
6.วิทยากร หัวข้อ "การตรวจสถานที่เกิดเหตุ" ของมูลนิธิร่วมกตัญญู และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
7.วิทยากรอบรมหลักสูตรนายร้อยตำรวจอบรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
8.วิทยากร หัวข้อ "KPI รายบุคคล" ให้กับโรงพยาบาลและมหาลัยวิทยาลัย ในภาครัฐ
9.วิทยากร หัวข้อ "Living will" ให้กับโรงพยาบาลในภาครัฐและเอกชน10.วิทยากร หัวข้อ "นิติเวชศาสตร์กับงานด้านโบราณคดี" ให้กับคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
11.ร่วมเขียนหนังสือ "KPI รายบุคคล"
12.ร่วมเขียนหนังสือ "มาตรฐาน ICD-10, ICD-9"
13.ที่ปรึกษารายการ "เรื่องจริงผ่านจอ" และ "Redline"
14.บทความทางวิชาการและผลงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ 15 เรื่อง
15.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตั้งแต่ ปี พศ.2553
16.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพ ฯ คณะแพทยศาสตร์ มศว. ตั้งแต่ปี พศ.2551
ผศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี (DR.MOO CAN DO)
New Comments
Friends' blogs
[Add DR.MOO CAN DO's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.