DR.MOO CAN DO
Group Blog
 
 
มกราคม 2553
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
18 มกราคม 2553
 
All Blogs
 
พิษสารเคมีกำจัดแมลงกลุ่ม คาร์บาเมต (CARBAMATE)

สารเคมีกำจัดแมลงที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้มีมากชนิด แต่ละชนิดก็มีสูตรทางเคมีแตกต่างกัน มี คุณสมบัติอย่างหนึ่งที่เหมือนกัน คือ กลไกการออกฤทธิ์ สารที่สังเคราะห์แล้วนำออกวางจำหน่ายเป็นชนิดแรก ก็คือ คาร์บารีล (Carbary) เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมานานกว่า 20 ปี ส่วนใหญ่นำมาใช้ประโยชน์ทางเกษตรกรรม เช่น มีโธมีล (Methomyl) ชื่อการค้า แลนเนท สำหรับชนิดที่ใช้ ในครัวเรือน ได้แก่ โปรป็อกเซอร์(Propoxur) ในสเปรย์กำจัดแมลงหลายชนิด เหมาะสำหรับกำจัดยุง
ชื่อทางเคมี
Carbaryl : 1-Naphthyl N-methylcarbamate
Methomyl : S-methyl N- [(methylcarbamoyl)oxy] thioacetimidate
Propoxur :2-Isopropoxyphenyl methylcarbamate
คุณสมบัติ
เป็นผลึก ไม่มีสี ละลายน้ำได้น้อย ละลายได้ดีในแอลกอฮอล์
การดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย
เข้าสู่ร่างกายได้ทั้งโดยการกิน ทางหายใจ และดูดซึมได้ดีทางผิวหนัง ตัวยาจะกระจายไปตามส่วนต่างๆ พบมากที่ตับและระบบประสาท
กลไกการออกฤทธิ์
เมื่อคาร์บาเมตเข้าสู่ร่างกายแล้ว จะออกฤทธิ์คล้ายกับออร์แกโนฟอสเฟต คือไปยับยั้งการทำงานของ acetylcholinesterase enzyme (AChE)
ปกติ AChE จะคอยทำลาย acetylcholine ACh ซึ่งเป็นสารสื่อประสาท (neurotransmitter) ที่ส่วนต่างๆ ของระบบประสาทอัตโนมัติ ที่ neuromuscular junction และที่สมอง ดังนั้น หากมีการยับยั้งการทำงานของ AChE แล้ว จะทำให้มี ACh ไม่ถูก hydrolyze และเกิดการคั่งสะสมที่ receptor ผลจากการกระตุ้นของ ACh จำนวนมากที่ปลายประสาท ทำให้เกิดอาการผิดปกติขึ้นที่ประสาทส่วนต่างๆในร่างกาย
เมื่อคาร์บาเมตจับกับเอ็นไซม์ AChE แล้ว จะยับยั้งการทำงานของเอ็นซัยม์โคลีนเอสเตอเรสแบบชั่วคราว (reversible anti-cholinesterase) และสลายตัวได้รวดเร็ว ความเป็นพิษจึงไม่รุนแรงเท่าออร์แกโนฟอสเฟต
อาการ
อาการเป็นพิษของคาร์บาเมตต่อร่างกายจะแสดงลักษณะอาการเหมือนกับการยับยั้งการทำงานของ AchE โดยออร์แกโนฟอสเฟต คือ คลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออกมาก ตามัว น้ำลายออกมาก อ่อนเพลีย เจ็บหน้าอก รูม่านตาหด ถ้าเป็นรุนแรงจะเกิดอาการชัก เป็นต้น
การวินิจฉัย
1. ประวัติ
โดยการสอบถามผู้ป่วยหรือญาติ รวมทั้งขวดหรือกระป๋องยาที่อยู่ในบริเวณที่เกิดเหตุ ส่วนใหญ่มักทราบเป็นชื่อการค้า ซึ่งสามารถนำมาตรวจสอบสารออกฤทธิ์จากฐานข้อมูลนี้ได้
2. การตรวจร่างกาย
พบความผิดปรกติเช่นเดียวกันกับผู้ป่วยที่ได้รับอันตรายจากพิษออร์แกโนฟอสเฟตที่มีความ
รุนแรงน้อยถึงปานกลาง จะตรวจพบความผิดปรกติในนาทีที่ 15 หลังการกินในขนาด1.5 มก./กก. และภายหลัง 2 ชั่วโมงหลังกินอาหารผิดปรกติต่าง ๆ จะหายไปได้เอง
3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
พบระดับเอ็นซัยม์โคลีนเอสเตอเรสต่ำ ลงเหลือร้อยละ 27 ของค่าปรกติใน 15 นาทีหลังการกินขนาด 1.5 มก./กก. นาทีที่ 45 ระดับเอ็นซัยม์จะสูงขึ้นเป็นร้อยละ 50-55 และใน 2 ชั่วโมงจะเป็นปรกติ
การรักษา
การรักษาแบบประคับประคองผู้ป่วยเป็นสิ่งจำเป็นมาก ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตจากอาการแทรกซ้อน เช่น โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ ภาวะการหายใจล้มเหลว ภาวะช็อก และอื่นๆได้ หากรักษาไม่ถูกต้องและทันท่วงที
การลดการดูดซึม และเพิ่มการกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย โดยการทำความสะอาดร่างกายด้วยสบู่ และสระผมเพื่อชำระล้างสารพิษที่ติดตามตัว ซึ่งเป็นแหล่งที่จะดูดซึมเข้าไปในร่างกายได้
ยาต้านพิษ : ใช้ อะโทรปีน ขนาด 2-4 มก. ฉีดเป็นระยะๆ ทุก ๆ 10-15 นาที ไม่ต้องใช้ 2-pam เพราะการ hydrolysis เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วอยู่แล้ว
อะโทรปีนเป็น noncompetitive antagonist ของ muscarinic receptor จึงสามารถแก้อาการของ parasympathetic over activity ได้ทั้งหมด เช่น ม่านตาเล็ก secretion มาก หัวใจเต้นช้า น้ำตาไหล ท้องเสีย ขนาดที่เริ่มใช้ขึ้นกับความรุนแรงของอาการเป็นพิษ ถ้าผู้ป่วยมีอาการรุนแรงมากก็ต้องให้ยาแต่ละครั้งมากและบ่อย จนกระทั่งผู้ป่วยเริ่มมี signs ของ atropinization เช่น ม่านตาขยาย หัวใจเต้นเร็วขึ้น และ secretion ลดน้อยลง หลังจากนั้นก็ค่อยให้ยา maintenance โดยการ titrate ดูอาการ atropinization และอาการของภาวะเป็นพิษจากคาร์บาเมต ดังนั้น ขนาดของอะโทรปีนที่ให้จึงแตกต่างกันค่อนข้างมาก แล้วแต่ความรุนแรงของภาวะเป็นพิษในผู้ป่วยแต่ละราย
อะโทรปีนไม่มีผลต่อ nicotinic receptor จึงไม่สามารถแก้อาการกล้ามเนื้อกระตุก และกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรืออาการทางสมองได้



Create Date : 18 มกราคม 2553
Last Update : 18 มกราคม 2553 23:58:05 น. 1 comments
Counter : 15198 Pageviews.

 
แร้วจะกายเป็นปกติไหมค่ะอยากทราบมากเรยค่ะ


โดย: อรพรรณ บุญเรือง IP: 49.229.56.68 วันที่: 6 มีนาคม 2559 เวลา:7:23:44 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

DR.MOO CAN DO
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 42 คน [?]




ผมเป็น นิติพยาธิแพทย์ หรือ จะเรียกว่า หมอนิติเวช ก็ได้ครับ นิติพยาธิแพทย์ เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรียนจบแพทย์ทั่วไป 6 ปีแล้ว ก็ต้องเรียนต่อเฉพาะทาง นิติพยาธิอีก 3 ปี และเมื่อสอบผ่าน ก็จะได้รับวุฒิบัตรเป็นผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชศาสตร์ และได้เป็นนิติพยาธิแพทย์ โดยสมบูรณ์
หน้าที่ของหมอนิติเวช แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ
ส่วนแรก จะเกี่ยวข้องกับผู้ป่วยคดี โดยในผู้ป่วยคดีนั้นแพทย์นิติเวชจะมีหน้าที่ในการตรวจ และให้ความเห็นกับพนักงานสอบสวนเกี่ยวกับบาดแผลที่ตรวจพบ ซึ่งตำรวจจะนำไปใช้ในการตั้งข้อกล่าวหากับคู่กรณี และหน้าที่ต่อมาของแพทย์นิติเวชคือการเป็นพยานในชั้นศาลในคดีดังกล่าว
ส่วนที่สอง จะเกี่ยวข้องกับผู้เสียชีวิต โดยในกรณีผู้เสียชีวิตนั้นแพทย์นิติเวชมีหน้าที่ในการตรวจสถานที่เกิดเหตุในกรณีตายผิดธรรมชาติตามที่กฎหมายกำหนด และหากมีความจำเป็นต้องผ่าชันสูตร ก็จะต้องมีการทำรายงาน และให้ความเห็นเกี่ยวกับสาเหตุของการเสียชีวิต ส่งให้พนักงานสอบสวน สุดท้ายหน้าที่หลักที่สำคัญโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้คือการเป็นพยานในชั้นศาลในคดีนั้นๆครับ
ประวัติการศึกษา
1.แพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
2.วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญสาขานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3.ประกาศนียบัตร “Crime Scene Investigation” โครงการร่วมระหว่าง International Law Enforcement Academy กับ Federal Bureau of Investigation Academy
4.ประกาศนียบัตร “การบริหารงานโรงพยาบาล” คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ผลงาน
1.อาจารย์ประจำภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มศว.
2.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาชั้นปีที่ 3 โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
3.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาปริญญาโท สาขานิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
4.อาจารย์พิเศษ สอนนักศึกษาปริญญาโท สาขานิติวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
5.วิทยากร หัวข้อ "ICD-10" ของกระทรวงสาธารณสุข
6.วิทยากร หัวข้อ "การตรวจสถานที่เกิดเหตุ" ของมูลนิธิร่วมกตัญญู และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
7.วิทยากรอบรมหลักสูตรนายร้อยตำรวจอบรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
8.วิทยากร หัวข้อ "KPI รายบุคคล" ให้กับโรงพยาบาลและมหาลัยวิทยาลัย ในภาครัฐ
9.วิทยากร หัวข้อ "Living will" ให้กับโรงพยาบาลในภาครัฐและเอกชน10.วิทยากร หัวข้อ "นิติเวชศาสตร์กับงานด้านโบราณคดี" ให้กับคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
11.ร่วมเขียนหนังสือ "KPI รายบุคคล"
12.ร่วมเขียนหนังสือ "มาตรฐาน ICD-10, ICD-9"
13.ที่ปรึกษารายการ "เรื่องจริงผ่านจอ" และ "Redline"
14.บทความทางวิชาการและผลงานวิจัยทั้งในและต่างประเทศ 15 เรื่อง
15.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ตั้งแต่ ปี พศ.2553
16.ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพ ฯ คณะแพทยศาสตร์ มศว. ตั้งแต่ปี พศ.2551
ผศ.นพ.วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี (DR.MOO CAN DO)
New Comments
Friends' blogs
[Add DR.MOO CAN DO's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friend


 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.