|
| 1 | 2 |
3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 |
10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 |
17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 |
24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
|
|
|
|
|
|
|
พุทธศาสนา = ศาสนาประจำชาติ (?) .. Everything that has a beginning has an end
สวัสดีครับ มีข่าวดีที่อยากจะบอกให้ทุกท่านทราบ 2 เรื่อง อย่างแรกคือ หลังจากเกรด 3 เทอมที่ผ่านมามีแต่ร่วงลง เกรดเทอมนี้ของผมขึ้นมาอยู่ที่ 3.56 สร้างความปลาบปลื้มกับเจ้าตัวและคนรอบข้างเป็นอย่างยิ่ง อิอิ เรื่องที่สองคือ ตกลงว่าผมได้ไปแลกเปลี่ยนที่ University of California Santa Barbara (UCSB) (ดีแล้วที่ไม่ได้ Irvine เนื่องจากเกรดเฉลี่ยและคะแนนโทเฟลของผมเท่าเกณฑ์ขั้นต่ำพอดี อาจจะเรียนไม่ไหว ส่วนที่ Santa Barbara นี้เลยเกณฑ์ไปพอสมควร ไม่น่ามีปัญหามากนัก) UCSB ตั้งอยู่ริมทะเล และมีสภาพเหมาะกับการเล่นเซิร์ฟเป็นอย่างยิ่ง คาดว่าผมจะได้ไปเหล่หนุ่มๆ หน้าตาดีแถวนั้นในยามว่างครับ 555 - - - - -
หมายเหตุ
- แรงบันดาลใจของบล็อกนี้ได้มาจากการอ่านบล็อกของคุณ merveillesxx ที่นี่ - ชื่อบล็อกมีที่มาจากข้อความในภาพยนตร์เรื่อง The Martrix Revolutions
ชายคนหนึ่งนัดพบผม เพื่อนของเพื่อนแนะนำให้เรารู้จักกัน เขาสนใจที่ผมสนใจพุทธศาสนา เรานั่งคุยกันสบายๆ ในวันที่บรรยากาศภายนอกมืดครึ้มจากฟ้าฝนและการเรียกร้องบางสิ่งบางอย่าง
เขา : คุณสนใจเรื่องศาสนามานานแค่ไหนแล้ว ผม : เหมือนเด็กทั่วไปที่จะได้รู้จักกับศาสนาอย่างจับต้องได้เมื่อเข้าเรียนชั้นประถม ผมเป็นเด็กกระตือรือล้นเรื่องเรียนมาก คณิตศาสตร์ทำให้ผมทึ่งกับจำนวนมหาศาล ภาษาไทยทำให้ผมเพลิดเพลินกับเรื่องสั้นในบทเรียน แต่กับสปช. โดยเฉพาะหัวข้อศาสนา ทำให้ผมเริ่มสนใจชีวิตมากขึ้น โดยเฉพาะประเด็นที่ว่า เราเกิดมาทำไม
เขา : แสดงว่าคุณศึกษาศาสนามาตั้งแต่ตอนนั้น ผม : อย่างที่บอกว่าผมเอาใจใส่เรื่องเรียน การศึกษาในคำจำกัดความ ณ เวลานั้น จึงเป็นแค่การอ่านจากตำราเรียน จำเหมือนนกแก้วนกขุนทองเผื่อตอบข้อสอบ แต่ความรู้สึกที่พิเศษกว่าเวลาฟังครูพูดหรือได้อ่านเนื้อหาของศาสนาพุทธนั้นเหมือนกับ ชายสักคนเห็นผู้หญิงที่น่าหลงใหล น่าสัมผัส ผมมีความสุขลึกล้ำกว่าการเรียนวิชาอื่น แม้ว่าจะอ่านภาษาบาลีไม่กระจ่างในความหมาย หรือเนื้อหาจะยากก็ตามที
เขา : การที่ครอบครัวของคุณคุณนับถือพุทธ มีอิทธิพลต่อความสนใจด้านนี้ของคุณหรือไม่ ผม : บ้านผมมีหิ้งพระ และกลายเป็นห้องพระในที่สุดเมื่อเราสร้างบ้านใหม่ พ่อแม่ไหว้พระทั้งตื่นเช้าและก่อนนอน ผมเหยียบย่างเข้าไปไหว้เฉพาะเวลามีเรื่องทุกข์ใจ ส่วนพี่สาวนั้นแทบจะไม่เคยไหว้พระเลย บัตรประชาชนของสมาชิกทุกคนในบ้าน ระบุว่านับถือพุทธศาสนา แต่ในรายละเอียดแล้วเราแตกต่างกัน ถ้าพูดตามตรง จุดเปลี่ยนจากความสนใจพุทธศาสนาเฉพาะในตัวบทเรียน เป็นสนใจศึกษาและปฏิบัติ เกิดขึ้นตอนที่ผมอกหัก ตอนนั้นสภาพจิตใจและร่างกายย่ำแย่จนแทบเอาชีวิตไม่รอด ไม่เป็นผู้เป็นคน ต่างกับตอนนี้ลิบลับ เหมือนของชิ้นเล็กที่ลอยเคว้งในลมพายุ ขออะไรก็ได้ที่จะเกาะยึดเพื่อเอาชีวิตรอด สิ่งที่ผมคว้าได้ตอนนั้นคือธรรมะ เคยเรียนมามากต่อมากว่า ศีล 5 เป็นข้อปฏิบัติของชาวพุทธ คนเรามีเสรีทำได้แทบทุกอย่าง เว้นแค่ 5 อย่างจะเป็นอะไรไป ผมพนมมือเจรจาต่อหน้าพระพุทธรูป บอกท่านว่า หากเลิกเสียใจและไปจากความทุกข์นี้ได้ จะขอถือศีล 5 และเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีไปตลอดชีวิต ก่อนนั้นที่ไม่เคยทำใจด้วยตัวเองได้เลย อุโมงค์มืดมิดก็เหมือนมีแสงสว่าง มีหลายคนที่อกหักและดีขึ้นเพราะธรรมะ ผมเองก็เป็นหนึ่งในนั้น
เขา : ศาสนาพุทธให้อะไรกับคุณบ้าง นอกจากเรื่องที่ทำให้หายอกหัก ผม : โดยหลักๆ ผม "เข้าใจ" สิ่งต่างๆ รอบตัวมากขึ้น ทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลง หากเราเอาใจไปยึดกับสิ่งที่เปลี่ยนแปลง เราย่อมเสียใจในที่สุด การมองเห็นตามจริงช่วยให้ทุกข์น้อยลง และมีความสุขจากภายในมากขึ้น นอกจากช่วยเหลือตัวเอง ผมยังได้ทำสิ่งเล็กๆ แต่น่าภูมิใจซึ่งก็คือ การให้คำปรึกษา โดยอาศัยธรรมะมาปรับใช้ให้เข้ากับกรณีเฉพาะคนไป ถ้าจะให้พูดสั้นที่สุดว่าผมได้อะไรจากศาสนาพุทธ ก็น่าจะเป็นชีวิตใหม่ที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
เขา : ผมได้อ่านกระทู้ในโต๊ะสวนลุมเรื่องพระไปกดสิว เห็นปรากฎการณ์การเช่าวัตถุมงคลซึ่งทำให้เงินไหลเวียนหลายพันล้านบาท ผมสะท้อนใจและรู้สึกว่าศาสนาพุทธกำลังตกต่ำ คุณมองสถานการณ์เหล่านี้อย่างไรบ้าง ผม : อย่างที่ผมบอกว่าทุกอย่างย่อมมีการเปลี่ยนแปลง ความมั่นคงของศาสนาพุทธก็เช่นเดียวกัน สถานที่ที่เป็นจุดเริ่มต้นของพระพุทธศาสนาอย่างอินเดีย ยังสูญสิ้นพุทธศาสนาได้ มันไม่มีอะไรแน่นอนเลยในโลกใบนี้ กรณีที่คุณยกมา ผมเองก็ได้รับรู้เช่นกัน ไม่ต้องมองถึงปรากฎการณ์ระดับชาติก็ได้ ถ้าคุณไปถามคนที่ไปวัดแล้วไหว้พระอธิษฐาน หลายคนจะบอกว่าขอให้ร่ำรวย คุณนับถือศาสนาที่ให้คุณปล่อยวาง เพื่อให้ทุกข์น้อยลง แต่คุณกลับมาตักตวงกอบโกย และขอพระท่านบันดาลให้ตามใจคุณ ผมว่านี่น่ากลัวมากกว่ากรณีที่คุณยกมาอีกนะ เพราะแสดงว่าคนกำลังเข้าใจและ มองศาสนาพุทธผิดไป ผมกลัวว่าความเข้าใจผิดนี้จะแผ่คลุมความคิดของชาวพุทธมากขึ้น จนในที่สุดเราจะลืมกันไปหมดสิ้นว่า แก่นของพุทธศาสนาคืออะไร และเรามาศึกษาพุทธศาสนาเพื่ออะไร
เขา : ที่คุณมองว่าการถือศีล 5 สำคัญต่อการเป็นพุทธศาสนิกชน แล้วการเรียกร้องให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ เกี่ยวโยงกับบทบัญญัติเรื่องหน้าที่ชาวพุทธหรือไม่ ผม : หน้าที่ของชาวพุทธอย่างหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับกรณีดังกล่าวคือ เอาใจใส่ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ซึ่งคำนี้ก็ขึ้นกับแต่ละคนจะตีความ ผมเห็นภาพที่พระสงฆ์ประกาศงดฉันอาหาร มาเดินขบวนเพียงเพื่อจะให้มีคำว่า "พุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติ" อยู่ในรัฐธรรมนูญ นั่นยังไม่น่าสะท้อนใจเท่าป้ายเชิญชวนที่แขวนอยู่หน้ากำแพงวัด มีข้อความประมาณว่า ศีลธรรมเสื่อมโทรม สังคมแย่ลง ต้องบัญญัติให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ แล้วคนและสังคมจะดีขึ้น ช่างเป็นตรรกะที่ไม่สมเหตุสมผลเอาเสียเลย ไม่มีทางที่ข้อความข้อความเดียวในกระดาษจะมีกำลังมากพอจะเปลี่ยนอะไรให้ดีขึ้นได้ อย่าบอกว่าการบัญญัติจะช่วยให้ศาสนาพุทธไม่ถูกกลืนจากศาสนาอื่น สิ่งที่จะทำให้ศาสนาพุทธสิ้นลมหายใจไปมีแค่อย่างเดียวเท่านั้น คือ คนพุทธเป็นพุทธแต่เพียงในนาม ไม่สนใจศึกษาธรรมะ พากันหลงลืมจุดสูงสุดของศาสนาคือการพ้นจากเกิด แก่ เจ็บ ตาย หากวันอันน่าสลดใจนี้มาถึง ต่อให้ข้อความนี้ถูกบรรจุด้วยตัวอักษรขนาดหนา ใหญ่ ขีดเส้นใต้อีกสองเส้น พุทธศาสนาก็จะมีชีวิตอยู่แค่ในเอกสารบันทึก แต่ได้ตายจากสังคมไทยไปแล้วอย่างแท้จริง...
ไม่นานนัก บทสนทนาก็จบลง ไม่นานนัก ฝนที่โปรยปรายก็ขาดช่วง ไม่นานนัก การเรียกร้องบางสิ่งบางอย่างก็จะสิ้นสุด เหมือนเช่นทุกสิ่ง
Create Date : 13 มิถุนายน 2550 |
|
11 comments |
Last Update : 13 มิถุนายน 2550 18:07:05 น. |
Counter : 1195 Pageviews. |
|
 |
|
|
| |
โดย: aston27 13 มิถุนายน 2550 22:44:46 น. |
|
|
|
| |
โดย: aritsumemoon IP: 203.131.212.18 14 มิถุนายน 2550 17:21:18 น. |
|
|
|
| |
โดย: Hobbit 18 มิถุนายน 2550 17:51:11 น. |
|
|
|
| |
โดย: เตย IP: 202.29.77.2 29 มิถุนายน 2550 13:26:51 น. |
|
|
|
| |
โดย: nongnok IP: 124.157.231.41 28 กันยายน 2551 11:20:38 น. |
|
|
|
|
|
|
|
1) ความที่พูดกันแต่เปลือกของศาสนาของผู้ที่มาเรียกร้อง
หรือ
2) ความไร้เดียงสาทางการเมืองสังคมของผู้มาเรียกร้อง
เพราะว่า มันไม่ได้มีประเด็นศาสนาเท่านั้น มันมีประเด็นการเมืองด้วย คนที่สนับสนุนและคัดค้านนั้น ก็จะมีทั้งคนที่คิดในแนวศาสนา และ ในแนวการเมืองด้วยเช่นกัน
คนที่คัดค้านนั้น ไม่ได้ค้านแบบชนฝา ไม่ได้ถูกชักจูง มีทั้งคนมองด้านเดียว และ มองรอบด้าน
แต่คนสนับสนุนนั้น "ส่วนใหญ่" (คือไม่ทั้งหมด) หัวชนฝา มองอะไรด้านเดียว ไม่ฟังเหตุผล ถูกชักจูงได้ง่าย