ครั้งหนึ่งแมวถูกยกขึ้นเป็นเทพเจ้า และบัดนี้มันก็ยังไม่ลืมเรื่องนั้น (หึหึ //เลียอุ้งเท้า)
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2551
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
242526272829 
 
14 กุมภาพันธ์ 2551
 
All Blogs
 
Nightfall - รัตติกาล (สนธยาเยือน): "จะมีอะไรในความมืดที่จะทำให้ผมเป็นบ้าไปได้หรือ"

รวมอยู่ใน รวมเรื่องสั้นยอดเยี่ยม นิยายวิทยาศาสตร์ #1 ฉบับไอแซค อาสิมอฟ ฉบับพิมพ์ปี 2530

ไอแซค อาซิมอฟ เขียน
นพดล เวชสวัสดิ์ แปล
แมวไท พิมพ์

เรื่องสั้นขนาดยาวที่สามารถอ่านในภาษาแม่จบได้ภายใน 20 นาทีเล่มนี้ ได้รับการยกย่องให้เป็นนิยายวิทยาศาสตร์ที่ดีที่สุดในยุคก่อนมีรางวัลเนบิวล่า (เชิญสงสัยว่าทำไมเรื่องสั้นถึงได้รับการยกย่องให้เป็น "นิยาย" ที่ดีที่สุด นิยายในที่นี้ถอดมาจากคำว่า "fiction" น่ะเจ้าค่ะ) LMJ นั้นไม่ทราบว่าการประเมินค่านิยายวิทยาศาสตร์นั้นต้องใช้หลักเกณฑ์อะไรบ้าง แต่ถ้าใช้เกณฑ์ของนิยายทั่วไป ก็ต้องบอกว่าเป็นเรื่องที่ทรงพลังทีเดียว

ตอนแรกที่เห็นชื่อภาษาไทยว่ารัตติกาลนั้น รู้สึกไม่ค่อยปิ๊งเท่าไหร่ เลยตั้งชื่อให้ใหม่ว่า "สนธยาเยือน" ปรากฏว่าไปค้นๆ ในภายหลัง มีฉบับแปลของคุณประมุข ลิมปนันทน์อีกสำนวนนึง ใช้ชื่อนี้เหมือนกันเปี๊ยบ โฮ่ๆ สำนวนนี้อยู่ในเล่ม ออบิท 5: สนธยาเยือน นะคะ คิดว่าน่าจะหาง่ายกว่า เพราะเห็นมีออบิทเล่มใหม่ๆ พิมพ์ออกมาด้วย ไม่ทราบว่าพิมพ์ซ้ำหรือพิมพ์ต่อ

หนังสือเล่มที่ LMJ อ่านนี้ซื้อมาจากร้านหนังสือเก่าเพื่อให้แพนด้ามหาภัย เพราะฉะนั้นแพนด้ามหาภัยยังไม่พึงอ่านบล็อกนี้ และถ้าใครอยากอ่านและกล้าไปยืมแพนด้ามหาภัยก็ลองดู เราไม่รับประกันความปลอดภัยใดๆ ทั้งสิ้น

***

เนื้อเรื่องว่าด้วยดาวเคราะห์ดวงหนึ่งที่มีดวงอาทิตย์หกดวง ส่องแสงอยู่ในทิศทางต่างๆ กันตลอดเวลา จึงไม่เคยมีส่วนใดของดาวเป็นเวลากลางคืนเลย แต่บนดาวดวงนี้ มีแหล่งอารยธรรมโบราณอยู่มากมาย คำนวณอายุออกมาน่าจะได้ราวเก้ายุค และมีคัมภีร์ที่กลุ่มคลั่งศาสนากลุ่มหนึ่งนับถือทำนายว่าวันหนึ่งดวงอาทิตย์ทั้งหกดวงนี้จะดับไป และ "เทพดวงดาว" จะปรากฏขึ้นบนท้องฟ้า

และในช่วงสองปีก่อนเรื่องจะเริ่มขึ้น นักดาราศาสตร์ (หรือนักอาทิตยศาสตร์) กลุ่มหนึ่งก็ใช้การคำนวณทางวิทยาศาสตร์ทำนายเหตุการณ์เดียวกับคัมภีร์ที่ว่านั้นขึ้นมาเช่นกัน ในวันที่อาทิตย์จะดับตามกำหนด นักข่าวคนหนึ่งเดินทางมาสัมภาษณ์นักวิทยาศาสตร์หัวหน้าคณะที่หอสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์ ขณะนั้นทางหอกำลังเตรียมการถ่ายภาพสุริยคราส และตาลุงหัวหน้าคณะก็เกลียดตานักข่าวตัวแสบนี่มาก ก็เลยโยนตานี่ไปให้นักจิตวิทยาที่ขึ้นจากหลุมหลบภัย (ที่เก็บญาติมิตรของพวกทำงานในมหาวิทยาลัยนี้เอาไว้ เพื่อธำรงเผ่าพันธุ์มนุษย์) เพื่อมาอยู่ดูโลกในวินาทีสุดท้ายคุยด้วยแทน

ส่วนต่อไปนี้จะว่าเป็นสปอยล์ก็ได้ แต่ประเด็นสำคัญมันไม่ได้อยู่ที่เนื้อเรื่อง เพราะทุกอย่างที่เอ่ยถึง เราคาดเดาได้อยู่แล้ว







บทสนทนาของสองคนนี้เองที่แสนจะทรงพลังน่าขนลุก นักจิตวิทยาที่เกาะติดโครงการนี้มาตลอดอธิบายหลักการคร่าวๆ ให้นักข่าวฟัง และอภิปรายกันว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อโลกมืดมิดลง ซึ่งก็คือทุกคนจะทนไม่ได้ กลายเป็นบ้า แสวงหาแสงสว่างทุกประการที่หาได้ ซึ่งก็คือการจุดไฟ จุดไฟ และจุดไฟ แผดเผาจนอารยธรรมทั้งหมดพังพินาศลง จนในที่สุดผู้คนที่หลงเหลือจึงจะสร้างอารยธรรมขึ้นมาใหม่ จนกลายเป็นวัฏจักรดังที่ผ่านมาเก้ายุค

ระหว่างที่ถกกันอยู่นั้น สาวกลัทธิคลั่งศาสนาคนหนึ่งก็บุกเข้ามา กล่าวหาว่าหัวหน้าคณะนักวิทย์หลอกใช้ข้อมูลจากพวกเขา และเอาไป abuse จนผิดวัตถุประสงค์การชำระจิตวิญญาณ ตานี่ถูกทุกคนจับมัดไว้ และสวดคัมภีร์โบราณที่ว่าออกมาให้ขนลุกกันอีกระลอก ในขณะที่ดวงอาทิตย์ดวงสุดท้ายค่อยๆ เป็นเสี้ยวบางลง ผู้คนในเมืองที่เห็นอยู่ไกลๆ กำลังบ้าคลั่ง เตรียมบุกเข้ามาในหอสังเกตการณ์ ส่วนคนในหอเองก็เริ่มมีพฤติกรรมแปลกๆ

***






จะว่าจบสปอยล์ก็ได้ แต่ถ้าอ่านต่อไปอาจพบสปอยล์ทางไอเดียเล็กน้อย

อ่านเรื่องนี้แล้วเพิ่งจะเข้าใจว่าทำไมแฟนไซไฟเห็นว่า จันทราปฏิวัติ (The Moon is a Harsh Mistress) ของโรเบิร์ต เอ. ไฮน์ไลน์นั้นเป็นเรื่องการเมืองมากเกินไป เพราะเรื่องนั้นพี่แกพ่นๆๆ เรื่องการเมืองออกมาไม่หยุด ในขณะที่ป๋าอาซิมอฟเล่าเรื่องเปี่ยมจินตนาการตั้งแต่ต้นจนจบ แต่สามารถจิกกัดศาสนาและความเชื่อต่างๆ ได้อย่างแนบเนียน (ป๋าแกประกาศตัวเป็นนักมนุษยนิยม ไม่นับถือศาสนาใดๆ ทั้งสิ้น)

ที่จริงเวลาอ่านบางเรื่องของป๋าก็รู้สึกนะว่าแกไม่ได้เขียนนิยายนี่หว่า แกเขียนบทความมีตัวละคร แต่เรื่องนี้เนื้อเรื่องและไอเดียประสานเป็นหนึ่งเดียวกันมากๆ มันเป็นฉากที่ผิดไปจากชีวิตของเราจนยากจะจินตนาการรายละเอียดต่างๆ ออกมาให้ครบถ้วนได้ แต่ในขณะเดียวกัน โลกที่สร้างขึ้นมาก็แสดงความคิดออกมาได้ชัดเจน ความหวาดกลัวและความไม่เข้าใจสิ่งที่ไม่รู้จักของตัวละครในเรื่องนั้น ดูใสซื่อในสายตาเราเอามากๆ แต่ในขณะเดียวกันมันก็สะท้อน ความหวาดกลัวและไม่เข้าใจสิ่งที่ไม่รู้จักของเราเองเช่นกัน

"สิ่งที่เราไม่เคยรู้จักคือความมืด ความมืดที่จะมาทลายกำแพงให้เปิดกว้างออกไป...ไกล ไกลเหลือเกิน...เราไม่รู้...เราไม่มีทางรู้ได้เลย"
-เอตัน 77 อธิการบดีมหาวิทยาลัย หัวหน้าคณะนักอาทิตยศาสตร์-


Create Date : 14 กุมภาพันธ์ 2551
Last Update : 14 กุมภาพันธ์ 2551 16:14:33 น. 5 comments
Counter : 1529 Pageviews.

 
เอิ๊กกกกก

ไม่กล้าอ่าน กลัวสปอยล์


แพนด้าฯ ออกจะใจดี ให้ยืมหนังสือ

อย่าไปขู่ใครเค้าหยั่งงั้นจิ (เอ๋..เราเลือกอีโมถูกมะเนี่ย )


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 14 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:17:19:03 น.  

 
เดี๊ยนรีบลากสกรอลล์บาร์แทบไม่ทันเมื่อพบชื่อ 55




มีดอกไม้ให้เจ้าแมวพันปีนะมี้ กุหลาบพันปีเช่นกัน

สุขสันต์วันวาเลนไทน์นะตะเอง จุ๊บๆ PURRRRRRRRR


โดย: แพนด้ามหาภัย วันที่: 14 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:17:23:09 น.  

 


โดย: ดอกคูณริมฝั่งโขง วันที่: 14 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:17:44:33 น.  

 
อยากอ่าน


โดย: MOMIJI_99 วันที่: 15 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:20:24:20 น.  

 
ไม่ได้อ่านแนววิทยาศาสตร์มานานมาก คงได้กลับมาอ่านเรื่องนี้ล่ะค่ะ


โดย: BoOKend วันที่: 16 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:16:24:48 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

the grinning cheshire cat
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




ปีศาจแมวอายุ 1,700 ปี บำเพ็ญตบะจนแปลงร่างเป็นคนได้ กำลังศึกษาวิถีชีวิตแบบมนุษย์ แต่รู้สึกว่ายากจัง เพราะยังคิดอะไรแบบแมวๆ อยู่เลย
Photobucket LMJ recommends


Photobucket
เต๋าแบบหมีพูห์ (The Tao of Pooh)
Benjamin Hoff เขียน
มนต์สวรรค์ จินดาแสง แปล
มติชน พิมพ์

หนังสือ Tao (หรือ Dao) spin-off ที่ไม่งี่เง่า และคนเขียนรู้จริงจริงๆ ทั้งเรื่องเต๋าและเรื่องหมี

Photobucket
ฅ.คน ฉบับ 41 มี.ค. 52

เจ้าหญิงพอลล่า:
หัวใจเธอมันน่ากราบ
กลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึง:
ยังไงปลาทูก็เจ๋งกว่าโรงถลุงเหล็ก
สัมภาษณ์อ. นิธิ เอียวศรีวงศ์:
ฉบับลำแต้ๆ

เมฆาสัญจร
เมฆาสัญจร (Cloud Atlas)
เดวิด มิทเชลล์ เขียน
จุฑามาศ แอนเนียน แปล
มติชน พิมพ์

เหนือคำบรรยาย (เพราะตัดสินใจเลือกคำบรรยายไม่ถูก ฮา)

ยูโทเปีย และ 1984
ยูทเปีย
เซอร์โธมัส มอร์ เขียน
สมบัติ จันทรวงศ์ แปล
1984
จอร์จ ออร์เวลล์ เขียน
รัศมี เผ่าเหลืองทอง
และ
อำนวยชัย ปฏิพัทธเผ่าพงษ์ แปล
สมมติ พิมพ์

หนังสือเปิดหูเปิดตาระดับตัวพ่อ แถมปกสวยระดับตัวแม่อีกต่างหาก โอ๊ว

เทพเจ้าแห่งสิ่งเล็กๆ
เทพเจ้าแห่งสิ่งเล็กๆ
(The God of Small Things)
อรุณธตี รอย เขียน
สดใส แปล
โครงการสรรพสาส์น
ของสำนักพิมพ์มูลนิธิเด็ก พิมพ์

เรื่องเล่าโค-ตะ-ระอัศจรรย์จากอินเดีย

นายธนาคารเพื่อคนจน
นายธนาคารเพื่อคนจน
โมฮัมหมัด ยูนุส เขียน
สฤณี อาชวานันทกุล แปล
มติชน พิมพ์

อัตชีวประวัติฉบับกึ่งสุขกึ่งเศร้า บางครั้งก็เกือบเคล้าน้ำตา ของหนุ่มนักเรียนนอก กับธนาคารหลังคามุงหญ้า (บานประตูก็ไม่มี) ของเขาและลูกศิษย์ ที่หาญกล้าพุ่งชนทุกอย่างเพื่อให้ผู้หญิงจนๆ จำนวนมากในบังคลาเทศยืนหยัดด้วยขาของตัวเองได้

(อันที่จริงเราควรจะแนะนำว่า นี่เป็นหนังสืออัตชีวประวัติของนักเศรษฐศาสตร์ที่แก้ปัญหาความยากจนในบังคลาเทศจนได้รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำปี 2006 แต่ม่ายอ่ะ ทำงั้นแล้วจะได้อะไร คุณจะรู้เหรอว่าหนังสือเล่มนี้ทั้งสนุกเป็นบ้าและ insightful ขนาดไหน กริๆ)



I'm reading




Potjy's currently-reading book recommendations, reviews, favorite quotes, book clubs, book trivia, book lists


100+ TBR 2010



2010 reading goal

Friends' blogs
[Add the grinning cheshire cat's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.