ครั้งหนึ่งแมวถูกยกขึ้นเป็นเทพเจ้า และบัดนี้มันก็ยังไม่ลืมเรื่องนั้น (หึหึ //เลียอุ้งเท้า)
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2551
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
242526272829 
 
19 กุมภาพันธ์ 2551
 
All Blogs
 
tokyo tokyo continues - โตเกียว โตเกียว ไม่รู้จบ: คู่มือช้อปของบ้านๆ แบบชาวโตเกียวแท้ๆ

Photobucket



anchlee เขียน
booktailor พิมพ์

มาแล้นค่ามาแล้น หนังสือภาคสอง (หรือเปล่า) ของ tokyo tokyo คู่มือท่องเที่ยวโตเกียวขวัญใจใครต่อใคร ผ่านการพิสูจน์มาแล้วว่าใช้งานได้จริง (โดยชาวบ้าน ไม่ใช่ดีฮั้นนะฮ้า) เพราะคนเขียนไม่ใช่แค่ไปเที่ยวครั้งเดียวแล้วกลับมาเขียนหนังสือขาย แต่เคยไปปักหลักอยู่หลายปี และหลังจากนั้นยังกลับไปอีกทุกปี แถมยังเป็นคนช่างจดช่างจำและช่างคุ้ยแคะแกะเกาจริงๆ จะมีคนเขียนหนังสือนำเที่ยวสักกี่คนกันล่ะคู้ณ ที่พอบอกตึกที่เป็นจุดหมายให้แล้ว ยังบอกชื่อสถาปนิกที่ออกแบบตึกนั้นได้อีกต่างหากน่ะ

หนังสือเล่มสองนี่เห็นครั้งแรกก็กรี๊ดเลย เพราะทำปกได้ถูกใจเหลือหลาย ยังกับปกหนังสือเมืองนอกแน่ะ เก๋กู้ดมากๆ แถมขนาดก็เหมาะมือ น้ำหนักเบาพกสะดวก และเต็มไปด้วยรูปสวยๆ กับแผนที่ดูง่ายเหมือนเดิม

ยิ่งอ่านเนื้อหายิ่งถูกใจ เพราะเล่มนี้แนะแหล่งช้อปแบบคนอยู่ประจำ คือข้าวของธรรมดาในชีวิตประจำวันจริงๆ ตั้งแต่แผนกอาหารในชั้นใต้ดินของห้างสรรพสินค้า ที่เอาของร้านหรูมาขายในราคามิตรภาพ อาหารฟาสต์ฟู้ดทั้งชนิดทำลายสุขภาพและพยายามรักษาสุขภาพ (โออออออ คริสปี้ครีมในฝันของเดี๊ยนนนนนน ทีที่โตเกียวยังเปิดสาขาเดียวได้เลยง่าาาาาา) ร้านหนังสือ (ที่บ้างร้านเปิดถึงตี 4 โอ้ แม่เจ้า) ร้านเครื่องเขียน (กรี๊ดดดดดดดดดดมาก ทั้งๆ ที่ตอนนี้ไม่ค่อยได้เขียนอะไรแล้ว แต่ก็ชอบๆๆๆๆๆๆๆ) ร้านของเล่นทั้งกุ๊กกิ๊กและจริงจัง ไปจนถึงดรักสโตร์ (ซึ่งไม่สามารถแปลว่าร้านขายยาได้ มีบางคนพยายามแปลว่าเวชสำอางค์ แต่มันก็ไม่ใช่ และฟังแล้วชวนฮาพิกล) ตบท้ายด้วยการชวนชมพิพิธภัณฑ์ศิลปะและแกลเลอรี่กลางกรุง แบบว่าตายไปเลยครับท่าน

แต่ถ้าใครยังติดใจอยากช้อปของแฟชั่นแบรนด์เนมอย่างในเล่มที่แล้วอยู่ ก็ยังมีลายแทงไว้พร้อม แถมด้วยเกร็ดความรู้ว่าที่แบรนด์แฟชั่นต่างๆ แห่กันมาเปิดสาขาที่โตเกียวก็เพราะเศรษฐกิจญี่ปุ่นไม่ดี คนไม่มีแรงขนกันไปช้อปนอกประเทศ เขาเลยขนกันมาให้ช้อปถึงที่ (งืออออ เดี๊ยนไม่เข้าใจพวกเศรษฐีค่าาาาาาา)

ไปดูรูปหนังสือเพิ่มเติมได้ที่บล็อกคนเขียนค่า ถ้าสั่งซื้อโดยตรงยังมีおまけ โอะมาเคะให้ด้วยนา


Create Date : 19 กุมภาพันธ์ 2551
Last Update : 19 กุมภาพันธ์ 2551 14:10:19 น. 17 comments
Counter : 780 Pageviews.

 
ช่างไฟแรง ขยันอัพจริงๆ
*หาววววววว*


โดย: ตาปรือๆ มือถือถ้วยกาแฟ IP: 124.120.123.16 วันที่: 19 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:13:30:32 น.  

 
^ ลืมบอก ยังไม่ได้บัตรนะ รับบัตรหลังวันที่ 25


โดย: อั๊งอังอา IP: 124.120.123.16 วันที่: 19 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:13:33:13 น.  

 
หุหุ หนังสือดีจัง สงสัยต้องไปหามาเป็นของตัวเองบ้างละ

อยากไปญี่ปุ่นมั่กๆ แบบอ่านหนังสือแล้วลุยเองเลย

น่าหนุกจริงๆ


โดย: cherry (chunny ) วันที่: 19 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:13:34:50 น.  

 
ออกเล่มสองแล้วเหรอ ดีๆ เราก็ชอบคนเขียนคนนี้จ๊ะ คือ...มันไม่ใช่คู่มือนำเที่ยวแบบ idiot guide to Japan (ที่แสนน่าเบื่อ ฮา จนคนอ่านเริ่มเชื่อแล้วว่าดิฉันอีเดียตจริงๆค่ะ ไม่ต้องตอกย้ำ) มันข้ามไปเป็นอีกขั้นนึงแล้วอ่ะ ปกก็ดีไซน์สวยกะทัดรัดจนว่าจะเขียนอีเมล์ไปชม (แต่แล้วโครงการอันยิ่งใหญ่ก็มาพร้อมกับความขี้เกียจอันใหญ่ยิ่ง...)



โดย: scarborough IP: 58.9.58.9 วันที่: 19 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:13:51:32 น.  

 
หน้าปกน่ารัก


โดย: แพนด้ามหาภัย วันที่: 19 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:15:25:12 น.  

 
ชอบเหมือนกัน

คิดว่าถ้ามีบุญวาสนาได้ไปเที่ยวเอง

ก็เอาหนังสือเล่มนี้ไปเดินช้อปของกินตามที่เจ๊แกบอก

เล่มนี้ก็คงไม่พลาดหรอก

ปกงามจริงๆ


โดย: สาวไกด์ใจซื่อ วันที่: 19 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:15:27:05 น.  

 
หนังสือน่าอ่านดีจังค่ะ


โดย: windy (ผ่านมา..ผ่านมา ) วันที่: 19 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:18:11:45 น.  

 
เห็นด้วยค่ะ หน้าปกน่ารัก ถ้าไม่เห็นตัวหนังสือไทยนี่ไม่รู้ว่าเป็นหนังสือภาษาไทยนะคะ (ไม่ได้ว่าหนังสือไทยไม่น่ารักนะ )

ป.ล. ส่วนตัวชอบเรื่องยุคพ่อแม่ของ Cal ค่ะ เรื่องยุคปู่ย่าตายายก็สนุกเหมือนกัน ทำเอายุคของ Cal จืดไปเลยทีเดียวเชียวทั้งที่เป็นตัวเอกนะเนี่ย (คิดเหมือนกันเลยค่ะ นึกว่าจะรู้ตัวตอนลูกฮอกกี้บินเหมือนกัน )


โดย: TaMaCHaN (narumol_tama ) วันที่: 19 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:19:49:35 น.  

 
ร้านหนังสือ (ที่บ้างร้านเปิดถึงตี 4)
ชอบจัง เวลานอนไม่หลับจะได้ไป
นั่งอ่านซะเลย อิอิ


โดย: ดอกคูณริมฝั่งโขง วันที่: 19 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:23:10:01 น.  

 
เงินหมดก่อนค่ะเลยไม่ได้ซื้อมา
ส่วนเล่มแรกนี่ัยังหาไม่ได้เลยค่ะ เลยมีแต่ sweet talk


โดย: PinGz (Kai-Au ) วันที่: 20 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:8:17:49 น.  

 
อยากอ่านเล่มแรกน่ะค่ะ

เรื่องช็อปปิงเอาไว้ก่อน

ว่าแต่สำนักพิมพ์อะไรคะนี่


โดย: BoOKend วันที่: 20 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:22:39:21 น.  

 
ตกลงแล้ว silk มันสมคำเล่าลือมั้ยฮ้า เราเดาว่าสำนวนอารมณ์มันคงคล้ายๆอีตากัปตันคอเรลลีน่ะ แต่น่าจะอ่านจบได้ไวกว่า อิอิ จริงๆเราอยากอ่านภาษาอีแต้้เลี่ยนนี่นา (ชาตินี้จะบรรลุม้ายยย) เคยอ่านรีวิวพวกที่อ่านฉบับแปลฝรั่งเศสเค้าก็ว่าดี แต่คนกลุ่มเดียวกัน พอได้สัมผัสกับต้นฉบับแล้วดันบอกว่ามันดีกว่าเยอะๆ

ปล. เพิ่งรู้ว่าช่วงนี้คนฮิตอ่าน silk กัน (เค้าคงฮิตมานานแล้วแต่สกบร.ตกข่าวตลอดกาลมากกว่าจ๊ะ ฮา) เห็นบาริคโค่เขาก็ดังมานานแล้วนะ ได้อ่านมาว่าเรื่องใหม่ๆของแกเจ๋งกว่าอีก...


โดย: scarborough IP: 58.9.67.103 วันที่: 21 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:18:45:49 น.  

 
มันมีฉบับแปลไทยด้วยเหรอ (ดิฉันจะรู้อะไรทันกะเค้าบ้างมั้ยนี่) แต่สนใจฉบับแปลอังกฤษขึ้นมาหน่อยๆ ชักอยากได้แบบอังกฤษทั้งสองเวอร์ชั่นมาเทียบกันอ้ะ (เรื่องมากอีก...) เดี๋ยวขอไปดูลาดเลาก่อนจ๊ะ ยังพอมีให้ถอยรึเปล่าก็ไม้่รู้แฮะ


โดย: scarborough IP: 58.9.67.103 วันที่: 21 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:21:53:27 น.  

 
ขาหายยัง
แหม่ะ อยากเห็นเจ้าแมวใจร้ายตัวนั้นจัง
ทำได้ดีมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

-- อิอิ ล้อเล่นนะ
หายไวไว มาม่า ยำยำ

=)


โดย: hunjang วันที่: 22 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:8:11:52 น.  

 
น่าอ่านมาก...และจะยิ่งน่าอ่านกว่านี้ ถ้าผมมีโอกาสได้ไปเที่ยวกับเขาบ้าง 555+

ผมเองก็ชอบพวกเครื่องเขียนด้วยเหมือนกันครับ แต่ก็ไม่ชอบเขียนเหมือนกัน 555+
เขียนในคอมมันง่ายกว่า แต่ชอบพวกสมุดจดเล่นมากๆ
ไม่เอาพวกเล่มเล็กๆ เอาแบบสมุดจดเล็กเชอร์ขนาดกำลังดี

พูดแล้วก็อยากไปมั้งจัง...แต่ชาตินี้คงมีบุญไปแค่ศึกษาภัณฑ์แถวบ้าน -*-


โดย: ขอรบกวนทั้งชุดนอน วันที่: 22 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:17:22:27 น.  

 
มาดู เผื่อคราวหน้าเอามาขายมั่งค่ะ ตอนนี้มีพวกสำหรับเยาวชนเยอะมากๆ อยากเอาจำพวกผู้ใหญ่มาขายบ้าง


โดย: หนังสือมือสอง (AngelTomorrow ) วันที่: 25 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:5:58:50 น.  

 
ซื้อมาอ่านแล้ว และไปแล้ว(บางที่) มีเล่มนี้ก็สบายใจหายห่วงค่ะ


โดย: honeynut วันที่: 12 มีนาคม 2552 เวลา:18:44:33 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

the grinning cheshire cat
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




ปีศาจแมวอายุ 1,700 ปี บำเพ็ญตบะจนแปลงร่างเป็นคนได้ กำลังศึกษาวิถีชีวิตแบบมนุษย์ แต่รู้สึกว่ายากจัง เพราะยังคิดอะไรแบบแมวๆ อยู่เลย
Photobucket LMJ recommends


Photobucket
เต๋าแบบหมีพูห์ (The Tao of Pooh)
Benjamin Hoff เขียน
มนต์สวรรค์ จินดาแสง แปล
มติชน พิมพ์

หนังสือ Tao (หรือ Dao) spin-off ที่ไม่งี่เง่า และคนเขียนรู้จริงจริงๆ ทั้งเรื่องเต๋าและเรื่องหมี

Photobucket
ฅ.คน ฉบับ 41 มี.ค. 52

เจ้าหญิงพอลล่า:
หัวใจเธอมันน่ากราบ
กลุ่มอนุรักษ์แม่รำพึง:
ยังไงปลาทูก็เจ๋งกว่าโรงถลุงเหล็ก
สัมภาษณ์อ. นิธิ เอียวศรีวงศ์:
ฉบับลำแต้ๆ

เมฆาสัญจร
เมฆาสัญจร (Cloud Atlas)
เดวิด มิทเชลล์ เขียน
จุฑามาศ แอนเนียน แปล
มติชน พิมพ์

เหนือคำบรรยาย (เพราะตัดสินใจเลือกคำบรรยายไม่ถูก ฮา)

ยูโทเปีย และ 1984
ยูทเปีย
เซอร์โธมัส มอร์ เขียน
สมบัติ จันทรวงศ์ แปล
1984
จอร์จ ออร์เวลล์ เขียน
รัศมี เผ่าเหลืองทอง
และ
อำนวยชัย ปฏิพัทธเผ่าพงษ์ แปล
สมมติ พิมพ์

หนังสือเปิดหูเปิดตาระดับตัวพ่อ แถมปกสวยระดับตัวแม่อีกต่างหาก โอ๊ว

เทพเจ้าแห่งสิ่งเล็กๆ
เทพเจ้าแห่งสิ่งเล็กๆ
(The God of Small Things)
อรุณธตี รอย เขียน
สดใส แปล
โครงการสรรพสาส์น
ของสำนักพิมพ์มูลนิธิเด็ก พิมพ์

เรื่องเล่าโค-ตะ-ระอัศจรรย์จากอินเดีย

นายธนาคารเพื่อคนจน
นายธนาคารเพื่อคนจน
โมฮัมหมัด ยูนุส เขียน
สฤณี อาชวานันทกุล แปล
มติชน พิมพ์

อัตชีวประวัติฉบับกึ่งสุขกึ่งเศร้า บางครั้งก็เกือบเคล้าน้ำตา ของหนุ่มนักเรียนนอก กับธนาคารหลังคามุงหญ้า (บานประตูก็ไม่มี) ของเขาและลูกศิษย์ ที่หาญกล้าพุ่งชนทุกอย่างเพื่อให้ผู้หญิงจนๆ จำนวนมากในบังคลาเทศยืนหยัดด้วยขาของตัวเองได้

(อันที่จริงเราควรจะแนะนำว่า นี่เป็นหนังสืออัตชีวประวัติของนักเศรษฐศาสตร์ที่แก้ปัญหาความยากจนในบังคลาเทศจนได้รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประจำปี 2006 แต่ม่ายอ่ะ ทำงั้นแล้วจะได้อะไร คุณจะรู้เหรอว่าหนังสือเล่มนี้ทั้งสนุกเป็นบ้าและ insightful ขนาดไหน กริๆ)



I'm reading




Potjy's currently-reading book recommendations, reviews, favorite quotes, book clubs, book trivia, book lists


100+ TBR 2010



2010 reading goal

Friends' blogs
[Add the grinning cheshire cat's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.