คนป่าหาธรรม ธรรมะ ธรรมชาติ ธรรมดา คนป่าหาธรรม คนป่าหาธรรม คนป่า หาธรรม ธรรมะ ธรรมชาติ ธรรมดา
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2553
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
1 ตุลาคม 2553
 
All Blogs
 
"เมื่อใจพักได้...กายก็สดชื่น"



สวัสดี วันนี้วันพระ แรม ๘ ค่ำเดือน ๑๐

"เมื่อใจพักได้...กายก็สดชื่น"
(คำว่า “ใจพัก” คือพักจากการพันธการจากกิเลสทั้งหลาย)

ทำไม “ใจ” ไม่เคยเหนื่อยเลย...ไม่เคยเหนื่อยล้า ต่อการแสวงหา
ความอยากได้ ความอยากมี ทั้งหลาย...
แต่ทำไม “กาย” รู้จักเหนื่อย...เมื่อ “กาย” เหนื่อยก็พัก “กาย” กายก็แข็งแรง

ในเมื่อ “ใจ” เป็นอย่างนี้ มันเป็นเรื่องปกติ “ใจ” ที่ไม่เคยเหนื่อย
แต่เราจะต้องพักเหนื่อยของ “ใจ” บ้าง เพื่อกายที่สดชื่น...

วันพระนี้ และเป็นวันศุกร์ด้วย เป็นโอกาสดีที่จะทำให้ “ใจ” ได้พักผ่อนบ้าง....
ขอเธอ...จงตั้งใจปฏิบัติสัก ๓๐ นาที หรือ ๑ ชั่วโมงของ คืนวันศุกร์หรือวันหยุด

“ฉันทำไม่ได้หรอก” เธอบางคน...อาจจะคิด...ต้องลองดูก่อน
แล้ว “ตัวเธอ” นั่นแหล่ะจะตอบตนเอง

เย็นนี้..กลับบ้าน พยายามตั้งใจ “ปฏิบัติ” นะ...
๑. รับทานอาหารเล็กน้อย เพื่อคล่องตัวในการปฏิบัติ
๒. ปิดวาจา (พูดเท่าที่จำเป็น) ซึ่งจะทำให้เราสำรวมมากขึ้น
๓. รักษาใจให้มั่นคง คือว่าไม่ต้องคิดเรื่องอื่น ๆ ใด ๆ
(ถ้าคิดก็ให้เอากระดาษมาจดว่าคิดเรื่องอะไร ๆ บ้างแล้วพิจารณา)
๔. อาบน้ำเร็วขึ้นนิดนึงนะ...เพื่อสวดมนต์ ทำวัตรเย็น
(๒๐.๐๐-๒๐.๓๐ น. แล้วแต่เธอสะดวก)
๕. นั่งสมาธิ สัก ๑๕-๓๐ นาที ที่ห้องนอน ก็ได้ตามที่ คิดว่าสบาย ๆ ท่านั่งที่สบาย ๆ
๖. อย่าเพิ่งลุกออกจากสมาธิ ให้พิจารณาก่อน ว่าตั้งแต่เริ่ม จนจบเป็น อย่างไรบ้าง

นี่แหล่ะ "เมื่อใจพักได้...กายก็สดชื่น"

"คนป่าหาธรรม"






Create Date : 01 ตุลาคม 2553
Last Update : 16 พฤศจิกายน 2553 9:52:31 น. 8 comments
Counter : 969 Pageviews.

 



โดย: หน่อยอิง วันที่: 1 ตุลาคม 2553 เวลา:20:05:48 น.  

 

การปฏิบัติทั้ง 6 ข้อ สำหรับคนเมืองนะ..ข้อ 3 ยากที่สุดเลย ถ้าให้ปิดวาจาพอไหวนะ ทำได้ตามกำลังพอเหมาะ พอดี สำรวมได้ รู้สึกว่านิ่งขึ้น แต่การรักษาใจให้มั่นคงนั้นยากมาก เพราะสมองมักสั่งการให้คิดและจินตนาการไปต่างต่าง นานา ยังควบคุมไม่ค่อยได้ (แต่ไม่ได้แสดงออกมาภายนอกแค่นั้นเอง) แต่ถึงอย่างไร..คนเมืองก็จะลองฝึกปฏิบัติดูนะให้จิตอยู่ ณ ปัจจุบัน และรู้จักตนให้จงได้

คำถาม : ทำไมการปฏิบัติ(ปิดวาจา) มักจะขัดกับความรู้สึกทางใจ(การรักษาใจให้มั่นคง)

คนเมืองคาดว่าหากได้ "พิจารณา" แล้ว ใจคงได้พักและกายก็คงกระปรี้กระเปร่ว เสริมสร้างพลังชีวิตและมีภูมิคุ้มกันให้สามารถดำเนินชีวิตอยู่กับปัจจุบันอย่างปกติสุข...

ขอบคุณ...คุณคนป่าหาธรรม


โดย: คนเมือง^-^ IP: 203.114.111.11 วันที่: 3 ตุลาคม 2553 เวลา:10:15:52 น.  

 
"กิเลสเท่ามหาสมุทรความเพียรเท่าฝ่ามือ
มันห่างไกลกันขนาดไหน
คนสมัยนี้ เพียงใช้ฝ่ามือแตะมหาสมุทร
ทำความเพียรเพียงเล็กน้อย
แต่หมายมั่นปั้นมือว่าจะข้ามโลกสงสาร
เมื่อไม่ได้ตามใจหวังก็หา
เรื่องตำหนิศาสนาและกาลสถานที่"
หลวงปู่มั่นพระอาจารย์ใหญ่
เทศน์สอนหลวงปู่ขาว
ขอยกคำพระท่าน เพื่อมาเตือนสติให้เพียรปฏิบัติธรรม อย่างน้อยทุกวันพระ


โดย: คนหลังเขา IP: 183.89.163.188 วันที่: 3 ตุลาคม 2553 เวลา:11:55:30 น.  

 
"ความทุกข์คือความจริงอันประเสริฐ"

*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~*~



*~*~* แวะมาทักทายจ๊ะ..สุขสันต์วันสดใส ขอหัวใจเบิกบาน *~*~*


*~*~*~*~*~*~* ..HappY BrightDaY.. *~*~*~*~*~*


โดย: *~ต้นกล้า...ของหัวใจ~* วันที่: 5 ตุลาคม 2553 เวลา:16:18:21 น.  

 
การปฏิบัติ ชอบข้อ 6. มาก

เพราะไม่เคยคิดเลย



โดย: Leknoii IP: 58.64.60.53 วันที่: 5 ตุลาคม 2553 เวลา:17:57:13 น.  

 
ข้อ ๓ นะมันยากมากจริง ๆ เมื่อยิ่งบังคับ "จิต"
มันยิ่งดิ้นรน...เธอจึงควรปล่อยให้ "จิต" เขาให้
คิดโน่น...คิดนี่ไปเรื่อย ๆ เธอก็ค่อย ๆ ตามเขาไป
โดยการเขียนที่กระดาษบ้าง..หรือรู้ลมหายใจเข้า..
รู้ลมหายใจออกบ้าง...

หลังจากที่ตาม "จิต" เขาไปเรื่อย ๆ จะแสดงเห็น
ว่า "จิต" เริ่มคิดเรื่องไม่เป็นเรื่องน้อยลง...น้อยลง
นี่แหล่ะ..เธอจักได้สมาธิอ่อน ๆ...
ความเงียบใน "จิต"...สงบมากขึ้น..

คำถาม : ทำไมการปฏิบัติ(ปิดวาจา) มักจะขัดกับความรู้สึกทางใจ(การรักษาใจให้มั่นคง)
ตอบ : ความเห็นส่วนตัวเท่านั้น นี่เป็นเรื่องธรรมดา
และปกติที่เธอ..เธอ หลายคนก็เจอะเจอนะ..

เรืยกว่า "ปิดวาจา..แต่ใจยังเถียงอยู่"
แต่ถ้าเมื่อไร "ใจยอมรับ" เมื่อนั้น ..ไม่เถียงแล้ว..
"ใจยอมรับ" ต้องยอมรับอย่างจริง ๆ จากหัวใจ
เช่น ถ้าเธอทำอะไรผิด แล้วยอมรับผิดพร้อมที่จะแก้ไข..นี่แหล่ะ














โดย: คนป่าหาธรรม IP: 118.174.93.6 วันที่: 6 ตุลาคม 2553 เวลา:14:30:59 น.  

 
ทำไมต้องมีข้อ ๖...
เพราะว่า..ตั้งแต่การปฏิบัติทั้งหลาย...ทั้งปวง
มันเกิดอะไรขึ้นบ้าง เช่น วันนี้ดีได้สมาธิดี...
ต้องพิจารณาก่อนว่าดีอย่างไร ตั้งแต่เริ่มต้น...
ตอนกลาง...และตอนจบ...เพื่อจะได้ปฏิบัติต่อไป

ถ้าวันนี้ไม่ดี...ไม่ดีอย่างไรบ้าง ตั้งแต่เริ่มต้น...
ตอนกลาง..และตอนจบ...เพื่อปรับปรุงต่อไป

ใครเป็นครูที่ดีเหรอ...ก็เธอนั่นแหล่ะ..

สาธุ..


โดย: คนป่าหาธรรม IP: 118.174.93.6 วันที่: 6 ตุลาคม 2553 เวลา:14:35:35 น.  

 
หยุด!ทำร้ายพระพุทธศาสนา หยุด! ถวายเงิน ทอง แก่พระภิกษุและสามเณร พระภิกษุและสามเณร ที่รับเงิน รับทอง เป็นผู้ทำผิดพระวินัยบัญญัติและกฎหมายอาญา
ธรรมวินัยอันพระตถาคตเจ้าประกาศแล้วเปิดเผยไม่กำบังจึงรุ่งเรือง (เล่ม ๑๐ หน้า ๔๖๕_ปกน้ำเงิน)
บัญญัติของพระพุทธเจ้า จากพระไตรปิฎกชุด 91 เล่ม ของมหามกุฎราชวิทยาลัย เล่ม 3
(ปกสีแดง หน้า 887 ปกสีน้ำเงิน หน้า 940)

พระบัญญัติ
อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่ง ทอง-เงิน หรือยินดี ทอง-เงิน อันเขาเก็บไว้ให้ก็ดี เป็นนิสสัคคียปาจิตตีย์
(นิสสัคคียปาจิตตีย์ 1 ตัว ต้องตกโรรุวนรก 1 ชั่วอายุ คือ 4,000 ปีของนรกขุมนี้ เท่ากับ 840,960,000 ล้านปีมนุษย์)

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.ให้ไว้ ณ วันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2535
เป็นปีที่ 47 ในรัชกาลปัจจุบัน

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยคณะสงฆ์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้
โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่รัฐสภาดังต่อไปนี้

มาตรา 15 ตรี มหาเถรสมาคมมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
...(4)รักษาหลักพระธรรมวินัยของพระพุทธศาสนา

**หยุดทำร้ายพระพุทธศาสนา(โยมควรเรียนรู้) ทำบุญแล้วเป็นบาป ตกนรกทั้งพระและโยม
1.ตักบาตรด้วยเงินและทอง
2.ตักบาตรด้วยสิ่งของที่ต้องห้าม
3.ทำบุญกับพระทุศีล(ผิดศีลธรรมและไม่ปฏิบัติตามพระธรรมวินัย)รับเงิน รับทอง มีบัญชีเงินฝากธนาคารเป็นของตนเอง
มีบัตรเอทีเอ็ม มีบัตรเครดิต
4.ฯลฯ
จากพระไตรปิฎกและอรรถกถาแปลไทยฉบับมหามกุฎราชวิทยาลัย 91 เล่ม

**ชาวพุทธทั้งหลาย ขอให้อธิษฐานเพื่อถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดังนี้
“ขออำนาจพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จงบันดาลบุญของข้าพระพุทธเจ้าให้เข้าไปรวมเป็นพระราชกุศลของ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พลังบุญทั้งหลาย ที่พระองค์ได้ทรงกระทำต่อพสกนิกรและราชอาณาจักร ขอบุญนั้นทั้งหมด
จงเป็นพลังขับดันโรคภัยทั้งหลายที่กำลังเกิดในพระวรกายของพระองค์ให้อันตรธานไป”

จากหลักฐานเทียบเคียงของการใช้สัจอธิษฐาน ในพระไตรปิฎก 91 เล่ม ฉบับมหามกฎราชวิทยาลัย เล่ม 74 หน้า 447-479
ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2499 มาตรา 1, 3, 341, 342 และ 343 หรือศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักสงฆ์ป่าสามแยก
ต.วังกวาง อ.น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ (www.samyaek.com)

ผู้มีปัญญาทั้งหลาย ขอจงพิจารณาเอาเถิด เพราะไม่บังคับให้ใครมาเชื่อหรือทำตาม
เพียงแต่นำคำสอนของพระพุทธเจ้ามาเปิดเผย เพื่อให้ชาวพุทธปฏิบัติได้ถูกต้องตามคำสอนของพระพุทธเจ้าเท่านั้น


โดย: shada วันที่: 14 ตุลาคม 2553 เวลา:17:14:27 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

คนป่าหาธรรม
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




คนป่าหาธรรม ธรรมะ ธรรมชาติ
คนป่า หาธรรม ธรรมะ ธรรมชาติ ธรรมดา
Friends' blogs
[Add คนป่าหาธรรม's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.