|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 | 31 | |
|
|
|
|
|
|
|
รีวิวสบายๆ : Merantau

Merantau
หลังจากที่ฝรั่งหัวทอง กาเร็ธ อีวานส์ ทำสารคดีเกี่ยวกับศิลปะการต่อสู้ปันจักสีลัตในอินโดนีเซีย เขาก็หนีบเอา อิโก อูไวส์ นักกีฬาปันจักสีลัตฝีมือดี นำมาปั้นเป็นพระเอกในหนังแอ็กชั่นดราม่า Merantau (จนหนังโด่งดังทั้งในอินโดและนอกประเทศ ก่อนที่ทั้งอีวานส์และอิโกจะเกี่ยวก้อยทำหนังบู๊ปันจักสีลัตลูกผสมกันอีกเรื่องนั่นคือ The Raid: Redemption)
หนังเล่าเรื่องของชายหนุ่ม (อิโก อูไวส์) ที่กำลังปฏิบัติตามประเพณี เมอรันเตา อันเป็นขนบธรรมเนียมดั้งเดิมของชนกลุ่มน้อยที่กำหนดให้ชายฉกรรจ์เดินทางออกจากบ้านเกิด เพื่อแสวงหาความรู้และประสบการณ์หรือความสำเร็จ แล้วนำกลับมาใช้ที่บ้านเกิด
ทีนี้พระเอกของเรา ตั้งใจจะเดินทางไปเป็นครูสอนปันจักสีลัตให้เหล่าเด็กๆในกรุงจากาตาร์ แต่เมื่อมาถึงแล้วเขากลับพบว่าสถานที่ที่เขาตั้งใจจะมา ได้ถูกรื้อถอนและเหมือนกำลังจะนำไปก่อสร้างเป็นสิ่งอื่นไปเสียแล้ว เขาจึงต้อกลายสภาพเป็นคนไร้บ้าน ต่อมาเขาก็เข้าไปช่วยเหลือหญิงสาวยากจนที่กำลังถูกแก๊งชาวต่างชาติค้าเนื้อสดไล่ล่า จนเกิดการต่อสู้ขึ้น
หลังการออกฉาย ผู้ชมหลายคนเรียก Merantau ว่า องค์บาก ฉบับอินโดนีเซีย โดยเฉพาะรูปลักษณ์และลีลาพะบู๊ของพระเอก ที่ชวนให้นึกถึง ทิ้ง ประดู่พริ้ว เสียเหลือเกิน ซึ่งมันก็คล้ายคลึงจริงๆนั่นแหละ แต่สิ่งที่ Merantau และ องค์บาก เหมือนกันยิ่งกว่านั้นคือ กรอบความคิดของหนัง ที่ใช้ตรรกะเดียวกัน สังคมชนบท = ถิ่นคนดี , สังคมเมือง = ถิ่นคนเลว
ในองค์บาก หนังเปิดเรื่องในชนบท ก่อนจะมีเหตุทำให้ไอ้หนุ่มบ้านนา จำต้องเข้าเมืองกรุงเพื่อทำภารกิจ ส่วน Merantau พระเอกก็เป็นคนต่างจังหวัดที่เข้ามาทำธุระบางอย่างในเมืองใหญ่ ทั้งสองคนต่างเผชิญภาวะเหมือนเป็น ปลาผิดน้ำ ทั้งภาพลักษณ์การแต่งกายและอุปนิสัยของตัวละครที่ดูจะเป็น คนดี มากกว่าใครๆในเรื่อง
พระเอกจากบ้านนาใน Merantau ทนเห็นผู้หญิงถูกรังแกไม่ได้ เขาตัดสินใจกระโดดเข้าช่วยเหลืออย่างไม่ลังเล ก่อนจะช่วยสะสางปัญหาจนถึงที่สุดยันจบเรื่อง ในขณะที่แทบไม่มีตัวละครคนเมืองคนไหนเลยที่ดูจะมีศีลธรรมจรรยา ทุกคนดูเอารัดเอาเปรียบคนชั้นล่างของสังคม ราวกับหนังจะมีมายาคติมองว่าคนเมืองล้วนแต่เลวทราม และกระทบชิ่งต่อยอดจนได้ความคิดว่า ผู้สร้างหนังอาจจะคิดว่าคนชนชั้นล่าง สมควรกลับไปอยู่บ้านนอกเสียมากกว่า
พูดยังไม่ทันขาดคำ ในตอนท้ายของหนัง หญิงสาวยากจนที่พระเอกช่วยไว้ ก็ตัดสินใจกลับไปใช้ชีวิตเป็นชาวไร่ชาวสวนอยู่ท่ามกลางขุนเขา ส่วนน้องชายก็ได้เรียนหนังสือ ยิ้มแป้นมีความสุข ซึ่งอารมณ์ของหนังก็ให้ฟีลความรู้สึกว่า พวกเขาได้อยู่ในที่ที่ควรอยู่แล้ว
ข้อเท็จจริงประการหนึ่งที่ควรรทราบไว้คือ ประเพณีเมอร์รันเตายังคงมีการปฏิบัติสืบทอดกันอยู่ ผมไม่แน่ใจว่า ประเพณีนี้มีนัยยะอะไรซ่อนไว้อยู่หรือเปล่า ? แต่ที่แน่ๆ พระเอกใน Merantau คงได้เรียนรู้ว่า สังคมเมืองนั้นเห็นแก่ตัวและอันตรายอย่างยิ่งยวด สังคมบ้านนานั้นน่าอยู่กว่าเป็นไหนๆ
เอ
หรือนั่นจะเป็นนัยยะของมัน แต่เป็นนัยยะของคนเมืองที่คิดและมอบให้ใส่ไว้ในภาพยนตร์
อ่อ ลืมพูดถึงฉากแอ็กชั่น หนังมีฉากแอ็กชั่นที่ดูเพลินตั้งแต่ต้นยันจบ แต่ไฮไลท์จริงๆคือฉากที่พระเอกซัดกับผู้ร้ายตัวต่อตัวด้วยลีลาปันจักสีลัตสไตล์เสืออันดุดันในลิฟท์ ถึงแม้ซีนนี้จะค่อนข้างสั้น แต่ก็มันส์ทะลุปอดชิบหายเลยล่ะ
kitamura
Create Date : 12 กรกฎาคม 2555 |
|
2 comments |
Last Update : 12 กรกฎาคม 2555 18:41:38 น. |
Counter : 2296 Pageviews. |
|
 |
|
|
| |
โดย: Kitamura 13 กรกฎาคม 2555 12:13:07 น. |
|
|
|
|
|
|
|