Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
9 ตุลาคม 2554
 
All Blogs
 
อุปกรณ์ อาหาร เตรียมตัวรับมือภัยน้ำท่วม‏
























บ้านดาราป้องกันน้ำท่วม




วิธีป้องกันน้ำท่วมเข้าประตู




ถ้าอยากกินผักก็จะปลูกถั่วงอกกินแทน
การปลูกถั่วงอกและปลูกเมล็ดทานตะวันไว้ทาน














































รู้มากอยากแชร์ เพราะแคร์นะตัวเอง

//www.volunteerconnex.com/share

1



2




3



4



5



6



7



8




9




10




11




12



13



14



15



16



17




คลิปเรือ
















เมนูอาหาร

สำหรับบ้านที่มีเตาแก๊ส
ฟักทองแบบลูกเก็บไว้ได้นาน ฟักเขียว
ข้าวสาร ข้าวเหนียว
แอปเปิ้ล
แครอท
โจ๊กซอง

ถ้าไม่มีอุปกรณ์หุงต้ม

ข้าวที่หุงแล้วตากแห้ง
หมูหยอง
หมูแดดเดียว
ไข่เค็ม
สารพัดปลากระป๋อง
มาม่า
เห็ดอบแห้ง เช่น เห็ดหูหนู
สาหร่าย
ซุปก้อน
ปลาอินทรีในน้ำมัน
นำ้พริกนรก สวรรค์ และน้ำพริกต่างๆ
ปลาสลิดทอด
กุนเชียงทอดแล้ว
หมูแผ่น
ซ๊อส ซีอิ๊ว
ผักกาดดอง
ขนมปังปี๊บ หรือ แครกเกอร์ห่อ
น้ำพริกเผา
ผักที่เก็บได้โดยไม่ต้องใส่ตู้เย็น ก็ดีค่ะ เก็บได้ง่ายกว่าข้าวสวย
ถั่วต่าง ๆ
กุ้งแห้ง
กะปิ
พริกป่น
ขนมปัง
แยม เนย
พวกนมกล่อง
ยาทากันยุง
อาหารสำเร็จรูปที่สามารถเปิดทานได้เลยจะดีมาก
พวกขนมแห้งๆ เช่น ข้าวนางเล็ด


วิธีหุงข้าวสวยให้เก็บไว้ได้หลายวันโดยไม่บูด
ตอนนี้พื้นที่น้ำท่วมเยอะมาก
บางที่ท่วมจนไม่สามารถจะทำอาหารได้ หรือไม่มีอุปกรณ์เพราะน้ำพาไปหมด

ของที่บริจาคช่วยน้ำท่วมที่เราเห็นเยอะคือ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปหรือข้าวสาร ซึ่งต้องทำให้สุกก่อนทาน
หรือจะเป็นอาหารสำเร็จรูปบรรจุกระป๋องอย่าง ปลากระป๋องซึ่งทานอย่างเดียวก็ไม่อิ่มท้อง

ข้าวสวยบรรจุกระป๋อง ก็มีราคาแพงและน้อย

ที่บ้านเรา เวลาหุงข้าวสวย จะใส่น้ำส้มสายชูลงไปด้วย
ข้าวสาร 3 กระป๋อง ใช้น้ำส้มสายชูประมาณ 1 ช้อนชา ซึ่งจริงๆก็กะเอาค่ะไม่ได้ตวง

ข้าวสวยที่หุงโดยการเติมน้ำส้มสายชูลงไป สามารถอยู่ได้โดยไม่บูดหลายวัน

เราเคยหุงแล้วตักมาทาน แล้วปิดฝาทิ้งไว้ ลืมไป 4 วัน มาเปิดหม้อดูอีกที ก็ไม่บูดค่ะ ไม่แฉะด้วย

เราทดลองหุงแล้วตักมาทาน แล้วปล่อยทิ้งไว้คาหม้อ 4-5 วัน มาไม่ต่ำกว่า 5 ครั้งแล้วค่ะ เพื่อพิสูจน์ว่ามันจะไม่บูดจริงๆ โดยเปิดฝาดูทุกวัน
ข้าวที่หุงทิ้งไว้ 4-5วัน เราก็เอามาทานจริงๆ ไม่มีกลิ่นบูด ไม่แฉะ

เราเลยคิดว่า อยากให้หุงข้าวด้วยการเติมน้ำส้มสายชูดังกล่าว
แล้วบรรจุถุงแกง อาจจะรัดด้วยหนังยางหรือซีลด้วยเครื่องซีลถุง
เอาไปบริจาคให้ผู้ที่อยู่ในพื้นที่น้ำท่วมซึ่งไม่สามารถประกอบอาหารได้

ทานข้าวสวยกับปลากระป๋อง อร่อยและอิ่มท้องกว่าทานปลากระป๋องอย่างเดียวค่ะ

ส่วนตัวเราเอง ตอนนี้ทยอยหุงข้าวแล้ว pack ใส่ถุงพลาสติกเก็บไว้เป็นเสบียงแล้วค่ะ
เพราะอยู่ในพื้นที่เสี่ยงน้ำจะเข้าท่วมในอีก2-3วัน เก็บของเตรียมพร้อมเรียบร้อย
เอกสารสำคัญ ยา อาหาร ของจำเป็นในการดำรงชีวิต พร้อมลุย ไม่ต้องรอถุงยังชีพ

เพิ่มสรุปจากความเห็นที่ 39

จากการทดลอง ข้าวที่บรรจุตอนยังร้อน เก็บไว้ 3 วันยังไม่บูดค่ะ
แต่ข้าวที่บรรจุตอนข้าวหายร้อนแล้ว มีราขึ้น

===ดังนั้น ควรจะบรรจุข้าวใส่ถุงตอนที่ยังร้อนๆ และข้าวต้องไม่แฉะ
เนื่องจากหลังบรรจุจะเกิดไอน้ำขึ้นในถุงอีก ทำให้ข้าวแฉะขึ้น===
สำหรับเรา นานสุดที่หุงแล้วตักมาทานวันละมื้อ อยู่ได้เกิน 7 วันแล้วค่ะ
หุง 4 ถ้วย ตักมาทานแค่มื้อเย็น ข้าวสวยก็คาไว้ที่หม้อค่ะ ไม่ได้ตักออกมา

เดี๋ยวจะลองหุงใหม่ แล้วตักใส่ถุงแกง ซีลถุง ไว้หลายๆถุง เก็บที่สถาวะจริง
เอามาทานวันละถุง ดูซิจะอยู่ได้ซัก10 วันไม๊

แบบว่าคาหม้อไว้อย่างนั้นตลอดเลย ไม่เสียค่ะ
พอเราจะทานก็ตักออกมาใส่จานแล้วเข้าไมโครเวฟถ้าอยากทานร้อนๆ

***แต่ถ้าเราจะหุงเก็บไว้ทานตอนที่ไม่มีไฟฟ้า ก็จะหุงแล้วตักใส่ถุงหลังจากที่ข้าวดีดแล้วซัก 5 นาทีค่ะ รีดอากาศออกให้หมดแล้วรัดยางหรือซีลถุงเลย***

จากการทดลอง ข้าวที่บรรจุตอนยังร้อน เก็บไว้ 3 วันยังไม่บูดค่ะ
แต่ข้าวที่บรรจุตอนข้าวหายร้อนแล้ว มีราขึ้น

===ดังนั้น ควรจะบรรจุข้าวใส่ถุงตอนที่ยังร้อนๆ และข้าวต้องไม่แฉะ
เนื่องจากหลังบรรจุจะเกิดไอน้ำขึ้นในถุงอีก ทำให้ข้าวแฉะขึ้น===

ข้าวไม่มีรสเปรี้ยวค่ะ
ตอนหุงอยู่ ไอน้ำที่ออกมาจะมีกลิ่นน้ำส้มสายชู
กลิ่นแทบไม่มีเหลือในข้าวสวยแล้วค่ะ

ข้าวที่ได้จะฟู นุ่ม น่าทานกว่าไม่เติมน้ำส้มสายชูค่ะ
เราใช้น้ำส้มสายชูที่ใช้ทำอาหารทั่วๆไปค่ะ ขอเป็นน้ำส้มสายชูแท้ก็พอค่ะ

ใส่น้ำส้มสายชูแค่ 1 ช้อนชา ( 5 ml ) ต่อข้าว 3 กระป๋อง ( 450 gm )
จะเห็นว่า น้อยมากค่ะ
หลังจากลองบรรจุข้าวในถุง เปรียบเทียบบรรจุตอนข้าวยังร้อน กับบรรจุข้าวที่หายร้อน (หุงทิ้งข้ามคืน)
พบว่า ข้าวที่ยังร้อน จะมีไอน้ำควบแน่นในถุงเยอะมาก
เมื่อเก็บไว้ 1 วัน จะพบว่า ข้าวทั้ง 2 ถุงไม่บูด แต่ข้าวถุงที่บรรจุตอนร้อน จะแฉะ ไม่น่าทาน


จากคุณ : ลูกหมูใจดี



/////////////////////////////////////////////


ในส่วนของถุงยังชีพนั้น ผู้มีจิตกุศลที่จะช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม สามารถจัดนำไปแจกได้ด้วยตนเอง หรือส่งผ่านตัวแทน สภากาชาดไทย โดยสิ่งของจำเป็นที่ควรมีในถุงยังชีพ ได้แก่...

1. อาหารแห้ง เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปลากระป๋อง ผักกาดดองกระป๋อง ปลาราดพริก น้ำพริกกระปุก เนื้อเค็ม ไข่เค็ม หมูหยอง หมูแผ่น ฯลฯ ในปริมาณที่เพียงพอต่อการบริโภคไม่น้อยกว่า 3 วัน ที่สำคัญอย่าลืม ที่เปิดกระป๋องด้วย

2. ข้าวหอมมะลิกระป๋อง และข้าวสาร หรือหากเดินทางไปแจกด้วยตนเอง อาจซื้อข้าวเหนียวนึ่งกับเนื้อหรือหมูทอดใส่ถุงเพราะไม่บูดง่าย (เนื่องจากผู้ประสบภัยบางคนได้รับอาหารกระป๋องจนเบื่อแล้ว)

3. น้ำดื่ม เครื่องดื่มแพ็คกล่อง และขนมปังกรอบ ขนมถุงต่าง ๆ ที่เด็กชอบ นมถั่วเหลืองและน้ำผลไม้สำหรับถวายพระฉันหลังเพล

4. นมผง และขวดนมสำหรับเด็กเล็ก พร้อมด้วยกระติกน้ำร้อนขนาดเล็ก ชนิดเสียบไฟได้

5. กระบอกไฟฉายพร้อมถ่าน ควรมีถ่านสำรองด้วยหลาย ๆ ชุด เทียนไข และไฟแช็ค

6. ชุดปฐมพยาบาล และยาสามัญประจำบ้าน ยาแก้น้ำกัดเท้า ยาทาแผลสด ยาดม ยาหม่อง ยาแก้ไข้แก้หวัด ยาแก้ไอ เจ็บคอ เกลือแร่ซอง ยาแก้ท้องเสีย โลชั่นกันยุง ยาแก้คัน และยารักษาเชื้อรา-น้ำกัดเท้า

7. กระดาษทิชชู และกระดาษชำระแบบเปียก ใช้สำหรับการชำระล้างเพื่อสุขอนามัย

8. ถุงดำสำหรับใส่ขยะ พร้อมเชือกฟางหรือหนังยาง สำหรับมัดปากถุง

9. ผ้าอนามัย และยาคุมสำหรับผู้หญิง ถุงยางอนามัยสำหรับผู้ชาย ผ้าอ้อมสำเร็จรูปสำหรับเด็กเล็กและคนแก่ กระโถน ถุงก๊อบแก๊บพร้อมที่นั่งถ่ายแบบของคนป่วย

10. เสื้อชูชีพ จำเป็นมากสำหรับคนแก่ คนป่วย และเด็ก ที่ควรมีไว้ประจำตัว

11. รองเท้าแตะยาง เสื้อกันฝน หมวกกันแดด ร่ม เสื้อยืด สบู่ แปรงสีฟัน ยาสีฟัน ผ้าขาวม้า ผ้าถุง กางเกงในกระดาษ หน้ากากกันฝุ่น

12. นกหวีด เพื่อส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ

13. เชือกไนลอนเส้นยาว ๆ สำหรับผูกของ ตากผ้า ฯลฯ

14. กระจกเล็ก ๆ เอาไว้สะท้อนแสงขอความช่วยเหลือ

15. แผ่นพลาสติกและเทปกาว เพื่อใช้ในการทำที่หลบภัยภายในที่พัก

ทั้งหมดนี้ เป็นรายการสิ่งของจำเป็นเบื้องต้น ซึ่งท่านที่ต้องการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมสามารถจัดเตรียมและนำไปมอบให้ได้ด้วยตนเอง หรือผ่านหน่วยงานต่าง ๆ ที่เปิดรับ หรือหากต้องการบริจาคสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม สามารถบริจาคได้ที่ สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย 1871 ถนนอังรีดูนังต์ ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 โทร. 02-2517853-6 โทรสาร 02-2527976




//////////////////////////////////////////////

1.ต้องตระหนักว่า น้ำท่วมจะทำความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินได้มากมาย และผู้ที่อาศัย
อยู่ในที่ที่มีความเสี่ยงสูง ต้องเตรียมตัวให้พร้อมเสมอ

2.วางแผนในครอบครัวให้ทุกคนมีความรู้และหน้าที่ต่างๆ
•แผนดูเด็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้พิการ (หากมี)

•แผนการอพยพหนีภัย หากต้องละทิ้งบ้านเรือนหรือที่ทำงาน รู้ที่ๆ จะไปอาศัย เช่น
บ้านญาติ เพื่อนสนิท สถานที่ราชการ หรือที่สูงๆ ที่ปลอดภัย รู้เส้นทางที่ปลอดภัยที่จะเดินทางไปที่นั้นๆ ให้มากกว่า 1 เส้นทาง พร้อมทั้งกำหนดจุดนัดพบ หรือบุคคลที่จะติดต่อข่าว ในกรณีที่อาจพลัดพรากกันระหว่างหนีภัย หรืออยู่กันคนละแห่ง เพื่อสำรวจว่าไม่มีใครสูญหายไป

•ขณะน้ำท่วมอาจเกิดไฟไหม้ได้ด้วย ต้องรู้ทางหนีออกจากบ้านหรือที่ทำงานให้มาก
กว่า 1 ทาง บ้านที่มุงกระเบื้อง หน้าต่างเหล็กดัด ควรมีบางช่องที่มีบานพับเปิดได้เป็นทางออกฉุกเฉิน แม้แต่บางบ้านซึ่งอาจต้องหนีออกทางหลังคา จะต้องมีช่องที่จะขึ้นไปรื้อหลังคาออกได้

•แผนป้องกันไฟฟ้าดูด ควรมีความรุ้เรื่องไฟฟ้า รู้ตำแหน่งสะพานไฟฟ้า สำหรับตัด
ไฟเมื่อน้ำจะท่วมปลั๊กไฟ และไม่ควรลงไปในน้ำ ในที่สงสัยว่าอาจมีไฟฟ้ารั่วอยู่ในน้ำ

•แผนป้องกันขโมย

•แผนช่วยเหลือกันและกันกับเพื่อนบ้าน

อาหารสำเร็จหรือกึ่งสำเร็จรูป ที่ไม่ต้องการการหุงการปรุงมาก และอาหารที่ไม่ต้องแช่เย็น อาหารกระป๋องควรเตรียมที่เปิดด้วยมือไว้ด้วย
น้ำดื่ม


อุปกรณ์การปรุงอาหาร เช่น หม้อ กระทะ ถ้วยชามเท่าที่จำเป็น เตาแก๊สที่พอใช้ได้ มีดทำครัว ไม้ขีดไฟ หรือไฟสำหรับจุดบุหรี่ แก้วน้ำ กระติกน้ำร้อน

ในกรณีที่มีอาหารสดเหลืออยู่ ควรรีบทำให้สุก เพื่อเก็บได้นานขึ้นและใช้กินก่อน

กระดาษชำระหรือกระดาษหนังสือพิมพ์ สำหรับเช็ดถ้วยชามก่อนล้าง

ถุงพลาสติกสำหรับใส่เศษอาหารและของอื่นๆ และยางรัดหรือเชือกสำหรับผูกปากถุง

4.น้ำ ทั้งน้ำดื่มและน้ำใช้ เตรียมภาชนะใส่ไว้ให้พอใช้อย่างประหยัดได้สัก 5-7 วัน และต้องใช้ด้วยความประหยัดที่สุดทุกครั้ง

5.เครื่องนุ่งห่ม เครื่องแต่งตัวที่จำเป็น

•เสื้อผ้า ในกรณีต้องละบ้านเรือน

•เครื่องกันหนาวกันฝน

•รองเท้าแตะที่มีสายรัดส้น ป้องกันอุบัติเหตุบาดแผลจากเศษกระเบื้อง กระจก
โลหะหรือของมีคมอื่นๆ ที่จมอยู่ในน้ำ


6.ชุดปฐมพยาบาลและสุขอนามัย ชุดทำแผล ยาแก้ปวด แก้ไข้ แก้หวัด ท้องเดิน ภูมิแพ้
และยาสำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว จำนวนให้พอเพียงสำหรับเวลา 5-7 วัน กระดาษชำระ ผ้าอนามัย สบู่ ผงซักฟอก

7.ห้องน้ำที่จะใช้ขณะน้ำท่วม เช่น ห้องน้ำบนชั้นบนของบ้านเพราะห้องน้ำชั้นล่างจะใช้ไม่ได้
และควรป้องกันการไหลย้อนกลับออกมาทางห้องส้วมชั้นล่างด้วยการอุดโถส้วมชั้น ล้างงด้วยผ้าผืนโตพอที่จะไม่หลุดลงไปในท่อและทับไว้ด้วยของหนักๆ ส่วนท่อที่ต่อไปยังถังบำบัด (ในต่างประเทศเขายังติดตั้งลิ้นปิด-เปิดอัตโนมัติป้องกันน้ำเสียไหลย้อนกลับ อีกด้วย

ในกรณีที่จะไม่มีห้องส้วมใช้ อาจกำหนดมุมใดมุมหนึ่ง ที่มิดชิดในบ้าน เตรียมถุงพลาสติกขนาดพอเหมาะสำหรับถ่าย เตรียมยางรัดเชือกสำหรับผูกปากถุงให้แน่นสนิท (ไม่ใช้วิธีผูกหูหิ้วถุงเข้าหากัน เพราะจะมีช่องรั่วออกได้) และถุงเก็บขยะพลาสติกสำหรับใส่รวมไว้ก่อนด้วย ห้ามโยนทิ้งไปตามน้ำ เพราะจะไปเป็นขยะติดเชื้อแก่ผู้อื่นและสิ่งแวดล้อม

8.อุปกรณ์จำเป็นอื่นๆ
•ไฟฉายพร้อมถ่านไฟฉายใหม่ๆ สำรองให้พอเพียง เพราะขณะน้ำท่วมไฟฟ้าจะดับ
ด้วย

•ไฟสำรองฉุกเฉินเมื่อไฟฟ้าดับ


•วิทยุกระเป๋าหิ้วพร้อมถ่านใหม่ๆ สำรองเพื่อฟังข่าวน้ำท่วม การพยากรณ์อากาศ
และการให้การช่วยเหลือ

•โทรศัพท์มือถือ (ถ้ามี) เพื่อการติดต่อแจ้งข่าว หรือขอความช่วยเหลือ

•หมายเลขโทรศัพท์ที่จำเป็น เช่น จังหวัด อำเภอ เทศบาล หน่วยดับเพลิง โรง-
พยาบาล สถานีตำรวจ หน่วยงานอุตุนิยม ศูนย์เรด้าร์ตรวจอากาศ ญาติ เพื่อน และประชาชนผู้ที่เป็นเครือข่ายเตือนภัย

•เครื่องมือช่างที่จำเป็น เช่น ค้อน ตะปู คีมด้ามยาง ไขควงที่ทดสอบไฟฟ้าได้ด้วย
เลื่อยไม้ เลื่อยเหล็ก ซึ่งปกติก็เป็นเครื่องมือประจำบ้านอยู่แล้ว

•ไม้กวาด ไม้ถูพื้น ถังน้ำ แปรงและที่ขัดทำความสะอาดพื้นและฝาผนัง สำหรับ
เวลาน้ำกำลังลด

•เครื่องดับเพลิงประจำบ้าน

•ถุงทรายพร้อมทราย เพื่อทำทำนบกั้นประตู หรือเขื่อนกั้นน้ำ ในกรณีที่น้ำท่วมไม่
สูงนัก (เมื่อใช้แล้วควรเททรายออกจากถุง เก็บทรายและถุงไว้สำหรับใช้คราวหน้าได้ ไม่ควรเททราบทิ้งหรือเทลงแม่น้ำ ลำคลอง หรือคูน้ำ)

•บ้านในชนบท, ชานเมือง, หรือวัด ที่น้ำท่วมสูง อาจจำเป็นต้องมีเรือด้วย

•เชือกเส้นโตพอประมาณ และยาวพอที่ขึงโยงกับบ้านข้างเคียงหรือตรงข้าม ทบต่อ
กันเป็นวงเพื่อทำเป็นรอกส่งของช่วยเหลือกันได้ หรืออาจขึงเลาะไปตามประตูหน้าบ้านสำหรับผู้ที่จำเป็นต้องเดินไปตามข้างถนน ได้เกาะ เสื้อชูชีพ ในรายที่คิดว่าจำเป็น (อาจใช้ถังพลาสติกปิดฝาผูกติดกัน หรือยางในรถยนต์เก่าๆ สูบลมก็ได้)

9.สร้างของใช้ในบ้านให้เหมาะกับบ้านที่น้ำจะท่วมได้

•เฟอร์นิเจอร์ ฝาบ้าน ที่ทำด้วยไม้อัดจะเสียหายง่าย

•ของหนักๆ ชิ้นโตๆ ขนย้ายยาก

•แผ่นยิบซั่มทำฝาผนัง กระดาษปิดฝาผนัง เสียหายง่าย

•ของมีค่า เอกสารสำคัญ ตู้นิรภัย ควรอยู่ในที่สูงหรือชั้นบนสำหรับบ้านหลายชั้น
10. เงินสด เพื่อใช้จ่ายในขณะที่น้ำท่วมไม่สามารถไปเบิกจากธนาคาร หรือจากเครื่องเอทีเอ็ม
(ATM) ได้

11.รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ราคาแพงและค่าซ่อมแพง ควรกำหนดที่ๆ จะนำไปจอดหนีน้ำได้
อย่างปลอดภัยไว้ล่วงหน้า เมื่อได้รับการเตือนภัยควรเติมน้ำมันรถให้เต็ม เพราะปั๊มน้ำมันอาจเปิดบริการไม่ได้ทันทีหลังน้ำลด หรือน้ำมันอาจหมดพอดีขณะหนีน้ำ ควรรีบนำรถไปเก็บในที่ปลอดภัยแต่เนิ่นๆ หากน้ำกำลังท่วมถนนและน้ำไหลเชี่ยวต้องระมัดระวังมากๆ เพราะพื้นถนนหรือคอสะพานอาจขาด หรือเป็นหลุมเป็นบ่อที่เรามองไม่เห็น หากน้ำท่วมสูงถึงเครื่องยนต์ หรือเครื่องยนต์สำลักน้ำแล้วไม่ควรขับฝ่าไป หรือหากข้างหน้าน้ำท่วมสูงหรือไหลเชี่ยวมาก ไม่ควรขับฝ่าไป เพราะน้ำอาจพัดพารถไปได้ ควรรีบหันกลับไปทางอื่นและควรวางแผนหาเส้นทางสำรองที่ปลอดภัยอื่นไว้ล่วง หน้าด้วย
12.ครอบครัวในชนบทที่เลี้ยงปศุสัตว์ ต้องวางแผนการโยกย้ายสัตว์ไปไว้ยังที่ปลอดภัย โดย
เส้นทางที่ปลอดภัยพร้อมทั้งอาหารสำรองด้วย
13.ผู้ที่สนใจประกันภัยน้ำท่วมหรือประกันอื่นๆ ควรติดต่อสอบถามรายละเอียดจากบริษัทประ
กันภัยให้ชัดเจน และต้องเข้าใจข้อความในสัญญาต่างๆ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาต่างๆ ในการประกัน


ไม้ไผ่แข็งแรงและด้ามยาวๆ
ยาแก้แพ้อาหาร แพ้อากาศ
รองเท้าบู๊ท ถุงพลาสติก


คั่วกลิ้งหมู น้ำพริกต่าง ๆเช่น น้ำพริกนรก น้ำพริกลงเรือ น้ำพริกมะขาม น้ำพริกเผา ปลาแดดเดียว ไก่ย่างแห้ง ๆ
วุ้นเส้น กล้วยตาก มะม่วงกวน ผลไม้อบแห้งต่างๆ
แนะนำอาหารพวกผักที่เสียยากครับ เช่น ฟักทอง มันฝรั่ง ฟักแฟง แตงกวา แครอท
พวกคอร์นเฟลค โกโก้ครันช์ กับนมกล่อง (ที่ไม่ต้องเก็บในตู้เย็น) ก็น่าจะซื้อเก็บไว้ไม่ต้องพึ่งเตาแก๊ส ตู้เย็นก็อิ่มได้

ไก่ทอดเกลือ หมูเค็ม หมูหวาน จับฉ่าย พะโล้ หมูตุ๋น แกงส้ม ซาลาเปาใส่ช่องน้ำแข็งไว้เลย


เครื่องปรุงติดบ้าน น้ำปลา ซีอิ้ว น้ำมันหอย น้ำมันพืช พริกแห้งหรือพริกขี้หนู

กล่องพลาสติกแบบนี้มาใส่น้ำจะได้มีน้ำก็อกไว้ใช้เข้าห้องน้ำ

แสงสว่างจากเทียนพรรษาช่วยประหยัดถ่านไฟฉาย ขนาดใหญ่อยู่ได้นานเป็นเดือน

ข้าวของที่ไม่สามารถยกขึ้นที่สูงให้ใส่ถุงดำแล้วใช้ที่รัดสายไฟสำหรับมัดปิดตายป้องกันความเสียหายจากการแช่น้ำ



เขาจะตัดน้ำตัดไฟ ลองค้นหาวิถีชีวิตแบบไทยๆ ที่ห่างหายไปนาน กลับมาใช้เพื่อความอยู่รอดกันดีไหม
1.ไม่มีไฟฟ้า หาเทียนไข ตะเกียงน้ำมันต่างๆ
2. หุงข้าวแบบใช้เตาแก็ส เตาถ่าน เหมือนเวลาเราไปเข้าค่าย ลูกเสือ ไม่ยากหรอก ใส่น้ำให้พอท่วมหลังมือ เริ่มต้นตั้งไฟให้แรงๆ พอเม็ดข้าวแตก บานออก ให้หรี่ไฟลงให้อ่อนมากๆๆ ปิดฝาไว้ พอน้ำในหม้อเริ่มแห้งให้ปิดฝาหม้อ แล้วปิดแก็ส ทิ้งไว้สักพักให้เม็ดข้าวถูกไอน้ำอบให้ระอุ ก็จะสุกสวยพอดี
3.หาอาหารที่ไม่ต้องใส่ตู้เย็น เช่น ฟักทอง กล้วย กะหล่ำปลี ถั่วเขียว เท่านี้เราก็จะมีอาหารทั้งคาวหวาน กินได้ตามปกติ
4.ถ้าพอหาเนื้อหมูได้ ก็ทำหมูแดดเดียวตากไว้บนหลังคา เอาไว้ทอดกินกะข้าวเหนียว ข้าวเหนียวหุงไม่ยาก เก็บไว้ได้นานกว่าข้าวสวย กินไม่หมดก็ตากไว้พอแห้ง ก็เอามาทอดเป็นข้าวแตน
5.น้ำประปาไม่ไหล นี่จะเป็นไม้ตายว่าคุณจะอยู่ได้หรือไม่ เตรียมสารส้มไว้ ตักน้ำท่วมเอามาใส่อ่าง กะละมัง แกว่งให้ตะกอนนอนก้นอ่าง อาบน้ำเช้ากะเย็น ครั้งละกะละมัง น่าจะอยู่ได้แล้ว
6. น้ำดื่มซื้อมาตุนไว้เท่าไรคงจะไม่พอ หายากด้วย ควรหาถ่านมาเตรียมไว้ล้างให้สะอาด เอาน้ำท่วมมาแกว่งสารส้ม กรองด้วยถ่าน ทำหลายครั้งจนน้ำใส แล้วเอาไปต้มให้เดือด
7.เรื่องส้วม คงต้องพึ่ง ส้วนเฉพาะกิจ
ถ้าเป็นคนชอบกีฬาตกปลาและมีอุปกรณ์ เมนูอาหารของคุณจะหรูขึ้นมาทันที อ้อ ฝักบุ้งที่ท้ายหมู่บ้าน ก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ

จากคุณ : กะลาน้อย


ช็อกโกแล็ต - เป็นอาหารให้พลังงานสูง มีสารช่วยผ่อนคลายจากความตึงเครียด เพิ่มระดับน้ำตาลและช่วยให้กระปรี้กระเปร่า คนเดินป่าและนักปีนเขานิยมพกพาเป็นอาหารสำรอง หากหลงป่าก็สามารถยังชีพอยู่ได้อีกหลายวัน

แครกเกอร์ ถั่วลิสงทอดเกลือ เก็บลงกระปุก กินเล่นก็ได้ กินกับข้าวต้มก็ได้
ผลไม้แห้งไว้กินแก้ขาดวิตามินด้วยค่ะ

เชือกไนลอน - มีประโยชนฺสารพัด ใช้ตั้งแต่หย่อนรับของบริจาค ผูกโรยตัวลงจากหน้าต่างบ้านชั้นสองกรณีน้ำท่วมสูงออกมาไม่ได้ ผูกเป็นหลักยึดเวลาต้องต้านกระแสน้ำแรงออกมาจากบ้าน ใช้ตากผ้าและอื่นๆ อีกมากมาย ควรมีไว้ อย่าลืมทบทวนวิธีผูกเงื่อน ถึงคราวเร่งด่วนจะได้ไม่มือไม้สั่น

นกหวีด, พลุสัญญาณ, กระจกเงา, ธงหรือผ้าขาว, ผ้าแดง- ขาดไม่ได้ เอาไว้ขอความช่วยเหลือ

รหัสมอร์สของ SOS คือ ... - - - ... (เป่านกหวีด สั้นสามครั้ง ยาวสามครั้ง สั้นสามครั้ง)

ตะเกียงน้ำมัน เป็นแหล่งแสงสว่างที่ดีและประหยัดกว่าใช้เทียน มีทั้งแบบใช้น้ำมันพืชและน้ำมันก๊าซ อย่าลืมตุนน้ำมันไว้เป็นเชื้อเพลิงด้วยนะคะ

น้ำหวาน - ให้พลังงานสูง สามารถใช้ดื่มทดแทนยามสูญเสียน้ำจากอาการท้องเสีย

จากคุณ : นราเกตต์


กำมะถันผง หาซื้อได้ตามร้านขายยาจีนหรือยาแผนโบราณ ใช้โรยป้องกันงู สัตว์มีพิษ โรยรอบห้องที่อาศัยหรือรอบกรงสัตว์เลี้ยง สามารถใช้รักษาโรคเรื้อน โดยผสมกับน้ำมันพืชแล้วพอกทาจนกว่าจะหาย

เตาถ่าน + ถ่าน ผ้าอนามัย ดินน้ำมัน (เผื่อไว้ยามต้องการอุดอะไร) ปูนขาว (ไว้โรยกันสัตว์มีพิษเข้าบ้าน) พลาสติกกาวม้วนใหญ่ ( เผื่อจำเป็นต้องใช้ปิดประตูหรือขอบหน้าต่าง ) เอกสารค่ะ ที่สำคัญใส่ถุงพลาสติก เก็บไว้ในจุดที่เตรียมพร้อม


กรอกน้ำอย่าให้เต็มมาก รัดปากถุงให้แน่น แล้วสวมถุงพลาสติกซ้อนอีกชั้นแล้วมัดปากอีกรอบ ซื้อถุงมาครึ่งโล กรอกน้ำได้เพียบเลยค่ะ แล้วให้เอาถุงใส่ไว้ในตระกร้า กล่อง กะละมังไว้ แต่อย่าทับกันเยอะมาก เดี๋ยวจะรั่ว...

จากคุณ : Cordia






Create Date : 09 ตุลาคม 2554
Last Update : 18 ธันวาคม 2554 13:21:41 น. 0 comments
Counter : 6340 Pageviews.

ใจรัก Jairuk Channel
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 91 คน [?]








ติดตามดูต่อที่YouTube

ใจรักJairukChannel



ติดตามดูต่อที่Facebook

ใจรักJairukChannel



แนะนำให้ชม

บัวหิมะ
บัวหิมะ
วิธีเลี้ยงบัวหิมะ
เกิดมาทำไม ตายแล้วไปไหน
บั้งไฟพญานาคที่ไปดูมา
ติดอันดับTOP Page Views
อาหารและการดูแลสุขภาพ ผู้ป่วยมะเร็งและคนทั่วไป
เที่ยวขอนแก่น
Michael Jackson
คอนเสิร์ตบอย Peacemaker
คลิปเจ้าขุน
การกลับมาของX Japan

ท่องเที่ยว

UFOที่เคยเห็น
บั้งไฟพญานาคที่ไปดูมา
หาดใหญ่และปัตตานี
ไข่มุกอันดามัน
อะ พีพี
เกนติ้ง
กัวลาลัมเปอร์
หาลิงเข้าถ้ำทะเลภูเขาเลยจ้า นอนดูหมอกที่ปราจีนบุรี
เที่ยวปราจีนบุรีต่อ
เลยจะถึงไหมละนี่
พักค้างแรมที่เลย
เลยจนเกือบถึงลาว
ขุดกรุเขื่อนป่าสัก
บึงแก่นนคร ขอนแก่น
พระธาตุขามแก่น
เดินทางไปลพบุรี
กินข้าวอิงภูชัยภูมิ
ลาว เวียงจันทร์
ลาว2
ปิดทริปเที่ยวลาว
ล่องเรือเจ้าพระยา
รถไฟลอยฟ้า ฟ้า ไทย
รถไฟใต้ดินไทย
ทะเลน้ำจืดหาดวังโกขอนแก่น บ้านปราสาทโคราช
วังน้ำเขียวโคราช
ชอปปิ้งหนองคาย
ตัวเมืองขอนแก่น
น้ำผุดทับลาว ชัยภูมิ
สนามหลวง2
ไปดูงานศิลป
สายน้ำกับปลาที่ไปปล่อย
งานExpro
เขื่อนอุบลรัตน์
เที่ยวป่าวัดพรไพรวัลย์
ล่องแพอ่างเก็บน้ำห้วยไร่
ทะเลหมอกภูพานน้อย
วัดเจดีย์ชัยมงคล
ครั้งหนึ่งที่เคยโบกรถ
น้ำหนาว,เพชรบูรณ์
พระพุทธชินราช,พระธาตุลำปางหลวง
น้ำพุร้อน,วัดร่องขุ่น
มหาลัยแม่ฟ้าหลวง,น้ำตกก้างปลา
เวียงแก่น,ภูชี้ฟ้า
ดอยแม่สลอง
อุทยานฯขุนแจ
สวนโลกราชพฤกษ์
วัดเจดีย์7ยอด,วัดเจดีย์หลวง
ดอยสุเทพ,ทุ่งสแลงหลวง
โครงการครูบ้านนอก
วัดหลวงพ่อโตใหญ่ที่สุดในโลก
ที่พักปากช่อง
เลย-ลาว-ท่าลี่
ถึงระยองแล้วจ้า
ทะเลตอนเช้า
งานเที่ยวภาคใต้






Friends' blogs
[Add ใจรัก Jairuk Channel's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.