Group Blog
 
 
มิถุนายน 2548
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
11 มิถุนายน 2548
 
All Blogs
 
วิทยุชุมชนในไทย เป็นอย่างไรมาอย่างไรกันหนอ

เรื่องวิทยุชุมชนในประเทศไทยกำลังเป็นประเด็นฮอตฮิตครับ หมุนวิทยุไปทางไหนตอนนี้ก็มีแต่วิทยุชุมชนเต็มไปหมด แล้วอยู่ดี ๆ ทำไมใครต่อใครถึงคิดที่จะทำวิทยุชุมชนกัน ผมจะอธิบายให้ฟังง่าย ๆ นะครับ

เริ่มแรกเลยในเมืองไทย วิทยุไม่ใช่กิจกรรมที่อยู่ดี ๆ ใครคิดอยากจะทำก็ทำได้นะครับ ในยุคเริ่มแรกก็มาจากในรั้วในวังก่อน แล้วก็ค่อย ๆ ดำเนินการโดยรัฐบาล

ถ้าสังเกตกันนะครับ จะเห็นเลยว่าวงการวิทยุนั้นเจ้าของมีอยู่แค่ไม่กี่เจ้า ขาประจำก็คือกรมประชาสัมพันธ์ (ซึ่งก็คือในนามของรัฐบาล) ส่วนขาใหญ่ที่ครอบครองอยู่มิใช่น้อยก็คือทหาร ไม่ว่าจะเป็นทหารบก ทหารอากาศ ทหารเรือ ทหารปืนใหญ่ มากมายล้านแปด

ใครตั้งวิทยุเอง เขาบอกว่าเป็นวิทยุเถื่อนนะครับ ชาวบ้านตาดำ ๆ อย่างเราไปตั้งไม่ได้ ขืนไปตั้งถูกจับโลดครับ

คราวนี้เรื่องที่ทำให้เกิดจุดเปลี่ยนก็คือกรณีพฤษภาทมิฬ ที่คนทำสื่อและชาวบ้านเองออกมาพูดกันปาว ๆ ว่าสื่อถูกบิดเบือน ไม่มีอิสรภาพ มันก็เลยนำไปสู่รัฐธรรมนูญปี 2540 ที่มีมาตรา 39 40 และ 41 ซึ่งพูดถึงสื่อโดยเฉพาะ

ประเด็นสำคัญมันอยู่ที่มาตรา 40 ที่สาระสำคัญของมันบอกว่า คลื่นเป็นสมมติของชาติ ไม่ได้เป็นของใครคนใดคนหนึ่ง ไม่ได้เป็นของรัฐบาล ของทหาร ของนาย ก. นาย ข. นาย ง. แต่เป็นของคนไทยทุกคน

คราวนี้ถ้าจะให้ใครเข้าใช้ผลประโยชน์จากคลื่นความถี่ยังไงก็ได้ ก็คงดูแปลก ๆ นะครับ ดังนั้นกฎหมายจึงได้กำหนดให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการกิจการวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ หรือชื่อเท่เรียกง่าย ๆ ว่า กสช. เพื่อเป็นผู้จัดสรรคลื่น

บังเอิญปัญหามันอยู่ที่ว่าคนที่จะมาเป็น กสช. นี้ต้องมีคุณสมบัติพระเจ้ามากครับ เช่นต้องไม่ไปมีผลประโยชน์กับองค์กรสื่ออื่น (หรือทีเขาเรียกกันเท่ ๆ ว่าผลประโยชน์ทับซ้อน) ส่งผลให้ทุกวันนี้การจัดสรรคณะกรรมการ กสช.ก็ยังไม่แล้วเลยครับ

ในจุดนี้เองเขาเรียกกันว่าเป็นห้วงสุญญากาศ ต่างคนต่างงงว่าควรทำอย่างไร ชาวบ้านตาดำ ๆ รวมถึงนักธุรกิจหัวใสก็เลยตีความรัฐธรรมนูญกันเองเลยว่า เฮ้ย มันบอกว่าเป็นของประชาชน ข้าก็คือประชาชนคนหนึ่ง ดังนั้นข้าก็ต้องมีสิทธิ์สิว่ะ

ดังนั้นเราก็เลยเริ่มเห็นวิทยุชุมชนผุบ ๆ โผล่ ๆ กันออกมาทีละแห่งสองแห่ง จนเดี๋ยวนี้เต็มไปหมดทั้งแผงหน้าปัทม์วิทยุ เอากับเขาสิ......

แต่ปัญหาก็เกิดขึ้นครับ เพราะกฎหมายบอกว่าถ้ายังไม่มี กสช. ห้ามมีการตั้งคลื่นใหม่ยกเว้นคลื่นที่เกิดจากกรมประชาสัมพันธ์ อ้าวแล้วคราวนี้ทำไงอ่ะ พวกที่จัดตั้งขึ้นมาก็เลยอยู่ในลักษณะของเครือข่ายวิทยุของกรมประชาสัมพันธ์แล้วแต่ชื่อเรียกกันไป เช่น ศูนย์การเรียนรู้วิทยุชุมชน..... อะไรแบบนี้ พวกนี้เครื่องไม้เครื่องมือที่ซื้อมาต้องถูกเซ็ตเป็นของกรมประชาสัมพันธ์หมด ไว้มี กสช.เมื่อไรค่อยว่ากัน

ทุกวันนี้ยังเป็นปัญหาเถียงกันไม่เลิกว่าไอ้ที่ตั้งขึ้นมานี้เป็นวิทยุชุมชนหรือเปล่า คราวหน้าผมจะลองเอาคุณสมบัติของวิทยุชุมชนมาให้ได้ลองอ่านกันดู (อาจมีแบ่งเป็นหลาย ๆ พาร์ทนะครับ) แล้วจะได้ไปเปรียบเทียบกันว่าไอ้ที่อยู่ข้างบ้านคุณนี้เป็นวิทยุชุมชนหรือเปล่า......



Create Date : 11 มิถุนายน 2548
Last Update : 11 มิถุนายน 2548 14:54:43 น. 2 comments
Counter : 1009 Pageviews.

 
สงสัยจังว่า ต่อไปวิทยุชุมชนมันจะมีการประมูลคลื่นเหมือนวิทยุธรรมดาหรือเปล่า


โดย: IP: 159.226.119.17 วันที่: 11 มิถุนายน 2548 เวลา:12:46:58 น.  

 
กสช ชุดนี้ไม่ได้เลวร้ายอย่างที่เป็นข่าวหรอกครับ คุณดูประวัติแต่ละคนก็เก่งๆกันทั้งนั้น ที่โวยวายกันขึ้นมาคือคนเสียผลประโยชน์ คือผู้ที่ไม่ได้ถูกรับเลือก และไม่มีพวกตัวเองเข้าไป แต่ไม่ยอมรับความสามารถตัวเองไม่ถึง และสว ที่ต้องการจะดึงเรื่องไว้เพื่อสมัครเองเมื่อตัวเองหมดวาระ สว


โดย: ผู้ผ่านเข้ามา IP: 160.129.206.87 วันที่: 1 กุมภาพันธ์ 2549 เวลา:6:05:44 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

I will see U in the next life.
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




Friends' blogs
[Add I will see U in the next life.'s blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.