|
| 1 |
2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 |
16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 |
23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 |
30 | 31 | |
|
|
|
|
|
|
|
การล่าแม่มด 'คนคิดต่าง' 2010 บนโลกไซเบอร์
ตีพิมพ์ครั้งแรกในกรุงเทพธุรกิจ และเผยแพร่ในเวบไซต์ //www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/samyan/20100520/116675/news.html
นับตั้งแต่การชุมนุมใหญ่ของกลุ่มคนเสื้อแดงเริ่มต้นในช่วงต้น เดือนมีนาคมที่ผ่าน กระแสความคิดของคนแบ่งฝักฝ่ายอย่างชัดเจน ผู้คนกล้าพูดกล้าแสดงความคิดเห็นกันมากขึ้นโดยเฉพาะในโลกไซเบอร์ผ่านชุมชนออ นไลน์ต่าง ๆ โดยอย่างยิ่งเวบอย่างเฟซบุ๊คที่ได้รับความ นิยมเป็นอย่างสูง ณ ขณะนี้ ผู้เขียนขอหยิบเอาเรื่องน่ากลัวในชุมชนออนไลน์ที่ผู้อ่านหลายท่านอาจไม่เคย คิดฝันว่าจะเกิดเรื่องเหล่านี้ได้มาเล่าสู่กันฟัง แต่ก่อนอื่นเขาเกริ่นคร่าว ๆ ถึงลักษณะเฉพาะของเวบชุมชนออนไลน์ อย่างเฟซบุ๊คก่อน
เฟซบุ๊คมีลักษณะที่ต่าง จากสังคมออนไลน์อื่น ๆ โดยที่เด่นชัดคือ ใช้ลักษณะการแลกเปลี่ยนความคิดแบบกระทู้ โดยผ้ใช้สามารถพิมพ์ แสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ได้ โดยความคิดเห็นเหล่านั้นจะไปขึ้นปรากฏบนหน้าจอของเพื่อนสมาชิกคนอื่น ๆ นอกจากนั้นเฟซบุ๊คยังอนุญาตให้ตั้ง กลุ่มผู้มีความสนใจเฉพาะคล้าย ๆ กันได้ ขอแค่ว่าไม่มุ่งโจมตีบุคคลเป็นเฉพาะ เช่น เหยียดสีผิว ผู้กีดกันทางเพศ เป็นต้น
ตั้งแต่การชุมนุม ใหญ่ของนปช. ชาวเฟซบุ๊คในไทยมีการตั้ง กลุ่มทางการเมืองขึ้นเป็นจำนวนมากตามอุดมการณ์และความคิดเห็นทางการเมืองของ ตน (อย่างกลุ่มเสื้อหลากสีที่ทุกท่านคงได้เห็นผ่านสื่อในระยะที่ผ่านมา) และมีอยู่กลุ่มหนึ่ง ชื่อ Social sanction ซึ่งประกาศตัว ชัดเจนในการที่กำจัดนักการเมืองที่คอร์รัปชันและผู้ที่คิด ทำลายสถาบันพระมหากษัตริย์โดยใช้วิธีการทางสังคมแทนกฎหมาย ณ ขณะนี้มีสมาชิกอยู่ราว 5,500 คน
วิธีการปฏิบัติของสมาชิกและ ผู้ดูแลในเพจ Social Sanction นี้ จะทำการบันทึกภาพหน้าจอของผู้ใช้เฟซบุ๊คที่พิมพ์เนื้อหาในเชิงวิ พากษ์วิจารณ์สถาบันรวมถึงมีความคิดเอียงไปทาง 'แดง' แล้วนำมาโพสต์ พร้อมบรรยายสรรพคุณตั้งแต่ชื่อ ที่อยู่ ที่ทำงาน พฤติกรรม บุคลิก (ผู้เขียนไม่ทราบเหมือนกันว่าไปสืบกันมาได้อย่างไร) พร้อมกับเรียกร้องให้สมาชิกในเพจใช้กระบวนการทาง สังคมกดดันให้ผู้ใช้เฟซบุ๊คที่ถูกบันทึกภาพมารู้สึกผิด เท่าที่ผู้เขียนเคยเห็น หากเป็นผู้มีชื่อเสียง ทีมงานเรียกร้องให้สมาชิกไม่อุดหนุนงานของคน ๆ นั้น หากเป็นคนธรรมดานอกจากร่วมรุมด่าและประณามในเวบแล้ว ก็เชิญชวนให้ส่ง sms อีเมล รวมถึงโทรศัพท์ไปด่า ตัดออกจากสังคมจนถึงขั้นกดดันบริษัทให้ไล่ออก และส่งเรื่องให้ DSI ราวกับ 'ฟัก' ในคำพิพากษา งานของ ชาติ กอบจิตติ มิปาน
สมาชิกทั้งหลายมี ความกระตือรือร้นมากในการเสาะแสวงหาผู้คิดต่างเอามา 'เสียบประจาน' (คำนี้ถูกใช้ใน กลุ่มจริง ๆ) บางวันหากไม่มีการเสียบประจานจะมีสมาชิกบางคนบ่นและกระตุ้นให้ค้นหา
มีผู้ได้รับผล กระทบจากเพจนี้จำนวนมาก ล่าสุดรุ่นน้องของผู้เขียนได้แสดงความคิดเชิงวิพากษ์ต่อกฎหมายหมิ่นพระบรมเด ชานุภาพก็โดนเพจนี้เสียบประจานเป็นที่เรียบร้อย มีสมาชิกในเพจจำนวนมากส่ง sms และอีเมลมาด่ามากมาย แถวบางรายถึงขั้นโทรมาด่า และหนักข้อถึงขั้นขู่ฆ่า
พฤติกรรมของเพจ Social Sanction นี้ ผู้เขียนเชื่อว่าบรรดาสมาชิกล้วนแล้วแต่คิดว่าสิ่งที่ตนทำนั้นทำถูกแล้ว บนสมมติฐานเบื้องต้นที่ว่าหากกฎหมายทำอะไรไม่ได้ เราก็ใช้บทลงโทษทางสังคมเล่นงานเสียเลย ยิ่งเป็นประเด็นที่เกี่ยวสถาบันพระมหากษัตริย์ที่เปราะบางด้วยแล้ว หลายคนเห็นว่าการกระทำเช่นนี้เพื่อแลกกับการปกป้องสถาบันมิใช่เรื่องผิดแม้ แต่น้อย
เหตุการณ์เช่นนี้ผู้เขียนหวลนึกถึงเหตุการณ์ ประวัติศาสตร์ทั้งของไทยและเทศ ในยุคกลางของยุโรป เกิดการล่าแม่มด อันเป็นลูกน้องคนสำคัญของซาตาน ศัตรูของคริสตศาสนา หญิงสาวจำนวนมากผู้จับและนำไปไต่สวนอย่างไร้ความยุติธรรม ข้อพิสูจน์เพียงสิ่งเดียวที่เธอเหล่านั้นจะพิสูจน์ความบริสุทธิ์ได้คือความ ตาย หญิงสาวถูกจับเผาบ้าง ถ่วงน้ำบ้าง แขวนคอบ้าง หากเธอเหล่านั้นเสียชีวิตถือว่ามิใช่แม่มด แต่ถ้าหากรอดจากความตายแสดงว่ามีเวทมนตร์บางอย่างช่วยเหลือไว้ เหยื่อจำนวนมากไม่มีสิทธิแม้แต่จะแก้ต่าง พวกเธอถูกทำให้เป็น 'แม่มด' ทั้ง ๆ ที่ไม่มีแม้แต่หลักฐาน
เหตุการณ์ในเมืองไทยมีลักษณะที่โหดร้าย ไม่แพ้กันแถมพึ่งเกิดขึ้นราว 30 ปีที่แล้วนี่เอง วันที่ 6 ตุลาคม 2519 เกิดการล้อมปราบนักศึกษาโดยเหล่าตำรวจ และกลุ่มการเมืองฝ่ายขวา ส่งผลให้นักศึกษาจำนวนมากเสียชีวิตพร้อมข้อหาติดตัวว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ผู้มามุงดูที่สนามหลวงเช้าวันนั้นอุดมได้ความโกรธเกลียดเนื่องด้วยคิดว่านัก ศึกษาเหล่านั้นหมายมั่นเปลี่ยนประเทศเป็นสังคมนิยมและทำลายสถาบันพระมหา กษัตริย์ นักศึกษาที่หลุดรอดจากธรรมศาสตร์หลายคนต้องพบฝันร้ายรอบสองเมื่อโดนฝูงชนทำ ร้าย แขวนคอกับต้นมะขามแล้วใช้เก้าอี้ฟาด บ้างถูกตอกอก และเผาไปพร้อมกับยางรถยนต์
ทั้งสองเหตุการณ์ล้วนเกิดขึ้นจากความ เห็นต่างทั้งสิ้น
กลับมาที่กลุ่ม Social Sanction นี้อีกครั้ง ผู้เขียนเชื่อว่าสมาชิกในกลุ่มนั้นมีความรู้สึกนึกคิดมิได้ต่างจากประชาชน ที่มามุงดูเหตุการณ์ล้อมปราบที่ธรรมศาสตร์แต่อย่างใด พวกเขาล้วนเชื่อมั่นในสิ่งที่ตนเชื่อมาและมองผู้คิดต่างกลายเป็นคนอื่น ประกอบกับเปลี่ยนสื่อที่ใช้เป็นสื่ออินเตอร์เนตที่คุณสมบัติใน การสื่อสารที่ไวมาก แต่ยากในการตรวจสอบความเท็จจริง บวกกับการที่คนใช้อินเตอร์เนตส่วนใหญ่มักเชื่อ ว่าในโลกไซเบอร์นั้น การปลอมตัวเป็นเรื่องธรรมดา จะตามหาตัวจริงว่า อยู่ที่ไหนนั้นเป็นเรื่องยาก (ซึ่งความคิดนี้ความจริงแล้วผิด) ส่งผลให้คนกล้าแสดงความคิดเห็นที่รุนแรงกันมากขึ้น สะท้อนแรงขับความก้าวร้าวบนร้อยยิ้มที่สนุกสนานเมื่อเห็นคนที่คิดต่างได้รับ ความทุกข์ระทม
การแสดงความคิดเห็นทางการเมืองเป็นเสรีภาพที่จะ กระทำได้ ส่วนกรณีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพนั้น ผู้เขียนมีทัศนะว่า ใครที่หมิ่นก็ต้องได้รับผลตามกฎหมาย (ไม่ว่าไปดูหมิ่นคนธรรมดาหรือพระราชวงศ์ก็ต้องได้รับผลจากความผิดนั้นเหมือน กัน) แต่ผู้เขียนรับไม่ได้ต่อพฤติกรรมการตั้งตนเป็นศาลเตี้ยพิพากษาความผิดของคน อื่นจากบรรทัดฐานความคิดของตน แถมบรรทัดฐานเหล่านั้นยังบิดเบี้ยวเต็มเปี่ยมด้วยอคติเพราะปราศจากการศึกษา ในเชิงวิชาการ
ผู้เขียนเชื่อในนิติรัฐและกฎหมายอันเที่ยงธรรม (หากยังไม่เที่ยงนักก็ต้องช่วยกันปรับให้สมบูรณ์) บ้านเมืองมีขื่อมีแป มิใช่ตัดสินความผิดคนโดยใช้บรรทัดฐานของตนเอง มิอย่างนี้แล้วสังคมไทยก็ยิ่งถอยลง ๆ สู่โลกแห่งอนาธิปไตยเข้าไปทุกที
ล่าสุดเพจ Social Sanction นี้ได้ถูกลบไปโดยเวบเฟซบุ๊คหลังจากมีการร้อง เรียนจำนวนมาก ทว่าก็มีความพยายามของกลุ่มผู้ดูแลในการสร้างหน้าเวบใหม่แต่ยังคง อุดมการณ์เดิมขึ้นเรื่อย ๆ ถึงขนาดมีการสร้างหลายหน้าเวบเพื่อ “ลับ ลวง พราง” มิให้ผู้ที่มิใช่ สมาชิกทราบว่าเพจไหนแน่ที่เป็นของจริง
ปรากฏการณ์ต่อ เนื่องจากเพจ Social Sanction ได้ก่อให้เกิดการสร้างกลุ่มใหม่ ๆ เพื่อแสดงความคิดเห็นทางการเมืองอย่างสุดโต่งมากขึ้น ล่าสุดผู้เขียนเองสะเทือนใจมากทีเห็นเพจ “กลุ่มเสพย์ศพคน เสื้อแดง” ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อแสดงความยินดีที่ได้เห็นคนเสื้อแดงต้อง เสียชีวิต มีการโพสต์รูปศพที่เสียชีวิตพร้อมกับด่าทอว่า สมควรแล้วกลับสิ่งที่ได้รับ ถือเป็นเรื่องที่เสียสติและไร้มนุษยธรรมอย่างมากที่คน ๆ หนึ่งพึงทำต่อคนที่ไม่เคยรู้จักแม้แต่หน้ากัน ไม่เคยมีความแค้นต่อกันเลยแม้แต่น้อย
นี่คือสิ่งที่ผู้ เขียนได้พบเห็นจริงแล้วอยากนำมาเล่าสู่กันฟัง ท่านผู้อ่านที่มีมิตรสหายหรือลูกหลานชอบเล่นอินเตอร์เนตโปรดเฝ้าระวัง เรื่องนี้ให้ดี ความน่ากลัวของโลกไซเบอร์มิใช่มีเพียงที่ท่านเคยรู้เท่านั้นแล้ว
Create Date : 25 พฤษภาคม 2553 |
Last Update : 25 พฤษภาคม 2553 22:09:17 น. |
|
3 comments
|
Counter : 1257 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: panwat วันที่: 25 พฤษภาคม 2553 เวลา:23:05:17 น. |
|
|
|
โดย: amoderndog วันที่: 29 พฤษภาคม 2553 เวลา:16:17:16 น. |
|
|
|
|
|
|
I will see U in the next life.
|
|
|
|
|
|