เด็กขี้สงสัยโต๊ะ79
Group Blog
 
All Blogs
 
เทคนิคการสอบสัมภาษณ์ และสมัครงาน



เทคนิคการสอบสัมภาษณ์
คัดลอกมาจาก //soongying.bloggang.com


เทคนิคการสอบสัมภาษณ์
ครับก็อย่างที่พูดไว้ ในตอนที่แล้วว่า ในตอนนี้เราจะได้พูดถึงเรื่องการสอบสัมภาษณ์งาน แต่ก่อนอื่นเราก็ต้องทราบความหมายและวิธีการเสียก่อนดังนี้ครับ
การสอบสัมภาษณ์งาน (Job Interview) กระบวนการสุดท้าย ของการสมัครงาน ก็คือ การสอบสัมภาษณ์ หรือ "interview" ดังนั้น จึงอาจกล่าว ได้ว่าการสอบสัมภาษณ์ ถือเป็นกุญแจสำคัญ ในอันที่จะก้าวไปสู่ความสำเร็จ ของการสมัครงาน และในที่นี้ผู้เขียนได้รวบรวมคำถามและคำตอบ ที่พบเห็นอยู่บ่อยๆ ตามสากลนิยม และครอบคลุมหน่วยงานทุกสาขาวิชา ซึ่งโดยมากก็จะยึดคำถาม และคำตอบเหล่านี้เป็นหลักแทบทั้งสิ้น
คำนิยามของคำว่า "สัมภาษณ์" (Definition of interview)
คำว่า "interview" สืบความหมายมาจาก คำว่า "sight between" หรือ "view between" ดังนั้นคำว่า "interview" จึงมีความหมายว่า การพบกันระหว่างบุคคล 2 คน (หรืออาจมากกว่านี้ ในกรณีสัมภาษณ์หมู่) กล่าวคือระหว่างผู้สัมภาษณ์ (interviewer) และผู้ถูกสัมภาษณ์ (intervicwee) เพื่อเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน อันจะเป็นประโยชน์แก่ทั้งผู้รับ (employer)และผู้สมัคร (candidate) หรือ (job applicant)
จุดมุ่งหมายของการสัมภาษณ์งาน (Purpose of the job interview) ถ้าผู้สมัครต้องการสอบสัมภาษณ์ให้ได้ดี ก็จำเป็นที่จะต้องเข้าใจ จุดมุ่งหมายของการสอบสัมภาษณ์ อย่าคิดแต่เพียงว่าการสอบสัมภาษณ์ คือการที่เราต้องไปนั่งตอบคำถามยากๆ ที่เกี่ยวกับตัวเราเองเท่านั้น ในทางตรงกันข้าม เราควรคิดว่าการสอบสัมภาษณ์ ก็คือการที่เราได้มีโอกาสได้แลกเปลี่ยน ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ แก่ผู้ที่อาจจะเป็นเจ้านายของเราในอนาคต
กล่าวง่ายๆ การสอบสัมภาษณ์งาน ก็คือการที่เราได้มีโอกาสพูดคุย เพื่อโฆษณาขายตัวเองให้บริษัท (To sell yourself to the company) นั่นเอง และที่สำคัญ การสอบสัมภาษณ์มีประโยชน์ดังนี้ คือ
1. เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติ และความเหมาะสมกับงานของผู้สมัคร
(To judge the applicant's qualifications and suitability for the job.)
2. เพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้สมัคร ซึ่งจะเป็นประโยชน์ ต่อการตัดสินใจของเขา ก่อนการรับข้อเสนอเข้าทำงาน
(To provide the applicant with the information he needs to decide about the job.)
3. เพื่อทดสอบดูว่า ท่านมีความสนใจงาน ที่สมัครจริงหรือไม่ และนโยบายของบริษัท พร้อมทั้งโอกาส ที่จะได้เลื่อนตำแหน่ง เป็นที่สนใจของท่านจริงหรือไม่
(To find out if you will like the job you are applied for, whether the company's policies and prospects for promotion re attractive ehough for you to want the job.)


เคล็ดลับ "สัมภาษณ์งาน"
การสัมภาษณ์งาน ไม่ต่างอะไร กับการปีนเขานัก เพราะถ้าพลาดพลั้ง ขึ้นมาเมื่อใด หมายถึงหายนะเมื่อนั้น ถ้าปราศจากการเตรียมตัวที่ดี กำลังปีนๆ อยู่ก็อาจร่วงหล่นลงมาได้ง่ายๆ ต่อไปนี้ คือ เกร็ดการเตรียมตัว สำหรับการสัมภาษณ์งาน ที่คุณอาจมองข้ามไป
1. "ทำการบ้าน" มาก่อน
พนักงานบริษัทใหญ่รายหนึ่ง เล่าให้ฟังว่าเขา ถูกเรียกไปสัมภาษณ์งาน ก็เพราะบริษัทประทับใจ ที่เขาโทรไปสอบถามข้อมูล ของบริษัทก่อน การสัมภาษณ์ และเขาเป็น เพียงคนเดียว ที่ทำเช่นนั้น และเขาก็ได้งานในที่สุด
การทำการค้นคว้า หาข้อมูลอย่างเปิดเผย จะช่วยคุณได้มาก ในการสัมภาษณ์ เพราะเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่า คุณมีความสนใจ ในบริษัท หรือตำแหน่งนั้นๆ และสามารถทำให้คุณ เป็นผู้สมัครที่มีคุณสมบัติ ครบด้วยข้อมูลพื้นฐาน ที่คุณเตรียมไว้ คุณจะสามารถ ทำให้ประสบการณ์ และทักษะของคุณ มาบรรจบ กับสิ่งที่คุณรู้ว่า นายจ้างต้องการ
ในการเตรียมตัว เพื่อสัมภาษณ์งาน คุณควรใช้ประโยชน์ จากห้องสมุดร้านหนังสือ งานบริการนักศึกษาที่มหาวิทยาลัย และอินเทอร์เน็ต ให้เป็นประโยชน์ เพราะแหล่งข้อมูล เหล่านี้จะเป็นวิธีที่ดี ที่จะทำให้คุณได้มา ซึ่งข้อมูล ของบริษัท ไม่ว่าจะเป็นเวบไซต์ของบริษัท หรือจากงานวิจัยของบุคคลอื่น
2. "โชว์ให้ดูแล้วเล่าให้ฟัง"
"show-and-tell" หรือ "โชว์ให้ดูแล้วเล่าให้ฟัง" เป็นเทคนิคประการหนึ่ง ที่สามารถหยิบมาใช้ ในการสัมภาษณ์งานได้ ทั้งนี้ เพราะการแสดง ให้เห็นตัวอย่างของทักษะ ที่คุณมีจะได้ผลดีกว่า การพูดคุยอย่างเดียว
วิธีการ "show-and-tell" ก็เช่นการนำเสนอรายงาน การทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การวิเคราะห์ทำนายผล และหนังสือรับรอง หรือประกาศนียบัตร และถ้าคุณไม่ได้อยู่ในตำแหน่ง ที่จะสามารถโชว์ "พอร์ทโฟลิโอ" ของคุณได้ คุณควรนำเอาประสบการณ์ที่ "จับต้องได้จริง" มาแสดงให้เห็น มีนายจ้างจำนวนมาก ที่ใช้เทคนิคการ "สัมภาษณ์โดยดูความประพฤติ" พวกเขาเชื่อว่าพฤติกรรม ที่ผ่านมาจะเป็นตัวบ่งชี้พฤติกรรม ในอนาคต ดังนั้น ถ้าคุณถูกถาม เกี่ยวกับทักษะทั่วไป จงยกตัวอย่าง ที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งจะช่วยให้คุณได้เปรียบ จากผู้สัมภาษณ์คนอื่น
3. ฝึกฝน! ฝึกฝน! ฝึกฝน! น่าแปลกใจที่ผู้สอบสัมภาษณ์ จำนวนมากชอบ "ด้นกลอนสด" ทั้งที่การไม่ฝึกฝน จะทำให้คุณรู้สึกเหมือน นักปีนเขามือเปล่า ที่ไม่มีเชือกไว้ป้องกัน การพลัดตก การเตรียมคำตอบไว้ ทำให้คุณได้เปรียบ เพราะคุณสามารถทดลอง หาประโยค และคำที่เหมาะสม ในขณะที่พูดออกไปดังๆ และการเตรียมคำตอบ ที่เป็นไปได้ ไว้ให้พร้อมจะช่วย ลดความตื่นเต้น และถ้อยคำที่ "สั่น" และรัวเร็วได้ คำและวลีอย่างเช่น "แบบว่า" "มันเป็นอะไรที่" และ "ประมาณนั้น" จะหายไป คำที่พูดเวลานึกอะไร ไม่ออกอย่าง "เอ่อ" และ "อ่า" ก็จะหายไปด้วยเช่นกัน และควรฝึกฝน จังหวะการหยุดด้วย เพราะจะช่วยให้คุณ แก้ปัญหาเหล่านี้ได้
4. เอาตัวคุณเองเป็นกรณีศึกษา
ทำไมคุณถึงควรได้งานนี้? คุณเป็นคนที่ดีที่สุด สำหรับงานนี้ นั่นคือเหตุผล!! คุณต้องเชื่อว่าคุณเป็นคนที่ดีที่สุด สำหรับงานนี้ หรือคุณไม่สามารถเชื่อมั่น คนอื่นได้มากกว่านี้ ก็จริงล่ะ ที่ว่าคุณอาจไม่มีประสบการณ์ ที่จำเป็นนั้นซะทั้งหมด แต่คุณก็ได้เข้าสัมภาษณ์แล้วไม่ใช่หรือ?
หลังจากคุณได้สาธยาย ทักษะเฉพาะด้านของคุณ ในระหว่างการสัมภาษณ์ บทสรุปของประเภท และลำดับขั้นของทักษะ และประสบการณ์จะทำให้ เป็นที่พอใจมากชึ้นไปอีก
"คุณสมชาย ตลอดระยะเวลา 10 ปีของประสบการณ์ ทางวิชาชีพของผม ผมได้แสดงให้เห็นถึงความเป็นผู้นำ ความสามารถเฉพาะด้าน และการพัฒนาลูกค้า ซึ่งผมเชื่อว่า คุณกำลังหาคนที่เหมาะสมอยู่ คุณจะรับผมไว้ทำงานได้ไหมครับ ผมจะพยายาม และฝ่าฟันจนกลายเป็น สมาชิกที่มีค่าคนหนึ่ง ของบริษัทครับ"
การ "ปีน" เพื่อไปให้ถึงจุดสูงสุดนั้น ไม่จำเป็นต้องพยายามอยู่คนเดียว อย่างโดดเดี่ยว ควรหาความช่วยเหลือ จากคนที่คุณเห็นว่า ให้คำแนะนำได้ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็น ที่ปรึกษาผู้ดูแล อาจารย์ครูฝึกอาชีพ หรือเพื่อนร่วมงาน พวกเขาจะมีความสุข ที่คุณมองเขาเป็น "ทรัพยากรที่มีค่า" ด้วยสิ่งที่จำเป็น เช่น การฝึกซ้อม การวิจัย การ "โชว์แล้วเล่า" และความมั่นใจ แล้วการสัมภาษณ์ ก็จะไม่ทำให้คุณ กลัวเหมือนที่ผ่านมา



วิธีเอาตัวรอดจาก 9 คำถามสัมภาษณ์งาน
บ่อยครั้ง "คำถาม" ในการสัมภาษณ์ ก่อนรับเข้าทำงาน สร้างความตื่นเต้น จนหนุ่มสาวออฟฟิศ หลายคนสอบตก
"การสัมภาษณ์งาน" ช่วยให้บริษัทผู้จ้าง รู้จักพนักงานใหม่ ที่จะรับเข้ามาร่วมงาน ทั้งในด้านวิชาความรู้ ทัศนคติ ไปจนถึงลักษณะนิสัยส่วนตัว
ลองอ่านคำถามทั้ง 9 ข้อต่อไปนี้ พร้อมคำตอบ ที่มีไว้ให้ คุณรู้สึกอย่างไร กับคำตอบเหล่านั้น
1. เล่าเรื่องเกี่ยวกับตัวคุณ ให้พวกเราฟังหน่อย? • "ผมมีประสบการณ์ ครอบคลุมด้านพัฒนา กลยุทธ์ทางการตลาดอย่างกว้างขวาง รวมทั้งตรวจสอบการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่"
• "ผมก็เป็นเหมือนกับมนุษย์ทั่วไป ที่เขาเป็นกันนั่นแหละครับ"
• "ผมเป็นแบทแมน!"
2. อะไรคือข้อเสียที่สุดในตัวคุณ
• "ผมเป็นคนค่อนข้างนิยมชมชอบ ความสมบูรณ์แบบ และมีความภาคภูมิใจในหน้าที่การงาน ที่ต้องรับผิดชอบอย่างมาก"
• "ผมอยู่นิ่งไม่เป็น ซนเหมือนลูกม้ายังไงยังงั้น"
3. เพราะเหตุใดคุณจึงตัดสินใจ ลาออกจากงานที่ทำอยู่เดิม • "ความสามารถของผม มีมากกว่าตำแหน่งเดิม ที่บริษัทเสนอให้"
• "ผมมีปัญหาเล็กน้อยเกี่ยวกับข้อตกลงเรื่องการว่าจ้าง"
• "นโยบายการล้างมือที่นั่นเข้มงวดเกินไป"
• "เพื่อนร่วมงานที่นั่น ถามนู่นถามนี่มากเกินไป"
• "เดาได้เลย.....ว่าคุณไม่ได้อ่านหนังสือพิมพ์"
4. ถ้าคุณกับเจ้านายเกิดความตึงเครียด เรื่องการทำงานระหว่างกัน คุณจะจัดการอย่างไร • "ผมเชื่อว่า การสื่อสารอย่างตรงไปตรงมา จะช่วยคลี่คลายได้ทุกปัญหา"
• "ผมจะใช้นโยบายความสัมพันธ์ส่วนตัวเข้าช่วย"
5. คุณต้องการเงินเดือนเป็นค่าตอบแทนเท่าใด
• "ควรจะเทียบเคียงได้กับอัตราทั่วไปในปัจจุบัน"
• "ผมไม่ทราบ แล้วเท่าไหร่ล่ะ ที่คุณตัดสินใจมาทำงานให้กับที่นี่"
6. คุณเคยทำงานให้กับระดับผู้จัดการ ที่ยากในการทำงานด้วย หรือไม่ • "โดยทั่วไป ผมมีลักษณะนิสัยที่เข้ากับคนอื่นๆ ได้ดี"
• "ก็เคยอยู่บ้าง แต่รับรองได้ คุณจะไม่ได้ยินข่าวคราวจากเขาแน่นอน"
7. คุณจะเสนอขาย "ที่เย็บกระดาษ" ตัวนี้ ให้กับลูกค้าอย่างไร
• "ควรจะรวบรวมการวิจัย ทางการตลาดให้มากๆ ก่อนเป็นอันดับแรก"
• "ยื่นข้อเสนอในสิ่งที่คนซื้อไม่สามารถปฏิเสธได้"
• "จ้างพนักงานแนะนำที่เป็นผู้หญิง ลูกค้าพร้อมจะเออออไปกับคนขายสวยๆ อยู่แล้ว"
8. ลองแสดงให้พวกเราเห็นถึงความมีอารมณ์ขันของคุณ
• "ในช่วงเวลาที่ยากลำบาก ผมยังพอมองหารอยยิ้มได้ ในสถานการณ์นั้น"
• "ผมอยู่ตรงหน้าคุณแล้วไง... รึไม่มีใครมองเห็นผม"
• "ดึงนิ้วมือผมเล่นสิ"
9. ทำไมพวกเราจึงควรจ้างคุณ • "ผมสามารถช่วยงานบริษัทคุณได้"
• "เพราะลึกๆ แล้ว คุณชอบผมน่ะสิ"
• "ไม่เอาน่า... คุณมักทำเรื่องง่ายให้เป็นเรื่องยากเสมอๆ เลยนะ"
คำตอบแรกของทุกคำถาม คือคำตอบที่สร้างทัศนคติในเชิงบวกในการสัมภาษณ์งาน หากวันใดที่คุณเดินเข้าไปสมัครงาน หรือเปลี่ยนงาน และได้ยินคำถามเหล่านี้ หวังว่าคำตอบของคุณ คงอยู่ในแดนบวก มากกว่าลบ

สิ่งที่ "ควรทำ" และ "ไม่ควรทำ" ในการสัมภาษณ์งาน
แม้ว่าผู้สัมภาษณ์งานแต่ละคน จะไม่ถามอะไรที่เหมือนกัน "เป๊ะ" แต่ก็ยังพอคาดเดาคำถาม ที่คุณต้องเผชิญได้ล่วงหน้า ดังนั้น ถ้าคุณกำลังมองหาหนทาง ที่จะเลื่อนตำแหน่งงานงาน โดยการโยกย้ายบริษัทใหม่ ก็จงทำการบ้านเพื่อเตรียมคำตอบที่ "ฉลาดๆ" ไว้ก่อน
ต่อไปนี้คือ

"คำถาม" ยอดนิยม และแนวทางในการ "ตอบ"
1. คุณให้คะแนนความสามารถของตัวคุณเองเท่าไรตั้งแต่ 1-10? อย่า ให้คะแนนที่ระบุเป็นตัวเลขลงไป โดยเฉพาะเลข 10 เพราะคุณจะกลายเป็นคนที่ "โอ้อวด" ทันที และคะแนน 7 หรือ 8 ก็จะทำให้คุณดูเหมือนขาดความมั่นใจ จง พูดว่าคุณจะฝ่าฟันไปให้ถึงระดับ 10 ทั้งเรื่องของชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวได้อย่างไร และเน้นย้ำว่าการทำอะไรให้ดีที่สุดนั้น "สำคัญ" สำหรับคุณเสมอ
2. อะไรคือจุดแข็งที่สุดของคุณ? อย่า จำกัดคำอธิบายของคุณด้วยคำตอบสั้นๆ เช่น "ผมเป็นคนทำงานหนักมาก" หรือ "ผมชอบทำงานเป็นทีม" จง ทำให้ผู้สัมภาษณ์เชื่อมั่นในตัวคุณ บอกอุปนิสัยส่วนตัวของคุณ จากนั้นรีบยกตัวอย่างเรื่องจริง เพื่อให้เห็นภาพสักหนึ่งหรือสองนาที โดยควรเตรียมไว้สักสอง หรือสามเรื่อง
3. คุณมองหา "อะไร" ในงานต่อไปของคุณ? อย่า พูดว่าคุณต้องการให้บริษัทให้อะไรแก่คุณ จง อธิบายว่าคุณต้องการอะไร ในแง่มุมที่ว่า "คุณ" สามารถให้อะไรแก่นายจ้างได้บ้าง ถ้าคุณกำลังมองหาการเพิ่มประสบการณ์ด้านการจัดการโครงการ คุณก็ควรอธิบายว่าคุณมีความเชี่ยวชาญในด้านนี้มาก่อน และคุณจะนำเอาความสามารถนี้มาช่วยได้อย่างไร และการทำงานนายจ้างที่จะสามารถช่วยให้สิ่งนี้เป็นจริงได้
4. คุณจะอยู่ตรงไหนใน 5 ปีข้างหน้า? อย่า พูดถึงแผนการของคุณเกี่ยวกับการกลับไปเรียน หรือการเริ่มต้นธุรกิจสอนดำน้ำบนเกาะ จง แสดงให้เห็นว่าคุณมีความมานะพยายามและมีหนทางที่จะไปถึงจุดหมายได้ แต่คุณไม่จำเป็นต้องเจาะจงลงไป คุณควรที่จะอธิบายว่าในเวลานี้คุณกำลังมองหา ความก้าวหน้าในอาชีพการงานอยู่ และคุณตระหนักดีว่ายังมีโอกาสอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ เมื่อบริษัทได้เรียนรู้ตัวคุณมากขึ้น
5. คุณใช้เวลา 4 ปีที่ผ่านมา ในการทำหน้าที่เป็นคุณแม่ และแม่บ้านอย่างเต็มตัว ต่อไปนี้คุณจะสร้างความสมดุลระหว่างงานและลูกๆ ได้อย่างไร? อย่า พูดว่าลูกตัวน้อยๆ ของคุณเลี้ยงง่ายและน่ารักเพียงใด เพราะนั่นจะไม่ทำให้คุณ ได้รับความเชื่อมั่นจากนายจ้าง
จง บอกว่าลูกของคุณตอนนี้ ก็เติบโตขึ้น และกำลังอยู่ ในโรงเรียนเตรียมอนุบาล และคุณกำลังพกพาความกระตือรือร้น และความตื่นเต้น ที่จะได้กลับเข้ามาทำงานอีกครั้ง ซึ่งความรู้สึกนี้อาจไม่พบ ในลูกจ้างที่ไม่เคยมีประสบการณ์ ในการ "ต้องอยู่บ้าน" ...

สูตรในการสัมภาษณ์
เป็นที่น่าสังเกตว่า สูตรต่างๆ ที่หยิบยกมาแนะนำนั้น เป็นของต่างประเทศ อาจเป็นเพราะว่า เขามีคนช่างคิด ช่างจัดก็ได้ แต่สามารถ นำมาปรับใช้ กับการจ้างงาน ของเราได้ดีทีเดียว ผู้อ่านที่ติดตาม มาตลอด คงเข้าใจคำว่า สูตรที่ใช้ว่า หมายถึงอะไร สูตรที่จะ ให้ครั้งนี้ มีชื่อว่า STAR หลายคนที่เคย ผ่านหลักสูตร Target Selection ต้องเรียนถึงสูตรนี้ หลักสูตร ยาวนานถึง สามวันทีเดียว แต่ทำ ในรูปของ Workshop คือต้องฝึกภาคปฏิบัติ เกือบตลอดเวลา จะสรุปใจ ความของสูตรนี้ ดังนี้
S ตัวแรกย่อมาจากคำว่า Situation ที่แปลว่า สถานการณ์ คือต้องการทราบว่า ผู้สมัคร เคยมี ประสบการณ์ ในการเผชิญกับ ปัญหาหรือมรสุม อะไรในชีวิตบ้าง ธรรมดาคนเรา ถ้าไม่เคยพบกับ ความลำบากยากเข็ญ ก็จะไม่แกร่ง ไม่แข็งแรงพอ ที่จะผจญกับ ความลำบากยุ่งยาก ไม่เคยเจ็บ ก็ไม่มีภูมิต้านทาน บางครั้งเรา จึงต้องฉีดเชื้อโรคเข้าไป เพื่อให้ร่างกาย สร้างภูมิคุ้มกันให้ ก็จะไม่เป็นโรคนั้น ฉะนั้น จึงต้องมีการค้นหาว่า ผู้สมัครผ่านสมรภูมิ หรือมีภูมิคุ้มกันบ้างไหม
เขาจะแกร่งพอ สำหรับงาน หรือสู้กับงาน ได้อย่างทรหด อดทนไหม ผู้สัมภาษณ์ ต้องสร้างคำถาม เพื่อให้ผู้สมัคร มีโอกาสเล่าถึง ประสบการณ์ที่เขาเคยพบมา ต้องชั่งน้ำหนักว่า สิ่งที่เขาบอกเล่า มันหนักหรือเบา เขาเป็นตัวปัญหา หรือเป็นผู้รับ ผลกระทบ
Task คือคำเต็ม ของตัว T หมายถึง ความสามารถ ของผู้สมัคร ในการรับมือกับ Situation ที่เขาบอกเล่าอย่างไร เขาสามารถ ยืนหยัดด้วยตนเอง หรือได้รับความช่วย เหลือจากใคร จนทำให้เขา ผ่านพ้น สถานการณ์ที่ยุ่งยากนั้นมาได้ ข้อนี้วัดผู้สมัครได้ หลายอย่าง ทั้งด้านการ ควบคุมอารมณ์ การวิเคราะห์ การใช้เหตุผล รวมตลอดถึง ความเป็นผู้ใหญ่ หากเขาบอกว่า ไม่เคยมี สถานการณ์ ที่ยุ่งยาก แล้วเลยแปลว่า หมดโอกาส ค้นหาข้อ ต่อไปหรือไม่ คงไม่เป็น เช่นนั้น เพราะหาก เขาโชคดี ชีวิตราบเรียบ ก็สามารถ ใช้คำถามและ สร้างสถานการณ์ ให้เขาตอบได้ว่า หากเขาเจอแบบนี้ จะทำอย่างไร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ความสามารถ ของผู้สัมภาษณ์ ด้วยเป็นสำคัญ
A ตัวนี้ ไม่ใช่อย่างที่หลายคนนึก เพราะผู้เขียนเคยลองหลายทีแล้วว่า ตัวนี้น่าจะมาจาก คำว่าอะไร ปรากฏว่าทายผิดแทบทุกคน คำเต็มคือ Action ซึ่งแปลว่า การกระทำ เป็นสิ่งที่ต่อเนื่อง จากสองคำแรก หมายถึงว่า การกระทำอะไรที่ได้ทำลงไป เพื่อคลี่คลายความยุ่งยาก ที่ต้องเผชิญ เป็นการวัด พลังความคิด และให้พิสูจน์ไปใน ตัวว่า คิดแล้วสามารถ ทำให้เกิดเป็น จริงด้วยได้ จะได้ผล หรือไม่เป็นสิ่ง ที่วัดผลได้เลย จากคำบอกเล่า ของผู้สมัคร จะพูดแบบเกินเลย หรือไม่นั้น อยู่ที่ผู้ฟัง คือผู้สัมภาษณ์ ต้องใช้วิจารณญาณ ของตนเองว่า เรื่องราว ที่เขาเล่านั้น น่าเชื่อถือแค่ไหน เพียงใด
R คือคำว่า Result หรือผลลัพธ์นั่นเอง เป็นผลมาจากอะไร ก็เป็นผลมาจากการ การที่ต้องพบกับความยุ่งยาก หรือปัญหา แล้วก็เรียงมา ถึงความคิด ความสามารถ ที่จะรับมือกับปัญหา เมือคิดได้แล้ว ถึงขั้นลงมือทำ มาจบลงที่ผลที่เกิดขึ้น จากความคิดเหล่านั้น ว่าเกิดผลอย่างไร จะเลวร้ายกว่าเดิม หรือผ่อนคลาย หรือรอดพ้นมาได้ คือผลลัพธ์ตามข้อนี้
จะเห็นได้ว่า Situation Task Action Result [STAR] เป็นการวัดความสามารถของคน ซึ่งมีความเกี่ยวพันกัน เป็นลูกโซ่ จะขาดช่วงใด คำใดไม่ได้ ต้องโยงใยครบถ้วน แล้วได้อะไร จากการใช้สูตรนี้ น่าจะครบพอสมควร สำหรับการทำงาน อยากบอกเพิ่มเติมว่า คนที่มีคุณสมบัติครบถ้วน จากการหาแบบนี้ ไม่ใช่พนักงานธรรมดาหรอก น่าจะเป็นคนที่มีศักยภาพ [ Potential] คนหนึ่งทีเดียว คนเราลอง พบปัญหา แล้วสติไม่แตก กลับพลิก วิกฤตเป็นโอกาส ใช้ความสุขุม คิดแก้ปัญหา แล้วยังลงมือ แก้ตามที่คิด ยังผลให้เกิดเห็นเป็น รูปธรรมด้วย น่าจะเป็นคน ที่ได้ไว้ทำงานด้วย น่าจะจัดได้ว่า เป็นคนมีคุณภาพ
ขอย้ำสักนิดว่า นี่คือคนเก่งนะ แต่ไม่อาจรับรองว่าจะเป็นคนดีด้วย ต้องแยกให้ออกว่า คนเก่งและคนดี ไม่เหมือนกัน หากจะหาคนดี อาจต้องค้นหา ด้วยสูตรอื่น หรือคำถามอื่น คนเก่งอาจ ไม่ต้องการเวลามากนัก ในการเรียนรู้งาน หลายแห่ง เมื่อใช้สูตรนี้ กำหนดว่า จะต้องมีวิธีจัดการ หรือกำหนดอนาคตคน ที่ผ่านสูตร นี้ได้เป็นพิเศษ เรียกว่ามีเส้นทางลัด [ Fast Track} ในการเติบโต เช่นการจ้าง ผู้บริหารฝึกหัด [ Management Trainee] หากไม่มี แผนพิเศษให้เขา องค์การจะรู้ว่าไม่สามารถตอบสนอง หรือเก็บเขาไว้กับองค์การได้ เนื่องจากคนพวกนี้ จะเป็นนักแสวงหา มีพลังแฝงในตัวสูง หากให้งานธรรมดา ไม่พอมือ พอใจเขาหรอก ต้องมีเส้นทางพิเศษให้เดิน
ผู้สัมภาษณ์ ต้องเรียนรู้ถึงการสร้าง คำถามที่สอดคล้องกับสูตรนี้ แน่นอนคำถามต้องกว้าง เป็นแบบเปิดไม่ชี้นำ เพราะต้องการ ให้เขาแสดงออกมากที่สุด ใช้การกระตุ้น ให้กำลังใจ จะได้พูดออกมาให้หมด อาจมีการซักถาม เป็นบางช่วง หากต้องการรู้รายละเอียดเพิ่ม แต่ควรปล่อยให้เขาพูด อย่าขัดจังหวะ แต่ต้องจำแล้ว เก็บมาถามใน ตอนท้าย สิ่งที่จะช่วยคือต้องมีความจำดี ช่างสังเกต และการมีมุมมองที่กว้าง ใจกว้าง พร้อมรับฟังความคิด ของคนอื่น ซึ่งอาจไม่เหมือน กับของผู้สัมภาษณ์ หากบังเอิญ Situation พ้องกับ สิ่งที่ผู้สัมภาษณ์เคยพบ อาจมีวิธีแก้ปัญหา ไม่เหมือนกัน อย่าเร่งตัดสินว่า เขาผิด ไม่ใช่อย่างนั้น แต่ต้องค้นให้พบว่า เขาได้เรียนรู้อะไรบ้าง และจะนำมาใช้ในช่วง ชีวิตต่อไปอย่างไร
STAR เป็นสูตรในการสัมภาษณ์ ที่ได้รับความนิยมในวงกว้าง บ้านเราเริ่มเรียนรู้สูตรนี้แล้ว ไม่อยู่ในแวดวง แคบเหมือนเมื่อก่อน ที่ใช้เฉพาะบางธุรกิจเท่านั้น แต่การรู้แค่สูตร หากไม่สามารถ นำไปประยุกต์ใช้ ก็เปล่าประโยชน์ จึงอยู่ที่การปรับ ใช้โดยการสร้างคำถาม จึงจะสมบูรณ์ ได้ทั้งประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

ประเภทของคำถาม เมื่อได้ทราบกระบวนการต่างๆ ของการสอบสัมภาษณ์งานไปแล้ว ต่อไปนี้ลองมาดูประเภทของคำถามกันบ้าง เพราะเมื่อถึงเวลาสัมภาษณ์เข้าจริงๆ จะได้เตรียมตัวได้ถูก ดังนี้ครับ
นักวิชาการ ได้แบ่งลักษณะของคำถาม ออกเป็น 5 ประเภท คือ
1. คำถามเปิด คำถามชนิดนี้จะเปิดกว้าง ให้ผู้ตอบได้มีโอกาสตอบ และแสดงความคิดเห็นของตน อาจจะเป็นคำถามที่คลุมเครือ เช่น คุณมีประสบการณ์อะไรบ้าง (What experience do you have?) ดังนั้น เวลาตอบ ผู้ตอบคำถามเหล่านี้ ต้องตอบโดยตีความให้แคบลง โดยระบุลงไปว่า มีประสบการณ์อะไรบ้าง
2. คำถามปิด คือคำถามที่ต้องการ เฉพาะเจาะจง เพียงต้องการให้ผู้ตอบ ตอบเพียง Yes หรือ No เท่านั้น กรณีเช่นนี้ ถ้าผู้ตอบ ตอบไม่ได้จริงๆ ก็ให้ตอบไปตามตรงเลยว่า ไม่ทราบ (Sorry! I don't know) เพราะว่าคำถามประเภทนี้ ผู้ตอบจะไม่ค่อยมีโอกาส แสดงออกความคิดเห็น ได้เองเท่าใดนัก
3. คำถามทวน เป็นคำถามที่แนะเป็นนัย ให้ผู้ตอบตรึกตรองดูอีกครั้งหนึ่งว่า คำตอบ ที่ตอบไปแล้วนั้น จะสมบูรณ์พอแล้วหรือไม่ เช่น คุณพูดว่า คุณจะไปต่างประเทศสิ้นปีนี้ใช่หรือไม่(You said you would go abroad at the end of this year, is that true?)
4. คำถามหยั่ง คือคำถามที่หยั่งลึกลงไป เพื่อหยั่งหาเหตุผล ทัศนคติ และความเชื่อ ของผู้ถูกถาม เช่น ทำไมคุณจึงยอมลาออก จากที่ทำงานเดิม ทั้งๆ ที่ยังไม่ทำงานใหม่ (Why did you decide to quit your last job, though you have not yet get the new one?)
5. คำถามนำ คือคำถามที่มีลักษณะ แบบทำให้ผู้ตอบ ตอบตามที่ผู้ถามคาดคะเนเอาไว้ เช่น เธอไม่มีโรคประจำตัว ตามที่ระบุไว้ในข้อ 4 ของระเบียบใช่หรือไม่ (You don't have any diseases as indicated in clause 4 of our procedure, do you?)
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ คือประเภทของคำถาม ที่ผู้สมัครพึงศึกษาไว้ล่วงหน้า เพื่อที่จะใช้คำตอบได้ถูกต้อง และในบทต่อไปเป็นคำถาม และคำตอบที่ผู้เขียนได้รวบรวมไว้ เพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ที่จะเข้าสอบสัมภาษณ์ ได้ศึกษา และเรียนรู้ไว้ก่อน

Prepare for predictable questions ในการสอบสัมภาษณ์แม้ว่าจะต่างกรรม ต่างวาระ แต่จะมีคำถามส่วนหนึ่ง เป็นคำถาม Basic ที่ผู้สัมภาษณ์มักใช้สัมภาษณ์ ซึ่งหากมีการเตรียมตัว หรือซักซ้อมคำตอบไว้ล่วงหน้า จะเป็นคำถามช่วยทำคะแนน คำถามต่อไปนี้ผู้เขียนได้เตรียมไว้ล่วงหน้า เพื่อให้ผู้สมัคร ได้มีโอกาสเตรียมตัว รับสถานการณ์ไว้ ก่อนเข้ารับการสัมภาษณ์จริง....
1. Why did you apply for this position? (ทำไมคุณจึงเลือกสมัครตำแหน่งนี้) หรือ
Why do you want to leave your present job? (ทำไมคุณจึงต้องการออกจากงาน ที่ทำอยู่ปัจจุบัน)
คำถามประเภทนี้ ต้องตอบในลักษณะที่ว่า เราต้องการมีประสบการณ์มากขึ้น และอยากมีความรับผิดชอบ มากขึ้นกว่านี้อีก เช่น
 I would like to broaden my experience and have more responsibility. หรือ
 I have been looking for another job which give me more responsibility and offer better prospects for the future. (ผมกำลังหางานใหม่ ที่มีความรับผิดชอบมากขึ้น และมีอนาคตที่ดีกว่า)
2. ไม่ควรทำตัวคุ้นเคยจนเกินไป ถึงแม้ว่า บริษัทที่เราไปสมัครนั้น จะไม่ค่อยเคร่งครัดเกี่ยวกับระเบียบมากนักก็ตาม เช่น ถ้าหากผู้สัมภาษณ์ แนะนำตัวเองว่า "My name is James Thomson" ก็ไมควรเรียกเขาโดยใช้ชื่อแรกว่า "Mr.James" เพราะในภาษาอังกฤษถือว่าไม่สุภาพ ควรจะเรียกเขาว่า "Mr.Thomson" จะเหมาะสมกว่า
3. ตามปกติแล้ว มีน้อยครั้งที่ผู้สัมภาษณ์จะเริ่มต้นโดยกล่าวว่า
"Right, tell me about yourself." (เอาละช่วยบอกให้ผมทราบเกี่ยวกับตัวคุณหน่อยซิ)
คำถามลักษณะนี้ เวลาตอบต้องถามผู้สัมภาษณ์ให้แน่นอนว่า จะให้เริ่มเล่าตั้งแต่ตอนไหน โดยการถามเขาว่า "Where would you like me to begin?"
เมื่อถึงตอนนี้ผู้สัมภาษณ์อาจจะพูดว่า "I'd like you to tell me a bit about what you've been doing since you left University." (ผมอยากให้คุณเล่าให้ฟังนิดหน่อยว่า คุณทำอะไรหลังจากจบมหาวิทยาลัยแล้ว)
ผู้สมัครอาจจะตอบว่า well, when I graduated in 1986, I started work as a salesman with an electronics company and I have been with this company since then." (เมื่อผมได้รับปริญญาในปี ค.ศ.1986 ผมก็เริ่มทำงานเป็นเซลส์แมนกับบริษัทอิเล็กทรอนิกส์แห่งหนึ่ง และผมก็ได้ทำงานกับบริษัทนี้ มาจนกระทั่งบัดนี้)
4. อนึ่ง การที่เราชักชวนให้ผู้สัมภาษณ์พูดนั้น ย่อมเป็นวิธีที่ดีอย่างหนึ่ง และเวลาเขาพูด เราก็ต้องแสดงความในใจให้เขาเห็น โดยการตอบรับบ้าง อย่านั่งฟังแต่เพียงฝ่ายเดียว เช่น
"That's interesting." (นั่นน่าสนใจจริงๆ ครับ) หรือ
"I see." (อย่างนั้นหรือครับ)
การตอบรับแบบนี้ ควรพูดได้เป็นบางครั้ง บางคราวเท่านั้น เพราะถ้าใช้พร่ำเพรื่อ จะกลายเป็นว่าเราไม่มีความรู้ ความสามารถอะไรเลย ครับ ยังไม่จบนะครับยังมีต่อ แต่ตอนนี้จะขอจบไว้เพียงเท่านี้ก่อน เอาไว้พบกันตอนหน้านะครับ สวัสดีครับ!

Prepare for predictable questions ก่อนที่จะเข้าสัมภาษณ์ทุกครั้ง ผู้สมัครไม่ควรละเลย ที่จะซักซ้อมคำถามคำตอบล่วงหน้าไว้ก่อน เพื่อหาคำตอบที่ดีที่สุด ซึ่งบางครั้งคำถาม คำตอบเหล่านี้ อาจจะถูกถามหรือไม่ก็ได้ เหมือนกับการจับ "ใบดำ ใบแดง" แต่อย่างน้อย เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับตัวเอง เมื่ออยู่ต่อหน้าผู้สัมภาษณ์ ซึ่งคราวที่แล้วเราได้พูดคุยเกี่ยวกับเรื่องนี้ไปแล้ว คราวนี้จะมาดูว่ามีคำถามอะไรเพิ่มเติมอีกบ้าง ที่เราพอจะเตรียมตัวได้อีกบ้าง
 กรณีที่มีผู้สัมภาษณ์หลายคน ซึ่งเรียกว่า "The panel interview" นั้น เมื่อเรากำลังจะตอบคำถาม ของผู้สัมภาษณ์ท่านใดท่านหนึ่ง แต่มีผู้สัมภาษณ์ท่านอื่น พูดแทรกขึ้นมา เราควรพูดคั่นในทำนองนี้ "May l try to answer your question together with the one raised by your colleague?" (ขอให้ผมได้ตอบคำถามของท่าน พร้อมกับคำถามของเพื่อนร่วมงาน ของท่านด้วยนะครับ)
 คำถามที่ควรระมัดระวังในการตอบก็คือ คำถามเกี่ยวกับเรื่องเงินเดือน เช่น ถ้าถูกถามว่า "What salary do you expect to get?" (คุณต้องการเงินเดือนเท่าไหร่)
 คำถามประเภทนี้ ไม่ควรตอบโดยระบุว่า ต้องการเท่านั้นเท่านี้ ควรตอบในลักษณะนี้จะดีกว่า "Usually what is your standard rate of pay for a person in this position?" (โดยปกติแล้ว มาตรฐานการจ่ายเงินเดือนของคุณ ให้กับบุคคลที่มีประสบการณ์เช่นผม ซึ่งทำงานในตำแหน่งเดียวกันนี้เป็นอย่างไร)
 ถ้าต้องการให้เหตุผลว่า เรามีคุณสมบัติเหมาะสมกับงาน ควรใช้ "I am suited to the job." อย่าใช้ The Job suits me. เด็ดขาด เพราะงานอยู่กับที่ เราเองต่างหากที่ไปเหมาะสมกับงานเอง
 เมื่อถูกถามเกี่ยวกับชีวิตในครอบครัว (Family background) เช่น What does your father do for a living? หรือ Does your mother work?
อะไรทำนองนี้ ก็ไม่ควรพยายามบ่ายเบี่ยงไม่ตอบ เพราะรู้สึกอาย หรือกลัวว่าเมื่อตอบความจริงแล้ว จะทำให้ตัวเองต่ำต้อย หรือไม่ก็กลัวถูกปฏิเสธ แท้จริงแล้วเราควรพูดความจริง เพราะถ้าคิดจะดิ้นรน ต่อสู้ชีวิตในอนาคต ก็ไม่ควรปล่อยให้วิถีชีวิตในอดีต มาเป็นอุปสรรคแก่ตัวเราได้
 คำถามเกี่ยวกับเวลาว่าง (Spare time) หรืองานอดิเรก (Hobbies) ถ้าเราตอบว่าชอบอ่านหนังสือ ก็ควรจะตอบได้ว่า ผู้เขียนหนังสือที่เราอ่านคือใคร และเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร อย่าเพียงแต่ระบุไว้ในใบสมัคร ทั้งๆ ที่ตัวเองไม่มีนิสัยรักการอ่าน หรือเกี่ยวกับกิจกรรมอื่นๆ เราก็ควรมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ เพราะถ้าไม่รู้จริง จะทำให้ผู้สัมภาษณ์ หมดความเชื่อถือในตัวเราได้
เราควรติดตามความเคลื่อนไหว ในเหตุการณ์ปัจจุบัน ซึ่งอยู่รอบๆ ตัวเรา ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม โดยการอ่านหนังสือพิมพ์ ดูทีวี หรือฟังวิทยุ ก็ได้ ถึงแม้เราจะไม่เคยสนใจมาก่อนเลยก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข่าวใหญ่ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงนั้น
 คำถามเกี่ยวกับความทะเยอทะยาน หรือความกระตือรือร้น (Ambition) หรือ (Aspiration) เช่น How do you see your career developing over the next five years? (คุณเห็นว่าอีก 5 ปีข้างหน้า งานของคุณจะพัฒนาไปอย่างไร) ก็ไม่ควรแสดงความทะเยอทะยานจนเกินไป เพราะผู้สัมภาษณ์อาจเกรงว่า ผู้สมัครมีความทะเยอทะยานมากจนเกินไป จนเป็นเหตุให้อยู่บริษัทได้ไม่นาน
 คำถามที่ถามว่า What do you think are your weaknesses or failings? (อะไรที่คุณคิดว่าเป็นความอ่อนแอ หรือเป็นข้อบกพร่องของคุณบ้าง) คำถามเช่นนี้ไม่ควรตอบว่า "I dont't have any weaknesses/failings at all. (ผมไม่มีความอ่อนแอ หรือข้อบกพร่องใดๆ เลยครับ) ซึ่งเมื่อฟังแล้ว ดูจะเป็นการพูดเท็จมากกว่า
 ดังนั้น คำถามในลักษณะนี้ ควรตอบเช่นนี้จะเหมาะสมกว่า "I don't think I have any weaknesses or failings which would affect my ability to do this job." (ผมไม่คิดว่าผมมีความอ่อนแอ หรือข้อบกพร่องใดๆ ที่จะเป็นอุปสรรค ต่อความสามารถของผม ในการทำงานนี้ครับ)
คำถามคำตอบเหล่านี้ เป็นเพียงแนวทางเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งผู้สมัครควรเตรียมตัวไว้บ้าง จะได้ไม่รู้สึกเจ็บใจ เมื่อออกจากห้องสัมภาษณ์มา และกลับมาพูดหัวข้อใหม่ ในตอนหน้านะครับ....

Questions you need not ask ในการสัมภาษณ์หลายครั้ง ผู้สมัครงานมีคำถาม "คาใจ" แม้จะเกี่ยวพันกับการทำงาน และผลประโยชน์โดยตรง แต่บางครั้งก็เป็นคำถาม "ต้องห้าม" และหากหลุดปากถามออกไป ก็อาจจะทำให้โอกาส หลุดลอยไปก็ได้ ลองดูกันว่า คำถามแนวไหนที่ไม่สมควรถาม....
1. Do I have to sign a contract?
(ผมต้องเซ็นสัญญาหรือไม่)
2. What are the working hours?
(ชั่วโมงการทำงานเป็นอย่างไร)
3. Will I have to work overtime?
(ผมต้องทำงานล่วงเวลาหรือไม่)
4. What degree have you obtained?
(ท่านสำเร็จศึกษาอะไรมา)
5. How much vacation leave am I entitled to?
(ผมมีสิทธิลาหยุดงานได้นานเท่าไร)
6. Do we have a Labour Union here?
(ที่นี่เรามีสหภาพแรงงานได้หรือไม่)
7. Will I have the cpportunity to travel overseas?
(ผมจะมีโอกาสไปต่างประเทศหรือไม่)
8. What fringe benefits does your company offer?
(ทางบริษัทให้ผลประโยชน์อะไรบ้าง)
แน่นอนที่สุด ผู้สมัครย่อมต้องการคำตอบของคำถามเหล่านี้ ก่อนที่จะรับทำงาน แต่ผู้สมัครก็ไม่ควรถามคำถามเหล่านี้ในขณะสัมภาษณ์ เพราะผู้สัมภาษณ์อาจเกิดความรู้สึกที่ไม่ดี (bad impression) ต่อผู้สมัคร เป็นต้นว่า
 ผู้สมัครเห็นแก่เงินเดือนเท่านั้น
 ผู้สมัครไม่ต้องการยึดมั่นอยู่กับงานนั้นโดยเฉพาะ แต่ต้องการทำไปอย่างนั้นเอง
 ผู้สมัครไม่ค่อยสนใจที่จะปรับปรุงงานนั้นให้ดีขึ้น แต่ต้องการเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวเท่านั้น
ดังนั้น วิธีที่ดี ก็คือ ผู้สมัครควรถือเสียว่า เรายังมีเวลาซักถาม คำถามเหล่านี้อยู่มาก รอให้เขารับเราเสียก่อน ค่อยถามก็ได้
ครับ ตอนนี้ก็จบกันเพียงสั้นๆ และเบาๆ ก่อนครับ แล้วค่อยพบกันตอนหน้า สวัสดีครับ

Questions you will need to ask
เกือบทุกครั้งที่จบบทสัมภาษณ์ ผู้สัมภาษณ์มักจะเปิดโอกาส ให้ผู้สมัครได้ถามสิ่งที่อยู่ในใจ ซึ่งเป็น "ข้อสอบ" อีกข้อหนึ่งที่ใช้ "ประเมินผล" ดังนั้น ผู้ถูกสัมภาษณ์จึงต้องระวังตัวพอสมควร ก่อนที่จะเอ่ยแต่ละคำถาม อันเป็นขั้นตอนหนึ่งของการเตรียมตัวที่ดี และไม่ควรจะมองข้าม ดังนี้
โดยปกติแล้วหลังจาก การสอบสัมภาษณ์เสร็จแล้ว ผู้สัมภาษณ์จะถามว่า
 Do you have any questions?
 Well! is there anything further you would like to know? (คุณมีคำถามอะไรอีกไหม)
และเมื่อเป็นเช่นนี้ จะเป็นการดีมาก ถ้าหากว่าผู้สมัคร จะมีคำถามสัก 2-3 คำถาม เพื่อแสดงให้เห็นว่า ตัวผู้สมัครมีความสนใจในงานจริงๆ และต่อไปนี้ เป็นคำถามที่ผู้สมัคร ควรถามผู้สัมภาษณ์....
1. What does the probation period involve? (มีการทดลองงานเกี่ยวกับอะไรบ้าง)
2. Is any training given? (มีการฝึกงานหรือไม่)
How long is the period of training? (ฝึกงานนานเท่าไร)
3. What does the training course consist of? (หลักสูตรการฝึกงานประกอบด้วยอะไรบ้าง)
4. What should be the responsibilities of this work? (งานนี้มีความรับผิดชอบเกี่ยวกับอะไรบ้าง)
5. Does the company have any plans to expand? (บริษัทมีโครงการขยายงานหรือไม่)
6. How do you assess the employees' working performance? (ท่านมีการประเมินผลงานของพนักงานอย่างไร)
7. What new products is the company planning to introduce that will support future growth? (บริษัทมีแผนที่จะแนะนำสินค้าใหม่อะไรเพื่อสนับสนุนความเติบโตภายหน้าบ้าง)
8. Why isn't this position being filled from within the company? (ทำไมไม่มีการบรรจุโดยการเลื่อนขั้นให้พนักงานในบริษัทเพื่อตำแหน่งนี้)
9. To what positions would I likely progress? Why? (ดิฉันมีโอกาสที่จะได้รับการสนับสนุนไปจนถึงตำแหน่งไหน ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น)
10. Docs the company support additional formal education? What form does such support take? (บริษัทให้การสนับสนุนด้านการศึกษาเพิ่มเติมบ้างไหม ถ้ามีในด้านใดบ้าง)
11. What else can you tell me about opportunities for promotion and advancement? (นอกจากนี้แล้ว ท่านกรุณาช่วยบอกให้ทราบหน่อยว่า มีโอกาสใดบ้างที่ดิฉันจะได้รับการเลื่อนขั้นและมีความก้าวหน้า)
12. What improvement would you like to see in these areas? (ท่านต้องการให้งานด้านนี้มีการปรับปรุงอะไรบ้าง)
นี่เป็นตัวอย่างของคำถามที่ควรถาม แม้จะไม่ได้คะแนนแต่เป็นคำถามที่ไม่ทำให้เราเสียคะแนน นอกจากนี้ยังมีคำถามที่ไม่ควรถาม ซึ่งเราจะมาต่อกันในตอนหน้านะครับ

Things to be avoided การสอบสัมภาษณ์เป็นปราการด่านสุดท้าย ของกระบวนการคัดเลือก การเตรียมพร้อมก็ต้องเต็มร้อยเป็นพิเศษ ทั้งที่เตรียมตัวอย่างดี แต่ข่าวดีก็ค่อย...หายๆ ซึ่งบางครั้งเป็นความผิดพลาด ในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่เกิดขึ้นในห้องสัมภาษณ์ที่แทบจะไม่รู้ตัว
ก่อนจะเข้าห้องสัมภาษณ์ ก็ลองสูดลมหายใจเข้าลึกๆ ตั้งสมาธิให้มั่น แล้วก็อย่าลืมสิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติ ในการเข้ารับการสัมภาษณ์ (Thing to be avoided) ดังนี้
1. ไม่ควรรับการนัดสัมภาษณ์วันละหลายๆ บริษัท เพราะอาจเกิดเหตุติดขัดได้หลายประการ หรือไม่ผู้สมัครก็อาจจะเกิดความเมื่อยล้าอิดโรยแล้วก็ได้
2. อย่าจับมือกับผู้สัมภาษณ์ ถ้าเขาไม่ได้ยื่นมือให้จับก่อน
3. ไม่ควรแย่งพูดขณะสัมภาษณ์หรือถามคำถาม มากจนกระทั่งน่าสงสัยว่า ใครสัมภาษณ์ใคร
4. ไม่ควรถามเกี่ยวกับวันหยุด กำหนดพักร้อน การมาสาย หรือการกลับก่อนเวลา เพราะเป็นการสร้างภาพพจน์ว่า ผู้สมัครอยากทำงานน้อยๆ หนีงานเก่งและ ไม่ควรถามเกี่ยวกับสหภาพแรงงาน หรือการนัดหยุดงาน
5. ไม่ควรใส่แว่นกันแดด และใช้มือปิดปากเวลาพูด หรือกุมมือบนตักแน่น
6. ไม่ควรแสดงอาการประหม่า มือสั่น เท้าสั่น ถ้าตื่นเต้น ควรสูดลมหายใจลึกๆ และทำใจให้สบาย
7. ไม่ควรแสดงอาการกระตือรือร้นว่า อยากได้งานจนดูไม่เรียบร้อย พึงนึกไว้เสมอว่า เรามีข้อดีจนงานต้องการเรา ไม่ใช่เราต้องการงานเพียงฝ่ายเดียว (We don't need the job, but only the job that needs us)
8. ไม่ควรพูดในสิ่งที่ไม่เป็นจริง เพราะผู้สัมภาษณ์ แต่ละคนอาจจับข้อเท็จจริงได้โดยไม่ยาก
9. ไม่ควรตอบว่าไม่ทราบ หรือไม่รู้ นอกจากจนปัญญาจริงๆ เท่านั้น
10. ไม่ควรถามเรื่องเงินเดือน จนกว่าผู้สัมภาษณ์จะพอใจในตัวเราเสียก่อนเท่านั้น และส่วนมากผู้สัมภาษณ์จะบอกหรือถามเอง
11. ไม่ควรนินทา หรือตำหนิเจ้านายเก่า เพราะผู้สัมภาษณ์อาจคิดว่า ต่อไปภายหน้าเขาเองก็อาจโดนตำหนิ ในทำนองนี้เช่นเดียวกัน
12. ไม่ควรนำพ่อและแม่ หรือเพื่อนไปสัมภาษณ์ด้วย เพราะผู้สัมภาษณ์จะมีความรู้สึกว่า ผู้สมัครไม่มีความมั่นใจในตัวเอง ยังจะต้องมีพี่เลี้ยงคอยดูแลอยู่อีก
13. อย่าใช้คำนำหรือชื่อ (title) เมื่อแนะนำตัวเอง ตัวอย่าง ไม่ใช่ I'm Mr.Prasit หรือ I'm Dr.Thira ควรใช้ I'm Prasit หรือ I'm Thira
14. อย่าใช้ภาษาแสลง เช่นใช้ yalh แทน yes
15. อย่าใช้คำย่อในวิชาที่เรียน เช่น Socio แทน Sociology, Psycho แทน Psychology, Chem แทน Chemistry, Econ แทน Economics เป็นต้น
16. กรณีที่ผู้สัมภาษณ์ใช้คำว่า Thank you! กับเรา ก็ควรตอบว่า You're welcome! หรือ It doesn't matter, อย่าใช้คำว่า Never mind.
17. อย่าทักทายผู้สัมภาษณ์ด้วยคำว่า Hello! เพราะจะเป็นการตีตัวเสมอกับผู้สัมภาษณ์
18. กรณีที่เห็นด้วย ควรตอบว่า Yes, Sir! หรือ Yes, Madam! และถ้าไม่เห็นด้วยให้ตอบว่า No, Sir! หรือ No, Madam! (แล้วแต่เพศของผู้สัมภาษณ์)
อย่าตอบเพียง Yes หรือ No เท่านั้น
19. กรณีที่ฟังคำถามไม่ชัด และต้องการให้ผู้สัมภาษณ์ถามใหม่ ควรกล่าวว่า I beg your pardon! หรือ Again Please!
20. กรณีที่ผู้สัมภาษณ์เชิญให้นั่งโดยกล่าวว่า Pleasc sit down! ควรกล่าวตอบว่า Thank you! อย่านั่งลงเฉยๆ
21. ในกรณีที่ผู้สัมภาษณ์แนะนำตัวเขาเอง โดยบอกชื่อและนามสกุลเต็ม เช่น I'm Roger Aslin ลักษณะเช่นนี้ อย่าเรียกเขาว่า Mr.Roger ซึ่งเป็นชื่อแรกของเขา เพราะถือว่าไม่สุภาพ และเป็นการแสดงความคุ้นเคยจนเกินไป ควรเรียกว่า Mr.Aslin จะเหมาะสมกว่า (ยกเว้นผู้สัมภาษณ์ที่เป็นคนไทย ซึ่งเรานิยมเรียกชื่อแรก แต่อาจจะไม่ใช้ Mr.นำหน้า โดยจะใช้ Khun แทน ซึ่งก็ถือว่าสุภาพดี)
22. เมื่อสัมภาษณ์เสร็จก่อนจะลากลับ ควรกล่าวว่า Thank you for calling me for this interview. I'll wait to hear from you.
อ้อ! ถ้าหากปิดท้ายด้วยการจับมือแล้วล่ะก็ ควรจับแบบมีน้ำหนัก แต่อย่าบีบแรง ในลักษณะทดสอบกำลัง กับผู้สัมภาษณ์ นี่ล่ะรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่ผู้สัมภาษณ์จะคอยจับตาดูคุณอยู่ อย่าพลาดเสียล่ะ....

Types of Interview อาจกล่าวได้ว่า วิธีการสอบสัมภาษณ์ ก็เป็นกระบวนการหนึ่ง ที่จะช่วยให้ผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ (interview) เตรียมตัวรับสถานการณ์เฉพาะหน้า ได้อย่างสุขุมรอบคอบ และยังจะช่วยให้ผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ ใช้คำตอบได้ตรงต่อประเด็นและสอดคล้องกับจุดหมายที่ผู้สัมภาษณ์กำหนดไว้อีกด้วย ผู้เขียนเองตระหนักถึงความสำคัญข้อนี้ จึงนำเอาวิธีการสอบสัมภาษณ์มาแสดงไว้ เพื่อเป็นแนวทางในการเข้าสอบต่อไป
วิธีการสอบสัมภาษณ์แบ่งออกเป็นหลายวิธีซึ่งพอสรุปได้ 7 วิธีดังนี้ 1. การสอบสัมภาษณ์เพื่อคัดออก (Screening Interview)
วิธีนี้จะเป็นการพูดคุยกันก่อน โดยมากจะเป็นการติดต่อทางโทรศัพท์เพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้สมัคร ว่า มีคุณสมบัติและความเหมาะสมเพียงพอที่จะเชิญมาเข้ารับการสอบสัมภาษณ์ที่บริษัทได้หรือไม่ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายโดยคัดผู้ที่ขาดคุณสมบัติออกไปเสียแต่เริ่มแรกขั้นตอนหนึ่งก่อน อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ จดหมายของผู้สมัครที่ส่งไปอาจจะถูกคัดเลือกออกมาแบบคร่าวๆ เพื่อเฟ้นหาผู้ที่มีแนวโน้มว่าเหมาะสมเสียครั้งหนึ่งก่อน
2. การสอบสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว (One-on-One Interview)
วิธีนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "Individual Interview" ส่วนมากจะใช้ก็ต่อเมื่อผู้สัมภาษณ์พิจารณาเห็นว่า เป็นการไม่ยากที่จะแยกแยะคุณสมบัติ และทักษะของผู้สมัครในตำแหน่งนั้นๆ และโดยมากก็จะใช้กับการสอบสัมภาษณ์ในระดับตำแหน่งที่ไม่สูงนัก ตัวอย่างเช่น เสมียนหรือพนักงานพิมพ์ดีด เป็นต้น ดังนั้น วิธีนี้จึงไม่เหมาะสมที่จะใช้กับการสอบสัมภาษณ์ในตำแหน่งสูง อย่างเช่นระดับบริหาร ซึ่งต้องอาศัยกระบวนการที่พิถีพิถันมากขึ้น
3. การสอบสัมภาษณ์หมู่ (Group Interview)
การสอบสัมภาษณ์วิธีนี้ บางแห่งเรียกว่า "The Penel Interview" หรือ "Board Interview" ซึ่งถือคติที่ว่า "หลายคนช่วยกันคิดดีกว่าคนเดียว" หรือ "Two heads are better than one" ดังนั้น ผู้สัมภาษณ์จะรวมกันเป็นทีม ซึ่งอาจจะมีจำนวนตั้งแต่ 3 ถึง 5 คน หรือถ้าเป็นตำแหน่งสำคัญ (Key positions) ก็อาจจะมีจำนวนถึง 6 หรือ 8 คนก็ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็แสดงว่าผู้เข้าสอบสัมภาษณ์จะต้องเผชิญกับผู้สัมภาษณ์หลายคนในเวลาเดียวกัน ดังนั้น ผู้เข้าสอบจะต้องควบคุมอารมณ์ให้ดี เพราะอาจจะถูกซักถามแบบวกไป เวียนมาในทำนองยั่วยุให้อารมณ์เสียได้ง่าย
4. การสอบสัมภาษณ์แบบไม่มีการวางแผน (Unstructured Interview)
วิธีนี้กล่าวง่ายๆ ก็คือ การสอบสัมภาษณ์หมู่นั่นเอง แต่ว่าในทีมผู้สัมภาษณ์นั้น สมาชิกของทีมอิสระในการป้อนคำถามตามแต่ตนจะเห็นสมควร โดยที่ทางบริษัทจะไม่กำหนดคำถามมาให้ เพียงแต่แจ้งความประสงค์ ว่า ทางบริษัทต้องการผู้สมัครที่มีคุณสมบัติอะไรบ้าง เฉพาะตำแหน่งนั้นๆ ข้อเสียของวิธีนี้อยู่ที่ว่าผู้สัมภาษณ์อาจจะใช้คำถามซ้ำซากกับผู้ร่วมทีมคนอื่นๆ จนมองข้ามหัวข้อสำคัญไปเสียก็ได้
5. การสอบสัมภาษณ์แบบมีการวางแผน (Structured Interview)
คือ การสอบสัมภาษณ์ ซึ่งมีวิธีตรงกันข้ามกับแบบที่ 4 (การสอบสัมภาษณ์แบบไม่มีการวางแผน) ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น กล่าวคือ ในที่นี้ผู้สัมภาษณ์ จะได้รับมอบหมายหน้าที่จากบริษัทให้ทำโดยแยกแยะออกไปตามความถนัด ว่า แต่ละคนจะซักถามในเรื่องใดบ้าง เช่น ด้านการศึกษา ด้านคุณสมบัติ หรือประสบการณ์ เป็นต้น
6. การสอบสัมภาษณ์แบบสมมติเหตุการณ์ (Situational Interview)
คือ การสอบสัมภาษณ์แบบหยิบยกเหตุการณ์ใด เหตุการณ์หนึ่งขึ้นมาประกอบการสัมภาษณ์ โดยที่อาจจะเป็นเหตุการณ์จริง หรือสมมติขึ้นมาก็ได้ แต่เป็นเหตุนำไปสู่ปัญหาที่ผู้สมัครจะต้องแก้ไขในขณะเข้าไปทำงาน เมื่อถึงตอนนี้ผู้เข้าสอบจะต้องแสดงความสามารถของตนออกมาว่าจะต้องแก้ไขปัญหาอย่างไร โดยที่ทีมผู้สัมภาษณ์จะสังเกตพฤติกรรม และท่าทางในการแสดงออกของผู้สมัครด้วย เช่น ความคิดสร้างสรรค์ ความรอบคอบ ความฉับพลันในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างมีเหตุผล เป็นต้น
7. การสอบสัมภาษณ์แบบประเมินผล (Assessment Centers)
วิธีนี้เหมาะสมเฉพาะงานบางอย่างเท่านั้น เช่น พนักงานขายสินค้า หรือพนักงานขายประกัน เป็นต้น ในที่นี้ผู้สัมภาษณ์จะเปิดโอกาสให้ผู้สมัครได้ศึกษานโยบาย และรายละเอียดต่างๆ ที่จำเป็นก่อนแล้ว จึงให้ผู้สมัครสาธิตเทคนิคในการขาย หรือแสดงศิลปะในการพูดโน้มน้าวจุดสนใจของลูกค้าให้คล้อยตาม โดยที่อาจจะมีการสมมติว่า พนักงานของบริษัทนั้นเป็นลูกค้าก็ได้ หลังจากนี้ จึงจะมีการประเมินผลกันอีกครั้งหนึ่ง เพื่อหาผู้ที่เหมาะสมกับตำแหน่งต่อไป
เมื่อทราบรูปแบบของการสอบสัมภาษณ์แล้ว ต่อไปก็ควรทราบข้อปฏิบัติในการเข้ารับการสัมภาษณ์กันบ้าง เพื่อจะได้เตรียมตัวได้ถูกต้องดังนี้ครับ
ข้อปฏิบัติในการเข้ารับการสัมภาษณ์ (How to prepare yourself before being interviewed)
1. ศึกษารายละเอียดของบริษัทก่อนเข้ารับการสัมภาษณ์ เพื่อจะได้มีเรื่องสนทนาขณะสัมภาษณ์ และแสดงความสนใจที่มีต่อบริษัท
2. ไปให้การสัมภาษณ์ตรงตามเวลา โดยไปก่อนเวลาอย่างน้อย 10 นาที หากไปช้า หรือไปไม่ได้ ต้องรีบโทรศัพท์เพื่อขอเลื่อนนัดการสัมภาษณ์ออกไป
3. นั่งรออย่างเรียบร้อย ไม่ควรเดินไปเดินมา หรือส่งเสียงดัง ชนโต๊ะเก้าอี้ อาจมีคนคอยแอบสังเกตกิริยาของผู้สมัครขณะรอการสัมภาษณ์ บางบริษัทอาจให้รอนานเพื่อพิสูจน์ความอดทนของผู้สมัคร
4. ควรยิ้มให้ผู้สัมภาษณ์ขณะเริ่มทักทาย ซึ่งอาจจะเป็น Good morning หรือ Good afternoon ก็ได้แล้วแต่เวลา เช่น Good morning, Mr.Thomson. I'm very glad to meet you.
5. ควรถามผู้สัมภาษณ์บ้างเกี่ยวกับงานที่จะให้ทำว่า จะให้ทำอะไร ทำที่ไหน ถ้าไม่มีคำถามเลย ผู้สัมภาษณ์อาจคิดว่า ผู้สมัครไม่มีความสนใจในงานที่สมัคร แต่อย่าถามมากจนผู้สัมภาษณ์รำคาญ
6. พูดให้ชัดเจนเป็นแบบธรรมชาติ และด้วยความมั่นใจ
7. ใช้กิริยาวาจาสุภาพตอบคำถาม ผู้สัมภาษณ์บางท่านอาจใช้วิธีแหย่ให้โกรธ หรือใช้คำพูดูถูก เพื่อดูอารมณ์ของผู้สมัครขณะที่โมโห หรือไม่พอใจ ดังนั้น ผู้สมัครต้องเตรียมตัวรับสถานการณ์ไว้ล่วงหน้า
8. แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย ไม่พับแขนเสื้อ ทั้งแขนขาวและแขนสั้น และไม่ควรใส่กางเกงยีนส์ เพราะบางบริษัทถือว่าไม่สุภาพ
9. ควรตัดผมสั้นไม่ปล่อยไว้จนยาว โกนหนวด และเครา ให้เรียบร้อย ควรรีดเสื้อผ้าและติดกระดุมเสื้อให้ครบ ควรใส่ถุงเท้าที่ไม่ใช่สีสดๆ หรือสีที่เป็นจุดเด่น
10. ควรใส่รองเท้าให้เรียบร้อย และไม่ควรใส่รองเท้ากีฬา รองเท้าสาน หรือรองเท้าแตะ หรือเสื้อยืดก็ไม่ควรใส่
11. ควรมองหน้าผู้สัมภาษณ์ ไม่ควรหลบตา และนั่งตาลอยมองนอกหน้าต่าง หรือมองโต๊ะ หรือแสดงอาการอย่างขวยเขิน
12. ถ้าจะไอ ควรใช้ผ้าเช็ดหน้าปิดปาก และกล่าวคำขอโทษว่า I'm sorry หรือ Sorry! ขณะสัมภาษณ์ไม่ควรนั่งไขว่ห้าง
13. สิ่งสำคัญ คือ ถ้าประตูห้องปิดควรเคาะประตูก่อนเข้าห้อง และควรขออนุญาตโดยกล่าวว่า May I come in? และระวังอย่าลากเก้าอี้ให้มีเสียงดัง
14. คำถามที่ควรจะถามเป็นอย่างยิ่ง ก็คือ ควรถามผู้สัมภาษณ์ว่า ในสายตาของผู้สัมภาษณ์เราเป็นอย่างไรมีจุดอ่อนที่จะต้องแก้ไขอย่างไรบ้าง เพราะการทำเช่นนี้ จะเป็นประโยชน์แก่ผู้สมัครในครั้งต่อๆ ไป







Create Date : 12 พฤษภาคม 2549
Last Update : 20 พฤษภาคม 2549 0:02:49 น. 30 comments
Counter : 7036 Pageviews.

 
ทำไมตัวหนังสือเล้กกกกก เล็ก ^^;;


โดย: ล ม ห า ย ใ จ ...อุ่ น อุ่ น วันที่: 12 พฤษภาคม 2549 เวลา:23:10:46 น.  

 
แต่ก็ขอบคุณที่เอาข้อมูลมาฝากน้า ^^


โดย: ล ม ห า ย ใ จ ...อุ่ น อุ่ น วันที่: 12 พฤษภาคม 2549 เวลา:23:12:04 น.  

 


โดย: ขอบคุนมากน้าคะ IP: 158.108.133.12 วันที่: 11 เมษายน 2550 เวลา:0:16:38 น.  

 
ขอบคุณนะ


โดย: metalex IP: 125.27.27.6 วันที่: 29 พฤศจิกายน 2550 เวลา:19:59:45 น.  

 
ขอบคุณคะ


โดย: แอมมี่ IP: 202.91.19.204 วันที่: 29 มกราคม 2551 เวลา:16:51:55 น.  

 
ขอบคุณมาก ๆ ค่ะ กำลังหาข้อมูลไปฝากน้องชายที่กำลังเตรียมตัวสอบสัมภาษณ์พอดี


โดย: kai korat IP: 203.113.56.10 วันที่: 8 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:21:54:02 น.  

 
Thank you verry much for your information.


โดย: deaw Lamphun IP: 117.47.127.183 วันที่: 6 พฤษภาคม 2551 เวลา:23:04:09 น.  

 
ขอบคุณ สำหลับข้อมูลดีๆๆ และคำแนะนำดีๆๆ อย่างนี้นะคะ


โดย: sam IP: 125.24.188.90 วันที่: 1 มิถุนายน 2551 เวลา:19:23:22 น.  

 
อ่านBlogนี้เมื่อวาน ไปสัมภาษณ์มาวันนี้ได้งานแล้วค่ะ เดี๋ยวเขียนตัวอย่างที่จำได้วันนี้ให้นะคะ

Interviewer: เล่าเรื่องที่คณะตัวเองมาซิทำอะไรบ้าง
(เล่าไปให้กระชับได้ใจความ)

Interviewer: รู้จักคนในบริษัทหรือเปล่า
(ไม่รู้จักค่ะ แต่สมัครงานผ่านเวบไซค์ค่ะ)

Interviewer: แล้วทำไมลาออก
(คิดว่าตัวเองมีความสามารถมากกว่างานที่บริษัทมอบหมายให้ทำค่ะ

Interviewer: แสดงว่าคุณ agressive และทะเยอทะยานมากเลยนะ
(ยิ้มค่ะ แล้วก็ตอบมาไม่ได้มากขนาดนั้นค่ะ)

Interviewer: รู้มั้ยเราผลิตอะไร
(ต้องทำการบ้านมาก่อนนะคะ searhในเวบค่ะว่าเค้าทำอะไร แล้วก็ตอบไปแต่งานนี้เป็นเรื่องพลาสติกค่ะ เค้าก็จะTest ความรู้เราว่ารู้เรื่องแค่ไหน)

Interviewer: งั้นรู้จัก PE มั้ย มีอะไรบ้างบอกมา
(HDPE, LDPE and LLDPE ค่ะ)

Interviewer: แล้วไม่รู้จัก SDPE หรอ
(เราก้องง แล้วก็บอกว่าไม่เคยได้ยินค่ะ เค้าเลยหัวเราะก็เพราะว่ามันไม่มีไงเล่า 555555 --)

Interviewer: แล้วรู้มั้ยต้องขายสินค้าให้ใคร
(อันนี้ต้องทำการบ้านเองนะคะ --ตอบว่าให้วิศวกรกับสถาปนิคค่ะ)

Interviewer: แล้วไม่กลัวเค้าหรอ แล้วถ้าถูกลูกค้าด่าจะทำยังไง
(ไม่กลัวค่ะ กลัวก้อไม่ตังค์ค่ะ ถ้าด่ามาก็ทำเฉยๆค่ะ)

Interviewer: ถ้าบริษัทผมตึงเครียดมากๆ ผมจะขอยืมเงินคุณได้มั้ย
(กรณ๊นี้ดิฉันมั่นใจว่าคงไม่มีกำลังเงินพอช่วยเหลือบริษัทได้หรอกค่ะ --แล้วผู้สัมภาษณ์ก็หัวเราะอีกรอบ)

Interviewer: คุณเก่งวิชาอะไรมากที่สุด
(เศรษฐศาสตร์ค่ะ)

Interviewer: งั้นคุณรู้มั้ยว่าทำไมอเมริกาถึงเงินเฟ้อ แล้วคุณรู้มั้ย Inflation(เงินเฟ้อ)เนื่ยคืออะไร Consumer Price Index คืออะไร
(งานนี้ต้องอาศัยติดตามข่าวบ้านเมืองนะคะ--ตอบว่า ที่อเมริกาเงินเฟ้อเพราะหนื่งปล่อยกู้เต็มร้อย แต่คนไม่มีเงินใช้หนี้แบงค์ แล้วก็ยกตัวอย่างง่ายๆไปเช่นขนาดแฮมเบอร์เกอร์ของอเมริกันจะ supersize แต่จิงๆกินไม่หมดหรอก คือทำมาแต่พอกินก้อพอแร้น แต่นี่มีเยอะใช้เยอะ คือเบอร์เกอร์เค้าประมาณ $11นะ แต่กินไม่หมดไง หรืออีกตัวอย่างคือ เค้าใช้บัตรเครดิตรูดเอา ไม่ได้ใช้ธนบัตรเกร่อเหมือนบ้านเรา เพราะงั้นอัตราการใช้เงินมันเลยเพลินไป พอใช้หนี้ไม่มีปัญญาจ่ายค่ะ เงินเลยเฟ้อค่ะ--ตอบยาวหน่อย)


โดย: HuHu IP: 125.24.186.25 วันที่: 8 กรกฎาคม 2551 เวลา:15:34:48 น.  

 
Interviewer: คุณเป็นคนเรียนรู้เร็วมั้ย
(ค่ะ เรียนรู้เร็วค่ะ ---แล้วเค้าก็วาดรูปสินค้าเค้าว่าเคยเห็นมั้ยมีโครงสร้างอะไรบ้าง เคยเห็นที่ไหน อันนี้ต้องทำการบ้านนะคะ)

Interviewer: เป็นคนตื่นเช้าหรือเปล่า
(ค่ะ ชอบมาก่อนเวลานัดค่ะ --คือหมายความว่าเราเป็นคนไม่ทำงานสาย)

Interviewer: คุณเริ่มงานได้เมื่อไหร่ ถ้าพรุ่งนี้เลยได้มั้ย
(เราก้อบอกว่าถ้าเป็นพรุ่งนี้ก็ไม่ได้เสียหายอะไรค่ะ)

Interviewer: คุณอายุเท่าไหร่ มีแฟนยัง แต่งงานยัง
(เราก้อบอกอายุไป โสด)

Interviewer: แล้วทำไมไม่แต่ง
(สนุกกับงานอยู่ค่ะ--ตรงนี้บริษัทอยากทราบว่าเราจะแต่งงานในเร็วๆนี้หรือไม่ เพราะว่าคนที่กำลังแต่งงานหากเพิ่งได้งาน อาจอยู่ไม่นานเนื่องจากปัจจัยอื่นๆหลังแต่งงานค่ะ)


แล้วเค้าบอกให้รอสิบนาที แล้วผู้ช่วยก็ลงมาบอกว่า ยินดีด้วยนะคะ แล้วก็ให้เริ่มงานพรุ่งนี้เลยมา train เรื่อง productของเค้าก่อนแล้วออกตลาดไปด้วย



โดย: HuHu IP: 125.24.186.25 วันที่: 8 กรกฎาคม 2551 เวลา:15:46:57 น.  

 
เกือบลืม Consumer Price Index คือดัชนีชี้ราคาผู้บริโภคเป็นตัววัดเงินเฟ้อค่ะ

ขอบคุณข้อมูลเตรียมตัวสัมภาษณ์งานมากเลยนะคะ






















โดย: HuHu IP: 125.24.186.25 วันที่: 8 กรกฎาคม 2551 เวลา:15:52:53 น.  

 
พุ่งนี้จาปัยสอบสัมภาษณ์แล้ว แต่พอด้ายอ่านกะรุสึก มั่นจัยขึ้นมากค่ะ


โดย: hammu IP: 125.27.18.51 วันที่: 20 กันยายน 2551 เวลา:1:03:09 น.  

 
เฮ้อ... พรุ่งนี้ไปแล้วเหมือนกัน พอได้อ่านแล้วว่า อย่างน้อยก็ได้อะไรไปบ้างครับ ขอบคุณสำหรับข้อมูล และยินดีด้วยนะครับ ( สัมภาษณ์ ครั้งแรก )ไม่อยากจะคิดเลย...จิงๆ


โดย: เพื่อน IP: 58.8.112.39 วันที่: 28 ตุลาคม 2551 เวลา:16:59:47 น.  

 
กำลังจะไปมภาษณเหมือนกัน ขอบคุณข้อมูลมากๆๆค่ะ
รู้สึกมั่นใจมากก อยากได้งานเร็วๆๆจัง


โดย: income IP: 58.8.91.17 วันที่: 7 พฤศจิกายน 2551 เวลา:15:28:27 น.  

 
แล้วถ้าผู้สัมภาษณ์พูดจาลวนลามด้วยคำพูด


เราจะต้องทำอย่างไรค่ะ


ที่เราจะได้งาน


ช่วยตอบด่วนค่ะ


ของคุงล่งหน้าเลย


โดย: ice IP: 202.28.68.202 วันที่: 12 พฤศจิกายน 2551 เวลา:0:52:46 น.  

 
เธ‚เธญเธšเธ„เธธเธ“เธกเธฒเธเธ„เธฃเธฑเธš เน„เธ”เน‰เธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰เนเธขเธฐเน€เธฅเธข

เน€เธžเธฅเธ‡เน€เธžเธฃเธฒเธฐเธ”เธตเธ™เธฐ เธ„เธฃเธฑเธš ^_^


โดย: เธญเธดเธญเธด IP: 125.24.216.144 วันที่: 19 พฤศจิกายน 2551 เวลา:22:07:46 น.  

 
ขอบคุณมากค่ะ พรุ่งนี้ต้องไปสัมภาษณ์งานด้วย กำลังหาข้อมูลพอดีเลย


โดย: บุ๋ม IP: 119.42.64.60 วันที่: 2 ธันวาคม 2551 เวลา:0:14:50 น.  

 


ขอบคุณค่ะ


โดย: ฟ้า IP: 115.67.201.48 วันที่: 8 มกราคม 2552 เวลา:21:30:50 น.  

 
ไม่เคยมีประสบการณ์ในการสัมภาษณ์งานเลย ตื่นเต้นมากๆ แต่ได้อ่านแล้วรู้สึกว่ามบายใจขึ้น ขอบคุณมากๆ


โดย: นักอ่านคนหนึ่ง IP: 125.25.107.172 วันที่: 14 มกราคม 2552 เวลา:17:13:51 น.  

 
วันนี้ 4 โมงเย็นผมจะสอบสัมภาษณ์กับกลุ่มงานอาเซียนแล้วครับ
เค้าต้องพูดภาษาอังกฤษแบบว่าผมต้องฟังไม่ทันแน่ๆเลย
มีตัวอย่างการสอบสัมภาษณ์ภาษาจีนกับญี่ปุ่นบ้างไหมครับ


โดย: เด็กมหาวิทยาลัยเปิดใหม่ภาคเหนือ IP: 202.28.45.20 วันที่: 17 กรกฎาคม 2552 เวลา:13:43:49 น.  

 
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำและข้อมูลดีๆๆ นะครับ

วันนี้ 5 โมงเย็นต้องไปสัมภาษณ์ช่วยแย้ว


ขอบคุณมากๆๆ ครับ


โดย: กำลังจาไปสัมภาษณ์ IP: 58.9.54.238 วันที่: 24 กรกฎาคม 2552 เวลา:14:11:00 น.  

 
ตัวหนังสือเล็กมากและต้องขอบคุณสำหรับรายละเอียดเป็นประโยชย์มากๆขอบคุอย่างแรง


โดย: ขวัญ IP: 124.120.156.254 วันที่: 7 สิงหาคม 2552 เวลา:14:26:58 น.  

 
จะไปสอบภาค ค. แล้วอ่ะ

รู้สึกกลัวเหมือนกัน

แต่พอได้อ่านข้อมูลเตรียมสอบสัมภาษณ์

ก็รู้สึกมั่นใจมากขึ้น

ขอบคุณนะคะสำหรับข้อมูลดีๆ


โดย: เมย์ IP: 118.172.74.145 วันที่: 7 กันยายน 2552 เวลา:8:59:08 น.  

 
มีสาระมากๆ แล้วจานำไปใช้คับ ขอบคุณมากๆ


โดย: ราชอสูร IP: 192.168.1.105, 117.47.158.105 วันที่: 29 กันยายน 2552 เวลา:13:10:54 น.  

 
เทคนิคการเดาอย่างมีหลักการ เพิ่มโอกาสถูก 30-100% ถึงเรียนไม่เก่ง อ่านไม่จำ แต่ก็ทำข้อสอบได้
1. เข้าห้องสอบตรวจสอบเลย เลขที่สอบถูกไหม เขียนชื่อ รายละเอียดต่างๆ ให้ครบ แต่ละปีจะมีผู้ทำข้อสอบแบบไม่ประสงค์ออกนามมากมาย
2. ให้ดูข้อสอบโดยรวมว่าวิชาที่เราทำอยู่มันตรงไหม จำนวนข้อมันเท่ากับที่เขาบอกไหม ถ้ามันถูกต้อง ก็เริ่มทำข้อสอบ
3. เวลาเริ่มทำข้อสอบอย่างแรกเลย ไม่ต้องเร่ง ค่อยๆทำ ควรมีการจัดการเรื่องข้อสอบก็คือทำข้อง่ายถึงข้อยาก ถามว่าข้อไหนข้อง่าย คือเรื่องที่เรารู้ บทไหนรู้เรื่องทำมันเลย ทำข้อง่ายก่อนข้อยาก พอเวลาทำข้อง่ายได้แล้วไม่ต้องรีบทำนะ ทำแบบสบายๆ ไม่ต้องร้อนรน ข้อไหนทำได้มาร์คใว้ อย่าทำไปเดาไป เดี๋ยวเรามาเดารวดเดียวตอน 10 นาทีสุดท้าย เดารวดเดียวไม่เป็นไร เรามีโอกาสถูกมากกว่า 25% แน่นอน
4. เราจะแบ่งเวลา 3 ช่วง 90 นาที ,20 นาที , และ 10 นาทีสุดท้าย 90นาทีแรกทำข้อสอบที่ทำได้ ข้อทำไม่ได้ทำไม่ทันปล่อยมัน พอ 90 นาทีหมดเวลาเลิกทำเลยครับ ข้อไหนทำไม่ทันไม่ได้อ่านโจทย์ไม่เป็นไร
5. 20 นาทีที่เหลือให้ทบทวนข้อที่ทำได้ (ที่เรามาร์คไว้) ข้อที่บอกว่าได้คะแนนแน่ๆ เพราะเป็นเรื่องที่เรารู้เรื่อง ทำไมถึงไม่ให้ไปทำข้อที่ทำไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องที่ไม่รู้เรื่องจะไปเสียเวลากับมันอีกทำไม ทบทวน 20 นาทีทำกับเรื่องที่ทำได้ให้ชัวร์
6. 10 นาทีสุดท้ายเดา ผมมีวิธีเดาให้คุณเดาตั้งแต่ถูกตั้งแต่ 30% - 100% ใน 8 เทคนิคการเดา ใน 3-4 เทคนิคหลังถูก 100% ไม่ต้องไปหาหนังสือที่ไหน เพราะไม่มีใครเขาทำกัน
กฎการเดาข้อที่ 1 โอกาสที่เป็นไปได้ หลักการตัวเลขที่ใช้ตัวจริงตัวปลอม ถ้าเราเจอ ข้อสอบคณิตศาสตร์ที่มันมีตัวเลขเศษส่วน บอกได้เลยคำตอบนี้มักจะเป็นเลขลงตัว เพราะว่าอาจารย์เขารู้คำตอบอยู่แล้ว เขาก็เอาคำตอบที่มันลงตัวมาเป็นคำตอบ คณิตศาสตร์ชอบเลขลงตัวอยู่แล้ว ส่วนถ้าเป็นวิทยาศาสตร์ โจทย์ที่ออกมาในรูปแบบเป็นตัวเลขยุ่งๆ ซับซ้อน พวกนี้คำตอบก็จะเป็นเลขลงตัวเหมือนกันครับ

ติดตามกฎการเดาข้อที่เหลือได้ที่ //tuent.eduzones.com/53/


โดย: deekun IP: 58.8.129.182 วันที่: 18 ตุลาคม 2552 เวลา:20:42:26 น.  

 
ขอบคุณครับ ยอดเยี่ยม
ขอบใจคนบอกด้วย


โดย: watch IP: 119.31.106.96 วันที่: 8 พฤศจิกายน 2552 เวลา:22:13:51 น.  

 
ขอบคุณมากครับ จะเอาเข้าสอบเรียน ขอบคุณมากๆ ครับ


โดย: T- IP: 202.44.8.100 วันที่: 15 พฤศจิกายน 2552 เวลา:16:33:25 น.  

 
เป้นประโยชน์มากครับ ขอบคุณมากคับ


โดย: เจ๋ง IP: 111.84.5.206 วันที่: 22 พฤศจิกายน 2552 เวลา:15:32:23 น.  

 
กำลังหาข้อมูล เป็นประโยชน์มากค่ะ


โดย: mon IP: 110.49.193.1 วันที่: 22 กันยายน 2553 เวลา:1:18:06 น.  

 
ขอบคุณค่ะ


โดย: สายน้ำค้า IP: 183.89.114.165 วันที่: 9 ธันวาคม 2556 เวลา:2:59:00 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

RBZ
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 9 คน [?]




เป็นเดะสีลม(เซนต์โย สีลม)ตอนป.๑ เรียนอยู่สองอาทิตย์ เค้าหาว่าหนูซนเลยต้องย้ายมาเซนต์โยบางนา ตอนนี้อยู่ธรรมศาสตร์ ขึ้นปีสาม แต่อยากเป็นเด็กปีหนึ่ง ตอนนี้กลับไปเป็นเด็กสีลมเหมือนเดิม (โต๊ะสีลม Color of the wind)

เลือกได้ระหว่างอ่าน blog หรือ space
http://spaces.msn.com/ongchun

chivalrysilk [ at ] gmail.com

icq57152514 [ at ] hotmail.com
สำหรับเล่น MSN เท่านั้น
Friends' blogs
[Add RBZ's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.