เมื่อบวกลบต้นทุนดอกเบี้ยจะได้ผลกำไรจากการลงทุนเท่ากับ 314 ดอลลาร์ จากเงินลงทุนเพียง 700 ดอลลาร์ (เงินสดเพื่อค้ำบัญชีมาร์จินเพื่อ Short หุ้น 500 ดอลลาร์ บวกกับเงินลงทุนในการสร้างสถานะ Long สุทธิ 200 ดอลลาร์) เท่ากับกำไร 45%
เป็นที่น่าสังเกตว่าหุ้นของวอล์มาร์ทและแอลเบอร์ตสันจะตกทั้งคู่ แต่ผลกำไรจากสถานะ Short ยังมากกว่าผลขาดทุนในสถานะ Long สรุปได้ว่าผลกำไรของ Hedge Fund ไม่ได้ขึ้นกับภาวะตลาด แต่ขึ้นกับอัตราความสัมพันธ์ของหุ้น 2 ตัว ซึ่งผู้จัดการกองทุนจะต้องวิเคราะห์หุ้นให้ถูก ถ้าถูกแล้วตลาดจะขึ้นหรือลงก็กำไร
2.3) Distress Asset ตลาดของสินค้าด้อยค่า ตอนที่ตลาดเจ๊งราคาที่แท้จริงไม่รู้เกิดความบิดเบือนของราคาเกิดขึ้น เมื่อนั้น Hedge Fund เข้า เพราะมันเป็นโอกาสในการทำกำไร นี่แทบจะเป็นกลยุทธ์อันเดียวของ Hedge Fund ที่เป็น Long
2.4) Activist Stratigies เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ย่อยของ Event-Driven เมื่อเขามองว่าผู้บริหารบริษัทไม่มีคุณธรรม หรือไม่ควรจะบริหารบริษัทนี้ เขาก็จะเข้าไปซื้อหุ้นแล้วก็ด่า เขียนจดหมายด่าผู้บริหารอย่างรุนแรงว่าจะต้องทำตัวอย่างไรเพื่อให้บริษัทดีขึ้น โดยจะทำในลักษณะที่เป็นสาธารณะด้วยโดยจะบีบทุกวิธีทาง เพราะว่ามูลค่าที่แท้จริงของบริษัทถูกบิดเบือน ราคาหุ้นอาจจะตกแต่ตลาดรู้ว่าราคาหุ้นที่จริงควรจะดี เมื่อ Hedge fund เข้าไปถือหุ้นจะบีบให้ผู้บริหารทำในสิ่งที่จะเป็นประโยชน์กับบริษัท โดยจะ Long ไว้ ถ้าหุ้นขึ้นก็จะขาย
คนที่ออกมาสนับสนุนแนวคิดนี้มากได้แก่ ผู้จัดการกองทุนบำเหน็จบำนาญขนาดใหญ่และทรงอิทธิพลอย่าง CalPERS ได้สนับสนุนแนวคิดของ Hedge Fund ประเภท Activist อย่างเปิดเผยและร่วมผลักดันให้นักลงทุนสถาบันอื่นๆ หลีกเลี่ยงการลงทุนในบริษัทที่ผู้บริหารไม่โปร่งใส
3) Relative Value การลงทุนเมื่อมีโอกาสทำกำไรจากการบิดเบือนของราคาตลาดตราสารหนี้ 2 กลยุทธ์แรกมักจะใช้ในตลาดหุ้นในขณะที่ Relative Value มักจะใช้ในตลาดตราสารหนี้ เช่น ปกติผลตอบแทนของตราสารหนี้อายุ 10 ปี ควรจะต่ำกว่า 30 ปี แต่ถ้าเกิดความผิดปกติเกิดขึ้นผลตอบแทนของตราสารหนี้ 10 ปี สูงกว่า 30 ปี กองทุนจะเข้าไป Long ตราสารหนี้ 10 ปี และ Short ตราสารหนี้ 30 ปีเอาไว้ เพราะในท้ายที่สุดผลตอบแทนของตราสารหนี้ จะต้องกลับเข้าสู่ภาวะปกติ กองทุนจะทำการปิดสถานะด้วยการ Short ตราสารหนี้ 10 ปี และ Long ตราสารหนี้ 30 ปี โดยสามารถทำกำไรได้จากส่วนต่างของอัตราผลตอบแทน (Spread) ที่แคบลง นี่เป็นกลยุทธ์ที่น่าสนใจ ตราบใดที่สเปรดแคบลงก็กำไร ไม่ต้องสนใจว่าตลาดจะเป็นยังไง ไม่ต้องคาดเดาด้วยว่าดอกเบี้ยจะขึ้นหรือลง แค่เป็นไปไม่ได้ที่ดอกเบี้ย 10 ปี จะสูงกว่า 30 ปี
Hedge Fund ไม่ชอบคาดเดาทิศทางตลาด แต่ชอบทำกำไรอย่างเป็นอิสระจากภาวะตลาด ถ้ากำไรน้อยก็ทำให้กำไรเยอะด้วยการ Leverage แต่ Hedge Fund จะไม่มานั่งเก็งกำไร ไม่ทำ
4) Global Macro การลงทุนที่เกิดจากการวิเคราะห์ภาวะเศรษฐกิจมหภาคที่ส่งผลถึงราคาหุ้น อัตราแลกเปลี่ยน อัตราดอกเบี้ย หรือราคาสินค้าโภคภัณฑ์ เป็นกลยุทธ์ที่ผู้จัดการกองทุนจะแสวงหาโอกาสในการทำ Arbitrage ในทุกรูปแบบและทุกตลาด จะ Long อะไรก็ได้ Short อะไรก็ได้ ถ้าทำกำไรได้โดยเสี่ยงต่ำที่สุด หรือทำกำไรได้ โดยที่ไม่มีความเสี่ยงของตลาด Hedge Fund จะทำ ถ้าแบ่งตามกลยุทธ์สัดส่วนใหญ่ประมาณ 36% จะอยู่ใน Equity Hedge อีก 25% อยู่ใน Relative Value อีก 23% เป็น Even-Driven และ 16% เป็น Global Macro เล็กที่สุดแต่ดังที่สุด เพราะเมื่อเกิดเหตุมักจะเกิดจากกลยุทธ์นี้ เพราะเป็นกลยุทธ์ที่ค่อนข้างเปิดให้กับผู้จัดการกองทุน Hedge Fund ในการลงทุนค่อนข้างมากต่างจากกลยุทธ์อื่น
ทั้งหมดนี้คือส่วนหนึ่งของกลยุทธ์การลงทุนหลักที่สำคัญของ Hedge Fund ซึ่งนักลงทุนไทยอาจจะมีโอกาสได้เข้าไปใช้ในอนาคตอันใกล้นี้ก็ได้