สาระน่ารู้เกี่ยวกับ แอร์บ้าน และระบบไฟฟ้าในบ้าน
Group Blog
 
All blogs
 
การทำท่อ Oil Trap ดักน้ำมันในระบบเครื่องปรับอากาศ

หลายคนที่ต้องติดตั้งแอร์ในกรณีคอยล์ร้อนสูงกว่าคอยล์เย็น อาจจะสังเกตุเห็นช่างแอร์ทำท่อแอร์ในลักษณะ ดัดเป็นรูปคอห่าน หรือที่เรียกกันว่าการทำ Oil Trap - Trap(แทรพ) ท่อแอร์ ซึ่งการทำ Trap ในงานติดตั้งระบบเครื่องปรับอากาศ อาจจะเรียกได้หลายชื่อ เช่น กับดักน้ำมันคอมเพรสเซอร์,ท่อดักน้ำมัน,แทรพดักน้ำมัน,ท่อคอห่าน หรือเรียกชื่ออื่นๆที่สื่อความหมายออกมาเหมือนกัน แล้วแต่ศัพท์ช่างแต่ละคน

ซึ่งการทำ Oil Trap ในงานติดตั้งเครื่องปรับอากาศ นิยมทำเป็น 2 รูปแบบหลักๆ ตามลักษณะที่ทำ คือท่อ Trap แบบ U-Trap และ แบบ P-Trap และอาจจะประยุกต์ไปเป็นแบบ S-Trap หรือรูปแบบอื่นๆ ตามแต่ช่างผู้ติดต่างเห็นสมควร



สาเหตุที่ต้องทำท่อ Trap ในกรณีที่วางคอยล์ร้อนในตำแหน่งสูงเหนือคอยล์เย็น เนื่องจากอธิบายง่ายๆตามกฎของธรรมชาติ ที่กล่าวว่า "ของเหลวทุกชนิดจะไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ" ในระบบเครื่องทำความเย็นก็เช่นกัน น้ำมันที่อยู่ในคอมเพรสเซอร์อยู่ในสถานะของเหลว ซึ่งน้ำมันในคอมเพรสเซอร์ มีหน้าที่ในการระบายความร้อนให้คอมเพรสเซอร์ และ หล่อลื่นระบบทางกลหรือกลไกลในคอมเพรสเซอร์ ในกรณีที่เครื่องทำงาน การดูดอัดสารทำความเย็นของคอมเพรสเซอร์ จะอัดน้ำมันที่อยู่ในตัวออกมาพร้อมสารทำความเย็นมาทางท่อทางอัด และดูดกลับเข้าไปในคอมเพรสเซอร์ทางท่อทางดูด ในการติดตั้งโดยวิธีให้ชุดคอยล์ร้อนวางในตำแหน่งต่ำกว่าคอยล์เย็น น้ำมันหล่อลื่น ย่อมไหลกลับสู่คอมเพรสเซอร์ตามแรงดึงดูดอย่างง่ายดาย แต่หากการติดตั้งที่ต้องวางคอยล์ร้อนให้สูงเหนือคอยล์เย็น ถ้าหากไม่มีการทำท่อดักน้ำมันไว้น้ำมันก็จะไหลลงได้เช่นกันเพราะในระบบท่อนั้นเป็นสูญญากาศ แต่การไหลกลับจะไหลกลับไม่ทันต่อการระบายความร้อน เนื่องจากน้ำมันมีความหนืดและน้ำหนักมากกว่าสารทำความเย็นที่มีสถานะเป็นแก๊สในท่อทางดูด ทำให้การระบายความร้อนทำได้ไม่ดี มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ร้อนจนถึงร้อนจัด

ตามทฤษฎีหรือตำรา มักกล่าวไว้ว่า ในกรณีความสูงที่แตกต่างกันไม่เกิน 10ฟุต ก็ไม่จำเป็นต้องทำท่อดักน้ำมัน แต่โดยส่วนตัวหากมีระยะความสูงระดับเกิน 3-5ฟุต ขอแนะนำให้ทำ และช่างแอร์ส่วนใหญ่ก็ย่อมแนะนำให้ทำเช่นกัน เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และช่วยยืดอายุการใช้งานให้คอมเพรสเซอร์ เพราะอย่างที่ผมเคยกล่าวไว้ว่า คอมเพรสเซอร์เป็นหัวใจหลักของเครื่องปรับอากาศ และมีราคาประมาณ 30-40% ของเครื่องปรับอากาศทั้งชุดเพราะการทำท่อ Trap ดักน้ำมัน แต่หากเป็นระยะความสูงที่ไม่แตกต่างกันมาก ก็อาจไม่จำเป็นต้องทำท่อดักน้ำมันหล่อลื่นแต่จะมีวิธีติดตั้งท่อให้มีความลาดเอียงออกจากคอมเพรสเซอร์ไม่น้อยกว่า 1/2 นิ้ว ในระดับความยาวท่อในแนวนอน ในกรณีที่วางคอยล์ร้อนไว้สูงเหนื่อคอยเย็น
ซึ่งในส่วนเรื่องที่ละเอียดอ่อนเล็กๆน้อยๆบางครั้งหลายคนอาจจะมองข้ามไป ทำให้เป็นผลเสียที่เกิดในระยะยาว อายุการใช้งานที่สั้นลงกว่าที่ควรเป็น จึงควรให้ความสำคัญในการดูแลรักษาให้คอมเพรสเซอร์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีอายุการใช้งานในระยะเวลาที่เหมาะสม



เทคนิคการดัดท่อ Trap

เทคนิคในการดัดท่อ Trap ซึ่งลักษณะการทำท่อ Trap คือการทำท่อให้เป็นรูปคอห่าน คล้ายกับการทำท่อดักกลิ่นในท่อน้ำทิ้งนั่นเอง ลักษณะที่เรียกท่อ Trap แต่ละแบบ เรียกได้จากรูปแบบของการดัดท่อ ซึ่งการดัดท่อหลักๆจะมี 2 รูปแบบคือ แบบ U-Trap และ แบบ P-Trap สามารถเลือกทำได้รูปแบบใดรูปแบบหนึ่งตามแต่ความสะดวกในการติดตั้ง ในทางทฤษฎีมีการกำหนดการทำท่อ Trap แต่เพียงด้านท่อทางดูดหรือท่อใหญ่ สาเหตุที่กำหนดให้ทำในส่วนท่อทางดูดอย่างเดียว ก็เพราะว่าเป็นการป้องกันไม่ให้แรงดันในฝั่งท่อทางอัดเกิดการสูญเสียหรือแรงดันตกในระหว่างที่ไหลผ่านมาเข้าท่อดักน้ำมัน แต่ในงานติดตั้งจริง ช่างจะดัดท่อทั้ง2 ให้เป็น Trap แล้วหำการหุ้มฉนวนยางและพันท่อทั้งสองรวมกันด้วยเทปไวนิล ก็เพื่อความสวยงามในงานติดตั้งนั่นเอง และในส่วนเรื่องมุมหรือระยะในการดัดท่อสำหรับดักสารความเย็น ก็จะต้องมีระยะมุมรวมทั้งความโค้งความแคบของท่อ Trap ในระยะที่เหมาะสม เพราะหากท่อ Trap มีระยะแคบเกินไปและมีมุมหักเกินไป ก็อาจจะทำให้ท่อรั่วหรือแตก และ Oil Trap ที่มีระยะแคบมากไปก็จะส่งผลต่อการเกิดความเย็น เนื่องจากแรงดันน้ำยาที่มาปะทะกับโค้งมุมและความแคบ ทำให้แรงดันน้ำยาลดลง มีผลต่อการเกิดความเย็น การกำหนดระยะท่อดักน้ำมัน จะกำหนดให้อยู่ในระยะใดก็ได้ ซึ่งแล้วแต่พื้นที่ในการติดตั้งและความเห็นสมควรของช่างผู้ติดตั้ง







หลักการของท่อ Trap ดักน้ำมัน

ในกรณีที่วางคอยล์ร้อนสูงเหนือคอยล์เย็น เมื่อน้ำมันคอมเพรสเซอร์ที่ไหลอยู่ในระบบ ถูกแรงดูดจากคอมเพรสเซอร์ดูดให้ไหลกลับเข้ามาในคอมเพรสเซอร์ ซึ่งถูกดูดเข้ามาโดยตรงได้เพียงบางส่วน ในส่วนที่กำหลังไหล จะไหลมาตกค้างในท่อ Trap ดักน้ำมันที่ทำไว้ เมื่อน้ำมันที่ไหลมาตกค้างในท่อดัก มีปริมาณเต็มตรงส่วนล่างสุดของท่อดักน้ำมัน ซึ่งน้ำมันจะเต็มอยู่ในท่อดักน้ำมันทั้งสองด้าน ในระดับที่เท่าๆกัน จะเกิดแรงกดอากาศในน้ำมันที่ตกลงบริเวณท่อดัก ทำให้แรงดูดของคอมเพรสเซอร์และแรงดันน้ำยาที่ตามมาดันน้ำมันให้ไหลกลับในปริมาณเต็มที่ คอมเพรสเซอร์สามารถดูดน้ำมันกลับเข้าตัวของมันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วงในขณะที่คอมเพรสเซอร์หยุดการทำงานน้ำมันหล่อลื่นที่ไหลมาตกค้างอยู่ในท่อ Oil Trap จะถูกดูดกลับขึ้นไปทำหน้าที่หล่อลื่นในคอมเพรสเซอร์ เมื่อคอมเพรสเซอร์เริ่มต้นการทำงานใหม่ ได้อย่างรวดเร็ว








ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นหากไม่ทำท่อ Trap ดักน้ำมัน

ในกรณีที่ระยะห่างของความสูงมีมาก แต่ไม่มีการทำท่อ Trap ดักน้ำมัน เป็นผลทำให้น้ำมันที่ถูกสูบฉีดมาในระบบพร้อมสารทำความเย็น ไหลกลับเข้าไปหล่อลื่นและระบายความร้อนให้คอมเพรสเซอร์ไม่ทัน การระบายความร้อนและหล่อลื่นชิ้นส่วนทางกลในคอมเพรสเซอร์ก็ย่อมทำได้ไม่เต็มที่ หากการหล่อลื่นและการระบายความร้อนทำได้ไม่ดี ส่งผลทำให้มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ร้อนจัด เป็นสาเหตุทำให้ชิ้นส่วนกลไกลภายในสึกหรอและชำรุด หรือขดลวดในมอเตอร์คอมเพรสเซอร์ไหม้ได้ รวมไปถึงในเรื่องผลเสียระยะยาว การที่คอมเพรสเซอร์ต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อดูดน้ำมันกลับเข้ามาในตัว อาจส่งผลถึงแรงดูด ที่อาจจะลดลงไปจนถึงมีไม่เพียงพอในที่จะใช้งาน





Create Date : 13 พฤศจิกายน 2552
Last Update : 22 เมษายน 2555 13:25:52 น. 6 comments
Counter : 110436 Pageviews.

 
ขอบคุณสำหรับบทความดีๆๆนะครับ


โดย: boyair IP: 118.175.0.13 วันที่: 8 มีนาคม 2553 เวลา:16:08:13 น.  

 
ขอบคุณครับที่ให้ความรู้


โดย: สมพล IP: 222.123.131.211 วันที่: 10 กันยายน 2553 เวลา:23:48:12 น.  

 
ขอขอบพระคุณอย่างสูง สำหรับความรู้นี้


โดย: แดง IP: 124.120.152.125 วันที่: 18 เมษายน 2554 เวลา:11:28:11 น.  

 
ขอขอบพระคุณครับที่ให้ความรู้


โดย: kim5906 IP: 223.205.22.115 วันที่: 22 กันยายน 2554 เวลา:20:06:22 น.  

 
กรณี่ CDU อยู่สูงกว่า FCU เช่นนี้ Oil Trap น่าจะอยู่ใกล้กับ FCU มากที่สุดจึงจะได้ผลดีที่สุดหรือป่าว(เพราะน้ำมันน่าจะตกไปอยู่ที่ตำสุด) แล้วถ้าทำมุมของท่อด้าน Hi ตรงจุดที่ออกจากคอมเพรสเซอร์ให้ชันขึ้นก่อนแล้วค่อยวกลงไปหา FCU จะช่วยลดปริมาณน้ำมันที่ออกจากคอมเพรสเซอร์ได้หรือไม่


โดย: มาใหม่ IP: 182.53.101.24 วันที่: 20 ตุลาคม 2554 เวลา:22:13:24 น.  

 
ท่อ Oil Trap หากติดตั้งให้อยู่ใกล้กับแฟนคอยล์ยูนิต ก็ช่วยส่งผลให้ประสิทธิภาพดีขึ้นมาส่วนหนึ่ง เพราะเหตุนี้ส่วนใหญ่เราจึงจะเห็นการทำ Oil Trap มักจะทำให้อยู่ใกล้ส่วนกับแฟนคอยล์ยูนิต แต่ถ้าพื้นที่ไม่เอื้ออำนวย ก็อาจจะเปลี่ยนตำแหน่งของท่อ Oil Trap ไปไว้ในจุดที่เหมาะสม(แล้วแต่พื้นที่)

ในส่วนที่คุณถามถึงเรื่อง การทำมุมของท่อด้าน Hi ตรงจุดที่ออกจากคอมเพรสเซอร์ให้ชันขึ้น เพื่อลดปริมาณน้ำมันที่ออกจากคอมเพรสเซอร์ อันนี้ผมคิดว่ามันคงช่วยอะไรได้ไม่มาก เพราะขณะเครื่องทำงาน น้ำมันจะถูกฉีดออกมาในรูปแบบละอองปนออกมากับสารทำความเย็นซึ่งมีแรงดันสูง การทำท่อให้ชันขึ้นอาจจะไม่ช่วยอะไร
และที่สำคัญ ระบบเครื่องปรับอาการแบบนี้ เขาออกแบบมาแล้วว่าให้น้ำมันไหลควบคู่กับสารทำความเย็นในระบบ ไม่ควรไปหาวิธีกักไม่ให้น้ำมันถูกอัดออก แต่ควรหาวิธีให้คอมเพรสเซอร์ดูดน้ำมันกลับได้อย่างรวดเร็วในปริมาณที่เหมาะสมจะดีกว่า


โดย: KanichiKoong วันที่: 22 ตุลาคม 2554 เวลา:17:17:07 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

KanichiKoong
Location :
สงขลา Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 275 คน [?]




ช่องทางการติดต่อผู้จัดทำ

- หลังไมค์
- E-mail : aum_tawatchai@hotmail.com
-------------------------------------
เนื้อหาที่ปรากฏ อนุญาติให้นำไปใช้เพื่อการศึกษา/หาความรู้ ซึ่งไม่เป็นการนำไปใช้ในเชิงธุรกิจ
-------------------------------------
New Comments
Friends' blogs
[Add KanichiKoong's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.