|
สารทำความเย็น (Refrigerant)
การออกแบบระบบทำความเย็น เราสามารถเลือกใช้สารทำความเย็น (Refrigerant)ได้หลายชนิด เช่น คลอโรฟลูโอโรคาร์บอน (Chloro fluoro carbon : CFCs) แอมโมเนียไฮโดรคาร์บอน (เช่น โพเพน, อีเทน, เอทิลลีน เป้นต้น) คาร์บอนไดออกไซด์ อากาศ (ภายในระบบปรับอากาศของเครื่องบิน) และน้ำ ดังนั้น วิธีในการเลือกใช้อย่างเหมาะสมจึงขึ้นอยู่กับสภาวะ
เอทิลอีเธอร์ ถูกนำมาใช้เป็นสารทำความเย็นในระบบทำความเย็นแบบไออัดตัวครั้งแรกในเชิงพาณิชย์ในปี ค.ศ.1850 ต่อจากนั้นก็ได้มีการใช้สารทำความเย็นชนิดอื่น เช่น แอมโมเนีย คาร์บอนไดออกไซด์ เมทิลคลอไรด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ บิวเทน อีเทน โพรเพน ไอโซบิวเทน แก๊สโซลีนและคลอโรฟลูโอโรคาร์บอนชนิดต่างๆ
อุตสาหกรรมและธุรกิจขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่นิยมใช้แอมโมเนีย แม้ว่าแอมโมเนียจะเป็นพิษ เนื่องจากแอมโมเนียมีข้อดีเมื่อเปรียบเทียบกับสารทำความเย็นชนิดอื่นๆ คือ ราคาถูก ให้ค่าสัมประสิทธิ์สมรรถนะ (COPs) สูงกว่า มีผลทำให้ต้นทุนของพลังงานที่ต้องใช้น้อยกว่า มีสมบัติทางเทอร์โมไดนามิกส์และความสามารถในการถ่ายโอนความร้อนที่ดีกว่า ทำให้มีค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายโอนความร้อนสูงกว่า (ทำให้สามารถใช้เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนที่มีขนาดเล็กกว่าและราคาที่ถูกกว่าได้) นอกจากนี้ ยังง่ายต่อการตรวจจับเมื่อเกิดการรั่วไหล และยังไม่มีผลเสียหายต่อชั้นโอโซนในบรรยากาศ ข้อเสียหลักของแอมโมเนีย คือ ความเป็นพิษซึ่งทำให้ไม่เหมาะสมในการนำมาใช้ แอมโมเนียนิยมถูกใช้ในระบบทำความเย็นของอุตสาหกรรมอาหาร เช่น การแช่เย็นผลไม้สด, ผัก, เนื้อ และปลา การแช่เย็นเครื่องดื่ม เช่น เบียร์, ไวน์ และนม การแช่ไอศกรีมและอาหารอื่นๆ การผลิตน้ำแข็ง และระบบทำความเย็นในอุตสาหกรรมยาและอุตสาหกรรมอื่นๆ เป็นที่น่าสังเกต คือ ในอดีตสารทำความเย็นที่ถูกใช้ในอุตสาหกรรมเบาและบ้านเรือนมักจะเป็นสารที่มีพิษ เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์, เอทิลคลอไรด์ และเมทิลคลอไรด์ ดังนั้น เมื่อเกิดการรั่วไหลขึ้น ก็จะก่อให้เกิดอันตรายขึ้นต่อร่างกายเป็นอย่างมาก เช่นเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในปี ค.ศ.1920 ทำให้ประชาชนเกิดอาการป่วยและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ดังนั้นจึงได้มีการเรียกร้องให้จำกัดการใช้หรือห้ามใช้สารทำความเย็นเหล่านี้ จึงเป็นผลทำให้มีความจำเป็นต้องมีการพัฒนาสารทำความเย็นที่มีความปลอดภัยมากกว่าเพื่อใช้ภายในบ้านเรือน ดังนั้น บริษัท Frigidaire และ General Motors ได้มีการวิจัยและพัฒนาสารทำความเย็น R-21 ขึ้น ซึ่งเป็นสารทำความเย็นชนิดแรกในกลุ่มของสารทำความเย็นจำพวก CFCs ในปี ค.ศ.1928 จากการพัฒนาสารทำความเย็นจำพวก CFCs มากมายหลายชนิด กลุ่มวิจัยก็ได้พบว่าสารทำความเย็น R-12 เป้นสารทำความเย็นที่เหมาะสมที่สุดที่จะใช้ในเชิงพาณิชย์ และมีการให้ชื่อสารทำความเย็นจำพวก CFCs ทางการค้าว่า Freon การผลิต R-11 และ R-12 ในเชิงพาณิชย์ได้เริ่มขึ้น ในปี ค.ศ.1931 โดยบริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัท General Motors และ E.I. du Pont de Nemours and Co., Inc. เนื่องจากสารจำพวก CFCs สามารถใช้ประโยชน์ได้มากมายและมีราคาต้นทุนที่ต่ำทำให้สามารถเลือกสารจำพวก CFCs เป็นสารทำความเย็นได้ นอกจากนี้ CFCs ยังถูกใช้อย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมกระป๋องอัดน้ำยาสำหรับฉีด (aerosols) ฉนวนจำพวกโฟม และอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์นั้น สารจำพวก CFCs จะถูกใช้เป็นตัวทำละลายในการทำความสะอาดคอมพิวเตอร์ชิพ
สารทำความเย็น R-11 จะนิยมใช้ในอุปกรณ์ Water chillers ขนาดใหญ่สำหรับระบบปรับอากาศภายในอาคาร รวมไปถึงการล้างระบบหากกรณีคอมเพรสเซอร์ไหม้ขณะใช้งาน นิยมใช้สารทำความเย็น R-11มาล้างคราบสรกปรกจำพวกเขม่าภายในระบบ ส่วนสารทำความเย็น R-12 มักจะถูกใช้ในเครื่องทำความเย็น และเครื่องแช่แข็ง รวมถึงระบบปรับอากาศภายในรถยนต์ ส่วนสารทำความเย็น R-22 จะถูกใช้ในเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนและแบบติดหน้าต่าง, ปั๊มความร้อน ระบบปรับอากาศภายในอาคารร้านค้า และระบบทำความเย็นในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นคู่แข่งที่สำคัญของสารจำพวกแอมโมเนีย ส่วนสารทำความเย็น R-502 (ของผสมระหว่าง R-115 และ R-22) จะใช้เป็นสารทำความเย็นในระบบทำความเย็นภายในร้านค้าต่างๆ เช่น ซุปเปอร์มาร์เก็ต
จากวิกฤตทางด้านโอโซน ทำให้ประชาคมโลกได้ให้ความสนใจกับการใช้สารทำความเย็นโดยเฉพาะอย่างยิ่งสารจำพวก CFCs ในอุตสาหกรรมเครื่องทำความเย็นและเครื่องปรับอากาศ ในปี ค.ศ.1970 เราได้พบว่าสาร CFCs มีผลทำให้รังสีอัลตราไวโอเรต (UV) เข้ามายังชั้นบรรยากาศของโลกได้มากขึ้น และในขณะเดียวกัน ก็ป้องกันไม่ให้รังสีอินฟาเรตออกจากชั้นบรรยากาศของโลก ซึ่งมีผลทำให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก (Greenhouse effect) ขึ้นและก่อให้เกิดผลที่ตามมาคือ อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น จากสาเหตุเหล่านี้เอง ทำให้หลายประเทศจึงได้มีการสั่งห้ามให้สารจำพวก CFCs โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สาร CFCs ประเภท Fully halogenated (เช่น R-11, R-12, และ R-115) จะทำลายชั้นโอโซนในบรรยากาศได้จำนวนมาก ส่วนสารทำความเย็นประเภท Nonfully halogenated เช่น R-22 จะมีความสามารถในการทำลายโอโซนได้ประมาณ 5% ของ R-12 ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาหาสาร CFCs ที่ไม่ทำลายชั้นโอโซนในบรรยากาศเพื่อป้องกันให้โลกรอดพ้นจากอันตรายจากรังสีอัลตราไวโอเรตและในขณะเดียวกันก็ไม่ก่อให้เกิดปัญหาปรากฏการณ์เรือนกระจก สารที่ได้พัฒนาและคาดว่าสามารถที่จะมาใช้แทนสารทำความเย็น R-12 คือ สารทำความเย็น R-134a
การปล่อยสารทำความเย็นไปในชั้นบรรยากาศเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อนและการทำลายชั้น โอโซน ซึ่งภาครัฐ และเอกชนทั่วโลกได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวและกดดันให้อุตสาหกรรมคอมเพรสเซอร์ และระบบปรับอากาศคิดค้นสารทำความเย็นทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมขึ้น
สารทำความเย็นตัวใหม่หลายชนิดได้ถูกคิดค้นมาเพื่อทดแทนสารทำความเย็นตัวเดิม หรือที่เรียกว่าสารทำ ความเย็น CFC (R22) แต่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จ เนื่องจากแนวโน้มการพัฒนาสารทำความเย็นที่แตกต่าง กันในแต่ละประเทศของโลกทำให้เกิดสารทำความเย็นทดแทนอีกหลายชนิดในช่วงเวลาต่อมา ซึ่งบางชนิด เป็นสารผสมที่ไม่เสถียร สารทำความเย็นชนิด H134a เป็นสารทำความเย็นตัวแรกที่นำมาใช้ทดแทนสารทำ ความเย็นชนิด R22 แต่ไม่เป็นที่ยอมรับทั้งในตลาดผู้บริโภคและการค้า เนื่องจากสารทำความเย็นชนิดนี้มีแรง ดันต่ำทำให้ต้องใช้คอมเพรสเซอร์ขนาดใหญ่เพื่อให้ได้ค่าความเย็นเท่าเดิม ทำให้ต้นทุนของระบบสูง
ในกลางปี 1990 สารทำความเย็นชนิด R407C ได้ถูกออกแบบขึ้น โดยมีค่าการทำความเย็นและแรงดันที่ใกล้ เคียงกับสารทำความเย็นชนิด R22 แต่มีสิ่งท้าทายว่าจะออกแบบอย่างไรให้มีประสิทธิภาพทางพลังงานใน ระบบเทียบเท่ากับระบบที่ใช้สารทำความเย็นชนิด R22 อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสารทำความเย็นชนิด R407C จะไม่ใช่สารทำความเย็นในอุดมคติแต่ก็เป็นที่นิยมในตลาดยุโรป คุณสมบัติของสารทำความเย็นชนิดนี้ คือ การ ไม่ทำลายชั้นโอโซน ช่วยลดภาวะโลกร้อน และสามารถใช้ได้กับระบบที่ใช้สารทำความเย็นชนิด R22 เดิมได้ เพียงแก้ไขแบบเล็กน้อยเท่านั้น ส่วนข้อด้อยของสารทำความเย็นชนิดนี้ คือความไม่เสถียรในบางสถานะของ สัดส่วนและคุณสมบัติของน้ำยา และประสิทธิภาพที่ลดลงเล็กน้อยจาก R22 อย่างไรก็ตาม ผู้ส่งออกรายใหญ่ หลายรายจากญี่ปุ่นได้ร่วมมือและสนับสนุนที่จะใช้สารทำความเย็นชนิด R407C กับระบบปรับอากาศที่ส่งเข้า ตลาดยุโรป สำหรับตลาดญี่ปุ่นนั้น ส่วนใหญ่ของตลาดมุ่งไปยังการใช้สารทำความเย็นชนิด R410a แทน
ในปัจจุบัน สารทำความเย็นชนิด R410a ซึ่งมีส่วนประกอบของ fluorocarbon คือสารทำความเย็นล่าสุดที่ถูก พัฒนาขึ้นเพื่อทดแทนสารทำความเย็นชนิด R22 สารทำความเย็นชนิดนี้เป็นชนิดที่ยอมรับในตลาดผู้ใช้ระบบ ปรับอากาศทั่วโลก ในกลุ่มประเทศเอเชีย ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกที่ใช้สารทำความเย็นชนิดนี้อย่างแพร่ หลาย เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ตามมาด้วยประเทศออสเตรเลีย
ในประเทศจีนมีแนวโน้มการพัฒนาสารทำความเย็นทดแทนค่อนข้างช้ากว่าประเทศอื่น เนื่องจากผู้ผลิตใน ประเทศยังคงนิยมใช้สารทำความเย็นชนิด R22 อยู่ อย่างไรก็ตาม การใช้สารทำความเย็นชนิด R410a จะ เริ่มแพร่หลายมากขึ้นในอนาคตจากการบังคับของกฎหมายมาตรฐานประสิทธิภาพทางพลังงาน มากกว่า 5 ปีที่อุตสาหกรรมคอมเพรสเซอร์ทั่วโลกได้หันมาให้ความสนใจ และเปลี่ยนมาใช้สารทำความ เย็น R410a ซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทดแทนสารทำความเย็นชนิดเดิมและอาจพูดได้ว่า สารทำความ เย็นชนิด R410a นี้เป็นสารทำความเย็นแห่งอนาคต
สารทำความเย็นชนิด R410a เป็นหนึ่งในสารทำความเย็นตระกูล Hydro Fluoro Carbon (HFC) ที่มีส่วน ช่วยอุตสาหกรรมระบบปรับอากาศให้อยู่รอด ก่อนที่จะมีกฎหมายบังคับเลิกใช้สารทำความเย็นที่ทำลาย สิ่งแวดล้อมอย่างเด็ดขาดในปี 2010 ข้อแตกต่างที่สารทำความเย็นชนิด R410a ดีกว่าสารทำความเย็น ชนิดอื่น คือ ไม่ทำลายชั้นโอโซน
ข้อดีของสารทำความเย็นชนิด R410a ได้แก่ มีการแลกเปลี่ยนความร้อนที่ดี มีความเสถียรของสัดส่วนและ คุณสมบัติ ใช้ปริมาณน้ำยาน้อยลง และช่วยให้ระบบปรับอากาศมีประสิทธิภาพการทำงาน และคุณภาพของเสียง ที่ดีขึ้น จากทั้งหมดที่กล่าวมา ทำให้สารทำความเย็นชนิด R410a มีข้อเด่นที่ชัดเจนเหนือกว่าสารทำความ เย็นชนิดอื่นๆ ที่ใช้แทนสารทำความเย็นชนิด R22 ในปัจจุบัน
รายละเอียดสารต่างๆ ที่จัดเป็นสารทำความเย็น
Create Date : 11 ธันวาคม 2552 |
Last Update : 9 กรกฎาคม 2555 14:42:28 น. |
|
12 comments
|
Counter : 32295 Pageviews. |
|
|
|
โดย: tee IP: 113.53.145.145 วันที่: 4 มีนาคม 2553 เวลา:17:35:27 น. |
|
|
|
โดย: เรืองเดช ผังกิ่ง IP: 192.168.3.53, 202.183.185.163 วันที่: 30 กันยายน 2553 เวลา:16:12:42 น. |
|
|
|
โดย: Ultraman IP: 58.11.38.219 วันที่: 17 พฤศจิกายน 2553 เวลา:8:09:02 น. |
|
|
|
โดย: kae IP: 1.46.98.186 วันที่: 19 พฤศจิกายน 2553 เวลา:11:43:39 น. |
|
|
|
โดย: งิน IP: 223.204.90.78 วันที่: 24 เมษายน 2554 เวลา:8:36:55 น. |
|
|
|
โดย: panya IP: 125.27.104.231 วันที่: 23 ธันวาคม 2554 เวลา:8:49:04 น. |
|
|
|
โดย: เด็กน้อย IP: 172.168.1.227, 223.206.48.121 วันที่: 26 มกราคม 2555 เวลา:14:00:02 น. |
|
|
|
โดย: นุ้ยค่ะ IP: 223.206.100.134 วันที่: 9 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา:19:58:02 น. |
|
|
|
โดย: Jackie Blue IP: 119.160.216.82 วันที่: 8 กรกฎาคม 2555 เวลา:10:53:30 น. |
|
|
|
โดย: Jackie Blue IP: 119.160.216.82 วันที่: 8 กรกฎาคม 2555 เวลา:11:04:46 น. |
|
|
|
| |
|
-------------------------------------
เนื้อหาที่ปรากฏ อนุญาติให้นำไปใช้เพื่อการศึกษา/หาความรู้
ซึ่งไม่เป็นการนำไปใช้ในเชิงธุรกิจ
-------------------------------------
|
|
|
|
|
|
|