*** พื้นที่ส่วนตัวของ พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อยืนหยัดในหลักการที่ว่า คนเรานั้นจะมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยบริบูรณ์ และความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่มีอำนาจใดจะพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเราได้ ไม่ว่่าด้วยวิธีการใด ๆ และอำนาจผู้ใด ***
*** We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable rights, that among these are life, liberty and the pursuit of happiness. That to secure these rights, governments are instituted among men, deriving their just powers from the consent of the governed. That whenever any form of government becomes destructive to these ends, it is the right of the people to alter or to abolish it, and to institute new government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to them shall seem most likely to effect their safety and happiness. [Adopted in Congress 4 July 1776] ***
Group Blog
 
All Blogs
 
สัมมนาเครือข่ายนักเรียนทุนรัฐบาล กับการสัมผัสวิถีชาวบ้านในการลูบคลำและเก็บหอย



เครดิตภาพจาก เวปไซต์ ที่เที่ยวไทย //www.teeteawthai.com


เมื่อประมาณเดือนสิงหาคม ๒๕๕๔ ที่ผ่านมา สำนักงาน ก.พ. ได้มีหนังถือมาถึงหน่วยงานของผม ขอเชิญนักเรียนทุนรัฐบาลเข้าร่วมกิจกรรม สร้างเครือข่ายนักเรียนทุนรัฐบาล โดยจัดกันขึ้นที่ สมุทรสงคราม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ นร.ทุนรัฐบาล ได้เข้าใจและสามารถดำรงชีวิตอยู่รอดในระบบราชการที่ไร้ประสิทธิภาพเช่นนี้ได้ เอ้ย ... เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี และทำให้สามารถปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพได้สูงสุด สมกับเอาเงินภาษีประชาชนไปเรียนมาเป็นล้าน ๆ หรือ เป็นสิบล้านบาทนั่นเอง




หลังจากสัมมนากันและทำกิจกรรมกลุ่ม แบบวอล์ค แรลลี่ ก็ฟังอบรมตอนกลางคืนต่อ ก็มีนักเรียนทุนที่เพิ่งรับราชการใหม่ ๆ สักปีสองปี พูดระบายอารมณ์กับระบบราชการที่ตนเองประสบมา พร้อมกับเสนอทางออก ซึ่งก็เหมือนทุกครั้งแหละครับ สัมมนาเสร็จ ก็เก็บพับใส่กระเป๋า แล้วเริ่มสัมมนาเรื่องเดียวกันใหม่อีกครั้ง ทุก ๆ ปี ต่อไป




ประเด็นที่ผมจะเล่า คือ เรื่องชาวบ้านที่ คลองโคน อ.เมือง จว.สมุทรสงคราม เรื่องวิถีชีวิตของพวกเขาที่สอดคล้องกับวิถีธรรมชาติที่หล่อหลอมชีวิตของพวกเขาอยู่ ได้แก่ ป่าชายเลน กับ หอย ครับ




สำนักงาน ก.พ. ได้พาพวกเราไป ที่ตำบล คลองโคน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อร่วมปลูกป่าชายเลน ซึ่งจะมีต้นไม้สองประเภท ได้แก่ ต้อนลำพู และ ต้นโกงกาง โดยเมื่อไปถึง ทุกคนก็ซื้อถุงเท้าเพื่อเตรียมใส่ตอนเดินไปตามดินโคลนในการปลูกป่า (ผมเดาว่า บางคนตีนไม่เคยเหยียบพื้นดิน ถ้าเดินโคลนโดยตรง มันก็อาจจะเกิดบาดแผลได้ ก็เลยให้ใส่ถุงเท้ากัน)

พวกเราไปรอกันที่ท่าเรือ จากนั้นว่าจ้างเรือหางยาว เรืออีแปะ แล้วแต่กรณี ขับพาไปตามคลอง จนกระทั่งออกไปยังบริเวณชายเลนที่เขาเตรียมไว้ ซึ่งเป็นคลองแคบ ๆ เรียกว่า มีเรื่อเป็นสิบลำ จอดอยู่ก่อน แล้วทุกคนก็ลุยกันเข้าไปปลูกป่า ซึ่งง่าย ก็คือ เอาต้นโกงกางไป ๓ ต้น แกะถุงพลาสติกไว้ในเรือ เพื่อมิให้เป็นขยะ ทำลายสิ่งแวดล้อม ( ในอดีตมีบางคน โง่ขนาด แบบว่า ปลูกแม่งทั้งทั้งถุงพลาสติกไปเลยก็มี ) แทนที่จะสร้างประโยชน์ให้บริเวณดังกล่าว ค่าเรือ เขาก็คิดเป็นรายหัว หรือ รายเหมา จาก ๗๐๐ ถึง ๑,๕๐๐ บาท แล้วแต่จำนวนคนไป




ปลูกเสร็จ ก็ไปเล่นสกีน้ำ ใกล้ ๆ กับที่ปลูกป่าชายเลน ซึ่งเป็นบริเวณพื้นน้ำกว้างมาก สุดลูกหูลูกตานั่นแหละ แต่น้ำตื้นมากเช่นกัน แค่อกเท่านั้น นักเรียนทุน ก.พ. ส่วนใหญ่ ไม่ได้ลงไปเล่นน้ำหรอก แต่ก็มีบางคนไปเล่น โดยชาวบ้านประยุกต์เอาไม้กระดานเรียบ ๆ ขนาดกว้างประมาณ ๑ ฟุต ยาวประมาณเกือบ ๒ เมตร แล้วก็ดัดให้บริเวณหัวไม้มันเชิด ๆ เหมือนกระดาษโต้คลื่นตามชายหาดนั่นแหละ ถ้าจะพูดกันง่าย ๆ ก็คือ ชาวบ้านเอาไอ้ไม้ที่ใช้ในการเก็บหอย มาดัดแปลงให้พวกเราเล่นสกี โดยมีเรือที่พาพวกเราไปเที่ยวหรือปลูกป่า ลูกไปตามพื้นน้ำที่กว้างนั้นเอง


พื้นน้ำที่กว้างขวาง สุดลูกหูลูกตา จึงถูกใช้ประโยชน์ ทั้งในด้านการเชิญชวนนักท่องเที่ยวมาปลูกป่า และใช้เล่นสกี รวมถึง การลูบคลำและเก็บหอย


ชาวบ้านเล่าให้ฟังว่า พื้นน้ำที่กว้างขวางดังกล่าว มันก็มีน้ำแป๊บเดียวครับ เดี๋ยวน้ำมันก็ลด "พอน้ำลด ตอก็ผุด" คือ ตอไม้ที่เขาเลี้ยงหอยแมลงภู่ ผุดขึ้นมา เก็บเอาไปขายได้ ตัวใหญ่ ๆ น่ากิน น่าลิ้มลองทั้งนั้น นอกจากน้ำลุด ตอผุดแล้ว ตามพื้นดิน ยังถูกละเลงไปด้วยโคลน สมชื่อ คลองโคลนนั่นแหละครับ แต่เละ ๆ แฉะ ๆ นี่แหละ เหมาะสมกับการคลำหอยเป็นยิ่งนัก

ตามดินโคลนเละ ๆ แฉะ ๆ ดังกล่าวจะมีความอุดมสมบูรณ์มาก มีหอยไม่น้อยกว่า ๕ ชนิดให้เลือกคลำ เลือกจับ แล้วเก็บเอาไปขาย โดยชาวบ้านก็ใช้ไอ้ไม้กระดานโต้คลื่นอันเมื่อกี้นั่นแหละ นั่งไปบนไม้กระดาษ เอาตีนข้างหนึ่งถีบไปตามดินเละ ๆ เหล่านั้น เพื่อมิให้ตัวจมไปกับเลนเละ ๆ ดังกล่าว

วันหนึ่ง ชาวบ้านบอกว่า (เอาแบบขี้ ๆ เหี้ย เลยนะครับ ) จะได้ประมาณ ๕๐๐ บาท ถ้าโชคดีหน่อย ก็อาจจะถึง ๙๐๐ บาท โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ นอกจาก ออกกำลังถีบตัวเองไปตามพื้นเลน นอกจากนี้ หอยที่คลำมาได้ เก็บมาได้ บางที ก็ไม่เหมาะสมกับการขาย เพราะหอยเล็กเกินไป ยังใช้การไม่ได้ จึงต้องเลี้ยงต้อย ... เอ้ย เอาหอยตัวเล็ก ๆ ที่เก็บมาได้ เลี้ยงในกระชัง ริมคลอง ใกล้บ้านของตนเองไปก่อน รอจนกว่าจะใช้งานได้ ซึ่งส่วนใหญ่ จะเอาไว้ประกอบกอาชีพในครัวเรือนมากกว่า




เห็นวิถีชาวบ้านแล้ว ผมว่าเขาดำรงชีวิตอย่างชาญฉลาดมาก ไม่ต้องซื้ออะไรเลยก็ว่าได้ นอกจากสารเคมี พวกสบู่ ยาสีฟัน หรือ เสื้อผ้า ส่วนผักปลาและหอย ก็ปลูกหรือจับเอาเอง เงินทองเหลือเฟือเหลือใช้สำหรับพวกเขาเลย ผมไม่เรียกว่าวิถีชีวิตแบบพอเพียงนะครับ แต่ผมเรียกว่า วิถีที่สอดคล้องกับธรรมชาติรอบล้อมชีวิตของพวกเขา เพราะถ้าเขามีวิถีชีวิตเป็นป่าเขา หรือ ป่าคอนกรีต เขาก็คงจะเก็บหอย งมหอย คลำหอย ไม่ได้หรอกครับ






ทุกวันนี้ สังคมเราเดือดร้อนจากปัญญาภัยธรรมชาติ เพราะเราทำลายมัน จนมันหันกลับมาทำร้ายเรา พื้นที่บริเวณคลองโคลนก็เช่นกันครับ ที่นี่ เคยน้ำเน่า ชาวบ้านเก็บหอยไม่ได้เลย เพราะมีคนเห็นแก่ตัวเอากุ้งมาเลี้ยง ซึ่งต้องใช้อาหารและยา ทำให้น้ำเน่า หอยตายหมด คนเห็นแก่ตัวเหล่านั้น ยังทำลายป่าชายเลน จนดินพังหมด และอาหารตามธรรมชาติของหอย ก็หายไปหมดเช่นกัน เรียกว่าชาวบ้านเดือดร้อนอยู่หลายปีเลยทีเดียว


ข้อมูลจากชาวบ้าน ตรงกับที่เวปไซต์ ที่เที่ยวไทย ได้กล่าวไว้ กล่าวคือ สมัยก่อนพื้นที่ป่าชายเลนบ้านคลองโคนถูกบุกรุกทำลาย เพื่อนำมาทำนากุ้งและทำประโยชน์อื่นๆ ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทางทะเลใกล้ชายฝั่งได้สูญเสียไป จนไม่สามารถทำการประมงชายฝั่งได้ ทำให้ประชากรในพื้นที่แยกย้ายไปประกอบอาชีพที่อื่น

ต่อมาในปี พ.ศ.2534 ชาวบ้านในพื้นที่โดยการนำของผู้ใหญ่ไพบูลย์ รัตนพงศ์ธระ (ชงค์) ได้ช่วยกันฟื้นฟูสภาพของป่าชายเลน เพื่อให้มีความอุดมสมบูรณ์เหมือนแต่ก่อน ในช่วง 3 ปีแรกไม่ประสบความสำเร็จ ต่อมาหน่วยงานรัฐเริ่มเห็นความสำคัญโดยเฉพาะเป็นพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพฯ ที่ทรงเห็นความสำคัญของการปลูกป่าชายเลนที่นี่ จึงได้เสด็จมาทรงปลูกป่าชายเลนที่นี่ด้วยพระองค์เองในปี พ.ศ. 2540, 2541, 2542, 2545 และ 2547

จนปัจจุบันพื้นที่ป่าชายเลนของบ้านคลองโคนกลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง เกิดมีสัตว์น้ำชายฝั่งมากมาย สามารถทำการประมงเลี้ยงชีพได้อย่างพอเพียง ชาวบ้านบางส่วนได้รวมตัวกันเป็นกลุ่มอาชีพตามความถนัด เช่น กลุ่มชาวเรือ กลุ่มทำอาหาร กลุ่มกระเตง (กระท่อมของชาวประมงที่ปลูกกลางทะเลเพื่อใช้เฝ้าฟาร์มหอยแครง) และเกิดเป็นการเที่ยวเชิงอนุรักษ์ขึ้นมา





สำหรับผมแล้ว ผมเชื่อว่าถ้าคนได้เรียนรู้วิถีธรรมชาติแล้ว เราคงเห็นคุณค่าของมันและไม่ทำลายมัน แต่ตราบใดที่เราไม่ได้รับทุกข์ทรมานจากภัยธรรมชาติด้วยตนเอง โดยเฉพาะคนร่ำรวย หรือ คนแสวงประโยชน์จากธรรมชาติโดยไม่ชอบธรรมต่อชุมชนเลย เขาก็ไม่รู้สึกว่า สิ่งที่เขาทำไปมันผิดและเลวร้ายขนาดไหน ดังนั้น ผมจึงเชื่อว่า เป็นหน้าที่และสิทธิอันชอบธรรมของชาวบ้านและชุมชน ที่จะต้องต่อสู้เพื่อสิทธิประโยชน์ของชาวชุมชนเอง ในทุก ๆ โครงการของรัฐที่อาจกระทบต่อชีวิตของพวกเขา รัฐมีหน้าที่จะต้องทำความเข้าใจ โดยโปร่งใส ตรวจสอบได้ ถึงผลดีผลเสีย หากจะดำเนินการโครงการใด ๆ ที่กระทบสิ่งแวดล้อม






เพื่อน ๆ หากมีเวลา ลองไปดูวิถีในการคลำหอย เก็บหอย ฯลฯ ตลอดจนกินหอยบริเวณแถวนั้นดูนะครับ แล้วจะรู้ว่าป่าไม้และหอยมีค่าต่อชีวิตของเราเพียงใด


Create Date : 12 กันยายน 2554
Last Update : 12 กันยายน 2554 10:03:55 น. 0 comments
Counter : 1447 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

POL_US
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 82 คน [?]




คลิ๊ก เพื่อ Update blog พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ได้ที่นี่
https://www.jurisprudence.bloggang.com






รู้จักผู้เขียน : About Me.

"เสรีภาพดุจดังอากาศ แม้มองไม่เห็น แต่ก็ขาดไม่ได้ "










University of Illinois

22 Nobel Prize & 19 Pulitzer Prize & More than 80 National Academy of Sciences (NAS) members







***คำขวัญ : พ่อแม่หวังพึ่งพาเจ้า

ครูเล่าหวังเจ้าสร้างชื่อ

ชาติหวังกำลังฝีมือ

เจ้าคือความหวังทั้งมวล



*** ความสุข จะเป็นจริงได้ เมื่อมีการแบ่งปัน :

Happiness is only real when shared!














ANTI-COUP FOREVER: THE END CANNOT JUSTIFY THE MEANS!






Online Users


Locations of visitors to this page
New Comments
Friends' blogs
[Add POL_US's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.