*** พื้นที่ส่วนตัวของ พันตำรวจเอก ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ รองผู้บังคับการกองคดีอาญา สำนักงานกฎหมายและคดี นี้ จัดทำขึ้นเพื่อยืนหยัดในหลักการที่ว่า คนเรานั้นจะมีความเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้ ก็ต่อเมื่อมีเสรีภาพในการแสดงความคิดโดยบริบูรณ์ และความเชื่อที่ว่าคนเราเกิดมาเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่มีอำนาจใดจะพรากความเป็นมนุษย์ไปจากเราได้ ไม่ว่่าด้วยวิธีการใด ๆ และอำนาจผู้ใด ***
*** We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable rights, that among these are life, liberty and the pursuit of happiness. That to secure these rights, governments are instituted among men, deriving their just powers from the consent of the governed. That whenever any form of government becomes destructive to these ends, it is the right of the people to alter or to abolish it, and to institute new government, laying its foundation on such principles and organizing its powers in such form, as to them shall seem most likely to effect their safety and happiness. [Adopted in Congress 4 July 1776] ***
Group Blog
 
All Blogs
 
ความเคลื่อนไหวของกฎหมายการแพทย์ เกี่ยวกับสิทธิในการแสดงเจตจำนงค์ที่จะตาย ตาม กฎหมายไทย

เนื่องจาก มี พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๑๒ บัญญัติให้คนไข้สามารถทำหนังสือแสดงเจตจำนงค์ที่ประสงค์จะตาย ไม่รับการรับษาของแพทย์อีกต่อไป หรือ ต้องการตายเพื่อหลีกเลี่ยงการทรมาน

กระทรวงสาธารณสุขและแพทยสภา ได้มีการประชุมหารือเมื่อวันที่ ๓๑ ก.ค. ๕๒ ที่ผ่านมา เพื่อ ระดมความคิดเห็นว่า ร่างที่เสนอนั้น ดีหรือไม่ โดยส่วนตัว ผมไม่เห็นด้วยที่จะให้เป็นภาระของแพทย์ในการตัดสินใจว่าควรยุติการตายหรือไม่ ควรที่ญาติของผู้ป่วยจะเป็นผู้แสดงหลักฐานให้ศาลเชื่อว่า ผู้ป่วยประสงค์จะตายจริง ๆ เท่านั้น และแพทย์ควรปฏิบัติตามคำสั่งศาลเท่านั้น ไม่ใช่แพทย์เป็นผู้ตัดสินใจเอง

กฎหมายนี้ จึงกลายเป็นว่า กลายเป็นภาระของแพทย์ที่จะต้องตัดสินใจ แทนที่จะกลายเป็นภาระของญาติผู้ป่วยที่จะดำเนินการเอง ดังเช่นในสหรัฐฯ ญาติผู้ป่วย จะต้องแสดงหลักฐานต่อศาลว่า ผู้ป่วยนั้น ประสงค์จะตายแล้ว ไม่อยากรักษาตัวต่อไปในสภาพที่เป็นผัก ฯลฯ

ในความคิดของผม แทนที่จะแพทย์จะรอดพ้นจากการถูกฟ้อง แพทย์นั่นแหละที่จะถูกฟ้องมากขึ้น ไม่ได้รับความคุ้มกันตาม มาตรา ๑๒ แต่ประการใด





ลองดูตัวอย่าง คดีที่ศาลไทยได้พิพากษาไว้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ สักเล็กน้อย (ขอขอบคุณข้อมูลจาก Source ที่อ้างข้างล่างบทความนี้ด้วยครับ)





เมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘ ได้มีคำพิพากษาของศาลอาญาในคดีที่พนักงานอัยการได้ฟ้องคณะแพทย์ของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นและข้อหาอื่น ๆ โดยศาลได้มีคำพิพากษายกฟ้องจำเลย และขณะนี้คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์

อย่างไรก็ดี ในคำพิพากษาที่ยกฟ้องในความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นนั้นนับเป็นครั้งแรกที่ได้มีการวินิจฉัยถึงการตายในทางการแพทย์คือการยอมรับว่าผู้ป่วยที่ "แกนสมองตาย" หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "สมองตาย" (braindeath) นั้นเป็นบุคคลที่ตายแล้วในทางกฎหมายน่าเชื่อว่าคดีนี้คงจะต่อสู้กันถึงศาลฎีกา ซึ่งก็เป็นผลดีเพราะจะได้มีคำพิพากษาศาลฎีกาเป็นบรรทัดฐานว่าการที่บุคคลอยู่ในสภาพสมองตายนั้นจะถือว่าเป็นบุคคลที่ตายแล้วในทางกฎหมายหรือไม่ และหากแพทย์ยุติการช่วยชีวิตโดยถอดเครื่องช่วยหายใจออกจะมีความผิดทางอาญาฐานหนึ่งใดหรือไม่

จากคำพิพากษาของศาลอาญาข้างต้นสรุปได้ว่าศาลเห็นว่าผู้ป่วยทั้งสองรายในคดีที่ประสบอุบัติเหตุบาดเจ็บที่ศรีษะแพทย์ตรวจแล้วพบว่าฐานสมองแตกหักและสมองได้รับความกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงทำให้แกนสมองเคลื่อนไป มีผลทำให้ผู้ป่วยทั้งสองรายนี้แกนสมองตายไม่รู้สึกตัวและไม่หายใจแพทย์ประสาทศัลยศาสตร์ตรวจและวินิจฉัยผู้ป่วยทั้งสองรายนี้ ๒ ครั้ง มีระยะเวลาห่างกันเกินกว่า ๖ ชั่วโมงเกณฑ์การตรวจและวินิจฉัยสมองตายกระทำ โดยการตรวจสมองตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประกาศของแพทยสภาว่าด้วยเรื่องเกณฑ์การตรวจและวินิจฉัยสมองตายพบว่าผู้ป่วยทั้งสองรายนี้แกนสมองตาย ไม่รู้สึกตัวและไม่หายใจอย่างแน่นอนแม้หัวใจยังเต้นอยู่ก็โดยอาศัยเครื่องช่วยหายใจ มิได้เต้นเองตามธรรมชาติถือได้ว่าการดำรงอยู่ของชีวิตผู้ป่วยทั้งสองรายนี้สิ้นสุดลง กล่าวคือผู้ป่วยทั้งสองรายนี้สิ้นชีวิตหรือถึงแก่ความตายตั้งแต่ครั้งแรกที่ไม่หายใจแล้ว และโจทก์ไม่มีหลักฐานใดมานำสืบแสดงให้เห็นได้ว่ามีการใช้ยาหรือหากมีการทำโดยประการใด ๆ ทำให้ผู้ป่วยทั้งสองรายนี้แกนสมองตายโดยเจตนา ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่าผู้ป่วยทั้งสองรายนี้ประสบอุบัติเหตุและถึงแก่ความตายแล้วก่อนจะมีการผ่าตัดนำอวัยวะออกไป การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่น

ปัญหาการตายทางการแพทย์ที่เรียกว่าสมองตายนี้ได้เกิดขึ้นมาช้านานแล้วและในทางปฏิบัติแพทย์ก็จะยุติการช่วยชีวิตผู้ป่วยเพื่อปล่อยให้ตายโดยสงบ ทั้งนี้ ส่วนใหญ่จะเกิดจากความยินยอมของญาติผู้ป่วยด้วย แต่ในทางกฎหมายก็ยังข้อโต้เถียงกันอยู่ตลอดมาว่าการตายทางการแพทย์เช่นนี้ จะถือว่าเป็นการตายทางกฎหมายด้วยหรือไม่ เพราะหากทางกฎหมายไม่ยอมรับว่าเป็นการตายด้วยโดยถือว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่ ก็จะทำให้แพทย์เสี่ยงต่อการถูกกล่าวหาว่ากระทำการที่มีโทษรุนแรง นั่นคือความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๒๘๘ ซึ่งบัญญัติว่า "ผู้ใดฆ่าผู้อื่นมีความผิดต้องรับโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกไม่เกินยี่สิบปี" และหากเป็นการฆ่าผู้อื่นด้วยเหตุอุกฉกรรจ์ตามมาตรา ๒๘๙ เช่น ฆ่าผู้อื่นด้วยโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ฯลฯ ก็จะมีความผิดต้องระวางโทษหนักยิ่งขึ้นคือประหารชีวิตสถานเดียว

อนึ่ง แม้การยุติการช่วยต่อชีวิตผู้ป่วยโดยการถอดเครื่องมือต่าง ๆ ออกจะมิใช่เป็นการลงมือฆ่าโดยตรง แต่แพทย์ก็ยังเสี่ยงต่อการถูกกล่าวหาว่าฆ่าผู้อื่นโดยการละเว้นการกระทำตามมาตรา ๕๙ วรรคท้ายแห่งประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งบัญญัติว่า

"การกระทำให้หมายความรวมถึงการให้เกิดผลอันหนึ่งอันใดขึ้นโดยงดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้นด้วย" เพราะบุคคลทั่วไปยังมีความคิดกันว่าแพทย์มีหน้าที่ต้องช่วยชีวิตผู้ป่วย หากแพทย์ยุติการช่วยชีวิตเพื่อป้องกันการตายก็อาจถือว่าเป็นการหระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยการละเว้นการกระทำได้เช่นกัน

ในขณะที่ยังมีการโต้แย้งกันในทางหลักวิชาการแพทย์ซึ่งถือว่าผู้ป่วยสมองตายคือผู้ที่ตายแล้วในทางการแพทย์ กับหลักวิชานิติศาสตร์ที่ยังไม่ยอมรับกันว่าการตายโดยอาการสมองตายนั้น เป็นการตายแล้วอย่างแท้จริงกล่าวคือในทางกฎหมายนี้มีหลักถือมาช้านานในการพิสูจน์ความตายของบุคคลก็คือ ต้องตายตามธรรมชาติโดยหมดลมหายใจและหัวใจหยุดเต้นอย่างสิ้นเชิงนั่นเอง อย่างไรก็ดี ในทางปฏิบัติแพทย์ตามโรงพยาบาลต่าง ๆ ทั้งของรัฐและของเอกชนก็ยังมีความจำเป็นต้องยุติการรักษาคนไข้สมองตายต่อไป ด้วยเหตุผลที่อาจสรุปได้ดังนี้

ประการแรก เป็นเหตุผลทางด้านเศรษฐศาสตร์เนื่องจากผู้ป่วยประเภทนี้อยู่ในสภาพสิ้นหวังที่จะรักษาให้ฟื้นคืนเป็นบุคคลปกติได้ การรักษาโดยการช่วยต่อชีวิตไปไม่มีที่ยุติย่อมเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ทั้งฝ่ายรัฐหรือฝ่ายเอกชน โดยเฉพาะโรงพยาบาลเอกชนที่ค่าใช้จ่ายย่อมสูงกว่าปกติอย่างแน่นอน

ประการที่สอง เป็นเหตุผลทางด้านสิทธิมนุษยชนเพราะการที่บุคคลหนึ่งที่มีอาการสมองตายและมีชีวิตอยู่ได้ด้วยการใช้เครื่องช่วยชีวิตไปตลอดชีวิตนั้น ย่อมก่อให้เกิดความทุกขเวทนามากกว่าจะเกิดประโยชน์แก่บุคคลนั้นเอง และมีผลกระทบต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การปล่อยให้เขาหมดสภาพบุคคลไปน่าจะเหมาะสมยิ่งกว่า

ประการที่สาม เป็นเหตุผลความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางการแพทย์ด้านการปลูกถ่ายอวัยวะ เช่น ตับ ไต หัวใจ ฯลฯ เพื่อนำอวัยวะจากผู้ที่มีอาการสมองตายไปปลูกถ่ายให้กับผู้ป่วยที่รอการรักษา ซึ่งต้องทำให้ผู้ป่วยสมองตายนั้นสิ้นชีวิตเพื่อต่อชีวิตผู้อื่น

การวินิจฉัยว่าผู้ใดมีอาการสมองตายหรือไม่นั้น แต่เดิมไม่มีหลักเกณฑ์แน่นอนขึ้นอยู่กับแพทย์ผู้ทำการรักษาจะวินิจฉัยและตัดสินใจตามที่เห็นสมควร แต่ต่อมาเมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๕๓๑ ได้มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น เนื่องจากโรงพยาบาลแห่งหนึ่งได้แถลงการณ์ว่าได้ทำการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจให้กับคนไข้โรคหัวใจที่รอการบริจาคอยู่เป็นรายแรกของประเทศกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ โดยได้หัวใจจากผู้ป่วยสมองตายที่ยุติการช่วยชีวิตความยินยอมของญาตินับเป็นความสำเร็จทางการแพทย์ไทยอันน่าภาคภูมิใจยิ่ง ขณะเดียวกัน ก็เกิดข้อวิตกกังวลในทางกฎหมายขึ้นมาว่า การที่ทำให้ผู้ป่วยสมองตายต้องหมดชีวิตลงเพื่อนำเอาอวัยวะไปปลูกถ่ายให้ผู้อื่นนั้น จะเกิดปัญหาในทางกฎหมายแก่แพทย์ที่ทำการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะในความผิดต่อชีวิตหรือไม่ประการใด

ดังนั้น จึงได้มีการจัดสัมมนาทางวิชาการครั้งใหญ่ในประเด็นปัญหาข้อกฎหมายเรื่องนี้ ที่หอประชุมใหญ่จุฬาฯ ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิหลายฝ่าย อาทิ แพทย์ อาจารย์มหาวิทยาลัย กลุ่มศาสนา ทนายความ ตำรวจ อัยการ ผู้พิพากษา ฯลฯ โดยทางแพทย์ยืนยันว่าผู้ที่สมองตายนั้นถือว่า เป็นการตายแล้วและแพทย์สามารถยุติการรักษาชีวิตเพื่อนำเอาอวัยวะไปปลูกถ่ายต่อไปได้ ส่วนทางนักกฎหมายจำนวนหนึ่งยอมรับว่าผู้ป่วยสมองตายนั้นถือว่าตายแล้ว แต่จำนวนหนึ่งก็ยังเห็นว่าน่าจะเป็นการตายธรรมชาติทั่วไปอย่างแท้จริง ส่วนการตายด้วยภาวะสมองตายนั้นยังไม่มีหลักเกณฑ์แน่นอนที่จะวินิจฉัยและอาจเกิดการยุติชีวิตผู้ป่วยโดยอ้างว่าอยู่ในสภาวะสมองตายโดยไม่สมควรหรือมีเหตุผลแอบแฝงจึงหาข้อยุติไม่ได้

ในที่สุดผู้เขียนซึ่งได้ร่วมการสัมมนาด้วยจึงเสนอว่าเมื่อทางแพทย์ยืนยันว่าผู้ที่สมองตายนั้นถึงแก่ความตายแล้วและจำเป็นต้องยุติการช่วยชีวิตผุ้ป่วยด้วยเหตุผลความจำเป็นต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยกรณีสมองตาย แพทยสภาเป็นองค์กรที่ควบคุมดูการประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. ๒๕๒๕ ก็ควรมีบทบาทในการกำหนดหลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยว่าบุคคลใดสมองตายซึ่งควรยุติการช่วยชีวิตโดยแพทย์ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนให้เป็นระบบและอยู่ในมาตรฐานเดียวกัน ทั้งนี้เพื่อคุ้มครองในทางกฎหมายแก่แพทย์ผู้ทำการยุติการช่วยชีวิตผู้ป่วยและเพื่อคุ้มครองผู้ป่วยมิให้ต้องถูกยุติชีวิตด้วยเหตุผลอันไม่สมควร

ต่อมา แพทยสภาได้ออก "ประกาศแพทยสภาเรื่องเกณฑ์การวินิจฉัยสมองตาย" ลงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๓๒ กำหนดหลักเกณฑ์การวินิจฉัยว่า เมื่อใดจึงจะถือว่าผู้ป่วยมีอาการสมองตายเช่นต้องไม่รู้สึกตัวและอยู่ในเครื่องช่วยหายใจและต้องทำการตรวจสอบตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดอีกว่าจะไม่มีอาการเปลี่ยนแปลงเป็นเวลาอย่างน้อย ๑๒ ชั่วโมง จึงจะถือได้ว่าสมองตาย ส่วนวิธีการปฏิบัติในการวินิจฉัยสมองตายนั้นต้องกระทำโดยคณะแพทย์ไม่น้อยกว่า ๓ คน และต้องไม่ประกอบด้วยแพทย์ผู้จะกระทำการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะรายนั้น โดยผู้อำนวยการโรงพยาบาลหรือผู้รับมอบหมายต้องลงนามรับการวินิจฉัยสมองตาย และรับรองการตายด้วย และต่อมาแพทยสภาได้ออกประกาศฉบับที่ ๒ ลงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๓๙ กำหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติมในเรื่องการวินฉัยและการทดสอบว่าผู้ใดสมองตายอย่างแท้จริง รวมทั้งลดระยะเวลาการตรวจสอบจาก ๑๒ ชั่วโมง เป็น ๖ ชั่วโมง จึงจะถือว่าสมองตาย

อนึ่ง ผู้ป่วยที่สมองตายและแพทย์ได้ทำการยุติการช่วยชีวิตแล้วนั้น สามารถนำอวัยวะไปปลูกถ่ายให้กับผู้ป่วยรายอื่น ๆ ได้ ทั้งนี้ตาม "ข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม (ฉบับที่๓) พ.ศ. ๒๕๓๘ ออกตามพระราชบัญญัติวิชาชีพกรรม พ.ศ.๒๕๒๓" ข้อ๓ โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ด้วย

จากหลักเกณฑ์การวินิจฉัยสมองตายตามประกาศของแพทยสภาและการนำอวัยวะของผู้ป่วยสมองตายที่แพทย์ยุติการช่วยชีวิตไปปลูกถ่ายให้กับผู้ป่วยรายอื่น ๆ ตามข้อบังคับของแพทยสภาดังกล่าวข้างต้น เป็นเพียงกำหนดหลักเกณฑ์ทางการแพทย์เพื่อประกอบการวินิจฉัยว่าแพทย์ดังกล่าวให้ทำการยุติการช่วยชีวิตผู้ป่วยสมองตายคนใดแล้วนำเอาอวัยวะไปปลูกถ่ายให้กับผู้ป่วยรายอื่น ๆ นั้นเป็นไปโดยถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่แพทยสภากำหนดไว้หรือไม่ แต่ยังเป็นเพียง "ข้อเท็จจริง" เพราะว่าข้อบังคับหรือประกาศของแพทยสภานั้นมิใช่กฎหมายโดยตรงเพียงแต่ออกโดยอำนาจของกฎหมายเท่านั้นยังไม่อาจใช้เป็นข้อยกเว้นทางกฎหมายโดยตรงในความผิดต่ชีวิตตามมาตรา ๒๘๘ แห่งประมวลกฎหมายอาญา แต่อย่างน้อยก็เกิดผลในทางกฎหมาย คือ หากแพทย์ผู้ใดได้ยุติการช่วยเหลือชีวิตผู้ป่วยสมองตายถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่แพทยสภากำหนดก็ย่อมยืนยันในข้อเท็จจริงว่า แพทย์ผู้นั้นกระทำการด้วยความสุจริต (goodfaith) มิได้มีเจตนาฆ่าผู้ป่วยเหมือนผู้กระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตามมาตรา ๒๘๘ หรือมาตราการ ๒๘๙ ของประมวลกฎหมายอาญา เพื่อพนักงานสอบสวนพนักงานอัยการ และศาลจะได้นำไปประกอบการพิจารณาว่าสมควรฟ้อง หรือสมควรลงโทษแพทย์ผู้นั้นหรือไม่ประการใด

ดังนั้น หากมีการร้องเรียนกล่าวหาในทางคดีอาญา หรือ คดีแพ่งว่าแพทย์ผู้ทำการยุติชีวิตผู้ป่วยที่สมองตายกระทำการอันมิชอบ เช่น ไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่แพทย์สภากำหนด หรือปฏิบัติไม่ครบถ้วนหรือกระทำโดยประมาทหรือการยุติชีวิตผู้ป่วยนั้น ๆ กระทำโดยมีเหตุผลอื่นแอบแฝงและจากการสอบสวนคดีอาญามีมูลน่าเชื่อว่าอาจจะเกิดการกระทำตามที่ถูกกล่าวหาจริงก็อาจจำต้องฟ้องแพทย์ผู้ยุติการช่วยชีวิตผู้ป่วยสมองตายเพื่อพิสูจน์ในศาลต่อไป

อย่างไรก็ดี ปัจจุบันได้มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ....ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาชุดพิเศษตามร่างมาตรา ๑๐ มีข้อความว่า

"บุคคลมีสิทธิทำคำสั่งเป็นหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นเพียงเพื่อยึดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้

การทำเช่นการตามคำสั่งตามวรรคแรกให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง"

ร่างกฎหมายมาตรานี้อาจจะผ่านการเห็นชอบของรัฐสภาหรือไม่หรือจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อความในชั้นที่สุดประการใดก็ต้องคอยติดตามผลการพิจารณาต่อไป แต่ก็นับเป็นก้าวใหม่ของกฎหมายไทยเริ่มมีการยอมรับการตายโดยทางการแพทย์และให้แพทย์เป็นผู้ยุติการช่วยชีวิตของบุคคลอย่างเป็นทางการได้ อนึ่ง เมื่อพิจารณาข้อความในร่างมาตรา ๑๐ เท่า ที่ปรากฏในปัจจุบันดังกล่าว เห็นว่ามีลักษณะคล้ายกับการทำ "พินัยกรรมชีวิต" (Living will) ในต่างประเทศ กล่าวคือบุคคลสามารถทำหนังสือกำหนดการตายของตนโดยทางการแพทย์ไว้ได้ล่วงหน้าตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด และใช้ครอบคลุมได้ทั้งกรณีที่ผู้ป่วยอยู่ในภาวะสมองตายและที่ยังมีสติสัมปชัญญะดีอยู่ แต่ไม่ต้องการมีชีวิตอยู่ต่อไปเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยของตน สำหรับการตายประการหลังนี้น่าจะหมายความว่า กรณีที่ผู้ป่วยไม่ได้อยู่ในสภาพสมองตาย แต่ไม่ต้องการทรมานจากการเจ็บป่วยต่อไปเช่นเป็นมะเร็งขั้นสุดท้ายจะใช้วิธี "ปฏิเสธรับการรักษาจากแพทย์เพื่อช่วยชีวิต" ได้ เพราะที่อังกฤษได้เคยเกิดคดีขึ้นแล้วเมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๔๕ ศาลสูงของอังกฤษได้พิพากษายอมให้คนไข้สตรีซึ่งป่วยหนักเป็นอัมพาตครึ่งตัวและมีชีวิตอยู่ในห้องไอซียูโดยแพทย์ใช้ท่อช่วยหายใจไว้ให้มีสิทธิตายตามประสงค์ของผู้ป่วย และพิพากษาให้แพทย์ชดใช้เงิน ๑๐๐ ปอนด์ แก่เธอฐานใช้เครื่องช่วยหายใจล่วงล้ำในตัวเธอโดยเธอไม่ยินยอมอีกด้วย และการยุติการทรมานของผู้ป่วยโดยแพทย์ตามรางมาตรา ๑๐ นี้จะถึงขั้นยอมให้แพทย์ลงมือปลิดชีวิตให้ เช่น ด้วยการฉีดยาพิษให้ตายซึ่งเรียกว่า "การฆ่าด้วยการความกรุณา" หรือไม่เพราะปัจจุบันมีบางประเทศ เช่น รัฐสภาเนเธอร์แลนด์เพิ่งลงมติเมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ ให้ประกาศใช้กฎหมายลักษณะนี้ได้โดยให้มีผลใช้บังคับในปี พ.ศ. ๒๕๔๔ เป็นต้นมา

อย่างไรก็ดี แม้จะมีกฎหมายรับรองการตายโดยทางการแพทย์ไว้อย่างเป็นทางการก็ตามแพทย์และโรงพยาบาลก็ต้องระมัดระวังควบคุมดูแลให้การปฏิบัติได้เป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดโดยเคร่งครัด หากกระทำโดยประมาทหรือโดยที่ยังไม่มีเหตุสมควร หรือโดยมีเหตุผลอื่นแอบแฝง ก็อาจเกิดปัญหาทางคดีแพ่ง คดีอาญา หรือคดีปกครอง (กรณีโรงพยาบาลของรัฐ) ติดตามมาได้เสมอ จึงขอฝากเป็นข้อสังเกตไว้ ณ ที่นี้ด้วย


ขอขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก //www.dtl-law.com







สำหรับบทความข้างล่างนี้ เป็นเรื่องที่เขียนในเวปส่วนตัวที่เป็นภาษาอังกฤษ จึงนำมาเผยแพร่ในที่นี้ด้วยครับ





Thai Medical Law Movement


Living Will is the new concept of the Thai medical law adopted in Thailand recently. In 2007, the National Assembly, under the 2006 coup's sponsor, adopted the National Healt Act of 2007. The provision according to section 12 provides that:

[A]t any period, a patient shall enjoy the right to stop medical service, which merely to prolong death, at the end of life expansion, or to stop painful from sickness by expression of the living will or advance directive to the medical personnel.

To further proceed the living will must comply with the form and details prescribed in the Minister's Rule in according with this Enabling Act.

The medical personnel who perform in accordance with the living will, or advance directive shall be immuned and privileged from civil and criminal charge."

This law aims at assuring the physicians and the other medical personnel to avoid being sued after they practice and stop any medical treatment as the living will requires. The Minister of Health and the Medical Council of Thailand began the hearing process on July 31, 2009 to enact the Minister's Rule complying with the clause 2 of the section 12.

When reading the draft, I found that the draft provides the directive how the doctors decide when the medical treatment should end; it, however, cause undesirable impacts to the medical personnel themself. The drafting rule requires them to consider it the patient physical body and mentality can be further treated. In other words, the treatment should be stopped because the patients become the vegetative status or other signs of brain death, including the multiple failure of human bodily organs. The burden under this rule,then, is on the sholder of the physicians, instead of the patient's relatives.

I totally disagreed with this law and I think that the patient, either by himself or his relative, should have the burden to prove that the patient intended to die with dignity without "unnecessary medical treatment." Prolongating the death is undesirable and the patient should be able to exercise the right to self-determination. However, the relatives should file the ex patre motion to court, under the preponderance test, to show the actual intention to death peacefully of the patient. The physicians should have duties to cure the patient as long as it can but subject to the patient's will, not to kill anyone. In addition, the doctors should have had vere limited duties to consider if to stop treatment by himself only when the clear evidence show that the patient become death or the treatment is totally useless!


Create Date : 06 สิงหาคม 2552
Last Update : 21 มิถุนายน 2553 8:18:20 น. 1 comments
Counter : 1110 Pageviews.

 
พี่ท่าน


ระยะเวลา ๖ ชม. ดังกล่าวนั้น น่าจะเป็นระยะเวลา ๗ - ๑๕ วันเพื่อให้เวลาญาติทุกๆคนได้มีการปรึกษาหารือและรอญาติที่อยู่ทางไกลเพื่อให้แน่ใจว่าแกนสมองนั้นตามอย่างแน่นอน มิใช่เป็นคำวินิจฉัยของแพทย์อย่างแน่นอน เมื่อครบกำหนดให้กรรมการแพทย์เชิญญาติทั้งหมดทาประชุมรับฟังข้อเท็จจริงในการจำเป็นที่งดการรักษา ซึ่งหากญาติต้องการรักษาต่อก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเช่าเครื่องช่วยหายใจ เพื่อมิให้ทางโรงพยาบาลเดือดร้อน หรือญาติประสงค์จะนำคนป่วยไปใช้เครื่องช่วยหายใจเองที่บ้าน หากไม่ประสงค์ ให้เเพทย์จึงให้แพทย์หยุดการรักษางดใช้ เครื่องช่วยหายใจแก่ผู้ป่วย


โดย: aesthetic_kan วันที่: 12 สิงหาคม 2552 เวลา:20:14:47 น.  

POL_US
Location :


[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 82 คน [?]




คลิ๊ก เพื่อ Update blog พ.ต.อ.ดร. ศิริพล กุศลศิลป์วุฒิ ได้ที่นี่
https://www.jurisprudence.bloggang.com






รู้จักผู้เขียน : About Me.

"เสรีภาพดุจดังอากาศ แม้มองไม่เห็น แต่ก็ขาดไม่ได้ "










University of Illinois

22 Nobel Prize & 19 Pulitzer Prize & More than 80 National Academy of Sciences (NAS) members







***คำขวัญ : พ่อแม่หวังพึ่งพาเจ้า

ครูเล่าหวังเจ้าสร้างชื่อ

ชาติหวังกำลังฝีมือ

เจ้าคือความหวังทั้งมวล



*** ความสุข จะเป็นจริงได้ เมื่อมีการแบ่งปัน :

Happiness is only real when shared!














ANTI-COUP FOREVER: THE END CANNOT JUSTIFY THE MEANS!






Online Users


Locations of visitors to this page
New Comments
Friends' blogs
[Add POL_US's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.