ชีวิตพอเพียงกับการเลี้ยงกล้วยไม้
Group Blog
 
All Blogs
 

การเลี้ยงแกะ (SHEEP)

แกะเป็นสัตว์เศรฐกิจตัวใหม่ของบ้านเราครับ แต่ต่างประเทศทางยุโรปเลี้ยงมากันนานแต่โบราณกาลแล้วครับ ถือว่าเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญ เมื่อเอ่ยถึงแกะคนไทยจะนึกถึงประเทศนิวซีแลนด์ ที่มีแกะเล็มหญ้ากลางทุ่งหญ้าเขียวขจีและฉากหลังมีทิวทัศน์สวยๆ ความจริงแกะเลี้ยงได้หลายภูมิอากาศ
จุดประสงค์การเลียงแกะ
1.ผลิตขนเพื่อเอามาทำเครื่องนุ่งห่ม ที่ใส่สบายและป้องกันความหนาวเย็นได้ดี
2.ผลิตเนื้อ เมนูที่ฮิตกัน คือ ซีโครงแกะ เนื้อลูกแกะ
3.ผลิตนมและเนยแข็งจากแกะ ซึ่งคุณภาพและราคาจะแพงกว่านมหรือชีสจากนมวัว
4.เลี้ยงเพื่อการท่องเที่ยว ตอนนี้บ้านเรากำลังนิยมกันครับ รีสอร์ทไหนมีแกะจะดึงดูดนักท่องเที่ยว
เช่น แถวสวนผึ้ง ลำปางหนาวมาก เอาแกะมาเป็นแม่เหล็กดึงดูดเพราะมันแปลก น่ารัก ถ้าเอาวัวคงไม่มีใครเข้า เห็นทุกวัน บางวันเดินตัดหน้ารถอีก




แหล่งเลี้ยงแกะในประเทศไทย

1.ตามสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ของกรมปศุสัตว์ เช่น สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์แม่ฮ่องสอน สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ปลวกแดง สถานีบำรุงพันธุ์สัตว์ชัยภูมิ ส่วนใหญ่จะเป็นแกะเนื้อหรือกึ่งเนื้อกึี่งให้ขน
2.โครงการหลวงบางแห่ง
3.เกษตรกรที่้เอามาเลี้ยง ที่ผมเห็นคือ อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี, อ.สวนผึ้งและ อ.บ้านคา
จ.ราชบุรี จ.นครสวรรค์ จ.แม่ฮ่องสอน และตามรีสอร์ท ที่เลี้ยงไว้ดึงดูดนักท่องเทียว
สีของแกะ บางท่านคิดว่ามีแต่สีขาว จริงๆมี สีน้ำตาล สีดำ สีขาวจุดดำ น้ำตาลจุดดำ มีหลายๆพันธุ์ในต่างประเทศครับ
4.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กำแพงแสน ภาควิชาสัตว์บาล คณะเกษตร

พันธุํที่ทางกรมปศุสัตว์นำเข้ามาส่งเสริม คือ

แกะเนื้อ พันธุ์คาทาดิน พันธุ์ซานตาอิเนส พันธุ์บาร์บาโดส พันธุ์ดอร์เปอร์
แกะให้ขน พันธุ์เมอริโน (ที่เราคุ้นตาอยู่ตามรีสอร์ท)พันธุ์บอนด์ พันธุ์คอร์ริเดล





เรามาดูข้อมูลแกะกันหน่อยครับ

1.แกะเป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง กินอาหารประเภทพืชและหญ้าเป็นหลัก มีขนหนาฟู ออกลูกเป็นตัวและเลี้ยงลูกด้วยน้ำนม วงจรการผลิตลูกเร็วกว่าสัตว์เคี้ยวเอื้องอืนๆ จะเป็นรองก็แค่แพะ

2.แกะแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
>แกะภูเขาส่วนมากจะมีเขาโค้งงอไปด้านหลังเด่นชัดเอาไว้ต่อสู้ตอนฤดูผสมพันธุ์ ลักษณะขนสั้นแต่ใหญ่
>แกะบ้าน มักไม่มีเขาชอบรวมกลุ่มหากินมีสังคม สีขาวนวล น้ำตาล และสีดำทั้งตัว

3.ข้อมูลการเลี้ยง
>วัยเจริญพันธุ์(มีลูกได้)ที่อายุ 4-12 เดือน
>ระยะการอุ้มท้อง 150 วัน ให้ลูกได้ 2 ครั้งใน 1 ปี
>วงรอบการเป็นสัด 17+/-2 วัน ระยะการเป็นสัด 12-36 ชั่วโมง

4.โรงเรือน ใช้หลักการเดียวกับแพะ (ลองหาดูในบล็อกการเลี้ยงแพะ ที่เขียนไว้แล้วครับ)



5.อาหารหลักการเดียวกับแพะ แต่แกะจะแทะเล็มหญ้าในแปลงหญ้าในแนวราบ รวมกันเป็นฝูง (จะไม่ปีนป่ายขึ้นต้นไม้ กินใบไม้ แทะเปลือกไม้ กินใบไม้หลากหลายชนิด เหมือนแพะ) พูดง่ายๆว่าแกะเชื่องและไม่ดื้อเหมือนแพะ

6.อาหารข้นก็ใช้อาหารแพะในการเลี้ยง จำนวนและระยะการให้เหมือนกัน เพราะลักษณะการใช้อาหาร ขนาดน้ำหนักตัว ใกล้เคียงกันมากครับ

อาหารมีสองอย่างครับต้องให้สัดส่วน 50:50 แกะถึงจะโตและผลิตลูกได้ตามมาตรฐาน ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ถ้าขาดแล้วผลการเลี้ยงจะไม่ดี

>อาหารหยาบ คือ หญ้าต่างๆตามธรรมชาติ หรือหญ้าสำหรับเลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะที่ให้คุณค่าทางอาหารสูงกว่าหญ้าธรรมชาติ แกะชอบกินหญาที่งอกขึ้นใหม่ๆ หญ้าหมักและใบพืชผัก ตลอดจนพืชหัวประเภทต่างๆ ซึ่งอาจเลี้ยงแกะในแปลงผักต่างๆ หลังการเก็บเกี่ยวได้ แกะ เดินแทะเล็มหญ้าวนเวียนไม่ซ้ำที่กันแม้จะมีหญ้าอยู่มาก ควรปล่อยแกะลงกินหญ้าที่มีความสูงจากพื้นดินอยู่ระหว่าง 4-8 นิ้ว
ปริมาณที่กินได้ 3-6% นน.ตัว (ถ้าแกะหนัก 30 กก. จะกินหญ้าสดวันละ 3กก./ตัว)ใช้เวลากินอาหาร 30% เคี้ยงเอื้อง 12% เดินทางหาอาหาร 12% และผักพ่อน 46%
>>ควรปล่อยแกะลงแปลงหญ้าช่วงสายหลังจากหมดน้ำค้างแล้ว ถ้าตัดให้กินควรตัดตอนช่วงบ่ายและตัดเหนือพื้นดิน เพื่อป้องกันพยาธิ







>อาหารข้น คือ อาหารสำเร็จรูป เอาไว้เสริมตอนหน้าแล้งหญ้าขาดแคลน หรือกินอาหารหยาบคุณภาพต่ำ เช่น กินฟางต้องเสริมอาหารข้น หรือช่วงแกะให้นมลูกกินหญ้าอย่างเดียวไม่พอผลิตนมต้องเสริมอาหารข้นเพื่อน้ำนมแม่มาก ลูกแกะก็สมบูรณ์ หรือใช้ช่วงการขุนแกะการใช้อาหารข้นทำให้คุณภาพเนื้อดี นุ่ม ปริมาณเนื้อมากกว่ากินหญ้าอย่างเดียว





7.การเลี้ยงแกะนินมเลี้ยงเป็นฝูง อาจไล่เลี้ยงหรือทำแปลงหญ้าให้แทะเล็ม ในเขตที่พื้นที่ไม่มากอาจเลี้ยงในคอก และมีบริเวณลานให้แกะออกกำลังกาย โดยผู้เลี้ยงหาอาหารมาให้กินที่คอก อาจต้องใช้แรงงานมากกว่าการไล่เลี้ยง โดยมีสัดส่วนแม่พันธุ์ 20-25 ตัว/พ่อ 1 ตัวและควรสับเปลี่ยนพ่อพันธุ์ บ่อยๆจะช่วยเรื่องการผสมติด พ่อพันธุ์ที่เอาออกควรให้พักสัก 10-15 วัน และให้อาหารแพะ โปรตีน 16% จะช่วยเรื่องความสมบูรณ์ของพ่อพันธุ์ ก่อนทีจะย้ายกลับเข้าคุมฝูงแม่แกะใหม่





8.โปรแกรมการดูแลสุขภาพ
>ในเขตพยาธิชุกชุม พื้นที่ชื้อแฉะ ควรถ่ายพยาธิ 1-3 เดือน ครั้งใช้ยากลุ่มไอโวเม็กติน เช่น
ไอโวเม็ก เอฟ ที่คุมพยาธิภายในและภายนอก หรือ ต้องมีโปรแกรมพ่นยากันเห็บ เหาไร ขี้เรื้อนทุกเดือน เนื่องจากแกะมีขนหนา แมลงชอบอาศัย ใช้ยากลุ่มฉีดพ่นกลุ่มไซเปอร์เมททิน ที่มีขายตามร้านขายยาสัตว์ทั่วไป สรุปแล้วแกะต้องดูแลเรื่องพยาธิอย่างใกล้ชิดครับ
> วัคซินก็ ฉีดวัคซินปากและเท้าเปื่อยทุกๆ 4-6 เดือน ครั้ง
> โรคทีพบบ่อย คือ ปอดบวม ท้องเสีย กีบเน่า และ ท้องอืด





9.หลักการคัดเลือกซื้อแกะ ที่ลักษณะดีเข้าฝูง
>หลังเป็นเส้นตรงไม่โค้งงอ
>อกลึกกว้าง แสดงว่าปอดใหญ่แข็งแรง
>กีบสูง มุมถูกต้องทำให้ขาตั้งตรง กีบไม่ผิดรูปร่าง สังเกตจากการยืนขาต้องไม่แบะออกหรืองุ้มเข้าหาตัว จะมีผลต่อการเดินแทะเล็มและถ้าขาไม่ดีจะมีปัญหาต้องคัดทิ้งในที่สุด
> เพศผู้อัณฑะต้องยาวเท่ากัน ไม่มีลักษณะทองแดง เพศเมียเต้านมมีสองเต้าเท่ากัน ไม่มีหัวนมเกิน หรือหัวนมบอดจะมีผลต่อการเลี้ยงลูกเพราะแกะอาจจออกลูกได้ครั้งละ 1-3 ตัว





> ขากรรไกรบนกับล่างต้องเท่ากัน ขาไม่โค้งงอ ตาไม่บอด


การเลี้ยงแกะบ้านเรายังไม่แพร่หลาย เป็นช่วงเริ่มต้นขนาดฟาร์ม 10-30 ตัว การจำหน่าย
ผลิตภัณฑ์ยังไม่แพร่หลาย คนซื้อกับคนขายยังขาดช่องทางการติดต่อ ผู้บริโภคจะซื้อเนื้อแกะมาบริโภคต้องไปซื้อตามซุบเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ หรือ ในห้างแมคโคร เนื้อจะมาจากนิวซีแลนด์หรือออสเตรเลีย ส่วนตลาดทั่วไปหาซื้อยาก หรือจะทานเมนูเกี่ยวกับแกะต้องเข้าร้านอาหารฝรั่ง หรือห้องอาหารตามโรงแรมใหญ่ๆ ราคาแพงทำให้ดูมีคุณค่า ถ้าทางเกษตรกรทำการตลาดดีๆก็เป็นสัตว์เศรษฐกิจที่มีอนาคตตัวหนึ่งเลยทีเดียวครับ






ธุรกิจการเลี้ยงแกะในต่างประเทศ เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ลองมาดูกันครับ
นอกจากใช้บริโภคเนื้อเป็นหลักแล้วยังตัดขน (wool) เอาไปทำเครื่องนุ่งห่มสำหรับภูมิภาคที่มีอากาศหนวาจัด





ผลิตภัณฑ์จากขนแกะ





การเลี้ยงแกะนม








การรีดนมแกะ





เนยแข็งที่ผลิตจากนมแกะ ราคาสูง และโภชนะสูง





กระดุมที่ผลิตจากเขาแกะ





แกะดำ พันธุ์ KALAKUL





สุนัขเลี้ยงแกะ (ที่คนชอบไปแย่งสุนัข เป็นเด็กเลี้ยงแกะ เช่นนักการเมืองที่พูดขาวเป็นดำ ดำเป็นขาว คงเป็นเด็กเลี้ยงแกะมาก่อน 555)





แกะพื้นเมืองของต่างประเทศ พันธุ์ SOAY ลักษณะคล้ายแพะมากกว่าแกะ





สรุป เป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงแกะ ดีกว่าเป็นเด็กเลี้ยงแกะ ว่าไหมครับ







 ติดตาม FACEBOOK เกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์ได้ที่





 

Create Date : 04 กุมภาพันธ์ 2555    
Last Update : 9 กุมภาพันธ์ 2556 23:24:25 น.
Counter : 33828 Pageviews.  

ต้นทุนการผลิตน้ำนมดิบ ของประเทศไทย ปี 2554-2555

การจะทำธุกิจอะไรก็ตามหัวใจหลักคือ ต้นทุน พอเราทราบต้นทุนเราจะรู้ว่าธุรกิจที่ทำอยู่กำไรมาก
กำไรน้อย หรือขาดทุน ตามหลักการคิดกำไร ดังสูตรง่ายๆดังนี้

กำไร = ราคาขาย - ต้นทุน

ถ้าราคาขายมากกว่าต้นทุน ก็คือกำไร
ถ้าราคาขายได้น้อยกว่าต้นทุน ก็คือขาดทุน เรียกง่ายๆ ว่าเจ๊ง

ในการทำฟาร์มโคนมจะให้ได้ผล กำไรมีแนวทางคือ
ลดต้นทุน > โดยให้ผลผลิตต่อตัวมากขึ้น เช่นเดิมวัวนมให้นม 12 กิโลกรัม/ตัว/วัน ดูแลเพิ่มให้
อาหารเพิ่ม จัดการดีขึ้น วัวจะแสดงศักยภาพเต็มที่ ให้นมเพิ่มเป็น 18 กก/ตัว/วัน ถึงแม้จะจ่ายค่า
อาหารเพิ่ม มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม แต่ผลผลิตที่เพิ่มจะมีมูลค่ามากกว่า ต้นทุนเฉลี่ยนมต่อกิโลกรัมลดลง
ส่งผลต่อกำไรเพิ่มขึ้นครับ







มาว่าเรื่องต้นทุนการผลิตน้ำนมดิบ ที่คิดตามหลักบัญชี คือ คิดค่าเสื่อม ค่าเช่า ดอกเบี้ยเงินที่ลงทุน คือ คิดค่าใช้จ่ายทุกชนิดที่ใช้ในการเลี้ยงและผลิตนม จะคิดละเอียด (ไม่เหมือนเกษตรกร ที่คิดแค่ ค่าอาหาร ค่ายา หัก รายได้ เป็นกำไร ยังไม่ได้คิดค่าใช้จ่ายอีกหลายอย่าง )ดังมีรายละเอียดดังนี้

ตัวเลข ณ.วันลงข้อมูล ราคานมดิบหน้าโรงงาน 18 บาท/กก ราคานมดิบที่เกษตรกรได้รับจากสหกรณ์ และศูนย์นม 16.50-17.20 บาท/กก (แล้วแต่เขตการส่งนม)

รายการ / บาท/น้ำนมดิบ 1 กก / % ต้นทุน
1.ค่าอาหาร (ข้น/หญ้า) / 8.13 / 50.36
2.ค่าเสื่อมพันธุ์โคนม / 2.31 / 14.35
3.ค่าแรงงาน / 1.67 / 10.33
4.ค่าดอกเบี้ย / 1.31 / 8.09
5.ค่าเสื่อมโรงเรือนและอุปกรณ์ / 0.87 / 5.38
6.ค่าเสื่อมเครื่องรีดนมและคอกรีดนม/ 0.46 / 2.86
7.ค่ายาสัตว์และผสมเทียม / 0.52 / 3.23
8.ค่าสาธารณูปโภค / 0.35 / 2.15
9.ค่าใช้จ่ายอื่นๆ / 0.52 / 3.23

รวมต้นทุนการผลิต 16.14 บาท/กิโลกรัม

กำไร ณ.รับซื้อราคาต่ำสุด = 16.50-16.14 = 0.36 บาท/กก (2.2 %)
กำไร ณ.รับซื้อราคาสูงสุด = 17.20-16.14 = 1.06 บาท/กก (6.6 %)

เกษตรกรจะมีกำไรหรือไม่ ขึ้นอยู่กับ ราคาที่สหกรณ์ซื้อกับ เกษตรกร ถ้าซื้อ 16.50 เกษตรกรจะไม่ค่อยมีกำไร ถ้าซื้อ 17.20 บาท พอมีกำไรครับ ขนาดฟาร์มเฉลี่ยของบ้านเรามีแม่โครีด 20 ตัว หยุดรีด 3 ตัว มีรีดจริง 17 ตัว ถ้าผลผลิตได้ตามค่าเฉลี่ยประเทศ 11 กก/ตัว/วัน จะได้กำไรสูงสุด 17*11* 1.06 = 198 บาท/วัน หรือ 5,940 บาท/เดือน กลุ่มนี้จะไม่ค่อยเหลือแล้วครับเลิกเลี้ยงไปทำอาชีพพืชไร่หมดแล้ว เหลือแต่กลุ่มที่ประสิทธิภาพดี มีการเลี้ยงดี การผสมติดดี
ผลผลิตเฉลี่ย 15-18 กก/ตัว/วัน จะมีรายได้ 17*18*1.06 = 324 บาท/วัน หรือ 9,730 บาท/เดือน และ ขนาดฟาร์มจะอยู่ที่ 30-50 แม่รีดขึ้นไปครับ จะเห็นว่าต้นทุนการผลิตนมถ้าคิดแบบละเอียดแล้วเกษตรกรได้กำไรไม่มากนัก พออยู่ได้ในรายที่ประสิทธิภาพการผลิตดีเท่านั้นครับ








ราคานมดิบควรเป็นเท่าไหร่จึงจะทำให้จูงใจเกษตรกรอาชีพวัวนม อยู่ได้ ความเห็นผม
ราคาหน้าโรงงาน 21 บาท/กก
ราคาสหกรณ์รับซื้อนมดิบจากเกษตรกร 19.50 บาท/กก (เกษตรกรได้กำไร ก่อนหักภาษีสัก 20 % ก็จะเป็นจุดที่เหมาะสมครับ
ราคานมพานิชย์ปรับขึ้นอีกเล็กน้อย เราก็จะได้กินนมที่มีคุณภาพ ท่านทราบหรือไม่ว่านมที่ท่านทานอยู่ปัจจุบัน 70% เป็นนมผงทั้งนั้นครับ เอามาละลายน้ำคืนรูป โดยเฉพาะนมเปรี้ยว 100 % ผลิตจากนมผง นมสดที่พอหาทานได้เป็นนมพาสเจอร์ไรส์ที่บรรจุในขวดพลาสติก ส่วนที่เป็นนม UHT ส่วนมากจะเป็นนมผง จะมีก็นมรสจืด และ นมโรงเรียนเท่านั้นที่จะเป็นนมสดผลิตจากในประเทศ

ความจริงที่น่าคิด

อัตราการดื่มนมของคนไทย 12 ลิตร/คน/ปี

อัตราการดื่มเหล้าของคนไทย 30 ลิตร/คน/ปี



 ติดตาม FB ได้ที่


ติตตามชมคลิปวิดิโอ การเลี้ยงโคนมที่ youtube ได้ตามนิ้ครับ
https://www.youtube.com/channel/UCDIo2mOrTaV13LJ1--1RdBQ





 

Create Date : 08 มกราคม 2555    
Last Update : 19 พฤศจิกายน 2558 13:25:46 น.
Counter : 10277 Pageviews.  

ต้นทุนการเลี้ยงแพะขุน

ต้นทุนในการเลี้ยงแพะขุนนี้ผมเผยแพร่เพื่อเป็นประโยชน์กับคนที่สนใจ เพราะผมหาได้ยากมากในอินเตอร์เนท ผมมีข้อมูลเลยอยากนำมาแชร์สำหรับคนที่อยากเลี้ยงแพะเป็นอาชีพเสริมหรืออาชีพหลัก
ข้อมูลเป็นการเก็บในเกษตรกรที่เลี้ยงแพะขุนอย่างเดียว ไม่ได้เลี้ยงผลิตลูกขาย คือผู้เลี้ยงขุนจะรวบรวมแพะเข้ามาขุนไม่เกิน 3 เดือน และจับขาย การเลี้ยงไม่ได้ไล่เลี้ยง ทำคอกมีลานให้แพะเดินออกกำลัง ผู้เลี้ยงจัดหาอาหารหยาบและอาหารข้นมาให้แพะกิน มีการชั่งน้ำหนักรวมก่อนขุนและน้ำหนักรวมหลังจับขาย มาดูต้นทุนกันครับ ขอบคุณเกษตรกร อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรีที่ให้ข้่อมูล

เจ้าของฟาร์มรายแรก คุณปัญญา






คอกที่ใช้ขุนแพะครับ




มาดูต้นทุนกันครับ

จำนวนวันที่เลี้ยงขุน 90 วัน
จำนวนแพะเข้าขุน 60 ตัว
น้ำหนักรวมเข้าขุน 780 ก.ก. น้ำหนักเฉลี่ย 13 ก.ก./ตัว
น้ำหนักรวมหลังขุน 1,620 ก.ก. น้ำหนักเฉลี่ย 27 ก.ก./ตัว
น้ำหนักที่เพิ่มเฉลี่ยต่อตัว 14 กก/ตัว
อัตราการเจริญเติบโตต่อวัน (ADG) = 160 กรัม/วัน
ราคาขาย=135 บาท/กิโลกรัม รวมรายได้ = 218,700 บาท/รุ่น เฉลี่ย = 3,645 บาท/ตัว

เงินลงทุน
ค่าตัวแพะที่ซื้อเข้าขุน 130 บาท/กก 780*130 = 101,400 บาท
ค่าอาหารข้นตลอดการขุน = 32,400 บาท เฉลี่ย 540 บาท/ตัว
ค่าอาหารหยาบตลอดการขุน = 11,640 บาท เฉลี่ย 194 บาท/ตัว
ค่ายาถ่ายพยาธิ ยาปฎิชีวะนและวิตามิน = 1,800 บาท เฉลี่ย 30 บาท/ตัว
ค่าแรง 2คน ๆละ 4,500 บาท/เดือน = 27,000 บาท เฉลี่ย 450 บาท/ตัว
รวมต้นทุน = 174,240 บาท เฉลี่ย 2,904 บาท/ตัว
กำไร = ราคาขาย-ต้นทุน = 218,700 -174,240 = 44,460 บาท เฉลี่ย 741บาท/ตัว

กำไรเฉลี่ยเดือนละ 14,820 บาท หรือ กำไร 26% เป็นรายได้ที่น่าพอใจสำหรับการลงทุน

ยังไม่ได้คิดมูลแพะที่ขายได้ถุงละ 20 บาท นะครับ เพราะเจ้าของจำไม่ได้ว่าขายไปกี่ถุง

ฟาร์มที่ 2 คุณนเรศ




ลักษณะคอกที่สร้างแบบง่ายๆครับ



มาดูต้นทุนกันครับ

จำนวนวันที่เลี้ยงขุน 45 วัน (ขุนระยะสั้น)
จำนวนแพะเข้าขุน 50 ตัว
น้ำหนักรวมเข้าขุน 850 ก.ก. น้ำหนักเฉลี่ย 17 ก.ก./ตัว
น้ำหนักรวมหลังขุน 1,250 ก.ก. น้ำหนักเฉลี่ย25 ก.ก./ตัว
น้ำหนักที่เพิ่มเฉลี่ยต่อตัว 8 กก/ตัว
อัตราการเจริญเติบโตต่อวัน (ADG) = 180 กรัม/วัน
ราคาขาย=135 บาท/กิโลกรัม รวมรายได้ = 168,750 บาท/รุ่น เฉลี่ย = 3,375 บาท/ตัว

เงินลงทุน
ค่าตัวแพะที่ซื้อเข้าขุน 130 บาท/กก 850*130 = 110,500 บาท
ค่าอาหารข้นตลอดการขุน = 13,500 บาท เฉลี่ย 270 บาท/ตัว
ค่าอาหารหยาบตลอดการขุน = 7,900 บาท เฉลี่ย 158 บาท/ตัว
ค่ายาถ่ายพยาธิ ยาปฎิชีวะนและวิตามิน = 1,500 บาท เฉลี่ย 30 บาท/ตัว
ค่าแรง 2คน ๆละ 4,500 บาท/เดือน = 13,500 บาท เฉลี่ย 270 บาท/ตัว
รวมต้นทุน = 146,900 บาท เฉลี่ย 2,938 บาท/ตัว
กำไร = ราคาขาย-ต้นทุน = 168,750 -146,900 = 21,850 บาท เฉลี่ย 437บาท/ตัว

กำไรเฉลี่ยเดือนละ 14,567 บาท หรือ กำไร 15% เป็นรายได้ที่น่าพอใจสำหรับการลงทุน

จะเห็นว่าไม่ว่าจะจับแพะขนาดเล็กฟาร์มแรก เลี้ยง 90 วัน หรือ ฟาร์มที่สองจับแพะตัวใหญ่ขุนสั้นๆ
ที่ 45 วัน จะได้กำไรใก้ลเคียงกัน แต่รอบการเลี้ยงฟาร์มที่สองจะเร็วกว่า และกำไรมากกว่านิดหน่อย
เสี่ยงด้านราคาน้อยกว่าฟาร์มแรก เพราะซื้อขายไว ออกแพะได้เร็ว เงินหมุนผ่านมือเร็วกว่าครับ

กรณีศึกษา

บางฟาร์มที่ขุนให้อาหารแต่เลี้ยงแบบไล่ให้หากินอาหารหยาบข้างทาง น้ำหนักจะเพิ่มน้อยกว่าอยู่คอก
แล้วหาอาหารหยาบและข้นมาให้ เพราะคุณภาพอาหารหยาบไม่สม่ำเสมอ แพะเสียพลังงานในการเดินหาอาหารไล่ไป ไล่กลับระยะทางเกือบ 15 กม ต่อวัน ช่วงแล้งบางทีน้ำหนักตัวแพะลด

ถ้าจะขุนควรขุนในคอกแล้วหาอาหารมาให้ครับ รับประกันความสำเร็จแน่นอน






อาหารหยาบใส่ให้กินทั้งวัน

ส่วนอาหารข้นให้แบ่ง 2 มือ เช้าเย็น



รางให้อาหารจะช่วยการจัดการด้านให้อาหารแพะได้ง่ายและมีประสิทธิภาพครับ








 ติดตาม FB ได้ที่






 

Create Date : 06 พฤศจิกายน 2554    
Last Update : 9 กุมภาพันธ์ 2556 23:30:48 น.
Counter : 30796 Pageviews.  

การเลี้ยงแพะแบบก้าวหน้า ตอนที่ 4 การจัดการสุขภาพและการดูแลแพะ

การจัดการลูกแพะแรกคลอด-หย่านม



จุดสำคัญ ที่ผู้เลี้ยงต้องเอาใจใส่คือ
1. ลูกแพะแรกคลอดควรได้รับนมน้ำเหลืองเพียงพอและรวดเร็ว ใน 1-18 ชั่วโมงแรกหลังคลอด ยิ่งได้รับนมเหลืองเร็วลูกแพะจะได้ภูมิต้านทานจากนมเหลืองมากกว่าชััวโมงท้ายๆ ลดการตายลูกแพะ
2. คอกสำหรับเลี้ยงลูกแพะต้องแห้งและสะอาด
3. รางน้ำ/อาหาร และน้ำ สำหรับลูกแพะต้องสะอาด
4. พยายามลดความเครียดต่างๆ เช่น สภาพอากาศ, ช่วงเปลี่ยนอาหาร, หย่านม, การขังแน่น ที่ก่อให้เกิดปัญหาปอดบวม หรือท้องเสีย
5.กรณีแม่แพะผอมให้นมน้อย หรือแม่แพะให้ลูกแฝด 2 หรือแฝด 3 ควรให้ลูกแพะสลับดูดนมแม่ และสมควรอย่างยิ่งเสริมนมลูกแพะด้วยนมผงเลี้ยงลูกวัว ประมาณ 200 ซีซี ต่อวัน จะลดอัตราการตายได้ นอกจากนั้นเสริมด้วยอาหารลูกแพะ เพื่อให้ลูกแพะหย่านมเร็ว

คุณสมบัตินมน้ำเหลือง
1. ลูกแพะแรกคลอด ร่างกายจะไม่มีภูมิคุ้มกันโรค
2. ระบบภูมิคุ้มกันจะเริ่มทำงาน เมื่อลูกแพะอายุ 3 สัปดาห์
3. นมน้ำเหลืองมีไขมัน, โปรตีน, แร่ธาตุ และวิตามินสูงกว่านมปกติ (สารอาหารต่างๆ และ
พลังงานสูง)
4. นมน้ำเหลืองมีสารภูมิคุ้มกันโรค (lg) ซึ่งจะถูกดูดซึมได้ดีภายใน 18 ชม. แรกเท่านั้น


การจัดการลูกแพะเกิดใหม่
1. ลูกแพะเกิดใหม่ให้จุ่มสายสะดือด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ (ไอโอดีน 2-7%)
2. กวาดเมือกต่างๆ ที่อุด – ปิดจมูกและปากเพื่อให้หายใจได้สะดวก
3. เช็ดตัวลูกแพะให้แห้ง (ปกติจะลุกยืนได้ภายใน 15 นาที)
4. ป้อนนมน้ำเหลืองให้เร็วที่สุดหลังคลอด ***(60-120 ซี.ซี.)
5. การถ่ายพยาธิ เริ่มเมื่ออายุได้ 30 วัน และอีกครั้ง 60 วัน (ตามสภาพอากาศ)
6. ปัญหาที่มักพบในลูกแพะ คือ ท้องเสีย, บิด





ปัญหาที่สำคัญของลูกแพะที่ผู้เลี้ยงมักเจอ

1. ลูกแพะอ่อนแอแรกคลอด สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากแม่แพะระยะท้องได้รับสารอาหารไม่เหมาะ
สม ส่งผลให้ลูกแพะที่คลอดไม่แข็งแรงและตายตั้งแต่แรกคลอด ถึง 3 วัน
แนวทางการป้องกันนั้น สามารถลดการสูญเสียของลูกแพะได้โดยใช้การจัดการที่ดีเพื่อให้แม่แพะอยู่
อย่างสบายและได้รับอาหารที่เหมาะสมจะทำให้แพะป่วยและเครียดน้อยที่สุด และอาจให้ยาบำรุงหรือวิตามิน
เสริมให้ในกรณีที่พบอาการผิดปรกติต่างๆ เช่น ป่วย , โทรม , ไม่กินอาหาร เป็นต้น ในส่วนของลูกแพะที่
อ่อนแอแรกคลอดนั้น ควรรักษาความอบอุ่นของร่างกายให้เป็นพิเศษและควรรีบป้อนกลูโคสให้ลูกแพะกิน
ประมาณ 10 - 20 ซีซี. หรืออาจผสมกับนมน้ำเหลืองด้วยก็ได้ อย่างไรก็ตามไม่มีวิธีใดที่สามารถช่วยลูกแพะ
ที่อ่อนแอแรกคลอดให้รอดได้100 %


2. ท้องเสีย เกิดได้จากหลายสาเหตุ
โรคท้องร่วง (Scours or Colibacillosis) อาจเกิดจากเชื้อที่มีเพียงชนิดเดียวหรือหลาย
ชนิดร่วมกันก็ได้ เชื้อที่สำคัญได้แก่ E.Coli , Salmonella , Chlamydia มักพบกับลูกแพะ ทำให้ลูกแพะตาย
เนื่องจากโลหิตเป็นพิษและร่างกายสูญเสียน้ำอย่างรวดเร็ว
t โรคบิด (Coccidiosis) เกิดจากเชื้อบิด(Coccidia) ซึ่งเป็นโปรโตซัว มีอยู่ด้วยกันหลาย
ชนิด ทำให้แพะเกิดอาการเบื่ออาหาร ถ่ายเหลว ถ้าเป็นรุนแรงอาจพบมูกเลือดปนในอุจจาระ
t โรคลำไส้อักเสบเป็นพิษ (Enterotoxemia) เกิดจากพิษของเชื้อ Clostridium
perfringens type C และ D พิษจะทำให้สัตว์อ่อนเพลีย, ท้องเสีย ในกรณีที่ได้รับพิษเข้าไปมากแพะจะตาย
อย่างรวดเร็ว


3. ท้องอืด (Bloat) เกิดจากการกินพืชต้นอ่อนๆ เป็นจำนวนมากเกินไป โดยเฉพาะยอดพืชที่เปียก
น้ำฝนหรือน้ำค้างตอนเช้า ทำให้เกิดฟองก๊าชขึ้นในกระเพาะแรก [Rumen] อย่างรวดเร็วซึ่งแพะไม่สามารถเรอ
ออกมาได้ ท้องด้านซ้ายจะขยายใหญ่ขึ้นผิดปรกติ แพะจะกระวนกระวาย หายใจไม่สะดวกและตายเนื่องจาก
หายใจไม่ออก


4. ปอดบวม (Pneumonia) อาการปอดบวมมักมีสาเหตุโน้มนำจากการที่สภาพอากาศเกิดการ
เปลี่ยนแปลง หรือเกิดความเครียดจากการเลี้ยงที่หนาแน่นจนเกินไป, การระบายอากาศที่ไม่ดี, ความชื้นสูง, ลม
โกรกหรือการสุขาภิบาลที่ไม่ดี ซึ่งเชื้อที่เป็นสาเหตุที่พบบ่อยได้แก่ Pasteurella haemolytica, Pasteurella
multocida type 11, Hemophilus spp. และ Straptococcus spp.

5. นิ่วในไตและกระเพาะปัสสาวะ (Urolithiasis) มักเกิดกับแพะเพศผู้ที่ได้รับอาหารข้นมาก หรือ
มีสัดส่วนของแคลเซียมและฟอสฟอรัสที่ไม่เหมาะสม อาหารสำหรับแพะต้องไม่มี ยูเรีย เป็นส่วนผสม

และ สูตรวิตามินแร่ธาตุต้องจำเพาะสำหรับแพะ ถ้าใช้อาหารโคเลี้ยงระยะยาวจะเกิดปํญหาโดยเฉพาะ
พ่อแม่พันธุ์แพะ ท่านผู้เลี้ยงต้องตระหนักถึงข้อพึงระวังข้อนี้ครับ
 การรักษานิ่วแพะ งดให้อาหารข้น ให้แพะกินหญ้าสดหรืออาหารหยาบอย่างเดียวจนกว่าจะมีอาการดีขึ้น จึงค่อยๆ เพิ่มอาหารข้นสำหรับแพะโดยเฉพาะ พร้อมกับกรอกสารละลาย Ammoium Chloride 5 กรัม / น้ำ1 ลิตร แบ่งกรอกครั้งละ 100 ซีซี. วันละ3 – 4 ครั้ง และอาจให้ยาปฏิชีวนะ เพื่อลดการอักเสบติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ
การป้องกัน ในกรณีที่พบปัญหาในฝูง สามารถทำได้ 2 วิธีคือ
- ละลาย Ammonium Chloride 3- 5 กรัม / น้ำ 1 ลิตร ให้แพะกินตลอดหลังจากที่ลูกแพะกิน
อาหารได้ 150-200 กรัม/ตัว/วัน หรือที่อายุ 6-7 สัปดาห์
- ผสม Ammonium Chloride 1% ลงในส่วนผสมของอาหารข้น เพื่อใช้เลี้ยงแพะเพศผู้

6. พยาธิ (Parasite) พยาธิที่เป็นปัญหาสำคัญ คือ พวกพยาธิตัวกลมดูดเลือดในกระเพาะอาหาร ได้แก่
Haemonchus sp, Ostertogia sp. และ Trichostronglus sp. และอีกพวกคือ พยาธิตัวกลมดูดเลือดในลำไส้
ได้แก่ Trichostrongylus sp, Nematodirus sp, Bunostomum sp. และ Oesophagostomum sp.


โรคระบาดที่สำคัญของแพะ

1บรูเซลโลซีส (Brucellosis) เกิดจากเชื้อ Brucella melitensis
หรือโรคแท้งติดต่อ ผู้ที่จะซื้อแพะมาขยายพันธุ์ ควรตรวจเลือดและปลอดจากโรคนี้ ถ้ามีในฝูงเกิดการแพร่โรค อาจต้องกำจัดแพะทิ้งทั้งฝูงขาดทุนได้ครับ
2ข้อขาและสมองอักเสบ (Caprine Arthritis Encephalitis : CAE) เกิดจากเชื้อ Maedi-visna viruses
3 ปากและเท้าเปื่อย (Food and Mouth Disease) ฉีดวัคซีน 2-3 ครั้งต่อปี
4 วัณโรคเทียม (Paratuberculosis) เกิดจากเชื้อ Corynebacterium pseudotuberculosis


แนวทางการป้องกันโรคแพะ

สำหรับการป้องกันโรคแพะนั้นแนวทางที่สำคัญคือ การออกแบบวางผังฟาร์มให้ถูกต้องตามหลัก
วิชาการ รวมทั้งการวางระบบการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคทั้งคนและยานพาหนะที่เข้าฟาร์มเพื่อลดโอกาส
ของการนำเชื้อโรคจากภายนอกเข้าสู่ภายในฟาร์มให้มากที่สุด ส่วนภายในฟาร์มนั้นควรตรวจสุขภาพสัตว์เป็น
ประจำทุกวัน รวมถึงการเฝ้าระวังข่าวการแพร่ระบาดของโรคสัตว์ในพื้นที่ใกล้เคียง และจัดโปรแกรมการตัด
แต่งกีบ, โปรแกรมถ่ายพยาธิและโปรแกรมวัคซีน พร้อมทั้งปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ดังตัวอย่าง

1. ตัดแต่งกีบทุกๆ 3 เดือน เพื่อรักษาสุขภาพกีบเท้าของแพะ
2. โปรแกรมการถ่ายพยาธิ
>แพะเล็กอายุ 1-3เดือน ถ่ายพยาธิเดือนละ 1 ครั้ง
>อายุ 4-8 เดือน ถ่ายพยาธิ 1 - 1.5 เดือน/ครั้ง
>อายุมากกว่า 8 เดือน ถ่ายพยาธิ 2-3 เดือน/ครั้ง
3. ทำวัค ซีน ป้อ ง กัน โ ร ค ป า ก แ ล ะ เ ท้า
เปื่อย ไทป์โอ, เอ และเอเชียวัน [Foot and Mouth
Disease] ครั้งแรกที่อายุ 3-4 เดือนและทำซ้ำทุกๆ 4-6 เดือน


จะเห็นว่าการดูแลแพะไม่ยากจนเกินไป ถ้าเราเอาใจส่แพะปัญหาด้านสุขภาพจะเกิดไม่มาก ถึงเกิดถ้าเราสังเกตพบเร็ว จะแก้ไขปัญหาได้เร็วลดความเสียหาย นั่นหมายถึงกำไรนั่นเองครับ






ติดตาม FB ได้ที่






 

Create Date : 18 กันยายน 2554    
Last Update : 9 กุมภาพันธ์ 2556 23:32:55 น.
Counter : 21381 Pageviews.  

การทำแปลงหญ้าเลี้ยงสัตว์

ในการเลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น โค กระบือ แพะ แกะ กวาง ม้า ซึ่งเป็นสัตว์ต้องใช้หญ้าหรือพืชอาหารสัตว์ในการเลี้ยง ซึ่งเกษตรกรจำเป็นต้องทำเพื่อลดต้นทุน เพราะอาหารหยาบที่หาง่าย คือ ฟางข้าว ซึ่งมีคุณภาพต่ำมีโปรตีนเพียง 2-3 % และราคาแพงฟ่อนละ 30-35 บาท น้ำหนักก็อย่ที่ 15-18 กก ต้นทุนที่ซื้อก็ 2 บาทกว่า แต่คุณภาพสู้พืชอาหารสัตว์ไม่ได้ด้วยประการทั้งปวง ฟางมีข้อดี หาง่าย เก็บง่าย ชาววัวนมเปรียบฟางเสมือน มาม่า ให้สัตว์กินกันตาย สัตว์ที่กินฟางอย่างเดียวจะผอม (ถ้าเป็นคนจะเป็นสิ่งดี เพราะเราหาสิ่งที่กินแล้วน้ำหนักลด ทั้งกาแฟลดน้ำหนัก และอีกสารพัดครับ) แต่ถ้าเป็นสัตว์คนเลี้ยงก็ขาดทุน สำหรับท่านที่เลี้ยงสัตว์ควร
มาพิจารณาทำแปลงหญ้า เพื่อลดต้นทุนการเลี้ยงของท่านครับ

พืชอาหารสัตว์แบ่งออกเป็น 2 จำพวกใหญ่ๆ คือ
1. หญ้า (มีอยู่ทั่วไปเป็นหมื่นชนิด แต่เอามาเลี้ยงสัตว์ได้ไม่กี่ชนิดครับ)
2. พืชตระกูลถั่ว (เป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญครับ)

การจะทำแปลงหญ้าต้นทุนหลักๆ คือค่าเตรียมดิน




ค่าเตรียมหลักๆ คือ ค่าไถบุกเบิก ไร่ละ 400-600 บาท
ค่าไถแปร หรือ บางที่เรียกไถพรวน ไร่ละ 300-400 บาท





การไถพรวน หญ้าบางชนิดต้องยกร่อง ปลูก เช่นหญ้ากินนี หญ้าเนเปีย




ต่อมาคือค่าเมล็ดหญ้า ใช้ 3-4 กก/ไร่ ราคากิโลกรัมละ 120-150 บาท
จะมีค่าใช้จ่ายค่าเมล็ดหญ้าประมาณ 600 บาท/ไร่ แต่หญ้าบางชนิดต้องใช้ ลำต้นปลูก หรือ ใช้ลำต้นมาชำก่อนปลูก
ที่สำคัญต้องมีแหล่งน้ำรดหลังตัดหญ้าครับ ใก้ลชลประทานจะดีมากครับ จะได้ไม่มีปัญหาช่วงหน้าแล้่ง ปกติหญ้าทั่วไปจะใชัเวลาตัดประมาณ 45 วันต่อครั้ง ก่อนที่จะออกดอก เป็นช่วงที่หญ้ามีคุณค่าอาหารสูงสุด หลังจากนั้นจะต้องรดน้ำ ให้ปุ๋ย เพื่อตัดใรรอบต่อไป ใน 1 ปี เราจะตัดหญ้าได้ 365 /45 = 8 รอบ




ปุ๋ยหลักที่ใช้ในการทำแปลงหญ้า คือ ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 หรือ 21-0-0
ใช้ช่วงแรกเท่านั้นเพื่อความประหยัด ต่อมาควรใช้มูลสัตว์มาหมุนเวียนแทนการใช้ปุ๋ยจะช่วยลดต้นทุน และทำให้สภาพดินดีครับ

ส่วนรายละเอียดอื่นๆผมจะเอามาเขียนให้ทราบในภายหลังครับ
วันนี้เรามาดูชนิดของหญ้าต่างๆที่ปลูกเพื่อเลี้ยงสัตว์ในเมืองไทยกันดีกว่าครับ

>>>เริ่มจากถั่วที่ใช้เลี้ยงสัตว์ก่อนครับ ข้อดีของถั่วคือ คุณค่าอาหารสัตว์สูงกว่าหญ้า โดยเฉพาะโปรตีน ข้อเสีย ปลูกยาก แมลงชอบกินใบมากกว่าหญ้า ผลผลิตต่อไร่น้อยกว่าหญ้า ทางราชการเลยแนะนำปลูกถั่วร่วมกับหญ้า เวลาตัดไปให้สัตว์กินจะได้ทั้งหญ้าและถั่ว ครับ

ต่อไปจะเน้นรูปครับ (ขอบคุณสถานีอาหารสัตว์สตูล ที่ปลูกโชว์ในงานแพะแห่งชาติ ผมได้ไปถ่ายตอนงานแพะแห่งชาติเอามาฝากเพื่อนๆครับ)


1




2


3


4.


5


6


7



>>ต่อมาเป็นหญ้าที่ใช้ในการเลี้ยงสัตว์

สุภาษิตโบราณ >>โคแก่ ชอบกินหญ้าออ่น<<
ถูกต้องแล้วครับ ตามหลักโภชนะศาสตร์ หญ้าออ่นมีโปรตีนสูง
ไฟเบอร์ต่ำ ย่อยง่าย ดังนั้นไม่ว่าโคแก่หรือโคหนุ่ม ย่อมชอบหญ้าอ่อนเสมอครับ ดังนั้นถ้าเอาหญ้าแก่ สังเกตง่ายๆคือ หญ้าที่ออกดอกแล้ว
จะกินยาก เหนียว คุณค่าทางอาหารต่ำ ไม่ว่าวัวหรือคนไม่ชอบอะไรที่แก่ครับ

ข้อดีของหญ้า ผลผลิตต่อไร่สูง ทนแล้งและทนน้ำขัง ได้ดีกว่าพืชตระกูลถั่ว ดูแลรักษาง่ายไม่มีแมลงรบกวน ไม่ต้องปลูกบ่อยๆ เริ่มกันที่

1







2


3


4


5


6


7


8


9


10


11


12


13


14


15


16


17


18


19


20


21


22


23


24


25


26


27


28



29


30


31


32


33


34



เอามาฝากเกษตรกรและผู้ที่สนใจครับ




ติดตาม FB ได้ที่






 

Create Date : 14 กันยายน 2554    
Last Update : 9 กุมภาพันธ์ 2556 23:36:51 น.
Counter : 25660 Pageviews.  

1  2  3  4  

แจ้ห่ม47
Location :
ลำปาง Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 109 คน [?]




ที่อยู่หลัก ลพบุรี ลำปาง และ ปทุมธานี
ที่อยู่ที่อื่นๆ ตามเขตการขายที่ดูแล ภาคตะวันตก ภาคใต้และ ภาคอิสานตอนบน (ทัวร์นกขมิ้นทุกเดือน เนื่องจากดูแลฝ่ายขายครับ ไม่ได้หนีหนี้ 555)
ภาพทุกภาพไม่สงวนลิขสิทธิ์ ถ้านำไปเผยแพร่เพื่อ เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมโดยไม่ผิดกฏหมายหรือศีลธรรม เพื่อนๆสามารถนำไปใช้ได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาติ ไม่หวงครับ ขอกันกินมากกว่านั้นแต่ขอให้อ้างอิงแหล่งที่มาของรูปด้วยครับ ขออภัยหากตอบท่านช้า หรือเข้าไปเม้นต์ท่านช้า ผมใช้เนตผ่านมือถือครับช้ามากๆขออภัย และ หากผิดพลั้งไป ต้องขออภัยเพราะความรู้ต่ำ
New Comments
Friends' blogs
[Add แจ้ห่ม47's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.