ชีวิตพอเพียงกับการเลี้ยงกล้วยไม้
Group Blog
 
All Blogs
 

การใส่ปุ๋ยยางพาราและปาล์มน้ำมัน

วันนี้เอาตารางใส่ปุ๋ยยางพาราและปาล์มน้ำมันมาฝากผู้ที่เริ่มทำสวนใหม่ๆ ผมเห็นว่าจดจำได้ง่ายและน่าจะเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆครับ
ถามว่าปุ๋ยเคมีจำเป็นแค่ไหน ตอบเลยได้ว่าจำเป็นมากในการปลูกยางและปาล์มน้ำมัน ถามว่าจะลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้ไหมก็ตอบว่าลดได้โดย การใช้ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักร่วมกับปุ๋ยเคมี ซึ่งจะช่วยปรับคุณภาพดินให้ดีขึ้นและการใช้ปุ๋ยเคมีให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตามที่ได้เรียนมาคือ ปุ๋ยเคมีจะละลายเร็วให้แร่ธาตุทีเป็นประโยชน์ได้เร็ว และให้ปริมาณมากในช่วงสั้นๆเปรียบเสมือนน้ำป่า มาเร็วไปเร็ว ส่วนปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ แร๋ธาตุที่เป็นประโยชน์จะอยู่ในรูปสารประกอบอินทรีย์ มันจะค่อยสลายตัวจากการย่อยของจุลินทรีย์ และพืชจะค่อยๆดูดซึมมาใช้เหมือนน้ำในเขื่อนค่อยๆปล่อยเอามาใช้ ถ้าเรารู้จักประยุกต์หลักการเอามาใช้ท่านจะสามารถลดต้นทุนการใช้ปุ๋ย โดยยังได้ผลผลิดและสภาพดินดีขึ้น แต่เกษตรกรมักจะเอาได้ผลเร็ว จึงมองข้ามปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรย์





เป็นคำแนะนำของผู้ผลิตปุ๋ยตราเรือใบไวกิ้งครับ ลองเอาไปประยุกต์ดู
เป็นการให้ปุ๋ยยางพาราตั้งแต่ปลูกจนกรีดครับ





แถมด้วยการให้ปุ๋ยปาล์มน้ำมัน ดูเหมือนว่าจะให้มากกว่ายางพารา





ถ้าราคายางพารา ปาล์มน้ำมัน ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง และพืชอื่นๆ ราคาเป็นแบบนี้สัก 5 ปี เกษตรกรก้ไม่ใช่คนจนอีกต่อไปแล้วครับ

>>>>>>>>>>>
ท่านที่จะจำหน่ายกล้ายาง เขียนลงBlogเสนอขายกล้ายางได้เต็มที่ แต่ผมขอ 4 ข้อ
1. เบอร์โทรศัพท์
2. E-mail
3. ที่อยู่
4.ราคา(ต่อต้น ค่าขนส่ง)

>>> ถ้ารายใดข้อมูลคลุมเครือ ก็ผ่านเลยครับ เลือกรายที่ให้ข้อมูลชัดเจนดีกว่าครับ

>>>เพื่อป้องกันการหลอกลวง ผู้ที่จะซื้อกล้ายางอย่ามัดจำหรือจ่ายเงินจนกว่าจะได้กล้ายาง หรือตกลงกันด้วยความมั่นใจทั้งสองฝ่าย จึงชำระเงินเพราะ Blog เป็นแค่สื่อกลางไม่ได้รู้เห็นกับผู้ที่เขียนลงบล็อกเสนอขายกล้ายางครับ ผู้เขียนยินดีเป็นสื่อกลางให้ผู้ซื้อพบกับผู้ขายในราคายุติธรรมครับและข้อความใดไม่เหมาะสมผมขออนุญาตลบโดยไม่แจ้งให้ผู้โพสต์ทราบนะครับ

>>>หรือใครต้องการซื้อกล้ายางพาราก็ให้เบอร์โทรศัพท์ไว้
หรือฝาก E-mail ไว้ในกระทู้เพื่อให้ผู้จำหน่ายกล้าติดต่อกลับก็ได้ครับ



>>>>>>>>> >>> ข่าวประชาสัมพันธ์<<<<<<<<<<<<<<<

สำหรับผู้ที่ต้องการกรดฟอร์มิกซ์ที่ปรับสตูรในการผลิตยางแผ่นหรือยางแท่ง มีผลิตภัณฑ์ของเพื่อนที่เรียนมาด้วยกันสมัยอยู่ ม.เกษตร กำแพงแสน ที่ฝากมาแนะนำเพื่อนชาวสวนยางดังนี้ครับ

คุณลักษณะ: เป็นกรดฟอร์มิกที่ปรับสูตร(กรดฟอร์มิกซ์+สารปรับคุณภาพ) ใช้ในการผลิตยางแผ่นในอัตราส่วนที่เท่าเดิมเหมือนที่เคยใช้

ข้อดี: ลดการสูญเสียเนื้อยางในการทำยางแผ่นที่สูญหายไปในขั้นตอนการจับตัวของน้ำยางและขั้นตอนการรีดแผ่น และเพิ่มคุณภาพของยางแผ่นที่ผลิต

ประโยชน์ที่จะได้รับ:
1.ได้เนื้อยางเพิ่มขึ้น 8-10 % เนื่องจากลดการสูญเสียเนื้อยาง ในขบวนการผลิตยางแผ่น และยางแท่ง
2.ลดการเกิดเชื้อราของยางแผ่นกรณีช่วงการทำยางแผ่น ในช่วงที่ฝนตกติดต่อกันหลายวันและมีความชี้นในอากาศสูง
3.ให้เนื้อยางใส และมีสีเหลืองอำพัน ขายได้ราคา
4. ต้นทุนของการใช้ 1.3 บาท/แผ่น ไม่ถึง 1% ของราคายาง1 แผ่น
เมื่อเทียบกับเนื้อยางที่เพิ่มขึ้น แล้วยังไงก็น่าสนใจครับ




*****หมายเหตุ : ไม่มีกล้ายางพาราขายนะครับ *****

>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>




 

Create Date : 23 มกราคม 2554    
Last Update : 1 พฤษภาคม 2555 13:10:42 น.
Counter : 28715 Pageviews.  

คาดราคายางพาราพุ่งแตะ 200 บาท/กก.

สวนยางใต้เฮถ้วนหน้า ราคายางดิบทะลุ กก.ละ 162 บาท รมว.เกษตรฯ ชี้ ต้นเหตุเกิดจากอุปทานมีน้อยกว่าความต้องการ สกย.คาดแนวโน้มแตะ กก.ละ 200 บาท จับตาถุงยางอนามัย ราคาพุ่งตาม ผวาลามคุมกำเนิด-โรคเอดส์แพร่ได้ง่ายขึ้น

นายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงสถานการณ์ด้านราคาของยางพาราที่ปรับตัวสูงขึ้นในขณะนี้ โดยระบุว่า ในสัปดาห์นี้ราคายางยังคงปรับตัวสูงขึ้นในทุกตลาด เนื่องจากมีผลผลิตยางออกสู่ตลาดน้อย จากการที่ยังคงมีฝนตกชุกในแหล่งผลิตอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ความต้องการซื้อสูง เนื่องจากผู้ประกอบการในประเทศเร่งซื้อยางเพื่อรอการผลิต หลังจากเปิดโรงงานในช่วงเทศกาลวันหยุดยาว และผู้ส่งออกเร่งซื้อยางเก็บเข้าสต็อกเพื่อรอส่งมอบตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้า

โดยราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์เฉลี่ยกิโลกรัมละ 161.73 บาทสูงขึ้นจาก 153.95 บาท ในสัปดาห์ที่แล้ว หรือสูงขึ้น 3.79% ขณะที่ราคายางแผ่นดิบที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ อยู่ที่กิโลกรัมละ 144.06 บาท สูงขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมากิโลกรัมละ 8.24 บาท

สำหรับการประมูลซื้อขายยางพาราที่ตลาดกลางยางพาราทั้ง 3 แห่งในภาคใต้ พบว่าทำสถิติราคาใหม่ขึ้นสูงเป็นประวัติการณ์ โดยช่วง 3 สัปดาห์ หลังปีใหม่ ปรับตัวขึ้นไปแล้ว 21.98 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) โดยที่ตลาดกลางสุราษฎร์ธานี ราคายางแผ่นดิบได้สูงสุดในภาคใต้ กิโลกรัมละ 162.85 บาท ส่วนที่ตลาดกลางนครศรีธรรมราชราคากิโลกรัมละ 162.69 บาท และตลาดกลาง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ราคากิโลกรัมละ 161.66 บาท

นายพิริยะ เอกวาณิช รองผู้อำนวยการ สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) กล่าวว่า ขณะนี้ราคายางพาราอยู่ในระดับที่สูง ล่าสุด ราคายางแผ่นดิบพุ่งทะลุ 161 บาท เป็น 162 บาทต่อกิโลกรัมไปแล้ว และคาดว่าจะปรับสูงอีกต่อเนื่อง เนื่องจากตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์จนถึงเดือนเมษายนนี้ ผลผลิตยางจะออกสู่ตลาดน้อยลง เพราะเข้าสู่ฤดูการผลัดใบ โดยจะเริ่มจากภาคตะวันออก ไปภาคใต้ตอนบน ภาคใต้ตอนล่างทั้งนี้ จากที่หลายฝ่ายคาดการณ์มีแนวโน้มว่าราคายางแผ่นดิบจะพุ่งทะลุ 200 บาทต่อกิโลกรัม ในเร็วๆ นี้

นายสมมาตร แสงประดับ หัวหน้ากลุ่มวิจัยเสถียรภาพราคายาง สำนักงานตลาดกลางยางพาราสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า ระยะนี้มีเกษตรกรนำยางมาขายประมาณวันละ 10 คันรถกระบะมูลค่าคันละ 200,000 บาท ส่งผลให้เงินหมุนเวียนรับซื้อยางของตลาดกลางที่มีอยู่วันละ 11 ล้านบาท ไม่เพียงพอยังขาดอีก 10 ล้านบาท จึงต้องให้ผู้ประมูลยางเร่งนำมาจ่ายให้ตลาด

"ปีนี้ยางราคาสูงก่อนช่วงสงกรานต์ พอหน้าแล้งอาจจะสูงขึ้นกว่านี้อีก เพราะเป็นช่วงที่ยางผลัดใบประมาณเดือนพฤษภาคม น้ำยางจะออกน้อยลง ส่วนที่ทางภาคอีสาน ต้นยางขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 40 เซนติเมตร เกษตรกรเร่งกรีดกันแล้วทำให้ผลผลิตลดลง 40% แล้ว"

ที่มา: จากผู้จัดการออนไลน์ 22 มกราคม 2554




สว่นของผมเริ่มนับหนึ่งครับ ใครมีทีดินและสภาวะแวดล้อมเหมาะกับการปลูกยางอย่ามองข้ามอาชีพนี้นะครับ

>>>>>>>>>

ท่านที่จะจำหน่ายกล้ายาง เขียนลงBlogเสนอขายกล้ายางได้เต็มที่ แต่ผมขอ 4 ข้อ
1. เบอร์โทรศัพท์
2. E-mail
3. ที่อยู่
4.ราคา(ต่อต้น ค่าขนส่ง)

>>> ถ้ารายใดข้อมูลคลุมเครือ ก็ผ่านเลยครับ เลือกรายที่ให้ข้อมูลชัดเจนดีกว่าครับ

>>>เพื่อป้องกันการหลอกลวง ผู้ที่จะซื้อกล้ายางอย่ามัดจำหรือจ่ายเงินจนกว่าจะได้กล้ายาง หรือตกลงกันด้วยความมั่นใจทั้งสองฝ่าย จึงชำระเงินเพราะ Blog เป็นแค่สื่อกลางไม่ได้รู้เห็นกับผู้ที่เขียนลงบล็อกเสนอขายกล้ายางครับ ผู้เขียนยินดีเป็นสื่อกลางให้ผู้ซื้อพบกับผู้ขายในราคายุติธรรมครับและข้อความใดไม่เหมาะสมผมขออนุญาตลบโดยไม่แจ้งให้ผู้โพสต์ทราบนะครับ

>>>หรือใครต้องการซื้อกล้ายางพาราก็ให้เบอร์โทรศัพท์ไว้
หรือฝาก E-mail ไว้ในกระทู้เพื่อให้ผู้จำหน่ายกล้าติดต่อกลับก็ได้ครับ





>>>>>>>>> >>> ข่าวประชาสัมพันธ์<<<<<<<<<<<<<<<

สำหรับผู้ที่ต้องการกรดฟอร์มิกซ์ที่ปรับสตูรในการผลิตยางแผ่นหรือยางแท่ง มีผลิตภัณฑ์ของเพื่อนที่เรียนมาด้วยกันสมัยอยู่ ม.เกษตร กำแพงแสน ที่ฝากมาแนะนำเพื่อนชาวสวนยางดังนี้ครับ

คุณลักษณะ: เป็นกรดฟอร์มิกที่ปรับสูตร(กรดฟอร์มิกซ์+สารปรับคุณภาพ) ใช้ในการผลิตยางแผ่นในอัตราส่วนที่เท่าเดิมเหมือนที่เคยใช้

ข้อดี: ลดการสูญเสียเนื้อยางในการทำยางแผ่นที่สูญหายไปในขั้นตอนการจับตัวของน้ำยางและขั้นตอนการรีดแผ่น และเพิ่มคุณภาพของยางแผ่นที่ผลิต

ประโยชน์ที่จะได้รับ:
1.ได้เนื้อยางเพิ่มขึ้น 8-10 % เนื่องจากลดการสูญเสียเนื้อยาง ในขบวนการผลิตยางแผ่น และยางแท่ง
2.ลดการเกิดเชื้อราของยางแผ่นกรณีช่วงการทำยางแผ่น ในช่วงที่ฝนตกติดต่อกันหลายวันและมีความชี้นในอากาศสูง
3.ให้เนื้อยางใส และมีสีเหลืองอำพัน ขายได้ราคา
4. ต้นทุนของการใช้ 1.3 บาท/แผ่น ไม่ถึง 1% ของราคายาง1 แผ่น
เมื่อเทียบกับเนื้อยางที่เพิ่มขึ้น แล้วยังไงก็น่าสนใจครับ




*****หมายเหตุ : ไม่มีกล้ายางพาราขายนะครับ *****


>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>




 

Create Date : 22 มกราคม 2554    
Last Update : 1 พฤษภาคม 2555 13:11:08 น.
Counter : 1032 Pageviews.  

ต้นกล้ายางพารา สำหรับเกษตรกรมือใหม่

ปัญหาสำคัญของผู้ที่จะปลูกยางพาราตอนนี้คือปัญหากล้ายางพาราแพงมากและหายาก ผมเริ่มสนใจในการปลูกยางพาราเช่นกัน และยังมีอีกหลายท่านก็สนใจอยากปลูกแต่มีคำถามเกี่ยวกับแหล่งซื้อขายกล้ายาง เช่น

1.กล้ายางพารา ตอนนี้ราคาเท่าไหร่ (กล้าตาเขียว กล้ายางแบบฉัตรเดียว
กล้ายางแบบสองฉัตร)
2. แหล่งซื้อที่ใกล้ที่สุด ในจังหวัดของท่าน
3. มีบริการจัดส่งขั้นต่ำกี่ต้น ราคารวมค่าจัดส่งเท่าไหร่ มีสาขาเปิดในจังหวัด หรือ จังหวัดใกล้กันหรือไม่
4. มีพันธุ์อะไรบ้าง
5. พันธุ์จากแหล่งที่มีใบรับรองของกรมวิชาการเกษตรหรือไม่
6.คำถามอื่นๆที่ผู้ปลูกใหม่ยังไม่รู้ ที่อยากถามเจ้าของสวนที่ขายกล้ายาง
ึ7. แผนที่สวน หรือ จุดสำคัญก่อนถึงสวน






ผมเลยเขียนบล็อกนี้เพื่อเป็นสื่อกลางระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายให้รู้จักกัน
โดยทุกท่านสามารถ โพสแนะนำสวนของท่าน กรณีเป็นผู้ขาย หรือโพสความต้องการของท่านกรณีเป็นผู้ซื้อ เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันจะได้ไม่เสียเวลาทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย บนความจริงใจที่จะไม่เอาเปรียบกัน

การปลูกยางผมว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้ปลูก ต่อสภาพแวดล้อม และเศรษฐกิจของชาติ เป็นนโยบายของรัฐบาลผมก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมอะไรที่พอเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นผมต้องทำครับ





ผมขอตั้งกติกาสำหรับผู้ที่จะขายและจะซื้อ ง่ายๆ เพื่อความสบายใจของผู้ซื้อผู้ขายง่ายๆดังนี้

1. ชื่อผู้ที่จะโพส (ขอเป็นชื่อ-นามสกุลด้วยจะดีมากครับ) ชื่อสวน ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้
1. เบอร์โทรศัพท์ ของผู้โพส
2. E-mail
3. พันธุ์ของกล้ายาง (ถ้ามีราคาด้วยก็จะดีมากครับ)
4. ค่าใช้จ่าย ค่าขนส่ง หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆควรบอกให้หมด
5. ระยะเวลาที่สวนเริ่มมีต้นกล้า ช่วงเดือนไหนของปี
ุ6.จำนวนสาขาที่มี อยู่ในแต่ละจังหวัด


ผมขอให้ท่านใช้เวทีนี้ให้เป็นประโยชน์ต่ออาชีพ สวนยางพาราที่กำลังเป็นยุคทองในขณะนี้ และผมขออณุญาติลบข้อมูลที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมโดยไม่แจ้งให้ท่านทราบนะครับ

ขอให้ทุกท่านประสพผลสำเร็จในอาชีพยางพารา อาชีพที่พอจะสัมผัสกับคำว่า ทำเกษตรก็เป็นเศรษฐีได้

ล่าสุดสืบราคากล้ายางฉัตรเดียวอยู่ที่ 30 บาท/ต้น ต้องสั่งจอง ยังไม่มีใครรู้ว่าผลิตได้เท่าไหร่ในปีนี้กล้าพอหรือไม่ และมีการปลูกเพิ่มขึ้นหรือไม่ในพื้นที่ปลูกยางเก่า หรือมีการส่งออกไปลาวหรือพม่ามากน้อยเพียงไรก็ได้แต่คาดเดา พ่อค้ากล้ายางก็ว่าขาด คนปลูกก็รอดูราคากล้าถ้าแพงมาก เขาก้ยังไม่ปลูกเพราะ ปลูกข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง หรือพืชไร่อื่นๆก็มีการประกันราคาจากรัฐบาล ผมก็คิดว่าเกษตรกรรายใหม่ก็ลังเลพอสมควร ส่วนเกษตรกรในแหล่งพื้นที่ปลูกใหม่ที่รัฐบาลส่งเสริม เช่น ภาคเหนือ ภาคอิสาน ภาคกลางบางส่วน ผมว่ารอความชัดเจนจากรัฐบาลว่าจะมีนโยบายส่งเสริมเช่นไร ปลูกพืชไร่ก็ได้ราคาครับ รอดูความชัดเจน อย่ารีบร้อนปลูกครับ


กล้ายางสวยๆที่มีคนสั่งผลิตที่ ริมอ่างเก็บน้ำดอกราย อ.นิคมพัฒนา จ.ระองแบบปลูกในถุง




ติดตาในถุงคนละแนวทางกับกล้าทางใต้ซึ่งถุงจะแคบยาว







ข่าวโครงการ ส่งเสริมการปลูกยางพาราพื้นที่ใหม่ 800,000 ไร่ แถลงข่าวโดย นายศุภชัย โพธิ์สุ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการสร้างเสถียรภาพราคายางพารา
ได้คาดคะเนไว้ว่าในปี 2563 ความต้องการใช้ยางธรรมชาติของโลกจะอยู่ที่ 13.8 ล้านตัน โดยขณะนี้มีการผลิตอยู่ที่ 12.4 ล้านตัน หมายความว่าปริมาณการใช้ยางจะมากกว่าการผลิต ทางคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ และกระทรวงเกษตรฯ จึงได้ทำโครงการปลูกยางพารา800,000 ไร่ โดยมีเป้าหมายเน้นไปที่เกษตรกรรายย่อยที่มีที่ดินทำกินเป็นของตัวเองอย่างน้อย 2 ไร่ และไม่เคยมีสวนยางมาก่อน
โดยดำเนินการตาม พ.ร.บ.กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง มาตรา 21 ทวิ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ดำเนินการส่งเสริมปลูกยางในพื้นที่ใหม่มาแล้ว 2 ระยะ ประสบความสำเร็จอย่างมาก
โครงการล่าสุดจึงเป็นการส่งเสริมการปลูกยางแห่งใหม่ ระยะที่ 3 มีขอบเขตการดำเนินงานรวม 3 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 2554-2556 มีเป้าหมายส่งเสริมปลูกยางพันธุ์ดีในเขตพื้นที่ที่เหมาะสม แบ่งเป็นภาคเหนือ 150,000 ไร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 500,000 ไร่ ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้ 150,000 ไร่

สร้างรายได้ให้เกษตรกรได้ไม่ต่ำกว่า 160,000 ราย คิดเป็นมูลค่ารายได้ที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยอยู่ที่ 112,000-224,000 บาท/ราย/ปี ได้มอบหมายหน่วยงานในสังกัด ได้แก่ สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) องค์การสวนยาง (อสย.) และกรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้นำยุทธศาสตร์ยางพารามาดำเนินการอย่างจริงจัง โดยเฉพาะเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเฉลี่ยทั้งประเทศจาก 278 กก./ไร่/ปี เป็น 306 กก./ไร่/ปี ให้ได้ในปี 2556 ตลอดจนทำโครงการสร้างครูยาง จำนวน 12,000 คน มาช่วยถ่ายทอดความรู้หลักสูตรต่างๆ เกี่ยวกับการทำสวนยางตั้งแต่การดูแลสวนยางไปจนถึงการกรีดยางอย่างถูกต้อง

ขณะนี้มติคณะรัฐมนตรีอนุมัติงบกลางให้ในวงเงิน 580.5 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในเรื่องวัสดุปลูก โดยกำหนดเป้าหมายปี 2554 ไว้ 200,000 ไร่ ที่เหลือจะดำเนินการในปีต่อไป ดังนั้น เกษตรกรที่ต้องการเข้าร่วมโครงการ ขอให้เตรียมความพร้อมเรื่องหลักฐานที่ดินทำกินของตัวเองที่ถูกต้องไม่น้อยกว่า 2 ไร่ และเป็นพื้นที่ที่ไม่เคยมีสวนยางมาก่อน ทั้งนี้ คาดว่าประมาณกลางเดือนมกรคมนี้ ทาง สกย. จะเปิดรับสมัครเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ ซึ่งจะประกาศให้ทราบอีกครั้ง

ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรฯ กาหนดจะแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ ประมาณวันที่ 14 มกราคม 2554 และประชาสัมพันธ์ทาความเข้าใจกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ พร้อม ๆ กับ จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการดาเนินโครงการ เช่น พันธุ์ยาง ปุ๋ย และอื่น ๆ เพื่อเตรียมพร้อมสาหรับการเปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ ประมาณวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554 ทั้งนี้ สกย.จะดาเนินการตามขั้นตอนการตรวจสอบคุณสมบัติ สารวจรังวัด และอนุมัติให้เข้าร่วมโครงการต่อไป คาดว่าจะอนุมัติเกษตรกรเข้าร่วมโครงการได้ประมาณต้นเดือนมีนาคม 2554เป็นต้นไป

ภายหลังคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดาเนินโครงการปลูกยางพาราในที่แห่งใหม่ ระยะที่ 3 พ.ศ. 2554 – 2556 รวม 800,000 ไร่ ตาม พ.ร.บ.กองทุนสงเคราะห์การทาสวนยาง มาตรา 21 ทวิ โดยรัฐบาลอนุมัติเงิน 580.05 ล้านบาทจากงบกลาง เพื่อให้ดาเนินการในปีแรก (2554) จานวน200,000ไร่ ไปก่อน โดยสานักงานกองทุนสงเคราะห์การทาสวนยาง (สกย.) ซึ่งได้รับมอบหมายจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้เป็นหน่วยงานหลักดาเนินโครงการ เตรียมประกาศกาหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ตามคาแนะนาของคณะกรรมการสงเคราะห์การทาสวนยาง (ก.ส.ย.) มีนายศุภชัย โพธิ์สุ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา กาหนดรายละเอียดวิธีปฏิบัติในเรื่อง
1.หลักเกณฑ์ คุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับการพิจารณาในรับการสงเคราะห์
2.วิธีการยื่นขอรับการสงเคราะห์
3.เงื่อนไขที่ผู้รับการสงเคราะห์ต้องยอมรับและถือปฏิบัติ

ความคืบหน้าของโครงการส่งเสริมการปลูกยาง พื้นที่ใหม่ปี 1 กพ 2554


ล่าสุดผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่า สกย.ได้จัดสรรพื้นที่เป้าหมายปลูกยางพันธุ์ดีในพื้นที่เหมาะสมสำหรับปี 2554 ในพื้นที่ 52 จังหวัด จำนวน 2 แสนไร่ เสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้รับการจัดสรรมากสุด 16 จังหวัด จำนวน 117,500 ไร่ รองลงมาคือภาคเหนือ 7 จังหวัด จำนวน 40,000 ไร่ ภาคตะวันออกและภาคกลาง 5 จังหวัด จำนวน 24,680 ไร่ และภาคใต้ 14 จังหวัด จำนวน 17,820 ไร่

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 117,500 ไร่ 16 จังหวัดที่ สกย.จัดสรรให้ ประกอบด้วย จ.กาฬสินธุ์ 6,500 ไร่, ขอนแก่น 2,500 ไร่, นครพนม 8,700 ไร่, นครราชสีมา 6,400 ไร่, บุรีรัมย์ 7,000 ไร่, มุกดาหาร 7,000 ไร่, ยโสธร 8,200 ไร่, ร้อยเอ็ด 4,400 ไร่, เลย 8,200 ไร่, ศรีสะเกษ 7,000 ไร่, สกลนคร 7,300 ไร่, สุรินทร์ 8,300 ไร่, หนองคาย 16,000 ไร่, หนองบัวลำภู 3,300 ไร่, อุดรธานี 8,300 ไร่ และอุบลราชธานี 7,800 ไร่

ภาค เหนือ 40,000 ไร่ 7 จังหวัด ประกอบด้วย จ.เชียงราย 6,700 ไร่, เชียงใหม่ 7,100 ไร่, ตาก 4,900 ไร่, พะเยา 3,600 ไร่, พิษณุโลก 7,300 ไร่, แพร่ 6,900 ไร่ และอุทัยธานี 3,500 ไร่
จังหวัดลำปาง ปี 2554 ไม่มีการส่งเสริมครับ ต้องรอปี 2555

ภาคตะวันออกและภาคกลางรวม 24,680 ไร่ 5 จังหวัด ประกอบด้วย จ.จันทบุรี 2,900 ไร่, ระยอง 440 ไร่, ตราด 1,300 ไร่, ฉะเชิงเทรา 12,100 ไร่ และกาญจนบุรี 7,940 ไร่

ภาคใต้ 17,820 ไร่ 14 จังหวัด 1 อำเภอ ประกอบด้วย จ.ภูเก็ต 1,100 ไร่, ระนอง 200 ไร่, พังงา 270 ไร่, ตรัง 130 ไร่, นครศรีธรรมราช (เขต 1) 2,060 ไร่, นครศรีธรรมราช (เขต 2) 2,100 ไร่, สุราษฎร์ธานี 250 ไร่, กระบี่ 730 ไร่, ชุมพร 4,350 ไร่, สงขลา (เขต 1) 500 ไร่, สงขลา (เขต 2) 850 ไร่, สตูล 1,780 ไร่, พัทลุง 450 ไร่, ยะลา 2,400 ไร่, ปัตตานี 1,000 ไร่, นราธิวาส 600 ไร่ และ อ.เบตง จ.ยะลา 50 ไร่


สำหรับเกษตรกรที่ จะยื่นความประสงค์ขอเข้าร่วมโครงการส่งเสริมปลูกยางในพื้นที่ใหม่ จะต้องมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดคือ ต้องมีสัญชาติไทย มีที่ดินเป็นของตนเองตั้งแต่ 2-15 ไร่ ต้องไม่มีสวนยางมาก่อน และมีเอกสารสิทธิ์หรือเอกสารครอบครองที่ดินถูกต้อง โดยสามารถยื่นขอรับรองการสงเคราะห์ได้ที่ สกย.ทุกจังหวัด ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์-15 มีนาคม 2554 ครับ

>>>>>>>>>>>>

ท่านที่จะจำหน่ายกล้ายาง เขียนลงBlogเสนอขายกล้ายางได้เต็มที่ แต่ผมขอ 4 ข้อ
1. เบอร์โทรศัพท์
2. E-mail
3. ที่อยู่
4.ราคา(ต่อต้น ค่าขนส่ง)

>>> ถ้ารายใดข้อมูลคลุมเครือ ก็ผ่านเลยครับ เลือกรายที่ให้ข้อมูลชัดเจนดีกว่าครับ

>>>เพื่อป้องกันการหลอกลวง ผู้ที่จะซื้อกล้ายางอย่ามัดจำหรือจ่ายเงินจนกว่าจะได้กล้ายาง หรือตกลงกันด้วยความมั่นใจทั้งสองฝ่าย จึงชำระเงินเพราะ Blog เป็นแค่สื่อกลางไม่ได้รู้เห็นกับผู้ที่เขียนลงบล็อกเสนอขายกล้ายางครับ ผู้เขียนยินดีเป็นสื่อกลางให้ผู้ซื้อพบกับผู้ขายในราคายุติธรรมครับและข้อความใดไม่เหมาะสมผมขออนุญาตลบโดยไม่แจ้งให้ผู้โพสต์ทราบนะครับ

>>>หรือใครต้องการซื้อกล้ายางพาราก็ให้เบอร์โทรศัพท์ไว้
หรือฝาก E-mail ไว้ในกระทู้เพื่อให้ผู้จำหน่ายกล้าติดต่อกลับก็ได้ครับ



>>>>>>>>> >>> ข่าวประชาสัมพันธ์<<<<<<<<<<<<<<<

สำหรับผู้ที่ต้องการกรดฟอร์มิกซ์ที่ปรับสตูรในการผลิตยางแผ่นหรือยางแท่ง มีผลิตภัณฑ์ของเพื่อนที่เรียนมาด้วยกันสมัยอยู่ ม.เกษตร กำแพงแสน ที่ฝากมาแนะนำเพื่อนชาวสวนยางดังนี้ครับ

คุณลักษณะ: เป็นกรดฟอร์มิกที่ปรับสูตร(กรดฟอร์มิกซ์+สารปรับคุณภาพ) ใช้ในการผลิตยางแผ่นในอัตราส่วนที่เท่าเดิมเหมือนที่เคยใช้

ข้อดี: ลดการสูญเสียเนื้อยางในการทำยางแผ่นที่สูญหายไปในขั้นตอนการจับตัวของน้ำยางและขั้นตอนการรีดแผ่น และเพิ่มคุณภาพของยางแผ่นที่ผลิต

ประโยชน์ที่จะได้รับ:
1.ได้เนื้อยางเพิ่มขึ้น 8-10 % เนื่องจากลดการสูญเสียเนื้อยาง ในขบวนการผลิตยางแผ่น และยางแท่ง
2.ลดการเกิดเชื้อราของยางแผ่นกรณีช่วงการทำยางแผ่น ในช่วงที่ฝนตกติดต่อกันหลายวันและมีความชี้นในอากาศสูง
3.ให้เนื้อยางใส และมีสีเหลืองอำพัน ขายได้ราคา
4. ต้นทุนของการใช้ 1.3 บาท/แผ่น ไม่ถึง 1% ของราคายาง1 แผ่น
เมื่อเทียบกับเนื้อยางที่เพิ่มขึ้น แล้วยังไงก็น่าสนใจครับ





*****หมายเหตุ : ไม่มีกล้ายางพาราขายนะครับ *****

>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>




 

Create Date : 23 ธันวาคม 2553    
Last Update : 1 พฤษภาคม 2555 13:11:58 น.
Counter : 9628 Pageviews.  

สวนยางพารา อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง รายงานผลการปลูกยางพาราปี 2553-2554

จากการที่ยางพารามีราคาปรับตัวสูงขึ้นปัจจุบัน ราคา 120 บาท/กก และทางภาคเหนือมีการปลูกกันมากมาย ทั้ง จ.พะเยา เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ผมก็เป็นคนหนึ่งที่ทดลองปลูกจำนวน 1.5 ไร่ เมือเดือน กันยายน จำนวน 150 ต้น จะปลูกต่อราคากล้าแพงเป็น 50 บาท/ต้น จากที่เดิมซื้อราคา 20 บาท/ต้น ที่สำคัญไม่มีกล้าเสียอีก วันนี้ผมกลับลำปางและได้ไปที่แปลงทดลองปลูก พบว่าอัตราการรอดตายประมาณ 90% มีบางต้นตายไปบ้าง




พันธุ์ที่ปลูกคือ RRIM 600 ผ่านมาแล้ว 3 เดือนแตกยอดได้ดีพอสมควร
ผมรองพื้นด้วยหินรอกฟอสเฟต 200 กรัม/ต้น และขี้วัวแห้งครับ ดินที่ปลูกเป็นดินทรายภูเขา ร่วนเมื่อเจอน้ำแต่แข็งเมื่อมันแห้ง ปลายฝนก็จัดการตัดหญ้ารอบๆ ต้นครับ




แปลงที่ปลูกค่อนข้างลาดเท ตรงที่ชันให้ชาวบ้านปลูกตะไคร้หอมกันดินถูกชะล้างครับ ที่สำคัญต้นที่ตายก็เกิดจากต้นไม่สมบูรณ์จากการขนส่งหลังรถกระบะใบกระทบกับลมรากคงโยกเอามาปลูกเลยตาย









ผมว่าปีนี้ฝนแล้งมากกว่าจะตกก็เดือน กย พอตกมาก็น้ำท่วมเป็นประวัติการเลยครับ ถ้าจะให้ดีก็ปลูกช่วงเดือน พ.ค. ถ้าฝนตกสม่ำเสมอ
ต้นน่าจะดีกว่านี้ครับ




ไม่แน่ใจว่าช่วงหน้าแล้งปี 54 จะแล้งรุนแรงเหมือนปี 53 หรือไม่ถ้าแล้งจัดอาจต้องรดน้ำและคลุมฟางรอบๆต้นยางกันมันตายแล้วครับช่วงนี้สั่งฟางข้าวที่เขาทำนาอยู่ด้านล่างไว้มาคลุมโคต้นครับ น่าจะทำช่วงหลังปีใหม่





มองไปสวนข้าวโพดด้านล่างประมาณ 4 ไร่ และที่อีกแปลงจำนวน 20ไร่ ที่รอให้คนเช่าเก็บข้าวโพดหมดก่อนแล้วผมมีแผนจะปลูกยางในปี 2554 เพิ่ม ด้านข้างเป็นสวนสักที่ปลูกมาแล้ว 10 ปี ของเพื่อนบ้าน ถ้าปลูกยางน่าจะได้กรีดแล้วครับเสียดายครับ แต่ก็ได้ป่าเพิ่มมา ผมปลูกแล้วน่าจะมีคนอื่นปลูกตามเพราะเขาปลูกสับปะรดกันเป็นส่วนใหญ่ ต้องรอให้กรีดได้ก่อนถึงจะมีคนตาม ต.บ้านสา มีผู้ปลูกจำนวน 4 ราย รวมทั้งผมถ้ามีการปลูกมากผมจะรวมตัวกันเป็นกลุ่มเกษตรกร หรือจัดตั้งสหกรณ์มารับซื้อผลผลิตเพื่อจำหน่ายและผลักดันให้สมาชิกใหม่ๆปลูกยาง เพราะ ต.บ้านสา ทำเกษตรแบบยังชีพ ไม่หวังอะไรมากให้เขาปลูกกันสัก 3 -5 ไร่ต่อคน จะได้มีรายได้สม่ำเสมอ ดีกว่าเขาทำเกษตรแบบยังชีพ หรือไปบุกรุกพื้นที่เพื่อปลูกสับปะรดเพิ่มครับ





รายงานจาก : ต.บ้านสา อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง โดยนาย แจ้ห่ม 47


ข่าวโครงการ ส่งเสริมการปลูกยางพาราพื้นที่ใหม่ 800,000 ไร่ แถลงข่าวโดย นายศุภชัย โพธิ์สุ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการสร้างเสถียรภาพราคายางพารา
ได้คาดคะเนไว้ว่าในปี 2563 ความต้องการใช้ยางธรรมชาติของโลกจะอยู่ที่ 13.8 ล้านตัน โดยขณะนี้มีการผลิตอยู่ที่ 12.4 ล้านตัน หมายความว่าปริมาณการใช้ยางจะมากกว่าการผลิต ทางคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ และกระทรวงเกษตรฯ จึงได้ทำโครงการปลูกยางพารา800,000 ไร่ โดยมีเป้าหมายเน้นไปที่เกษตรกรรายย่อยที่มีที่ดินทำกินเป็นของตัวเองอย่างน้อย 2 ไร่ และไม่เคยมีสวนยางมาก่อน
โดยดำเนินการตาม พ.ร.บ.กองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง มาตรา 21 ทวิ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ดำเนินการส่งเสริมปลูกยางในพื้นที่ใหม่มาแล้ว 2 ระยะ ประสบความสำเร็จอย่างมาก
โครงการล่าสุดจึงเป็นการส่งเสริมการปลูกยางแห่งใหม่ ระยะที่ 3 มีขอบเขตการดำเนินงานรวม 3 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 2554-2556 มีเป้าหมายส่งเสริมปลูกยางพันธุ์ดีในเขตพื้นที่ที่เหมาะสม แบ่งเป็นภาคเหนือ 150,000 ไร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 500,000 ไร่ ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้ 150,000 ไร่

สร้างรายได้ให้เกษตรกรได้ไม่ต่ำกว่า 160,000 ราย คิดเป็นมูลค่ารายได้ที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยอยู่ที่ 112,000-224,000 บาท/ราย/ปี ได้มอบหมายหน่วยงานในสังกัด ได้แก่ สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) องค์การสวนยาง (อสย.) และกรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้นำยุทธศาสตร์ยางพารามาดำเนินการอย่างจริงจัง โดยเฉพาะเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเฉลี่ยทั้งประเทศจาก 278 กก./ไร่/ปี เป็น 306 กก./ไร่/ปี ให้ได้ในปี 2556 ตลอดจนทำโครงการสร้างครูยาง จำนวน 12,000 คน มาช่วยถ่ายทอดความรู้หลักสูตรต่างๆ เกี่ยวกับการทำสวนยางตั้งแต่การดูแลสวนยางไปจนถึงการกรีดยางอย่างถูกต้อง

ขณะนี้มติคณะรัฐมนตรีอนุมัติงบกลางให้ในวงเงิน 580.5 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในเรื่องวัสดุปลูก โดยกำหนดเป้าหมายปี 2554 ไว้ 200,000 ไร่ ที่เหลือจะดำเนินการในปีต่อไป ดังนั้น เกษตรกรที่ต้องการเข้าร่วมโครงการ ขอให้เตรียมความพร้อมเรื่องหลักฐานที่ดินทำกินของตัวเองที่ถูกต้องไม่น้อยกว่า 2 ไร่ และเป็นพื้นที่ที่ไม่เคยมีสวนยางมาก่อน ทั้งนี้ คาดว่าประมาณกลางเดือนมกรคมนี้ ทาง สกย. จะเปิดรับสมัครเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ ซึ่งจะประกาศให้ทราบอีกครั้ง

ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรฯ กาหนดจะแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ ประมาณวันที่ 14 มกราคม 2554 และประชาสัมพันธ์ทาความเข้าใจกับผู้ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ พร้อม ๆ กับ จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการดาเนินโครงการ เช่น พันธุ์ยาง ปุ๋ย และอื่น ๆ เพื่อเตรียมพร้อมสาหรับการเปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ ประมาณวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554 ทั้งนี้ สกย.จะดาเนินการตามขั้นตอนการตรวจสอบคุณสมบัติ สารวจรังวัด และอนุมัติให้เข้าร่วมโครงการต่อไป คาดว่าจะอนุมัติเกษตรกรเข้าร่วมโครงการได้ประมาณต้นเดือนมีนาคม 2554เป็นต้นไป

ภายหลังคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดาเนินโครงการปลูกยางพาราในที่แห่งใหม่ ระยะที่ 3 พ.ศ. 2554 – 2556 รวม 800,000 ไร่ ตาม พ.ร.บ.กองทุนสงเคราะห์การทาสวนยาง มาตรา 21 ทวิ โดยรัฐบาลอนุมัติเงิน 580.05 ล้านบาทจากงบกลาง เพื่อให้ดาเนินการในปีแรก (2554) จานวน200,000ไร่ ไปก่อน โดยสานักงานกองทุนสงเคราะห์การทาสวนยาง (สกย.) ซึ่งได้รับมอบหมายจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้เป็นหน่วยงานหลักดาเนินโครงการ เตรียมประกาศกาหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ตามคาแนะนาของคณะกรรมการสงเคราะห์การทาสวนยาง (ก.ส.ย.) มีนายศุภชัย โพธิ์สุ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา กาหนดรายละเอียดวิธีปฏิบัติในเรื่อง
1.หลักเกณฑ์ คุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับการพิจารณาในรับการสงเคราะห์
2.วิธีการยื่นขอรับการสงเคราะห์
3.เงื่อนไขที่ผู้รับการสงเคราะห์ต้องยอมรับและถือปฏิบัติ


>>>>>>>>>>

ท่านที่จะจำหน่ายกล้ายาง เขียนลงBlogเสนอขายกล้ายางได้เต็มที่ แต่ผมขอ 4 ข้อ
1. เบอร์โทรศัพท์
2. E-mail
3. ที่อยู่
4.ราคา(ต่อต้น ค่าขนส่ง)

>>> ถ้ารายใดข้อมูลคลุมเครือ ก็ผ่านเลยครับ เลือกรายที่ให้ข้อมูลชัดเจนดีกว่าครับ

>>>เพื่อป้องกันการหลอกลวง ผู้ที่จะซื้อกล้ายางอย่ามัดจำหรือจ่ายเงินจนกว่าจะได้กล้ายาง หรือตกลงกันด้วยความมั่นใจทั้งสองฝ่าย จึงชำระเงินเพราะ Blog เป็นแค่สื่อกลางไม่ได้รู้เห็นกับผู้ที่เขียนลงบล็อกเสนอขายกล้ายางครับ ผู้เขียนยินดีเป็นสื่อกลางให้ผู้ซื้อพบกับผู้ขายในราคายุติธรรมครับและข้อความใดไม่เหมาะสมผมขออนุญาตลบโดยไม่แจ้งให้ผู้โพสต์ทราบนะครับ

>>>หรือใครต้องการซื้อกล้ายางพาราก็ให้เบอร์โทรศัพท์ไว้
หรือฝาก E-mail ไว้ในกระทู้เพื่อให้ผู้จำหน่ายกล้าติดต่อกลับก็ได้ครับ


>>>>>>>>> >>> ข่าวประชาสัมพันธ์<<<<<<<<<<<<<<<

สำหรับผู้ที่ต้องการกรดฟอร์มิกซ์ที่ปรับสตูรในการผลิตยางแผ่นหรือยางแท่ง มีผลิตภัณฑ์ของเพื่อนที่เรียนมาด้วยกันสมัยอยู่ ม.เกษตร กำแพงแสน ที่ฝากมาแนะนำเพื่อนชาวสวนยางดังนี้ครับ

คุณลักษณะ: เป็นกรดฟอร์มิกที่ปรับสูตร(กรดฟอร์มิกซ์+สารปรับคุณภาพ) ใช้ในการผลิตยางแผ่นในอัตราส่วนที่เท่าเดิมเหมือนที่เคยใช้

ข้อดี: ลดการสูญเสียเนื้อยางในการทำยางแผ่นที่สูญหายไปในขั้นตอนการจับตัวของน้ำยางและขั้นตอนการรีดแผ่น และเพิ่มคุณภาพของยางแผ่นที่ผลิต

ประโยชน์ที่จะได้รับ:
1.ได้เนื้อยางเพิ่มขึ้น 8-10 % เนื่องจากลดการสูญเสียเนื้อยาง ในขบวนการผลิตยางแผ่น และยางแท่ง
2.ลดการเกิดเชื้อราของยางแผ่นกรณีช่วงการทำยางแผ่น ในช่วงที่ฝนตกติดต่อกันหลายวันและมีความชี้นในอากาศสูง
3.ให้เนื้อยางใส และมีสีเหลืองอำพัน ขายได้ราคา
4. ต้นทุนของการใช้ 1.3 บาท/แผ่น ไม่ถึง 1% ของราคายาง1 แผ่น
เมื่อเทียบกับเนื้อยางที่เพิ่มขึ้น แล้วยังไงก็น่าสนใจครับ




*****หมายเหตุ : ไม่มีกล้ายางพาราขายนะครับ *****







>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>



มาดูผลการปลูกปี 2554 ถ่ายเมื่อช่วง 2 มกราคม 2555 ผลเป็นดังนี้

อัตราการตาย 10% เพราะไม่มีการรดน้ำช่วงแล้ง จะปลูกซ่อมในต้นเดือน พค ก่อนเข้าฝน

ต้นที่รอดก็สูงประมาณ 1 เมตรครับ




กลุ่มบางต้นโตพอสมควร ก่อนเข้าฝนต้องเตรียมปุ๋ยคอกและปุ๋ยยางพารา บำรุงสักหน่อย เนื่องจากที่ดินเป็นเนินลาดชันครับ






แปลงข้างๆปลูกมาแล้ว 4 ปี ดูแล้วน่าพอใจครับ แต่คงไม่งามเท่ากับปลูกทางใต้ครับ




ผมว่าอายุ 7 ปีก้น่าจะกรีดได้นะแปลงนี้





ส่วนแปลงที่ผมจะปลูกจริง (รอราคากล้าสัก 30 บาท ) มี 2 แปลง เนื้อที่รวม 30 ไร่กำลังเคลียพื้นที่เดิมที่เป็นสวนมะขามอยู่ครับ






แปลงนี้มีน้ำตลอดทั้งปีครับ






ถ้ามีความคืบหน้าจะมารายงาน

สรุปแล้วอำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ปลูกยางพาราได้แน่นอนครับพี่น้อง




 

Create Date : 11 ธันวาคม 2553    
Last Update : 1 พฤษภาคม 2555 13:12:34 น.
Counter : 4766 Pageviews.  


แจ้ห่ม47
Location :
ลำปาง Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 109 คน [?]




ที่อยู่หลัก ลพบุรี ลำปาง และ ปทุมธานี
ที่อยู่ที่อื่นๆ ตามเขตการขายที่ดูแล ภาคตะวันตก ภาคใต้และ ภาคอิสานตอนบน (ทัวร์นกขมิ้นทุกเดือน เนื่องจากดูแลฝ่ายขายครับ ไม่ได้หนีหนี้ 555)
ภาพทุกภาพไม่สงวนลิขสิทธิ์ ถ้านำไปเผยแพร่เพื่อ เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมโดยไม่ผิดกฏหมายหรือศีลธรรม เพื่อนๆสามารถนำไปใช้ได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาติ ไม่หวงครับ ขอกันกินมากกว่านั้นแต่ขอให้อ้างอิงแหล่งที่มาของรูปด้วยครับ ขออภัยหากตอบท่านช้า หรือเข้าไปเม้นต์ท่านช้า ผมใช้เนตผ่านมือถือครับช้ามากๆขออภัย และ หากผิดพลั้งไป ต้องขออภัยเพราะความรู้ต่ำ
New Comments
Friends' blogs
[Add แจ้ห่ม47's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.