All Blog
490404Balbao Park
วันที่ ๔ เมษายน ๒๕๔๙
Balbao Park
วันแรกในซานดิเอโก
 
เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง-ทัศนศึกษา Park-ที่พักผ่อนและแหล่งเรียนรู้ของเมือง
ภาพวิวทิวทํศน์ส่วนหนึ่งของสวน Balbao ยอดไม้ที่แตกต่างเช่นดั่งคนรวยกับคนจนอยู่คู่กัน
ดอกไม้พื้นเมืองริมทางพบเห็นได้ทั่วไป ดอกไม้สวยงามเหมือนสาวสวยของเมืองนี้
ดอกไม้ในสวนพฤกษศาสตร์เป็นแหล่งให้ศึกษา ที่นี่เต็มไปด้วยดอกไม้หลากหลายพันธุ์
ประดับประดาทุกแห่งให้สวยงามด้วยดอกไม้ ดอกไม้ละลานตาเต็มสวนล้วนแต่ไม่เคยพบเห็น
ดอกว่านเช่นนี้เมืองไทยก็มี ชื่ออะไรนะ นี่ก็ดอกไม้อีกแล้ว ทำไมชอบถ่ายรูปดอกไม้
 
 
อธิบายเรื่อง gene ให้คนเข้าใจง่ายขึ้น มองอัจฉริยะเผื่อจะได้ซึมซับความฉลาด



Create Date : 16 มกราคม 2564
Last Update : 16 มกราคม 2564 5:00:27 น.
Counter : 906 Pageviews.

1 comment
621219 พาหุรัด สำเพ็ง แหล่งสินค้าราคาถูก
621219 พาหุรัด สำเพ็ง แหล่งสินค้าราคาถูก
               คนแต่ก่อนต้องไปพาหุรัด สำเพ็ง เพื่อหาซื้อสินค้าแล้วไปขายต่อตามต่างจังหวัด เพราะเป็นแหล่งรวมสินค้าจากทุกแหล่ง ส่วนใหญ่น่าจะมาจากจีนกับอินเดีย
               พาหุรัดย่านคนอินเดีย สำเพ็งย่านคนจีน สองเชื้อชาติอยู่ชิดติดกัน ต่างภาษาต่างวัฒนธรรม แต่ไม่มีเรื่องขัดแย้งรุนแรง ด้วยต่างเป็นพ่อค้าแม่ขาย หวังแต่ทำมาหากิน อยู่กันมาแต่ครั้งสร้างบ้านแปงเมืองใหม่ ๆ กันทีเดียว
               ทำไม ควรไป เพราะเดินทางสะดวกขึ้น มีรถใต้ดิน ไม่ต้องลำบากหาที่จอดรถ แล้ว ราคาข้าวของ ขอบอกถูกมาก ๆ จนแทบอยากจะซื้อเกือบทุกอย่าง ยิ่งร้านคนรุ่นใหม่ โอ้โห ถูกเกิน แถมมีของล่อใจ ต้องซื้อเยอะจึงได้ราคา เช่น ชิ้นละ 20 ถ้าซื้อ 6 ชิ้นจะได้ชิ้นละ 10 ทำให้ต้องควักเงินเพิ่ม เขาถือว่าเป็นราคาขายส่ง
               ใกล้ปีใหม่ หลายคนหาซื้อของขวัญของฝาก ของกิน หลายคนหาสินค้าตัวใหม่ ไปขายช่วงปีใหม่ ทุกคนต่างมีจุดหมาย คงไม่มีสักคนที่ไปเดินเล่นเฉย ๆ แล้วไม่ควักเงิน ของมันล่อตาล่อใจทั้งนั้น
               ปู่กะย่าเดินแถวนี้จนพรุน ตั้งแต่ยังเป้นหนุ่มเป็นสาว จนแก่เฒ่า การเดินทางแสนสะดวกนั่งสาย 40 ก็ได้ลงแถวสะพานหัน ถ้านั่งสาย 42 ลงแถว The old Siam นั่งรถเมล์สบาย เดินจนเหนื่อย นั่งรถเมล์กลับได้เลย
               รอบนี้นั่งสาย 42 กินข้าวขาหมูกับก๋วยเตี๋ยวเป็ด อร่อย เข้าไปในห้าง ชั้นบนสุด ห้างอมรยึดพื้นที่เกือบหมด
เดินเข้าไปในพาหุรัด เสื้อผ้าโหลราคาถูก ผ้าชิ้นสำหรับคนมีฝีมือตัดเย็บ คนรุ่นใหม่ซื้อเสื้อผ้าสำเร็จรูป ไม่มีแฟชั่นใหม่ ๆ สวย ๆ เหมือนบางลำพูหรอก แต่ของน่าซื้อหลายอย่าง แต่ละถิ่นที่มีของขายเฉพาะอย่าง
ทะลุสะพานหัน ซื้อผลไม้แห้ง คราวนี้ซื้อทุเรียนกวนโลละ 200 ถูกมาก ที่ศาลาน้ำเย็นโดนไป 300 ลูกชิดแห้ง บ๊วยเค็มตัดแบบใหม่ ไปรถเมล์โลภมากไม่ได้ ไม่มีแรงหิ้ว
 
เดินแถวนี้ คนจะแน่นเบียดเสียดกัน ให้ระวังกระเป๋าสตางค์บ้างก็ดี ที่สำเพ็งมีของใช้ขายราคาส่งจะราคาอีกแบบ ไม่ค่อยขายปลีกหรอก อย่างน้อยครึ่งโหลแหละ
ไปเถอะพาหุรัด สำเพ็ง ได้เห็นความเจริญยุดสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ที่เติบโตมาจนถึงปัจจุบัน เพราะเป็นแหล่งสินค้าขายส่ง ราคาถูกกว่าในห้างแน่ และอาจมากเกินคิดด้วยซ้ำ



 



Create Date : 19 ธันวาคม 2562
Last Update : 19 ธันวาคม 2562 9:48:25 น.
Counter : 943 Pageviews.

1 comment
พระราชมณเฑียรภายในพระราชวังสถานมงคล
พระราชมณเฑียรภายในพระราชวังสถานมงคล
ครั้งแรกสร้างนั้น ภายในพระราชวังสถานมงคล มีพระราชมณเฑียร เป็นพระวิมาน 3 หลังเรียงติดกัน ได้แก่ พระที่นั่งวสันตพิมาน พระที่นั่งวายุสถานอมเรศ พระที่นั่งพรหมเมศรังสรรค์
ลักษณะการสร้างมี 3 หลังเรียงต่อกัน เหมือนในพระบรมมหาราชวัง
พระที่นั่งวสันตพิมาน เป็นพระที่นั่ง 2 ชั้น สร้างเพื่อใช้เป็นที่พระบรรทมของกรมพระราชวังบวรสถานมงคลในฤดูฝน ปัจจุบัน จัดแสดงเครื่องถ้วยต่าง ๆ ส่วนชั้นบนแสดงงาช้าง จากช้างต้นและช้างสำคัญ รวมทั้ง งานศิลป์ที่สร้างขึ้นจากงาช้างด้วย
พระที่นั่งวายุสถานอมเรศ เป็นพระวิมานหลังกลาง สร้างเพื่อเป็นที่บรรทมของกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในฤดูหนาว
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระที่นั่งองค์นี้ใช้เป็นที่ตั้งของปราสาททองสำหรับประดิษฐานพระอัฐิของกรมพระราชวังบวรฯ ทั้ง 3 พระองค์ โดยสร้างเป็นปราสาทยาว 3 ห้อง
ห้องกลางยกพื้นสูงกว่าอีกสองห้อง เป็นที่ประดิษฐานพระอัฐิของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท อีกสองห้องเป็นที่ประดิษฐานพระอัฐิของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์และสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ
รัชกาลที่ 5 อัญเชิญพระอัฐิของกรมพระราชวังบวรฯ ไปไว้ที่วิหารพระธาตุ ภายในพระบรม
มหาราชวัง
ปัจจุบัน พระที่นั่งแห่งนี้ใช้เป็นสถานที่จัดแสดงเครื่องทองต่าง ๆ ทั้งเครื่องประดับ เครื่องทองที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ในศาสนพิธี หรือประกอบพิธีกรรมความเชื่ออื่น ๆ รวมทั้ง จัดแสดงบุษบกประดิษฐานพระบรมอัฐิสมเด็จพระบวรราชเจ้าในรัชกาลที่ 1-3 และเครื่องสูงสำหรับวังหน้าอันเป็นของที่ตั้งอยู่เดิมภายในพระที่นั่ง
พระที่นั่งพรหมเมศธาดา เป็นพระวิมานหลังเหนือในหมู่พระวิมาน
เมื่อแรกสร้างในสมัยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทนั้น มีนามว่า "พระที่นั่งพรหมเมศรังสรรค์"
ภายหลังการซ่อมแซมพระราชมณเฑียรในสมัยของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ พระองค์ทรงเปลี่ยนสร้อยพระที่นั่งใหม่ว่า "พระที่นั่งพรหมเมศธาดา" เพื่อให้ชื่อสอดคล้องกับ "พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย" ที่พระองค์โปรดฯ ให้สร้างขึ้นใหม่ด้วย
พระวิมานหลังนี้เคยใช้เป็นหอพระอัฐิของสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท
ปัจจุบัน พระที่นั่งแห่งนี้ใช้จัดแสดงสิ่งของเครื่องใช้ในสมัยโบราณ โดยชั้นล่างจัดแสดงเครื่องแต่งกายของเจ้านายและผ้าโบราณตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาถึงปัจจุบัน ชั้นบนจัดแสดงเครื่องใช้ในพระพุทธศาสนา เช่น พัดพระราชลัญจกร เครื่องบริขารสงฆ์ เป็นต้น
 
พระที่นั่งอิศราวินิจฉัย เป็นพระที่นั่งที่สร้างขึ้นสมัยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพโปรดฯ ให้ปฏิสังขรณ์หมู่พระวิมาน พร้อมทั้งสร้างพระที่นั่งองค์ใหม่ขึ้นเพื่อเป็นท้องพระโรง โดยถ่ายแบบมาจากพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยในพระบรมมหาราชวัง แต่มีขนาดที่เล็กลงและไม่ทำซุ้มพระแกลและพระทวาร
ใช้เป็นที่เสด็จออกแขกเมือง และบำเพ็ญพระราชกุศล และใช้เป็นที่ตั้งประกอบพิธีอุปราชาภิเษกและใช้ตั้งพระศพของกรมพระราชวังบวรฯ ด้วย
ปัจจุบัน พระที่นั่งอิศราวินิจฉัยใช้เป็นสถานที่จัดแสดงนิทรรศการพิเศษและยังคงเป็นที่ตั้งของพระที่นั่งบุษบกมาลา พระราชบัลลังก์ที่ประทับของกรมพระราชวังบวรฯ
ด้านหน้าและด้านหลังพระวิมานสร้างเป็นพระราชมณเฑียร มุขหน้าเป็นท้องพระโรงหน้า เรียกว่า พระที่นั่งพรหมพักตร์ มุขหลังเป็นท้องพระโรงหลัง และพระที่นั่งบูรพาภิมุข พระที่นั่งทักษิณาภิมุข พระที่นั่งปัจฉิมาภิมุข พระที่นั่งอุตราภิมุข ล้อมรอบพระราชมณเฑียรทั้ง 4 ด้าน โดยชื่อพระที่นั่งทั้ง 4 นั้น มีขึ้นในสมัยกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ
พระพิมานดุสิตา สร้างถวายเป็นพุทธบูชา
พ.ศ. 2330 สร้างพระที่นั่งสุทธาสวรรย์ ขึ้นเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ที่ได้อัญเชิญลงมาหลังจากเสด็จขึ้นไปยังเมืองเชียงใหม่
พระที่นั่งศิวโมกข์พิมาน เป็นท้องพระโรงตั้งอยู่บริเวณด้านตะวันออกของสระน้ำ ถ่ายแบบมาจากพระที่นั่งทรงปืนในพระราชวังหลวงสมัยกรุงศรีอยุธยา ดังนั้น จึงมีบางคนเรียกพระที่นั่งองค์นี้ว่า พระที่นั่งทรงปืนหรือพระที่นั่งทรงธรรม เนื่องจากใช้เป็นสถานที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล
ด้านเหนือของพระราชวัง มี "วัดหลวงชี" เป็นสถานที่จำศีลของนางชีนามว่า นักนางแม้น ซึ่งเป็นมารดาของนักองค์อี ธิดาในสมเด็จพระอุไทยราชา พระเจ้ากรุงกัมพูชา ซึ่งเป็นพระสนมเอกในกรมพระราชวังบวรสถานมงคล

 



Create Date : 24 กันยายน 2562
Last Update : 24 กันยายน 2562 15:19:08 น.
Counter : 1193 Pageviews.

0 comment
พระมหามณเฑียรในพระบรมมหาราชวัง

พระมหามณเฑียรในพระบรมมหาราชวัง

พระมหามณเฑียร เป็นหมู่พระที่นั่งภายในพระบรมมหาราชวัง รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2325 เพื่อทรงใช้เป็นที่ประทับและใช้ในพระราชพิธีปราบดาภิเษก

แรกเริ่มเดิมทีเป็นพระที่นั่งขนาดใหญ่เชื่อมต่อกัน 3 องค์ ชื่อว่า พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน

เป็นสถาปัตยกรรมไทย ก่ออิฐถือปูน สร้างเป็น 3 องค์แฝด ภายนอกเป็นระเบียงรายล้อมด้วยเสานางจรัลอยู่ทุกด้าน เป็นพระวิมานที่บรรทมตลอดรัชกาลที่ 1

ต่อมารัชกาลที่ 3 พระราชทานนามเป็น พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน พระที่นั่งไพศาลทักษิณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหสูรยพิมาน

พระที่นั่งไพศาลทักษิณ เป็นพระที่นั่งต่อกับท้องพระโรงหน้าพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ทางทิศเหนือ ทรงใช้เป็นที่ประทับทรงพระสำราญหรือให้ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท และใช้ในการประกอบพิธีบรมราชาภิเษกในทุกรัชกาล

พระที่นั่งไพศาลทักษิณเป็นที่ประดิษฐานของปูชนียวัตถุสำคัญ 3 อย่าง คือ

1. พระสยามเทวาธิราช ประดิษฐานอยู่ในพระวิมานตอนกลางองค์พระที่นั่ง ตรงพระทวารเทวราชมเหศวร 2. พระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ เป็นที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงประทับรับน้ำอภิเษกในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ประดิษฐานอยู่เกือบสุดองค์พระที่นั่ง ด้านทิศตะวันออก 3. พระที่นั่งภัทรบิฐ เป็นที่ประทับรับเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ เครื่องบรมราชูปโภคอันเป็นโบราณมงคล รับพระแสงราชศัสตราวุธ และพระแสงอัษฎาวุธในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ประดิษฐานอยู่ตอนหน้าสุดองค์พระที่นั่ง ด้านทิศตะวันตก

 

พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน อยู่ติดกับพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ทางทิศเหนือ เป็นท้องพระโรงสำหรับเสด็จออกว่าราชการฝ่ายหน้า หรือประกอบพระราชพิธีการกุศล มีพระราชบัลลังก์ตั้งอยู่ 2 องค์ คือ

1.พระที่นั่งบุษบกมาลามหาจักรพรรดิพิมาน เป็นบุษบกประกอบท้ายเกรินทั้ง 2 ข้าง ที่ท้ายเกรินปักฉัตรลายทอง 7 ชั้น สำหรับพระมหากษัตริย์เสด็จขึ้นประทับ ในวโรกาสเสด็จออกฝ่ายหน้าในงานมหาสมาคม หรือประดิษฐานปูชนียวัตถุในพระราชพิธี ปัจจุบันใช้ประดิษฐานพระพุทธรูปประจำพระชนมวารของพระมหากษัตริย์ อัครมเหสี ในการพระราชพิธีสำคัญ

2. พระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ พระราชบัลลังก์ทองภายใต้พระนพปฏลมหาเศวตฉัตร พระมหากษัตริย์จะเสด็จขึ้นประทับบนพระราชบัลลังก์นี้ เพื่อเสด็จออกมหาสมาคมครั้งแรกในรัชกาลของพระองค์ และในวันเฉลิมพระชนมพรรษาของทุกปี เพื่อรับการถวายพระพรชัยมงคล

 

พระมหามณเฑียรได้ใช้ในพระราชพิธีมณฑลสำหรับประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกและพระราชพิธีสำคัญอื่น ๆ ในพระมหากษัตริย์ทุกรัชกาลในราชวงศ์จักรีสืบเนื่องกันมา

พระมหามณเฑียรเป็นพระที่นั่งขนาดใหญ่ สร้างขึ้นในพระบรมมหาราชวัง หันหน้าไปทางทิศเหนือ สร้างเป็นแนวตรง และแนวขวางต่อเนื่องกัน โดยมีมุขแล่นถึงกันโดยตลอด ประกอบด้วย หมู่พระวิมานที่บรรทมและท้องพระโรงสำหรับเสด็จออก มีท้องพระโรงหลัง พระปรัศว์ซ้าย พระปรัศว์ขวา

หมู่พระมหามณเฑียรนี้สร้างเป็นแบบสถาปัตยกรรมไทย มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงษ์ ตั้งอยู่ต่อเนื่องในเขตพระราชฐานชั้นในและชั้นกลาง

 

เรือนพระปรัศว์ซ้ายและขวาที่ต่อกับท้องพระโรงหลังพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ใช้เป็นที่ประทับของฝ่ายใน รัชกาลที่ 6 พระราชทานนามว่า พระที่นั่งเทพยสถานพิลาศ และพระที่นั่งเทพอาสน์พิไล

ลักษณะสถาปัตยกรรมของพระที่นั่งเป็นสถาปัตยกรรมไทยเลียนแบบพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ยกพื้นสูงกว่า 50 เซนติเมตร หลังคามุงกระเบื้องไม่เคลือบสี พระทวารและพระบัญชรไม่มีซุ้มเรือนแก้ว พระปรัศว์ทั้งสองมีกำแพงแก้วล้อมรอบ กำแพงด้านนอกมีหอน้อยเป็นศาลาเล็ก ๆ

วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชธิดาพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ประสูติ ณ พระที่นั่งเทพยสถานพิลาศแห่งนี้ ซึ่งนับเป็นพระหน่อพระองค์แรกและเป็นเพียงพระองค์เดียวที่ประสูติในหมู่พระมหามณเฑียร

 

พระที่นั่งดุสิตาภิรมย์ เป็นพระที่นั่งที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นพลับพลาเปลื้องเครื่องในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินขึ้นทรงพระคชาธารหรือทรงพระราชยาน เสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตรา นอกจากนี้ ยังใช้เป็นพิธีมณฑลในการพระราชพิธีต่าง ๆ ในบางโอกาสด้วย

พระที่นั่งราชฤดี เป็นพระที่นั่งทรงไทยแบบพลับพลาตรีมุข ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ นาคสะดุ้งปิดทอง หลังคามุงกระเบื้องดินเผาเคลือบสี หน้าบันเป็นไม้จำหลักลายรูปพระนารายณ์ทรงสุบรรณ มีกระหนกก้านขดหัวนาคเป็นลายประกอบบนพื้นกระจกสี มีชานยื่นเลยจากองค์พระที่นั่งสองด้าน ด้านเหนือทำพิธีสังเวยเทพยดา ด้านทิศตะวันตกเป็นที่ตั้งแท่นสรงพระมูรธาภิเษกสนาน

พระที่นั่งสนามจันทร์ ทางทิศตะวันตกของพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน ด้านหลังเป็นหอพระธาตุมณเฑียร รัชกาลที่ 2 สร้างเป็นที่ประทับสำราญพระอริยาบถ ทรงงานช่างตามที่โปรดปรานเป็นนิจ

หอพระสุราลัยพิมาน ทางทิศตะวันออกของพระที่นั่งไพศาลทักษิณ เป็นที่ประดิษฐานปูชนียวัตถุ เช่น พระบรมสารีริกธาตุ พระมหามณีรัตนปฏิมากรแก้วมรกตองค์น้อย พระชัยเนาวโลหะ พระชัยวัฒนประจำรัชกาล และพระพุทธปฏิมากรสำคัญอื่น ๆ

หอพระธาตุมณเฑียร ทางทิศตะวันตกของพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ก่อสร้างและตกแต่งเหมือนกับหอพระสุราลัยพิมานทุกประการ เป็นที่ประดิษฐานพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 1, 2, 3

ระหว่างหอพระธาตุมณเฑียรกับองค์พระที่นั่งไพศาลทักษิณ มีมุขกระสันต่อเนื่องกัน ผนังด้านเหนือเจาะเป็นช่องพระบัญชรเปิดออกสู่ลานข้างพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ด้านทิศตะวันตก เรียกว่า "สีหบัญชร" ใช้เป็นที่พระมหากษัตริย์เสด็จออกให้เข้าเฝ้าเป็นการฉุกเฉินในเวลาวิกาล และใช้ตั้งเครื่องนมัสการ สำหรับถวายบังคมพระบรมอัฐิในการพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา

หอศาสตราคม หรือ หอพระปริตร เพื่อให้พระสงฆ์ฝ่ายรามัญนิกาย ทำพิธีสวดพระพุทธมนต์สัตปริตรคาถาเสกน้ำพระพุทธมนต์ สำหรับสรงพระพักตร์ และ น้ำสรง น้ำประพรมรอบพระมหามณเฑียร

เมื่อมีการศึกสงครามได้ประกอบพิธีปลุกเสกเครื่องรางของขลัง เพื่อมอบเป็นขวัญกำลังใจให้แก่ทหารในการรบ ด้วยเหตุนี้จึงเขียนลายเครื่องอาวุธโบราณไว้ที่บานประตูหน้าต่างทุกบาน

เก๋งนารายณ์ รัชกาลที่ 2 ใช้สำหรับเป็นที่ทรงงานศิลปกรรม เป็นอาคารโถงขนาดเล็ก ทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า รูปแบบสถาปัตยกรรมจีน มีฝาสามด้าน ด้านหลังเป็นด้านประธาน มีแท่นก่ออิฐฉาบปูน ภายในประดิษฐานรูปปั้นเจ้าแม่ทับทิม และบริวารหมู่พระที่นั่ง

หอพระสุลาลัยพิมานใช้ประดิษฐานวัตถุมงคล พระพุทธรูป เพื่อสักการบูชา ตั้งอยู่ใกล้ที่ประทับจะได้สะดวกต่อการมาเคารพบูชา

พระที่นั่งดุสิดาภิรมย์เป็นพลับพลาเปลื้องเครื่องใช้ในการเสด็จขบวนแห่ มีเกยช้างสำหรับเทียบช้างต้นและสำหรับประทับพระราชยาน และเคยใช้เป็นที่พระสงฆ์ทำน้ำพระมุรธาภิเษก

 

วันนั้นกับวันนี้แตกต่างกัน ช่วงแรกพระราชมณเฑียรสร้างด้วยเครื่องไม้ มีเสาระเนียดรายรอบพระราชวัง ภายหลังจึงก่อกำแพงอิฐ และสร้างประตูรายรอบ

เมื่อแรกสร้างมีพระมหาปราสาท พระราชมณเฑียรสถาน และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีเนื้อที่ 132 ไร่ แบบแผนการก่อสร้างคล้ายคลึงกับพระบรมมหาราชวังเก่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยาที่สร้างวัดพระศรีสรรเพชญ์ไว้ในบริเวณพระราชวัง เพื่อประดิษฐานพระคู่บ้านคู่เมือง

พระสยามเทวาธิราช เทวรูปยืนหน้าซุ้มไม้จันทน์ สลักลวดลายเป็นหงส์และมังกร ประดิษฐานในพระวิมานไม้และแกะสลักปิดทอง พระหัตถ์ขวาทรงพระขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายยกเสมอพระอุระในท่าประทานพร ขนาดสูง 8 นิ้ว ทรงเครื่องต้นจากทองคำแท้ ประดิษฐานที่พระที่นั่งทรงธรรมในหมู่พระมหามณเฑียร ด้วยความเชื่อของรัชกาลที่ 4 ว่ามีเทวดาที่คอยปกปักรักษาแผ่นดินไทย

รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้า ฯ อัญเชิญพระสยามเทวาธิราช พระเทพารักษบดี ผู้เป็นประมุขแห่งเทพารักษ์ มีเทพบริวารที่สำคัญได้แก่ พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระหลักเมืองไปประดิษฐานที่พระที่นั่งไพศาลทักษิณ พระวิมานทองสามมุขซึ่งทำเป็นลับแลกั้นบังพระทวารเทวราชมเหศวรที่จะไปยังพระที่นั่งอมรินทร์วินิจฉัย




Create Date : 24 กันยายน 2562
Last Update : 24 กันยายน 2562 14:08:31 น.
Counter : 460 Pageviews.

0 comment
พระราชวังบวรสถานมงคล
พระราชวังบวรสถานมงคล
แต่เดิมผืนดินถิ่นนี้เป็นที่พำนักของผู้มีอำนาจเหนือแผ่นดิน รองมาเพียงหนึ่ง แต่เหนือคนทั่วหล้า คือ พระมหาอุปราช หรือพระอนุชาของพระมหากษัตริย์ ผู้ได้รับเกียรติยศสูงสุด ผู้มีทั้งฝีมือในการยุทธิ์และเรืองอำนาจ ช่วยกันปกบ้านป้องเมืองให้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข
วังหน้าคือคำเรียกขาน ตั้งอยู่ใกล้กับวังหลวง มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล แต่ภาพปัจจุบันของวังหน้ามองไม่เห็นแล้ว ด้วยโดนเปลี่ยนแปลงเป็นสนามหลวง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาลัยนาฏศิลป์ พระที่นั่ง วัดพระแก้ว
พระราชวังบวรสถานมงคลคือที่ดินบางส่วนของวัดสลักไปทางเหนือจรดคลองโรงไหม บริเวณเชิงสะพานพระปิ่นเกล้าฝั่งพระนคร ด้านเหนือติดกับวัดหลวงชีและคลองคูเมือง ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของวิทยาลัยนาฏศิลป์
พระราชวังแห่งนี้สร้าง 3 ปี จึงแล้วเสร็จ มีงานฉลองพระราชวังพร้อมกับพระบรมมหาราชวังและการสมโภชพระนครเมื่อ พ.ศ. 2328
ถ้าภาพงานเฉลิมฉลองกระจ่างชัดในมโน คงเห็นความสนุกสนานรื่นเริงบันเทิงใจของทุกคนถ้วนหน้า ที่ได้ก่อร่างสร้างเมืองใหม่จนสำเร็จสมดังประสงค์ แต่เมื่อภาพเหล่านี้เลือนหายไป ด้วยกาลเวลาที่ผ่านเลยไปสองร้อยกว่าปี
พระผู้สร้างที่หวังให้เป็นพระราชวัง อาจรู้สึกว่า ภาพถิ่นพำนักได้แปรเปลี่ยนไปเสียแล้ว
ทว่ามีสิ่งน่ายินดีมาทดแทน ด้วยกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ทำรายได้มหาศาลให้มาพัฒนาบ้านเมือง บางส่วนเป็นแหล่งประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ให้แก่บัณฑิตผู้นำประเทศ เป็นแหล่งสะสมโบราณวัตถุอันล้ำค่า มิมีเสียเปล่าเลย

 



Create Date : 24 กันยายน 2562
Last Update : 24 กันยายน 2562 6:28:43 น.
Counter : 495 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  

สมาชิกหมายเลข 4665919
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed

 ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]



ดร.พรรณี เกษกมล นักเขียน ข้าราชการบำนาญ ครูซี 9 แนะแนว
New Comments