In the last analysis, our only freedom is the freedom to discipline ourselves. - Bernard Baruch
Group Blog
 
All Blogs
 
ในเส้นสาย มีลายแทง

ถ้าชีวิตนี้มีทางเลือกสองทาง ทางแรก คือคุณสามารถเลือกทำอะไรก็ไก้กับชีวิตของคุณ เช่น วันจันทร์ไปไหว้พระที่ภูฏาน เดือนหน้าไปช็อปปิ้งที่ลอนดอน หน้าหนาวไปนอนอาบแดดที่ชายทะเลแคริบเบียน ฯลฯ โดยไม่ต้องพะวงกับงานที่ทำหรือกังวลกับค่าใช้จ่าย กับทางเลือกที่สอง คือ ทำงนแปดชั่วโมงต่อวัน ห้าวันต่อสัปดาห์ คุณอยากได้ชีวิตแบบไหน? และคุณคิดว่าคนอื่นๆอยากได้ชีวิตแบบไหนกัน?

ผมเชื่อว่าทางเลือกแรก หรือที่เรียกกันว่า “ชีวิตที่มีอิสรถาพทางการเงิน”นั้น คงมีคนเลือกมากกว่า95%อย่างแน่นอน เพราะชีวิตเรานั้นมีเวลาจำกัด ใครมีอายุเกิน80ปี ก็ถือว่ามีอายุยืนยาวมากแล้ว ดังนั้นในเวลาที่มีอยู่นี้ คงอยากทำอะไรตามที่ใฝ่ฝัน มากกว่ามานั่งทำงานในออฟฟิศอย่างแน่นอน

โรเบิร์ต คิโยซากิได้แบ่งมือที่จะนำไปสู่ชีวิตที่ดีกว่าไว้สามกลุ่ม คือ อสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจ และตราสารทางการเงิน ในคอลัมน์นี้จะเป็นการพูดคุยถึงการลงทุนในตราสารทางการเงินที่เรียกว่า “หุ้น” การลงทุนในหุ้นนั้นมีมากมายหลายวิธี ในที่นี้ผมจะแบ่งคร่าวๆเป็นกลุ่มใหญ่ๆสามกลุ่มด้วยกัน

กลุ่มนักลงทุนคุณค่า กลุ่มนี้เน้นไปที่ การซื้อบริษัทที่มีราคาถูกกว่าที่คำนวณได้ ชอบ”ของดีราคาถูก”

กลุ่มนักลงทุนทางเทคนิค กลุ่มนี้ดูที่ราคาอย่างเดียว ”ซื้อแพงได้ แต่ต้องขายแพงกว่า”

กลุ่มอารมณ์มวลชน พวกนี้เชื่อว่าคนกลุ่มใหญ่ผิดเสมอ จึงซื้อเมื่อคนส่วนใหญ่ขาย ขายเมื่อคนส่วนใหญ่ซื้อ

อันที่จริงแล้ว การลงทุนในหุ้นนั้นไม่มีวิธีไหนที่ถือว่าถูกต้องที่สุด หรือดีที่สุดสำหรับทุกๆคนนะครับ การลงทุนที่ดีอย่างแท้จริงนั้น คือการลงทุนที่สามารถให้ผลตอบแทนเราได้ตามที่เราต้องการ ”ซึ่งความต้องการนั้นต้องสมเหตุสมผลด้วย” ดังนั้นการลงทุนจะต้องเริ่มต้นจากการค้นหาตัวเองก่อนว่าเราต้องการผลตอบแทนเท่าไร ภายในระยะเวลาเท่าไร มีเงินทุนเริ่มต้นเท่าไร และจะพร้อมรับความเสี่ยงได้แค่ไหน ฯลฯ จากนั้นจึงมาวางแผนการว่า ”จะทำได้อย่างไร?” หุ้นนั้นก็เป็นเพียงแค่”ยานพาหนะ” การลงทุนประเภทหนึ่งเท่านั้น และการลงทุนในหุ้นเอง ก็ยังแบ่งได้อีกหลายวิธีดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ซึ่งวิธีที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้นั้น เป็นการรวมเอาความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางเทคนิค(Technical Analysis) และการบริหารเงินเพื่อการลงทุน(Money Management) มาประกอบกันเป็นระบบพื่อใช้ในการตัดสินใจลงทุน หรือที่เรียกว่า“Mechanical Trading System”ครับ ซึ่งวิธีการลงทุนอย่างเป็นระบบนี้ นอกจากจะสามารถใช้ได้กับหุ้นแล้ว ยังสามารถนำไปใช้ได้กับตราสารอนุพันธ์ต่างๆ เช่นSET50 Index Futuresในตลาดตราสารอนุพันธ์(TFEX) และสัญญาซื้อขายลวงหน้าต่างๆนตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย(AFET)ได้อีกด้วย

การลงทุนอย่างเป็นระบบนั้น หมายถึงการที่เราตัดสินใจซื้อ-ขาย ตามสัญญาณจากระบบที่เราออกแบบ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนตามที่เราต้องการ โดยใช้ความรู้ทางเทคนิคมาช่วยบอกจุด(ราคา) ที่จะซื้อแบะขาย ส่วนจำนวนหุ้นที่จะซื้อ-ขายนั้น จะใช้ความรู้จากส่วนของ Money Managementมาช่วยครับ ซึ่งเรื่องเหล่านี้จะขอพูดถึงรายละเอียดในตอนต่อๆไปนะครับ

สำหรับในตอนแรกนี้ ผมจะขอแนะนำการลงทุนด้วยวิธีทางเทคนิคสักเล็กน้อยก่อนนะครับ เพราะยังมีอีกหลายคนที่สงสัยและอาจจะเข้าใจผิดไปต่างๆนาๆ เช่น คิดว่าเป็นการลงทุนของพวกเก็งกำไรเท่านั้น การเอาราคาในอดีตมาทำนายอนาคตนั้นไม่มีเหตุผล ไม่มีทางทำได้ และที่ถูกเข้าใจผิดมากที่สุด ”การลงทุนทางเทคนิค ไม่มีใครที่ประสบความสำเร็จ” ...ผมขอลองมาเป็นทนายแก้ตางกันเป็นข้อๆไปนะครับ

อันดับแรกที่หลายคนพูดถึงเสมอ คือ ”การลงทุนทางเทคนิคนั้น ไม่มีใครที่ประสบความสำเร็จ” เป็นคำถามที่น่าคิดครับว่า ”ไม่มีคนสำเร็จจริงๆ หรือคุณไม่รู้เองว่ามีคนที่ประสบความสำเร็จ” จากประสบการณ์ของผม พบว่ามีหลายคนที่ลงทุนด้วยการวิเคราะห์ทางเทคนิคแล้วประสบความสำเร็จ จนมีอิสระภาพทางการเงิน ไม่เพียงแค่นั้นนะครับ บริษัทรับลงทุนบางแห่งก็ยังใช้แต่วิธีการลงทุนทางเทคนิคอย่างเดียว ซึ่งถ้าหากท่านต้องการรวยระดับโลกผมไม่แน่ใจว่าการลงทุนทางเทคนิคคือคำตอบหรือไม่ แต่หากต้องการอิสรภาพทางการเงิน วิธีการลงทุนทางเทคนิคนั้นพอเพียงอย่างล้นเหลือเลยครับ

เทคนิคเป็นการก็งกำไรเท่านั้น และราคาสามารถทำนายอนาคตได้จริงหรือ

ผมขอตอบด้วยหลักการพื้นฐานที่ว่า Why does technical analysis work? นั่นคือหลักการสามข้อที่เป็นพื้นฐานขงการวิเคราะห์ทางเทคนิคทั้งหลายครับ หลายคนที่เป็นนักลงทุนทางเทคนิคแต่ไม่รู้ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร ก็จะได้เข้าใจด้วยว่าทำไมการดูแต่ราคาหรือเส้นแนวโน้มถึงได้ผล

1) ราคาคำนวณรวมทุกอย่างไว้แล้ว(Price Discount Everything)
ถ้าราคาหุ้นถูกกำหนดโดยคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นมาเฉพาะ หรือถูกซื้อขายกันที่ราคาตามบัญชีเท่านั้น เทคนิคคงใช้ไม่ได้ครับ แต่ในตลาดหุ้นราคาขึ้นอยู่กับ”ความพึงพอใจของผู้ซื้อและผู้ขาย” และความพึงพอใจนั้นมองได้จากปริมาณการซื้อขาย(Volume) คือ ถ้ามีคนอยากซื้อขายที่ราคานั้นมากๆก็จะทำให้มีปริมาณการซื้อขายมากขึ้นตามไปด้วย เช่น นายนูไปรู้มาว่าบริษัทAมียอดขายที่ดีมาก และราคาจะต้องขึ้นไปอย่างแน่นอน นายนูก็จะไปซื้อหุ้นAเพื่อหวังราคาหุ้นที่สูงขึ้น คือมีความโลภ หรือที่เราเรียกให้สละสวลยว่ามีอุปสงค์ในหุ้นA ในที่นี้ นายนูก็จะซื้อหุ้นมากเท่าที่เค้ามั่นใจ เช่น ถ้ามั่นใจสุดๆว่าหุ้นกำไรขนาดนี้ราคาหุ้นต้องขึ้นเป็นเท่าตัวอย่างแน่นอน นายนูก็อาจจะขายรถขายบ้านมาซื้อ(ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่งนะครับ ควรใช้เงินเก็บหรือเงินเย็นเท่านั้น ถ้าใช้เงินกู้มาลงทุนอาจทำให้ร้อนผ่าวๆได้) แต่หากนายนูมั่นใจน้อยหน่อยก็อาจซื้อสัก20-30%ของเงินลงทุนในหุ้นทั้งหมด

ลองมาดูนายโน้ตกันบ้าง นายโน้ตรู้มาว่าแม้ยอดขายของบริษัทAจะเพิ่มขึ้น แต่ต้นทุนเพิ่มขึ้นมากกว่า ทำให้บริษัทนี้ขาดทุน แล้วนายโน้ตก็มีหุ้นของบริษัทนี้อยู่ด้วย นายโน้ตจึงเกิดความ”กลัว” ว่าราคาหุ้นAจะลดลง เลยต้องการขายหุ้นAออกไป หรือที่เราเรียกว่าอุปทานในหุ้นA แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นในตลาดหุ้นไม่ได้มีแค่นายนูกับนายโน้ต แต่ยังมีนายหนุ่ม นายโจ้ นายอ๋อง ซึ่งแต่ละคนก็จะมีข่าวสารเกี่ยวกับบริษัทA ที่แตกต่างกัน เช่น จากหนังสือพิมพ์ จากเพื่อน จากการทำงาน ทุกคนก็จะเอามาคำนวณว่าควรซื้อหรือขาย และยืนยันความมั่นใจด้วยปริมาณที่เขาซื้อหรือขายนั่นเอง ดังนั้นการลงทุนทางเทคนิคจึงเชื่อว่า ราคาและปริมาณการซื้อขายนั้น สามารถบอกได้ถึงพื้นฐานของหุ้น ผ่านทางพฤติกรรมการซื้อขายของคนในตลาดครับ

2)ตลาดเคลื่อนไหวตามแนวโน้ม(Price Move In Trend)
จากกราฟนี้เรารู้ว่าราคาหุ้นนั้นไม่ได้ขึ้นลงเป็นเส้นตรง แต่จะมีการพักตัวเป็นระยะๆ ลักษณะคล้ายกับฟันปลา อย่างไรก็ดี หากเราลากเส้นจากจุดต่ำสองจุด(ในกรณีขาขึ้น) หรือจุดสูงสุดสองจุด(ในกรณีขาลง) เราจะได้เส้นที่เรียกว่า”เส้นแนวโน้ม(Trend Line)” เส้นนี้บอกเราว่าราคาหุ้นนั้น เมื่อวิ่งไปทางใดทางหนึ่งแล้วจะวิ่งไปทางนั้นตลอดจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแนวโน้ม ดังนั้นเมื่อราคาผ่านเส้นA-Bขึ้นไป เราก็จะคาดหมายถึงแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของราคาหุ้น เราจึงเข้าซื้อที่จุดB จากนั้นเราก็ถือไปเรื่อยๆ ตราบเท่าที่ราคายังอยู่เหนือเส้นB-C เพราะยังแสดงถึงแนวโน้มว่าหุ้นเป็นขาขึ้นอยู่ เม่อราคาหุ้นได้ตกลงมาต่ำกว่าเส้นB-Cแล้วเราก็จะขายหุ้นนั้นออกไป จากกราฟเราจะขายหุ้นที่จุดC(และขายช็อตเซลล์หากตลาดนั้นๆมีการอนุญาตให้ขายช็อตเซลล์ได้) แล้วถือสถานะช็อตไว้ตราบเท่าที่ราคายังไม่วิ่งทะลุเส้นC-D ซึ่งเป็นเส้นที่บ่งบอกถึงแนวโน้มขาลง ณ จุดD เมื่อราคาหุ้นได้วิ่งทะลุเส้นแนวโน้มขาลงขึ้นไปแล้ว เราจึงซื้อคืนหุ้นที่ขายออกไปก่อนหน้า(เพื่อปิดสถานะช็อต) และซื้อเพิ่มเพื่อทำกำไรในขาขึ้น

เห็นไหมครับ แค่ดูจากรูปแบบของราคาอย่างเดียวราก็สามารถทำกำไรได้แล้ว การลงทุนหุ้นทางเทคนิคนั้น แท้จริงแล้วเราไม่ได้ต้องการซื้อที่จุดต่ำสุด และขายที่จุดสูงสุดนะครับ จากรูปเราได้เห็นแล้วว่าจุดต่ำสุดมีแค่จุดเดียวเท่านั้น และจุดสูงสุดก็มีแค่จุดเดียวเช่นกัน ดังนั้นเมื่อพิจารณาในด้านของสถิติแล้ว มันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ที่จะทำกำไรจากการพยายามช้อนซื้อที่จุดต่ำสุด แล้วไปขายที่จุดสูงสุด เพราะการช้อนซื้อนั้นจะขาดทุนทุหครั้งครับ ยกเว้นครั้งสุดท้ายครั้งเดียวที่เป็นจุดต่ำสุดจริงๆ และการพยายามขายที่จุดสูงสุดก็จะผิด(ขาดทุนกำไร)ทุกครั้งเช่นกัน เพราะราคาจะยังคงขึ้นไปเรื่อยๆ ยกเว้นครั้งสุดท้ายครั้งเดียว ที่เป็นจุดสูงสุดจริงๆ

ดังนั้นวิธีที่ควรทำก็คือ เข้าซื้อเมื่อหุ้นนั้นเปลี่ยนแนวโน้มเป็นขาขึ้นแล้ว และขายก็ต่อเมื่อหุ้นนั้นเปลี่ยนแนวโน้มเป็นขาลงแล้วเท่านั้นครับ เราบองมามองในมุมใหม่กันนะครับ เพราะเราต้องการลงทุนให้ได้กำไร ไม่ใช่เพื่อพิสูจน์ว่าเราคิดถูก เพราะไม่ว่าจะยังไง ตลาดเป็นฝ่ายถูกเสมอครับ



3)ตลาดมักจะซ้ำรอยเสมอ(History Tends To Repeat Itself)
อย่างที่บอกไปในกฏข้อแรกว่า การขึ้นลงของราคาหุ้นนั้นขึ้นอยู่กับอุปสงค์และอุปทานในหุ้นตัวนั้นๆ หรือที่เรียกกันตามประสาชาวหุ้นว่า”ความโลภและความกลัว”ของนักลงทุนนั่นเอง และไม่ว่าเมื่อใด หรือยุคสมัยไหน ความโลภและความกลัวก็ยังคงอยู่ในจิตใจของมนุษย์เสมอ ดังนั้นผลที่สะท้อนออกมาในราคาหุ้นนั้น ก็จะวนเวียนอยู่แบบเดิมเรื่อยไป ทำให้เรื่องของเส้นแนวโน้ม(Trend Line) เส้นแนวรับ(Support Line) เส้นแนวต้าน(Resistant Line) และรูปแบบของราคา(Price Pattern) เช่น Double Top, Double Bottom, Head and Shoulders ฯลฯ ยังคงใช้ได้อยู่ตลอดมา หากจะให้อธิบายเหตุผลว่าทำไมกฏข้อนี้ทำให้เส้นหรือรูปแบบราคาเหล่านี้ใช้ได้แล้ว ต้องใช้เนื้อที่อีกเยอะมากครับ หากมีโอกาสพี่ๆท่านอื่น(คอลัมน์ของเราเขียนกันหลายคนครับ) คงจะได้มาอธิบายถึงเบื้องหลังของการทำงานของกฏข้อนี้กันครับ

นี่เป็นหลักการพื้นฐานสามข้อของการลงทุนทางเทคนิคนะครับ ผมหวังว่าหลายท่ายที่ไม่เคยสนใจการลงทุนแบบนี้เลย ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม หรือคนที่ใชเทคนิคประกอบการลงทุนอยู่แล้ว แต่ไม่เคยรู้ว่ามีหลักการหรือที่มาอย่างไร จะได้เข้าใจว่า เครื่องมือที่นำมาประกอบการตัดสินใจลงทุนนั้น มีหลักการและเหตุผลรองรับครับ ไม่ได้คิดขึ้นมาง่ายๆเพื่อเป็นข้ออ้างในการเก็งกำไรเท่านั้นอย่างที่เคยเข้าใจกัน

กลุ่มผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคอลัมน์ของพวกรานี้จะช่วยให้เห็นอีกทางเลือกหนึ่งในการลงทุน เพราะเราเชื่อว่าโลกนี้ไม่มีสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับทุกคน(No One Best Way) ดังนั้นเราจึงเสนออีกทางเลือกหนึ่งให้กับกลุ่มคนที่”ตื่นตัว แต่ไม่ตื่นตูม” ซึ่งผมได้พบเห็นหลายคนเลือกวิถีตามคนอื่น ซึ่งตัวเองอาจไม่ได้ถนัดในแนวทางนั้นๆ ทำให้ผลการลงทุนอาจไม่เหมือนต้นแบบที่เราชื่นชมก็เป็นได้ ”Be Your Own Use your way”



Create Date : 08 เมษายน 2552
Last Update : 8 เมษายน 2552 2:49:44 น. 4 comments
Counter : 987 Pageviews.

 
ได้ความรู้จัง...ฮะฮะชอบๆเรื่องแบบนี้ แต่ยังไม่ได้เรียนเลยอะ


โดย: Calypsol_Red วันที่: 8 เมษายน 2552 เวลา:5:45:06 น.  

 
เนื้อหามีประโยชน์
เรียบเรียงได้ดี

คนอ่านอ่านเพลินและได้ความรู้
เขียนไปเรื่อยๆนะครับ มีคนติดตามผลงานอยู่
วันหนึ่ง รวบรวมพิมพ์เป็นหนังสือขายได้
ผมคนหนึ่งล่ะ จะซื้อ
และจะแนะนำคนอื่นด้วยครับ


โดย: ลุงบ้านนอก IP: 117.47.221.216 วันที่: 8 เมษายน 2552 เวลา:7:36:23 น.  

 
ขอบคุณครับ
ติดตามอ่านต่อ


โดย: สำเร็จด้วยใจ IP: 61.7.146.131 วันที่: 8 เมษายน 2552 เวลา:8:08:36 น.  

 
ขอบคุณมากๆครับ จะพยายามเขียนออกมาอีกครับ

_/\\_


โดย: ขอบฟ้าบูรพา วันที่: 10 เมษายน 2552 เวลา:3:27:25 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ขอบฟ้าบูรพา
Location :
สมุทรปราการ Thailand

[Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 19 คน [?]




ผู้ประกาศกรุงเทพธุรกิจทีวี พิธีกรรายการแกะรอยหยักสมองและ World Class Smart Thai
สนใจประวัติศาสตร์ ศาสนา ปรัชญา ต่างประเทศ เทคโนโลยี สังคม และชนชั้น

ติดตามทวิตเตอร์ได้ที่ @atis_kttv นะครับ
New Comments
Friends' blogs
[Add ขอบฟ้าบูรพา's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.