bloggang.com mainmenu search


เช้าวันที่ 28 กันยายน 2560 ล้างหน้าล้างหนวดแล้วออกไปเดินเล่น เพื่อนกิตปลูกข้าวกล้องหอมนิล ไปเดินด้วยกันค่ะ

05.46 น. วันที่ 28 กันยายน 2560



สดชื่นดี ฝันอยากมีเรือกสวนไร่นากับเค้าบ้าง ... ได้แต่ฝันค่ะ







รื่นรมย์สมอุรา ชื่นตาฟ้าเบิกบาน นกร้องขับขาน สราญแสนสุขใจ Smiley





ตะวันขึ้นแล้ว เห็นไม่ชัด ต้นไม้บัง



6.06 น. ลองเดินมาอีกฝั่ง 



7.39 น. สถานที่เที่ยว ถ่ายรูปที่แรกของวันนี้ โบสถ์อาสนวิหารอัครเทวดามิคาแอล



ประวัติความเป็นมา...




"ชุมชนท่าแร่" บ้านท่าแร่ ต.ท่าแร่ อ.เมือง จ.สกลนคร

บ้านท่าแร่ เป็นชุมชนคาทอลิกที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศไทย มีประชากรนับถือคาทอลิกนับหมื่นคน โดยคริสตชนท่าแร่ดั้งเดิมนั้นอพยพมาจากเวียดนามในราวปี พ.ศ. 2427 หรือ ค.ศ. 1884

หมู่บ้านนี้มีผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมตารางหมากรุก คล้ายกับบ้านเมืองในแถบประเทศตะวันตก มีบ้านเรือนสถาปัตยกรรมฝรั่งเศสที่งดงามเรียงรายสองข้างทางในถนนสายหลักของหมู่บ้านเป็นจำนวนมาก 

ในช่วงเทศกาลคริสต์มาสของทุกปี ชุมชนท่าแร่จะจัดเทศกาล "แห่ดาว" คริสต์มาสอย่างยิ่งใหญ่ มีการประดับประดาบ้านเรือนด้วยดวงไฟหลากสีสันและตกแต่งด้วย "ดาว" สัญลักษณ์การประสูติของพระเยซูเจ้า

"โบสถ์อาสนวิหารอัครเทวดามีคาแอล" เป็นโบสถ์ขนาดใหญ่รูปทรงคล้ายเรือ เพื่อระลึกถึงการอพยพมาตั้งถิ่นฐานของคริสตชนในหมู่บ้านนี้อีกด้วย























เข้ามาด้านในกันค่ะ ยังเช้าอยู่ ไม่มีคน ถ่ายรูปสบายเลย



กระจกสีเรื่องราวของพระเยซูคริสต์ วัดพุทธเราก็พุทธประวัติเนาะ













แสงเข้ากำลังดีเลย





8.10 น. มาต่อกันที่บ้านโบราณ ท่าแร่ สวยมากค่ะ 







เก่าแล้วยังสวยเลยค่ะ



บ้านโบราณอีกหลังค่ะ คฤหาสน์ อุดมเดชวัฒน์



อาคารโบราณหลังนี้ ตั้งอยู่เลขที่ 268 หมู่ที่ 6 ถนนราษฎร์เจริญ บ้านท่าแร่ เป็นของนายคำสิงห์ อุดมเดช หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อ องเด สร้างขึ้นตามรูปแบบสถาปัตยกรรมฝรั่งเศส (French Colonial Architecture Style) ในปี ค.ศ. 1933 (พ.ศ. 2476) โดยช่างชาวเวียดนาม ที่อพยพมาอยู่ในจังหวัดนครพนมและบ้านท่าแร่ เป็นอาคาร 2 ชั้น พื้นที่ปลูกอาคารแต่เดิมเป็นดินโคลนปลักควาย จึงมีการถมให้แน่น ชั้นล่างทำเป็นร้านค้า จำหน่ายสินค้าเบ็ดเตล็ด สิ่งจำเป็นในการอุปโภคบริโภค รวมทั้งตาชั่งจีน ส่วนชั้นบนเป็นที่พักอาศัย มี  2 ห้องนอน อยู่ด้านซ้ายและด้านขวา มีแท่นพระที่สวยงามตั้งอยู่ตรงกลางห้องโถง สำหรับตั้งกางเขน พระรูปพระเยซู รูปพระแม่มารีย์และนักบุญต่าง ๆ ไว้ให้สมาชิกในครอบครัวได้เคารพบูชาและสวดภาวนา พร้อมที่จะใช้ประกอบพิธีทางศาสนา สภาพของอาคารในปัจจุบัน พื้นชั้นล่างทรุด ขาดการบูรณะซ่อมแซม เพราะไม่มีผู้อาศัยอยู่อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี โครงสร้างส่วนสำคัญของอาคารหลังนี้ ซึ่งช่างได้ใช้เทคนิคแบบโบราณในการก่อสร้าง โดยใช้ปูน ทราย อิฐ ผสมผสานยึดติดกันกับเสาไม้ได้อย่างลงตัว ทำให้ผนังและหลังคามีความมั่นคงแข็งแรงและปลอดภัย ถือได้ว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นสวยงามล้ำค่าแห่งหนึ่งในจังหวัดสกลนคร







ด้านหลังค่ะ


น่าจะเป็นยุ้งข้าว เดานะคะ










ร้านกาแฟฝั่งตรงข้ามบ้านโบราณ 


บ้านโบราณของ องเลื่อง โสรินทร

อาคารโบราณหลังนี้ ตั้งอยู่เลขที่ 269 หมู่ 6 ถนนราษฎร์เจริญ บ้านท่าแร่ เป็นของนายเลื่อง โสรินทร์ สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1932 (พ.ศ. 2475) โดยช่างชาวเวียดนามที่อพยพมาอยู่ในจังหวัดนครพนมและบ้านท่าแร่ เป็นอาคาร 2 ชั้น สร้างในรูปแบบสถาปัตยกรรมฝรั่งเศส (French Colonial Architecture Style) ผสมเวียดนาม ช่างก่อสร้างได้ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและประสบการณ์ในการก่อสร้าง แบบก่ออิฐถือปูน ไม่มีปูนซีเมนต์ ไม่มีเหล็ก แต่ช่างได้ใช้วัสดุพื้นบ้าน โดยการนำปูนขาวผสมกับทราย ยางพืชพื้นเมือง คือยางบงและน้ำอ้อยแทนปูนซีเมนต์ โครงสร้างชั้นบนส่วนมากเป็นไม้ อุปกรณ์บางอย่าง นำเข้ามาจากประเทศฝรั่งเศส ผ่านทางคุณพ่อยอแซฟ กอมบูริเออ มิชชันนารีชาวฝรั่งเศส ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดอัครเทวดามีคาแอล ลงเรือมาถึงกรุงเทพ ขึ้นรถไฟมาถึงโคราช และบรรทุกใส่เกวียนต่อมาถึงท่าแร่ อาคารหลังนี้จึงกลายเป็นมรดกที่ล้ำค่าทางสถาปัตยกรรม ที่โดดเด่นสวยงามอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดสกลนคร






สวยทุกหลังเลยเนาะ


ซูม ๆ ลวดลายหน้าอาคาร





หลังสุดท้ายค่ะ บ้านโบราณ 100 ปี



บ้านโบราณหลังนี้ มีอายุประมาณ 90 - 100 ปี เป็นบ้านของ นายหนู ศรีวรกุล (เฮียน เรียนดึงดึง) และนางหนูนา อุปพงษ์ ซึ่งเป็นบุตรของ พระยาประจันตประเทศธานี  เจ้าเมืองสกลนครเวลานั้น  เดิมสร้างเป็นที่อยู่อาศัย  ต่อมาในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ทางราชการสั่งปิดโบสถ์ ไม่ให้ใช้ทำพิธีใด ๆ ในทางศาสนา ชาวคริสต์จึงต้องหาสถานที่แห่งใหม่ เพื่อใช้ทำพิธีต่าง ๆ เช่น พิธีบูชามิสซา พิธีรับศีลสมรส และเนื่องจากบุตรหลานของเจ้าของบ้านหลังนี้ เป็นพระสงฆ์ในศาสนาคริสต์ จึงอนุญาตให้ใช้บ้านหลังนี้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และชาวคริสต์ รุ่นเก่าหลายคนก็เคยใช้บ้านหลังนี้จัดพิธีรับศีลแต่งงาน น่าเสียดายที่ต่อมาบ้านถูกไฟไหม้ ชำรุดทรุดโทรม ไม่มีการบูรณะซ่อมแซม มีต้นโพธิ์ขึ้นรกรุงรัง จนกลายเป็นบ้านร้างอย่างที่เห็นในปัจจุบัน

ข้อมูลจาก https://www.tharaesakon.go.th/link%20marge/Banboran/banboran.html



Smiley ความเดิม Smiley

เพื่อนพาเที่ยว นครพนม สกลนคร - สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 3

เพื่อนพาเที่ยว นครพนม สกลนคร - พระธาตุนคร พระธาตุพนม

เพื่อนพาเที่ยว นครพนม สกลนคร - พระธาตุศรีคุณ พระธาตุเรณู

เพื่อนพาเที่ยว นครพนม สกลนคร - พระธาตุท่าอุเทน



Create Date :13 พฤษภาคม 2561 Last Update :13 พฤษภาคม 2561 18:21:58 น. Counter : 2546 Pageviews. Comments :0