bloggang.com mainmenu search
ทริปลาวใต้ - อุบลราชธานี 27 พฤศจิกายน - 4 ธันวาคม 2562

ก่อนอื่น...ขอขอบคุณทุกคะแนนโหวต ที่ตั้งใจโหวตให้ แม้จะปิดคอมเมนท์ตลอด ๆ 106

และ ขอแสดงความยินดีกับบล็อกเกอร์ทุกท่าน ทุกรางวัลด้วยนะคะ 116

ตอนที่ 2 แล้ว...กลับจากปราสาทวัดพู เรามาแวะริมโขงตรงนี้ เล็งไว้ตอนขามา



มีทางลง แต่เราไม่ได้เดินลงไปค่ะ



แม่น้ำโขงใส เป็นสีคราม ไม่มีตะกอนแบบนี้ ผิดธรรมชาติเดิม ๆ ของแม่น้ำโขงนะคะ

.....ดร.ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.มหาสารคามและผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศวิทยาแม่น้ำโขง ได้โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กส่วนตัวถึงปรากฏการณ์ดังกล่าวว่า ไม่ต่างจากหายนะที่เกิดขึ้นกับแม่น้ำโขง สีของน้ำในแม่น้ำโขงที่เป็นสีครามเกิดจากน้ำในแม่น้ำโขงใส ไร้ตะกอนในน้ำ และการใสไร้ตะกอน ผิวน้ำจึงเป็นเหมือนกระจกที่สะท้อนแสงของท้องฟ้ากลายเป็นสีคราม แต่หากลงไปดูดี ๆ น้ำในแม่น้ำโขงใสมาก ทางวิชาการเรียกภาวะแบบนี้ว่า "hungry river" แปลว่า "ภาวะไร้ตะกอน" แต่จะให้เข้าใจเลยก็คือเกิดภาวะ "สายน้ำที่หิวโหย"

ตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมานับแต่แม่น้ำโขงเป็นที่รู้จักของชาวตะวันตก แม่น้ำโขงจะได้รับฉายาจากผู้สื่อข่าว นักทำสารคดี นักเขียนว่า "Mighty Mekong" สายน้ำโขงที่อุดมสมบูรณ์ สีของสายน้ำนี้จะเป็นสีปูน เพราะมีตะกอนที่เกิดจากการกษัยการ (หรือการพังทลาย) ของหินและดินหอบมากับสายน้ำ

ตะกอนที่พัดพามากับสายน้ำโขง เมื่อน้ำโขงไหลไปตามสายน้ำ และมีแม่น้ำสาขาไหลลงมาบรรจบก็จะทำให้เกิด "แม่น้ำสองสี" ในแทบทุกที่ เช่น ที่ปากมูลก็เกิดแม่น้ำสองสี "โขงสีปูน มูลสีคราม" คือน้ำสาขาจะมีสีคราม แต่น้ำโขงมีสีปูน

อย่างไรก็ตาม ณ วันนี้แม่น้ำโขงไม่ได้เป็น Mighty Mekong อีกแล้ว กลายเป็น "Hungry Mekong" เพราะหลังจากเขื่อนไซยะบุรีสร้างเสร็จก็มีการกักเก็บน้ำไว้เหนือเขื่อนตั้งแต่เดือนกรกฎาคมจนกระทั่งน้ำท้ายเขื่อนแห้งและปลาตาย

มีหลักฐานมากมายที่แสดงให้เห็นว่าเหนือเขื่อนไซยะบุรีมีน้ำเต็มและนิ่ง ขณะที่ท้ายเขื่อนน้ำแห้ง หลายแห่งที่เคยมีน้ำมองดูราวกับทะเลทรายเหลือแต่น้ำในร่องน้ำลึกที่ยังไหล ถ้าน้ำโขงกว้างก็จะไหลเอื่อย หากแคบมีแก่งน้ำก็พอยังจะเชี่ยว แต่ไม่ได้ไหลแรงตามธรรมชาติ 


ที่มา : https://siamrath.co.th/n/118826





ต้นไม้ใหญ่โตมาก 



16.56 น. วันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 เวลาที่ลาวกับไทย ไม่ต่างกันค่ะ



ค่าผ่านด่านต่าง ๆ 



17.49 น. ได้เวลาเข้าที่พักกันค่ะ เราจองผ่าน booking.com หาไม่ยากค่ะ อยากได้ที่พักในเมือง ไปไหนมาไหนสะดวกหน่อย



Alisa Guesthouse ค่ะ มีตึกใหม่อยู่ด้านหลัง ใกล้ที่จอดรถ แต่เราจองตึกนี้ 



ห้องกว้างขวางเลยค่ะ



ลงบันทึกค่าใช้จ่ายแล้ว...นับเงิน ยังเหลือเงินอีกเป็นเยอะค่ะ 107



มื้อเย็น เดินออกมาหาอะไรกินแถวที่พัก ร้านนี้เลยค่ะ ดาวลิน - Dao Lin 



เที่ยวลาวดีอย่าง อาหารการกินใกล้เคียงกับที่บ้านเรา ภาษากลางบ้านเรานี่ล่ะค่ะ เข้าใจกันได้ง่าย



สั่งมา 3 อย่าง ข้าวเหนียวคนละกระติดบ กินกัน 2 คน แทบไม่หมด ค่าเสียหายมื้อนี้ 105,000 กีบค่ะ



เดินเล่นย่อยอาหารค่ะ / ตู้เอทีเอ็มบ้านเค้า





เห็นโต๊ะตั้งเป็นจุด ๆ ข้างถนน เลยลองไปส่อง เค้าขายหวยค่ะ 



7 โมงเช้าวันที่ 28 พฤศจิกายน 2562 ฝากท้องมื้อเช้าที่ดาวลินอีกแล้วค่ะ สะดวกดี



ตึก อาคาร เดินใกล้ ๆ ระหว่างรออาหารมา







ร้านดาวลิน





ลาเต้ร้อน ก๋วยจั๊บไก่ของเรา, poongie สั่งกาแฟดำ ก๋วยจั๊บหมู



ปาเต ชิ้นใหญ่มาก อิ่มจุกกันเลยค่ะ



ค่าเสียหายเช้านี้ค่ะ 77,000 กีบ



ทางผ่านกลับไปที่พัก



แวะคุยกับเด็ก ป้าขอถ่ายรูป น้องเรียนประถม 4 ; หนูไม่นุ่งซิ่นเหรอลูก , นุ่งกระโปรงก็ได้ นุ่งซิ่นก็ได้ค่ะ



ดูดส้วม



รถสองแถว เหมาไปเที่ยวได้ค่ะ



ที่นี่จำหน่ายตั๋วไปสถานที่ต่าง ๆ ด้วยค่ะ  รถมาแวะรับที่นี่เลย ทั้งเวียดนาม ลาวเหนือ กัมพูชา อุบล กรุงเทพฯ



กลับมาที่พัก เลยได้รู้ว่า เค้ามีกาแฟให้ บริการตัวเอง ตอนเราออกไป เค้ายังไม่ตั้ง



09.12 น. เส้นทางเข้าน้ำตกตาดฟาน




การเดินทางไปน้ำตกตาดฟาน :  ใช้ทางหลวงหมายเลข 23 เส้นทางไปปากซอง มาถึงหลักกิโลเมตรที่ 38 มีทางแยกเข้าขวามือ



09.19 น. ถึงแล้วค่ะ ค่าฝากรถ ค่าธรรมเนียมเข้า 2 คน 30.000 กีบ



เช็คอินหน่อยเนาะ





มีกิจกรรมเล่นซิปไลน์...ไม่ได้เล่นนะคะ




น้ำตกตาดฟาน เป็นน้ำตกที่สูงที่สุดในแขวงจำปาสัก เรียกอีกชื่อว่า น้ำตกดงหัวสาว (ฟาน แปลว่า เก้ง)
จุดเด่นอยู่ตรงสายน้ำ 2 สายที่ไหลลงจากหน้าผาสูงราว 120 เมตร
โดยสายน้ำทางซ้ายมือไหลมาจากห้วยผักกูด และทางขวามือเป็นสายน้ำที่ไหลมาจากอุทยานแห่งชาติดงหัวสาว
มีจุดชมวิวที่ตั้งอยู่คนละฟากเขากับตัวน้ำตก ในระดับความสูงเท่า ๆ กัน 



สักพัก มีทัวร์กฐินกลุ่มใหญ่มา เรารีบหนีเลยค่ะ



มาแวะจุดละลายทรัพย์แป๊บค่ะ



poongie ได้ไปหลายผืน เราได้ผ้าพันคอคลุมไหล่มา 2 ผืน



น้องสาวคนขายอัธยาศัยดีค่ะ จำแนกแยกแยะให้ ทอมือ ทอโรงงาน



ชวนชิมชาฟรี...ไม่ได้ชิมค่ะ



เนื้อแดดเดียว





ต่อเลยค่ะ น้ำตกตาดเยือง



ค่าฝากรถ ค่าธรรมเนียมในการเข้าชม 2 คน เท่ากับที่น้ำตกตาดฟานคือ 30.000 กีบ





ซุ้มขายของระหว่างทางลง



เดี๋ยวเราเดินลงไปข้างล่างกันค่ะ





ตรงนี้คือจุดที่น้ำตกไหลลงไป





คุณป้าชาวเขา ทำงานจักสานขาย



ผลิตภัณฑ์จักสานฝีมือป้า ๆ 



น้ำตกตาดเยือง มาเส้นทางเดียวกับน้ำตกตาดฟาน

ใช้ทางหลวงหมายเลข 23 เส้นทางไปปากซอง มาถึงหลักกิโลเมตรที่ 40 มีทางแยกเข้าขวามือเข้าไปประมาณ 1 กิโลเมตร



ทางลงไปจุดชมวิวน้ำตก ชันพอปวดเข่านิด ๆ  แต่ทางทำดีค่ะ 





น้ำตกตาดเยือง เป็นน้ำตกสวยงามอีกแห่งหนึ่งของเมืองปากซอง คำว่า เยืองแปลว่า เลียงผา 

จุดเด่นที่น่าชมอยู่ที่สายน้ำสีขาวที่ไหลออกมาตามหน้าผากระทบโขดหินแตกเป็นละอองสีขาวตัดกับสีดำเข้มของโขดหิน





ลงไปข้างล่างใกล้ชิดน้ำตกกว่านี้ก็ได้ค่ะ แต่ละอองน้ำกระเซ็น เรากลัวกล้องเปียก แค่นี้พอแล้วค่ะ 



11.10 น. ได้เวลาพอสมควร ไต่บันไดกลับกันค่ะ



เสาวรส มะละกอ วางขาย ไม่ได้ถามราคามานะคะ



มันเทศ แครอท ฟักแม้ว ผักกาด



ระหว่างทางเข้า-ออก



นั่งพักกินน้ำกินท่าแล้วเดินทางต่อค่ะ



 ความเดิม 

ปราสาทวัดพู
Create Date :22 มกราคม 2563 Last Update :22 มกราคม 2563 20:08:59 น. Counter : 1784 Pageviews. Comments :0