bloggang.com mainmenu search





เข้าพักที่ โรงแรมรอยัลนาคารา 

สะพานมิตรภาพ ไทย - ลาว 1  (หนองคาย - เวียงจันทน์)

วัดโพธิ์ชัย จ.หนองคาย



ทริปอีสาน  28  ธันวาคม  2558  -  2  มกราคม  2559







ทริปนี้ นอกจาก Hop Inn ที่ขอนแก่นแล้ว  ที่เหลือ เราไม่ได้จองห้องพักไว้ล่วงหน้าเลยค่ะ ไปหาเอาข้างหน้ากันวันต่อวัน  

วันที่  30  ธันวาคม  2558   ได้ที่พักที่ โรงแรมรอยัลนาคารา เพราะข้อความหน้าเว็บของโรงแรมบอกว่า

อยู่ห่างจากสะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว เพียง 2 กม. และมีห้องพักมากถึง 80 ห้อง คิดว่ายังไงก็มีห้องว่างแน่นอน






16.29 น.  วันที่  30  ธันวาคม  2558  ที่จอดรถกว้างขวาง สะดวกดีค่ะ





ห้องแสตนดาร์ด 1,000 บาท รวมอาหารเช้าค่ะ





บ้านเราสามารถเช่นเคย นอนเตียงละ 2 คน





สิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน เท่าที่ควรจะมีจะใช้





ห้องน้ำมีสายชำระ  Smiley









เปิดประตูเข้ามา ตู้เสื้อผ้า อยู่ซ้ายมือ นอนคืนเดียว ไม่ได้ใช้ตู้เสื้อผ้าหรอกค่ะ





เดินลงมาชั้นล่าง - ประตูที่เปิดอยู่ ทางเดินไปห้องอาหารค่ะ





หน้าฟรอนท์





มีห้องจัดเลี้ยง ประชุม สัมมนาด้วย





 ทริปนี้ หมายมั่นปั้นมือว่า จะต้องมาเก็บภาพสะพานมิตรภาพ ไทย - ลาว  ให้ได้





ฝั่งเวียงจันทน์ - สปป. ลาว













17.37 น.






สะพานมิตรภาพ ไทย - ลาว  1  (หนองคาย-เวียงจันทน์)

(อังกฤษ : 1st Thai-Lao Friendship Bridge; ลาว : ຂົວມິດຕະພາບ ລາວ-ໄທ ແຫ່ງທຳອິດ)

เป็นสะพานข้ามแม่น้ำโขงขนาดใหญ่แห่งแรก โดยเชื่อมต่อเทศบาลเมืองหนองคายเข้ากับบ้านท่านาแล้ง ซึ่งอยู่ห่างจากนครหลวงเวียงจันทน์ ประเทศลาว  ประมาณ 20 กิโลเมตร 

ตัวสะพานมีความยาว 1,170 เมตร มีทางรถ 2 ช่องจราจร กว้างข่องละ 3.5 เมตร ทางเท้า 2 ช่องทาง กว้างช่องละ 1.5 เมตร

และรถไฟรางเดี่ยวกว้าง 1 เมตร ตั้งอยู่กึ่งกลาง ใช้งบประมาณก่อสร้าง 30,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ

ด้วยความช่วยเหลือจากรัฐบาลออสเตรเลีย ใช้ระยะเวลาก่อสร้างระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2534 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2537

ที่มา : วิกิพีเดีย





ทางขึ้นฝั่งเวียงจันทน์









เก็บดอกหญ้ากลับมาด้วย









ฟิ้ววววววว ... เกือบไม่ทันค่ะ





รถไฟมาพอดี  Smiley





17.41 น.





เป็นที่ระลึกซะหน่อยเนาะ 



เมฆ ใส่เสื้อแม่ค่ะ ขำ ๆ เค้าแซวตัวเองว่า จะไปประชุม   Smiley









ออกจากจุดเลียบริมโขงด้านบน ปะป๊าวิ่งมาที่สะพาน ตั้งใจจะขึ้นไปเดินเล่นบนสะพานกัน พอมาถึง 6 โมงเย็น เค้าปิดพอดี





จอดรถแล้ว ยืนหันรีหันขวางอยู่พัก เข้าไปถาม พี่ รปภ. ตรงแขวงการทางว่า จะถ่ายรูปสะพานนี้ ต้องไปที่ไหน

พี่เค้าบอก ให้เข้ามาด้านในแขวงการทางเลย มีจุดชมวิวสะพานอยู่





ทั้งน๊อยซ์ ทั้งฝุ่นจับเซ็นเซอร์เนาะ ... มองข้าม ๆ ไปค่ะ





กดมุมนี้มาประมาณ  20 - 30  ช็อต





18.21 น. ปะป๊า กับเมฆ ในเงามืด





F 18 / ISO 3200 .... อยากได้แฉกของดวงไฟ   Smiley





จากกล้องปะป๊าค่ะ โครงเพิงที่เห็นด้านล่าง เค้าเตรียมจัดงานปีใหม่ วันที่ 31 ธันวาคม  2558





อาหารเช้าที่โรงแรม เป็นบุฟเฟต์ ไม่ได้ถ่ายรูป 

09.23 น. เช็คเอาท์เรียบร้อย เดินทางต่อ มุ่งหน้าไปวัดโพธิ์ชัยค่ะ





09.40 น. ถึงแล้ว วัดโพธิ์ชัย













ไหว้พระด้านนอก  ช่วงปีใหม่ คนเยอะปกติ





















วัดโพธิ์ชัย

ตั้งอยู่ที่ 873 ถนนประจักษ์ศิลปาคม ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ สังกัดนิกายมหานิกาย

ห่างจากตัวเมืองหนองคายไปประมาณ 2 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 212 ทางไป อ.โพนพิสัย วัดจะอยู่ทางซ้ายมือ


พระอุโบสถที่ประดิษฐานหลวงพ่อพระใสในปัจจุบัน เป็นพระอุโบสถที่สร้างขึ้นใหม่แทนหลังเดิม

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จยกช่อฟ้าพระอุโบสถหลังนี้ในปี พ.ศ. 2522 


ไปกราบพระใส ด้านบนกันค่ะ


จิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถวัดโพธิ์ชัยนี้ เป็นจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนขึ้นในราวปีพ.ศ. 2530 ถึง พ.ศ. 2537

ใช้ระยะเวลาในการเขียนอยู่นานถึง 7 ปีจึงลุล่วงบ่งบอกเรื่องราวที่งดงามดังปรากฏในปัจจุบัน


จิตรกรรมฝาผนังด้านหลังหลวงพ่อพระใส เขียนเป็นภาพเทวดาชุมนุม ดุจดังเทวดาทั้งหลายมาเข้าเฝ้าฟังธรรมจากพระพุทธองค์

ส่วนด้านหน้าเขียนเป็นภาพตอนพระพุทธองค์ทรงเอาชนะมาร หรือมารผจญ

ตามแบบแผนประเพณีนิยมของช่างเขียนจิตรกรรมฝาผนังไทย จะนิยมเขียนภาพชนะมารนี้ไว้ที่ผนังด้านหน้า

เมื่อกราบพระประธานหลวงพ่อพระใสแล้วได้เห็นภาพชนะมารก่อนออกจากพระอุโบสถ จะได้มีกำลังใจความคิดเตือนสติตนเอง

ก่อนที่จะทำอะไรสำเร็จ ดั่งพระพุทธองค์ยังทรงเจอมารเป็นอุปสรรคแต่ก็สามารถเอาชนะอุปสรรคนั้น ๆ ได้ ด้วยจิตใจที่เข้มแข็งและธรรมะย่อมชนะอธรรมเสมอ



จิตรกรรมฝาผนังด้านข้าง...เนื่องจากพื้นที่ฝาผนังแต่ละด้านมีความสูงกว้างและยาว จึงได้แบ่งพื้นที่เขียนออกเป็นหลายเรื่องด้วยกัน

นับแต่ตอนบนของฝาผนังจะเขียนเทพชุมนุมไว้ ถัดลงมาจะภาพเขียนพุทธประวัติ ทศชาติชาดก ตำนานพญานาค

นิทานพื้นบ้านอีสาน  "ผาแดงนางไอ่" พระธาตุที่สำคัญของอีสาน

ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของหลวงพ่อพระใส ตั้งแต่เริ่มสร้างจนมาประดิษฐานเป็นพระประธานวัดโพธิ์ชัย

และที่สำคัญได้บันทึกเรื่องราวของวัฒนธรรมอีสานไว้ด้วย ฮีตสิบสอง หรือประเพณีสิบสองดือนของคนอีสานไว้ให้เป็นที่ปรากฏ

อันเป็นกุศลเจตนาของศิลปินเพราะบางประเพณี เช่น บุญซำฮะ ที่ปัจจุบันก็แทบจะเลือนหายไปแล้ว



ไม่ได้เรียงภาพเป็นแถว เป็นแนวนะคะ คนเยอะมาก ส่องขึ้นด้านบนได้แค่นั้น




ประวัติการสร้าง

สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานไว้ในหนังสือประวัติพระพุทธรูปสำคัญ ซึ่งพิมพ์แจกในงานทอดกฐินพระราชทาน พ.ศ. 2468 ว่า

หลวงพ่อพระใส เป็นพระพุทธรูปหล่อในสมัยล้านช้าง และตามตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาว่า พระธิดา 3 องค์ แห่งกษัตริย์ล้านช้างเป็นผู้สร้าง

บางท่านก็ว่าเป็นพระราชธิดาของพระไชยเชษฐาธิราช ได้หล่อพระพุทธรูปขึ้น 3 องค์ และขนานนาม พระพุทธรูปตามนามของตนเองไว้ด้วยว่า

พระเสริมประจำพี่ใหญ่ พระสุกประจำคนกลาง พระใสประจำน้องสุดท้อง มีขนาดลดหลั่นกันตามลำดับ

เดิมทีนั้นหลวงพ่อพระใสได้ประดิษฐาน ณ เมืองเวียงจันทน์ พ.ศ. 2321 สมัยกรุงธนบุรีได้อัญเชิญไปไว้ที่เมืองเวียงคำ

และถูกเชิญมาประดิษฐานไว้ที่วัดโพนชัย เมืองเวียงจันทน์อีก ต่อมาในรัชกาลที่ 3 เจ้าอนุวงศ์ เมืองเวียงจันทน์เป็นกบฎ

สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ เป็นแม่ทัพยกพลมาปราบ จึงได้อัญเชิญพระสุก พระเสริม และพระใส ลงมาด้วย

โดยอัญเชิญมาจากภูเขาควายขึ้นประดิษฐานบนแพไม้ไผ่ ซึ่งผูกติดกันอย่างมั่นคงล่องมาตามลำน้ำงึม

เมื่อล่องมาถึงตรงบ้านเวินแท่นในขณะนั้น เกิดอัศจรรย์แท่นของพระสุกได้เกิดแหกแพจมลงไปในน้ำ โดยเหตุที่มีพายุพัดแรงจัด และบริเวณนั้นได้นามว่า "เวินแท่น"

การล่องแพก็ยังล่องมาตามลำดับจนถึงน้ำโขง (ปากน้ำงึม) เฉียงกับบ้านหนองกุ้ง อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย ได้เกิดพายุใหญ่ เสียงฟ้าคำรามคะนองร้องลั่น

ในที่สุดพระสุกได้แหกแพจมลงไปในน้ำ ซึ่งอาการวิปริตต่าง ๆ ก็ได้หายไปเป็นอัศจรรย์ยิ่ง บริเวณนั้นจึงได้ชื่อว่า "เวินสุก"

และพระสุกก็จมอยู่ในน้ำตรงนั้นมาจนถึงปัจจุบันนี้

ก็ยังเหลือแต่พระเสริม พระใส ที่ได้นำขึ้นมาถึงเมืองหนองคาย พระเสริมนั้นได้ถูกอัญเชิญประดิษฐานไว้ ณ วัดโพธิ์ชัย

ส่วนพระใส ได้อัญเชิญประดิษฐานไว้ ณ วัดหอก่อง (ปัจจุบันคือวัดประดิษฐ์ธรรมคุณ)

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้ขุนวรธานีและเจ้าเหม็น (ข้าหลวง)

อัญเชิญพระเสริม จากวัดโพธิ์ชัย หนองคาย ไปกรุงเทพฯ และอัญเชิญพระใสจากวัดหอก่องขึ้นประดิษฐานบนเกวียนจะอัญเชิญลงไปกรุงเทพฯ ด้วย

แต่พอมาถึงวัดโพธื์ชัย หลวงพ่อพระใสได้แสดงปาฏิหาริย์จนเกวียนหักจึงอัญเชิญลงไปไม่ได้ ได้แต่พระเสริมลงกรุงเทพฯ ประดิษฐาน ณ วัดปทุมวนาราม

ส่วนหลวงพ่อพระใสได้อัญเชิญประดิษฐาน ณ วัดโพธิ์ชัย อ.เมืองหนองคาย จนถึงปัจจุบัน ความอัศจรรย์ของหลวงพ่อพระใสจนได้สมญาว่า "หลวงพ่อเกวียนหัก"

//www.dhammathai.org/thailand/bi24.php

























ภาพทศชาติชาดก





ภาพพุทธประวัติ





























10.12 น.  ออกมาจากพระอุโบสถแล้วค่ะ  / มีคนเอารถมาเจิม  ช่วงเวลาแป๊บเดียว มา 2 คัน













หอระฆัง









ไปแล้วค่ะ มาวัดโพธิ์ชัย รอบนี้ ห่างจากครั้งที่แล้ว 5 ปี รอบหน้า ไม่รู้จะได้มาเมื่อไหร่ 













Create Date :09 มีนาคม 2559 Last Update :10 มีนาคม 2559 15:39:54 น. Counter : 2196 Pageviews. Comments :66