bloggang.com mainmenu search


หลังจากกินข้าววัดกันแล้ว พวกเรามาดูพิพิธภัณฑ์หลวงตาคำดี ปัญโญภาโส ภายในวัดมัชฌิมาวาส หนองหอย สกลนคร



อ่านประวัติพระรัชมงคลนายก (หลวงตาคำดี ปัญโญภาโส) ที่นี่ค่ะ 

เก้าอี้ที่หลวงตาเคยนั่ง ขณะอาพาธ







เครื่องอัฐบริขารหลวงตา







หมาใหญ่มาก แต่เชื่องค่ะ หลวงพ่อบอกให้นั่งก็นั่ง บอกสวัสดีก็สวัสดี



มี 3 ตัว มีตัวนึง ตาบอดด้วยค่ะ







ชาวบ้านแถวนี้ มาช่วยกันทำความสะอาดวัด







9.57 น. วันที่ 27 กันยายน 2560 เพื่อนกิตมีภารกิจมารับคณะดูงานจากประเทศตองกา

เรากับนพ เลยตามมาถ่ายรูปด้วย







แลกของที่ระลึกกัน



ระหว่างรอเพื่อน ... วัวที่สนามหญ้าของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก





10.18 น. คณะดูงานจะมาที่ ศูนย์วัฒนธรรมไทโส้ 














ศูนย์วัฒนธรรมไทโส้อำเภอกุสุมาลย์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2524 เพื่อเป็นสถานที่เก็บรวบรวมเครื่องมือเครื่องใช้ตลอดจนเครื่องประดับต่าง ๆ ของเจ้าเมืองกุสุมาลย์และของบรรพชนคนไทโส้ทั้งที่เกี่ยวข้องกับพิธีทางศาสนา ภูตผีที่ชาวไทโส้นับถือ ประเพณี วัฒนธรรมและการดำรงชีวิตของคนไทโส้ในอดีตให้เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้า นอกจากนั้นยังเป็นสถานที่จัดงานเทศกาลโส้รำลึก ที่จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองปีใหม่เจ้าของชนเผ่าไทโส้ ซึ่งตรงกับ วันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 เป็นประจำทุกปี ปัจจุบัน ตั้งอยู่ที่ว่าการ อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร






ประวัติความเป็นมาของอำเภอกุสุมาลย์

เมื่อ พ.ศ. 2381 ราชวงศ์คำ ได้รับตำแหน่งเป็นพระยาประเทศธานีเจ้าเมืองสกลนคร จึงนำกำลังไพร่พลไปเกลี้ยกล่อมเอาครอบครัวหัวเมืองลาวที่ค้างอยู่ทางฝากฝั่งแม่น้ำโขงทางทิศตะวันออก ให้ข้ามมาเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสนับสนุนของกองทัพญวน พ.ศ. 2385 ท้าวโรงกลางบุตรเจ้าเมืองวัง ท้าวเพี้ยเมืองสูง ท้าวเพี้ยบุตรโคตร หัวหน้าข่ากระโซ่ กับครอบครัวบ่าวไพร่ ได้เข้ามาสู่พระบรมโพธิสมภารเป็นจำนวนมาก และตั้งบ้านเรือนทำมาหากินอยู่แถบฝั่งแม่น้ำโขง และรอบเมืองสกลนคร

พ.ศ. 2387 พระยาประเทศธานี นำหัวหน้าครอบครัวลาวกลุ่มต่าง ๆ ลงไปเฝ้าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่กรุงเทพฯ และโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านประขาวพันนาและบ้านกุสุมาลย์ขึ้นเป็นเมืองให้ท้าวโรงกลางเป็นพระเสนาณรงค์เจ้าเมืองพันนา ท้าวเพี้ยงเมืองสูงเป็นหลวงอรัญอาสา เจ้าเมืองกุสุมาลย์ พระราชทานเครื่องยศตามตำแหน่ง ให้ขึ้นตรงต่อเมืองสกลนคร

พ.ศ. 2405 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้แต่งตั้งเมืองโพธิไพศาล (ปัจจุบันตำบลโพธิไพศาล) เพราะเกิดขัดแย้งชิงตำแหน่งหน้าที่ราชการกัน ให้ท้าวขัติยะเป็นพระไพศาลเสนานุรักษ์ เจ้าเมืองโพธิไพศาล และในปีเดียวกันได้ย้ายเมืองกุสุมาลย์จากที่เดิม (ปัจจุบันคือบ้านเมืองเก่า) เพราะเกิดความแห้งแล้งและเกิดโรคระบาดมาตั้งอยู่ในที่ปัจจุบัน

พ.ศ. 2419 หลวงอรัญอาสาได้ถึงอนิจกรรม ท้าวกิ่งบุตรชายหลวงอรัญอาสา ซึ่งเคยไปเรียนวิชาการปกครองจากกรุงเทพฯ ได้เป็นเจ้าเมืองกุสุมาลย์สืบต่อและได้บรรดาศักดิ์เป็นหลวงอรัญอาสา

พ.ศ. 2439 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ เปลี่ยนแปลงเมืองกุสุมาลย์และเมืองโพธิไพศาล ไปขึ้นกับเมืองนครพนม ต่อมาเมื่อมีการส่งเจ้านายเป็นผู้สำเร็จราชการมณฑลเจ้าฝ่ายเหนือ เมืองต่าง ๆ จึงเปลี่ยนฐานะเป็นอำเภอ เจ้าเมืองดำรงตำแหน่งนายอำเภอ

พ.ศ. 2456 ทางราชการยุบอำเภอกุสุมาลย์ แล้วโอนท้องที่ไปขึ้นกับอำเภอเมืองสกลนครบ้าง อำเภอเมืองนครพนมบ้าง กุสุมาลย์ จึงมีฐานะเป็นตำบลมาจนกระทั่ง วันที่ 1 ตุลาคม 2505 จึงได้ยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอ

พ.ศ.  2510 ได้มีพระราชกฤษฎีกา ยกฐานะจากกิ่งอำเภอขึ้นเป็นอำเภอ เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน  2510  มีพื้นที่ 454 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดสกลนคร ระยะทางห่างจากจังหวัดสกลนคร 40 กิโลเมตร

ข้อมูลจาก https://www.museumthailand.com/So_Ethnic_Group_Cultural_Center

วันนี้ทำตัวยังกะนักข่าวเลย Smiley




ไปแล้วนะพี่วัว


เดินทางกันต่อค่ะ เราจะไปวัดพระธาตุท่าอุเทนกัน



วัดประชาสามัคคี พระธาตุคล้าย ๆ กันหมดเลยเนาะ



11.52 น. ถึงแล้วค่ะ


สุดเขตแดนสยาม อยู่ใกล้ริมน้ำโขงเลยค่ะ



ฝั่งลาว







เขาบ้านเค้าสวยเนาะ



เอาละ เดินเข้าวัดล่ะนะ  Smiley



พระธาตุท่าอุเทน
ตั้งอยู่ภายในวัดพระธาตุท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม องค์พระธาตุก่ออิฐถือปูนเป็นผังรูปสี่เหลี่ยมคล้ายพระธาตุพนม สร้างเป็น 3 ชั้น ชั้นแรกเป็นอุโมงค์บรรจุของมีค่าต่าง ๆ ชั้นที่ 2 สร้างครอบอุโมงค์ ชั้นที่ 3 คือเจดีย์องค์ใหญ่ สูงประมาณ 66 เมตร พระอาจารย์สีทัตถ์ เป็นผู้สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2454 ใช้เวลาทั้งสิ้น 6 ปี จึงแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2459

เมื่อปี พ.ศ. 2540 ส่วนซุ้มประตูชั้นล่างขององค์พระธาตุด้านทิศใต้ได้พังทลายลง กรมศิลปากรจึงได้ทำการบูรณะจนแล้วเสร็จ ในปี พ.ศ. 2541 พร้อมทั้งได้ทำการเสริมคานคอนกรีตภายในเพื่อป้องกันองค์พระธาตุพังทลาย

วัดพระธาตุท่าอุเทน ได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ และกำหนดขอบเขตโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 115 ตอนพิเศษ 4ง หน้า 2 ลงวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2541 มีพื้นที่ประมาณ 2 ไร่ 2 งาน 89.48 ตารางวา พระธาตุนี้เป็นศิลปกรรมและปูชนียสถานอันสำคัญยิ่งองค์หนึ่ง บรรจุพระธาตุของพระอรหันต์ ซึ่งพระอาจารย์สีทัตถ์ ได้อัญเชิญมาจากเมืองย่างกุ้ง จะมีงานนมัสการพระธาตุในวันขึ้น 13 ค่ำ ถึงแรม 1 ค่ำ เดือน 4 ของทุกปี

พระธาตุองค์นี้มีสิ่งที่ตรงกับเทพประจำวันศุกร์
และเชื่อกันว่าผู้ที่เกิดวันนี้เป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รักอิสระ รักสวยรักงาม คือพระธาตุหันไปทางทิศเหนือของพระธาตุพนม ตรงกับทิศประจำของพระศุกร์ ผู้ที่ไปนมัสการพระธาตุแห่งนี้จะได้รับอานิสงส์ให้ชีวิตมีความรุ่งโรจน์ เปรียบเสมือนพระอาทิตย์ขึ้นยามรุ่งอรุณ

ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย


มาเจอช่วงพระธาตุกำลังบูรณะพอดีเลยค่ะ



สิงห์คู่ (ไม่แน่ใจค่ะ) ทางเข้าซุ้มประตู


เหนือซุ้มประตูเป็นภาพแกะสลักหน้ากาล





พระธาตุองค์นี้งามค่ะ











เห็นเรือนไทยแว๊บ ๆ เดี๋ยวเดินไปดูกันค่ะ


เป็นกุฏิหลวงปู่สีทัตถ์ ญาณสมปันโน ผู้ก่อสร้างพระธาตุท่าอุเทนค่ะ



ได้รับประกาศเชิดชูศิลปกรรม ประเภทอาคารควรอนุรักษ์



หันหามุมถ่ายพระธาตุหลาย ๆ มุม ก่อนบูรณะก็งามไปอีกแบบเนาะ


สำนักคณะกรรมการ วัดท่าอุเทน อาคารสวยดีค่ะ


อุโบสถ






Smiley ความเดิม Smiley

เพื่อนพาเที่ยว นครพนม สกลนคร - สะพานมิตรภาพไทย-ลาว 3

เพื่อนพาเที่ยว นครพนม สกลนคร - พระธาตุนคร พระธาตุพนม

เพื่อนพาเที่ยว นครพนม สกลนคร - พระธาตุศรีคุณ พระธาตุเรณู


Create Date :05 มีนาคม 2561 Last Update :5 มีนาคม 2561 17:07:44 น. Counter : 2249 Pageviews. Comments :0