bloggang.com mainmenu search





วัดพระธาตุพนม  จังหวัดนครพนม



ทริปอีสาน  28  ธันวาคม  2558  -  2  มกราคม  2559







ทริปนี้ มุ่งมั่นและตั้งใจมากว่า อยากมาไหว้พระธาตุพนม จังหวัดนครพนม










มีภาษาลาวกำกับด้วย เค้าคงมาใช้บริการบ้านเราเยอะอยู่เนาะ




มองแบบนี้ ดูท่าจะไม่มีที่จอดรถเป็นแน่แท้




ไม่เสี่ยงค่ะ ขี้เกียจวนรถออกมา  จอดรถไว้ด้านนอก แล้วเดินดีกว่า




นาน ๆ ที จะเห็นดาวกระจายสีนี้




11.52 น. วันที่  1  มกราคม  2559




ฝั่งตรงข้ามทางเข้าวัด  ไม่ได้ข้ามไปดูนะคะ 




คนเยอะมาก  ปีใหม่ด้วยมัง




ชุดประจำถิ่น - สาวภูไทค่ะ







ช่วงเทศกาลทำใจเนาะ







ประวัติความเป็นมา

ตามตำนานพระธาตุพนม ในอุรังคนิทานกล่าวว่า สมัยหนึ่งในปัจฉิมโพธิกาล พระพุทธเจ้า พร้อมทั้งพระอานนท์ ได้เสด็จมาทางทิศตะวันออก โดยทางอากาศ ได้มาลงที่ดอนกอนเนา แล้วเสด็จไปหนองคันแทเสื้อน้ำ (เวียงจันทน์) ได้พยากรณ์ไว้ว่า ในอนาคตจะเกิดบ้านเมืองใหญ่ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนา จากนั้นได้เสด็จไปตามลำดับ ได้ทรงประทานรอยพระพุทธบาทไว้ที่ โพนฉัน (พระบาทโพนฉัน) อยู่ตรงข้ามอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย แล้วเสด็จมาที่ พระบาทเวินปลา ซึ่งอยู่เหนือเมืองนครพนมปัจจุบัน ได้ทรงพยากรณ์ที่ตั้งเมืองมรุกขนคร (นครพนม) และได้ประทับพักแรมที่ภูกำพร้าหนึ่งคืน วันรุ่งขึ้นเสด็จข้ามแม่น้ำโขง ไปบิณฑบาตที่เมืองศรีโคตรบูรณ์ พักอยู่ที่ร่มต้นรังต้นหนึ่ง (พระธาตุอิงฮังเมืองสุวรรณเขต) แล้วกลับมาทำภัตกิจ (ฉันอาหาร) ที่ภูกำพร้าโดยทางอากาศ

พญาอินทร์ได้เสด็จมาเฝ้าและทูลถามพระพุทธองค์ ถึงเหตุที่มาประทับที่ภูกำพร้า พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า เป็นประเพณีของพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์ ในภัททกัลป์ที่นิพพานไปแล้ว บรรดาสาวกจะนำพระบรมสารีริกธาตุ มาบรรจุไว้ที่ภูกำพร้า พระพุทธองค์เมื่อนิพพานแล้ว พระมหากัสสปะ ผู้เป็นสาวก ก็จะนำเอาพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ ณ ที่นี้เช่นกัน จากนั้นพระพุทธองค์ก็ได้ทรงปรารภถึงเมืองศรีโคตบูร และมรุกขนคร แล้วเสด็จไปหนองหารหลวง ได้ทรงเทศนาโปรดพญาสุวรรณพิงคาระ และพระเทวี ประทานรอยพระพุทธบาทไว้ ณ ที่นั้น แล้วเสด็จกลับพระเชตวัน หลังจากนั้นก็เสด็จปรินิพพานที่เมืองกุสินารา

เมื่อพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานแล้ว มัลลกษัตริย์ทั้งหลายได้ถวายพระเพลิงพระสรีระ แต่ไม่สำเร็จ จนเมื่อพระมหากัสสปะมาถึงได้อธิษฐานว่า พระธาตุองค์ใดที่จะอัญเชิญไปประดิษฐานที่ภูกำพร้า ขอพระธาตุองค์นั้นเสด็จมาอยู่บนฝ่ามือ ดังนี้แล้ว พระอุรังคธาตุ ก็เสด็จมาอยู่บนฝ่ามือขวาของพระมหากัสสปะ ขณะนั้นไฟธาตุก็ลุกขึ้นโชติช่วง เผาพระสรีระได้เองเป็นอัศจรรย์ เมื่อถวายพระเพลิงและแจกพระบรมสารีริกธาตุเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระมหากัสสปะพร้อมด้วยพระอรหันต์ 500 องค์ ก็ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุ มาทางอากาศ แล้วมาลงที่ดอยแท่น (ภูเพ็กในปัจจุบัน) จากนั้นได้ไปบิณฑบาตที่เมืองหนองหารหลวง เพื่อบอกกล่าวแก่พญาสุวรรณพิงคาระ ตำนานตอนนี้ตรงกับตำนานพระธาตุเชิงชุม และพระธาตุนารายณ์เจงเวง ซึ่งมีรายละเอียดอยู่แล้ว

เมื่อพญาทั้ง 5 ซึ่งอยู่ ณ เมืองต่าง ๆ อันได้แก่ พญานันทเสน แห่งเมืองศรีโคตบูร พญาจุลณีพรหมทัต พญาอินทปัตถนคร พญาคำแดง แห่งเมืองหนองหารน้อย และพญาสุวรรณพิงคาระ แห่งเมืองหนองหารหลวง ได้พากันปั้นดินดิบก่อแล้วเผาไฟ ตามคำแนะนำของพระมหากัสสปะ แบบพิมพ์ดินกว้างยาวเท่ากับฝ่ามือพระมหากัสสปะ

ครั้นปั้นดินเสร็จแล้วก็พากันขุดหลุมกว้าง 2 วา ลึก 2 ศอก เท่ากันทั้ง 4 ด้าน เมื่อก่อดินขึ้นเป็นรูปเตา 4 เหลี่ยม สูง 1 วา โดยพญาทั้ง 4 แล้ว พญาสุวรรณภิงคาระก็ได้ก่อส่วนบน โดยรวมยอดเข้าเป็นรูปฝาปารมีสูง 1 วา รวมความสูงทั้งสิ้น 2 วา แล้วทำประตูเตาไฟทั้ง 4 ด้าน เอาไม้จวง จันทน์ กฤษณา กระลำพัก คันธรส ชมพู นิโครธ และไม้รัง มาเป็นพื้น ทำการเผาอยู่ 3 วัน 3 คืน เมื่อสุกแล้วจึงเอาหินหมากคอยกลางโคก มาถมหลุม เมื่อสร้างอุโมงค์ดังกล่าวเสร็จแล้ว พญาทั้ง 5 ก็ได้บริจาคของมีค่าบรรจุไว้ในอุโมงค์เป็นพุทธบูชา

จากนั้น พระมหากัสสปะ ก็ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุ เข้าบรรจุภายในที่อันสมควร แล้วให้ปิดประตูอุโมงค์ไว้ทั้ง 4 ด้าน โดยสร้างประตูด้วยไม้ประดู่ ใส่ดาลปิดไว้ทั้ง 4 ด้าน แล้วให้คนไปนำเอาเสาศิลาจากเมืองกุสินารา 1 ต้น มาฝังไว้ที่มุมเหนือตะวันออก แปลงรูปอัศมุขี (ยักษิณีหน้าเป็นม้า) ไว้โคนต้นเพื่อเป็นหลักชัยมงคลแก่บ้านเมืองในชมพูทวีป นำเอาเสาศิลาจากเมืองพาราณสี 1 ต้น ฝังไว้มุมใต้ตะวันออก แปลงรูปอัศมุขีไว้โคนต้น เพื่อหมายมงคลแก่โลก นำเอาเสาศิลาจากเมืองตักศิลา 1 ต้น ฝังไว้มุมเหนือตะวันตก พญาสุวรรณพิงคาระให้สร้างรูปม้าอาชาไนยไว้ตัวหนึ่ง หันหน้าไปทางทิศเหนือ เพื่อแสดงว่าพระบรมธาตุเสด็จออกมาทางทิศทางนั้น และพระพุทธศาสนาจักเจริญรุ่งเรืองจากเหนือเจือมาใต้ พระมหากัสสปะให้สร้างม้าพลาหกไว้ตัวหนึ่ง คู่กัน หันหน้าไปทางทิศเหนือ เพื่อเป็นปริศนาว่า พญาศรีโคตบูรจักได้สถาปนาพระอุรังคธาตุไว้ตราบเท่า 5,000 พระวัสสา เกิดทางใต้และขึ้นไปทางเหนือ เสาอินทขีล ศิลาทั้ง 4 ต้น ยังปรากฏอยู่ 2 ต้น ทางทิศตะวันออก ส่วนอีก 2 ต้น ได้ก่อหอระฆังหุ้มไว้ ส่วนม้าศิลาทั้ง 2 ตัว ก็ยังปรากฏอยู่ถึงปัจจุบัน

ข้อมูลจาก สารานุกรมวิกิพีเดีย




ช่างภาพที่รับถ่ายภาพให้นักท่องเที่ยว เดินป้วนเปี้ยนกันแถวนี้เยอะเลย



พระธาตุพนมได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์มาตามลำดับ การบูรณะครั้งแรกและครั้งที่สอง ไม่ได้บันทึกปีที่บูรณะไว้ การบูรณะครั้งที่สามเมื่อปี พ.ศ. 2157 พ.ศ. 2223 - 2225  และเป็นรูปแบบที่นิยมในอีสาน พ.ศ. 2233  พระครูโพนเสม็ด (ญาคูขี้หอม) ปฏิสังขรณ์พระธาตุให้สูงขึ้น พ.ศ. 2483  รัฐบาลได้บูรณะให้สูงขึ้น พ.ศ. 2518  องค์พระธาตุพนมชำรุดล้มลง ทางราชการได้ดำเนินการก่อสร้างขึ้นใหม่ ให้คงสภาพเดิม พ.ศ. 2522  การบูรณะโดยภาครัฐและเอกชน

เมื่อปี พ.ศ. 2485 วัดพระธาตุพนมฯ ได้รับการยกฐานะเป็น พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร

ในวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2518 เวลา 19.38 น. ด้วยเหตุที่มีฝนตกพายุพัดแรงติดต่อมาหลายวันและความเก่าแก่ขององค์พระธาตุ พระธาตุพนมจึงได้ล้มทลายลงมาทั้งองค์ ประชาชนทั้งประเทศได้ร่วมบริจาคทุนทรัพย์และรัฐบาลได้ก่อสร้างองค์พระธาตุขึ้นใหม่ตามแบบเดิม การก่อสร้างนี้เสร็จสิ้น เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2522  นอกจากจะบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในองค์พระธาตุดังเดิมแล้ว ยังมีของมีค่ามากมายนับหมื่นชิ้นบรรจุและประดับไว้ในองค์พระธาตุอีกด้วย โดยเฉพาะฉัตรทองคำบนยอดพระธาตุ ซึ่งมีน้ำหนักมากถึง 110 กิโลกรัม




ลักษณะสถาปัตยกรรม

รูปลักษณะพระธาตุเป็นรูปสี่เหลี่ยมก่อด้วยอิฐ มีลวดลายสลักลงบนแผ่นอิฐสวย งามมาก มีซุ้มกั้นด้านและซุ้มซ้อนกันสามชั้นลดหลั่นกันลงมา แล้วจึงถึงองค์พระสถูป เบื้องบนยอดพระธาตุหุ้มทองคำประดับพลอยสวยงามมาก

สมเด็จพระกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย ทรงกล่าวถึงพระธาตุพนมไว้ในนิทานโบราณคดีเรื่องแม่น้ำโขง ตอนหนึ่งว่า

...พระเจดีย์ธาตุพนมอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง สร้างเป็นสถูปทางพระพุทธศาสนาจะสร้างตามลัทธิมหายานหรือหินยาน ไม่มีที่สังเกตเหมือนอย่างที่พิมาย แต่ไม่มีเค้าศาสนาพราหมณ์เจือปนอยู่เลย บรรดาเจดีย์สถานในพระพุทธศาสนาซึ่งสร้างใน สมัยของเขมรที่พบในเมืองไทย ที่สร้างสถูปเป็นประธานมีแต่พระธาตุพนมแห่งเดียว ทั้งรูปสันฐานลวดลายก็เป็นอย่างอื่นต่างจากแบบช่างขอม ชวนให้เห็นว่าจะสร้างสมัยขอม คือ สร้างในสมัย เมื่อประเทศอันหนึ่งซึ่งเรียกในจดหมายจีนว่า “ฟูนัน” คล้าย "พนม" เป็นใหญ่อยู่ต่างหาก รูปทรงพระเจดีย์ธาตุพนมเป็นสี่เหลี่ยมเหมือนมณฑป มีซุ้มต้น สามซุ้มซ้อนกันเป็นสามชั้น เล็กเป็นหลั่นกันขึ้นไป แล้วถึงองค์พระสถูปอยู่เบื้องบน มณฑปทั้ง 3 ชั้น ยอดสถูปหุ้มแผ่นทองคำ เช่นเดียวกับพระธาตุเมืองมหาธาตุเมือง นครศรีธรรมราช ขนาดพระสถูปดูจะเท่า ๆ กัน




ลวดลายที่เรือนธาตุนั้น ตำนานเล่าว่า ตกแต่งโดยพระอินทร์และเหล่าเทวดา

มีแผ่นอิฐที่จำหลักลวดลายเป็นภาพกษัตริย์โบราณ ฝีมือช่างพื้นบ้าน ศิลปะสมัยทวารวดี หรือพุทธศตวรรษที่ 13-15

นับว่าเป็นพระบรมธาตุเจดีย์ที่เก่าแก่ของภาคอีสาน








เป็นการมานครพนม และพระธาตุพนม ครั้งแรกของเรา คิดว่า ต้องได้มาอีก Smiley




















ป้ายกำกับว่า เสาอินทขิล

เจ้าพระยาทั้ง 5 นำมาจากเมืองกุสินารา ประเทศอินเดีย เมื่อ พ.ศ. 8




พญาศรีโคตบูร




เก็บภาพมาเยอะมาก 











พระธาตุพนม นอกจากจะเป็นพระธาตุประจำปีวอกแล้ว ยังเป็นพระธาตุประจำวันเกิด ของผู้เกิดวันอาทิตย์ อีกทั้งยังเป็นที่เคารพของพุทธศาสนิกชนมากมายทั่วทั้งสารทิศ ซึ่งไม่ใช่เฉพาะชาวไทยแต่เพียงเท่านั้น พระธาตุพนมก็ยังได้รับการเคารพจากพุทธศาสนิกชนชาวลาวอีกด้วย

ว่ากันว่าถ้าใครได้มานมัสการพระธาตุครบ 7 ครั้ง จะถือว่าเป็น “ลูกพระธาตุ” เป็นสิริมงคลแก่ชีวิตและจะมีความเจริญรุ่งเรือง หรือแม้แต่การได้มากราบพระธาตุพนม 1 ครั้ง ก็ถือ เป็นมงคลแก่ชีวิตแล้ว

งานนมัสการพระธาตุพนมประจำปี ถือเอาวันขึ้น 10  ค่ำ เดือน 3  ของ ทุกปีเป็นวันแรกของงานไปสิ้นสุดเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือน 3





ไหว้พระธาตุแล้ว แยกกันเดินคนละทิศละทาง  หลังจากเก็บภาพตรงนี้แล้ว เราเดินหาลูก  พอเจอหมอกเมฆเลยนั่งรอ... ไม่งั้นหากันไปหากันมา




ปะป๊า เดินไปเก็บภาพด้านหลังพระธาตุพนม




เดินไม่ทั่วนะคะ คนเยอะมาก




ศาลาเฉลิมพระเกียรติ




พระประธานภายในศาลาเฉลิมพระเกียรติ







ต่อเลยค่ะ ภาพจากพิพิธภัณฑ์วัดพระธาตุพนม โชคดีปะป๊าเก็บภาพมาฝาก




ผอูบสำริดบรรจุพระอุรังคธาตุ  หลุดโฟกัส เสียดายถ่ายมาไม่ชัด  Smiley  มีแค่ภาพเดียว

























ฉัตรพระธาตุพนมองค์เก่า







หอประดิษฐานพระธาตุพนมองค์เดิม







ยอดพระธาตุพนมองค์เดิม




13.05 น. ได้เวลาต้องไปแล้วค่ะ







ถึงตรงนี้ ด่านพรมแดนมุกดาหาร  14.02 น.  ขอปะป๊า แวะให้หน่อย




เรื่องของเรื่อง คือ อยากมองเห็นฝั่งลาวปู๊นนน เผื่อจะมองเห็นเนาะ




ไม่สามารถค่ะ 




ได้แค่นี้  Smiley





ขับรถมาได้หน่อย เจอป้ายบอกทางไปสะพานมิตรภาพ ไทย - ลาว แห่งที่ 2 มุกดาหาร - สะหวันนะเขต ....


ต่อตอนหน้าค่ะ










Create Date :27 มิถุนายน 2559 Last Update :27 มิถุนายน 2559 4:55:23 น. Counter : 3841 Pageviews. Comments :60