bloggang.com mainmenu search



วันที่ 29 ธันวาคม 53 หลังจากอิ่มอร่อยกับมื้อเช้าที่ร้านเอมโอช จ.อุดรแล้ว เรามีที่หมายต่อไปจะไปเที่ยวหนองคาย ไหว้พระใส ที่วัดโพธิ์ชัยค่ะ อยู่ห่างจากอุดรประมาณ 50 กิโล วิ่งสบายๆ ประมาณเกือบ 10 โมงเรามาถึงหนองคายแล้วค่ะ...





ถึงแล้วจ้า...ดูจากหอนาฬิกาพญานาคเวลา 09.54 น. ค่ะ รูปไม่ชัด..ลืมเอากระจกลงอีกแล้ว...

อยากให้เห็นสัญลักษณ์ "พญานาค" เมื่อพูดถึงหนองคาย










ไปไม่ถูก...แวะถามใครก็ได้ค่ะ ในหนองคายรู้จักแทบทุกคน...







วัดโพธิ์ชัย

ซึ่งมีฐานะเป็นวัดอารามหลวง ตั้งอยู่ที่ถนนโพธิ์ชัย ในเขตเทศบาลเมือง ห่างจากตัวเมืองหนองคายไปประมาณ ๒ กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข ๒๑๒ ทางไป อ.โพนพิสัย วัดจะอยู่ทางซ้ายมือ















พระธาตุปิดถ้ำพญานาค

เป็นที่เชื่อกันมานานว่าที่จังหวัดหนองคายเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีถ้ำพญานาคลงไปถึงสะดือโขงและเป็นทางที่พญานาคใช้สัญจร สำหรับพระธาตุองค์นี้สร้างขึ้นมาเพื่อปิดปากถ้ำ ถ้ำพญานาคมีเรื่องเล่ากันมานานว่าหากมนุษย์เข้าไปจะไม่ได้กลับออกมาอีก












พระอุโบสถที่พระใส ประดิษฐานอยู่ค่ะ






แต่เราต้องจุดธูปไหว้พระใสองค์จำลองที่ด้านนอกค่ะ...






คนเยอะค่ะ ไม่รู้จะหลบยังไง...ความศรัทธาในพระพุทธศาสนามีอยู่ทุกหนแห่ง ยิ่งเป็นวัดดังคนก็ยิ่งเยอะ....










ไม่ได้อาร์ตอะไรนะคะ พยายามหามุมหลบแสง...














ภาพจิตรกรรมฝาผนัง
































หลวงพ่อพระใส วัดโพธิ์ชัย จ.หนองคาย เป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่เมือง เป็นพระพุทธรูปขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย หล่อด้วยทองสีสุก หน้าตักกว้าง ๒ คืบ ๘ นิ้ว ส่วนสูงจากพระชงฆ์เบื้องล่างถึงยอดพระเกศ ๔ คืบ ๑ นิ้วของช่างไม้










ประวัติการสร้าง


สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงสันนิษฐานไว้ในหนังสือประวัติพระพุทธรูปสำคัญ ซึ่งพิมพ์แจกในงานทอดกฐินพระราชทาน พ.ศ. ๒๔๖๘ ว่า หลวงพ่อพระใส เป็นพระพุทธรูปหล่อในสมัยล้านช้าง และตามตำนานที่เล่าสืบต่อกันมาว่า พระธิดา ๓ องค์ แห่งกษัตริย์ล้านช้างเป็นผู้สร้าง บางท่านก็ว่าเป็นพระราชธิดาของพระไชยเชษฐาธิราช ได้หล่อพระพุทธรูปขึ้น ๓ องค์ และขนานนาม พระพุทธรูปตามนามของตนเองไว้ด้วยว่า พระเสริมประจำพี่ใหญ่ พระสุกประจำคนกลาง พระใสประจำน้องสุดท้อง มีขนาดลดหลั่นกันตามลำดับ
















การประดิษฐาน


เดิมทีนั้นหลวงพ่อพระใสได้ประดิษฐาน ณ เมืองเวียงจันทน์ พ.ศ. ๒๓๒๑ สมัยกรุงธนบุรีได้อัญเชิญไปไว้ที่เมืองเวียงคำ และถูกเชิญมาประดิษฐานไว้ที่วัดโพนชัย เมืองเวียงจันทน์อีก ต่อมาในรัชกาลที่ ๓ เจ้าอนุวงศ์ เมืองเวียงจันทน์เป็นกบฎ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิ์พลเสพย์ เป็นจอมทัพยกพลมาปราบ จึงได้อัญเชิญพระสุก พระเสริม และพระใส ลงมาด้วย โดยอัญเชิญมาจากภูเขาควายขึ้นประดิษฐานบนแพไม้ไผ่ ซึ่งผูกติดกันอย่างมั่นคงล่องมาตามลำน้ำงึม เมื่อล่องมาถึงตรงบ้านเวินแท่นในขณะนั้น เกิดอัศจรรย์แท่นของพระสุกได้เกิดแหกแพจมลงไปในน้ำ โดยเหตุที่มีพายุพัดแรงจัด และบริเวณนั้นได้นามว่า "เวินแท่น"

การล่องแพก็ยังล่องมาตามลำดับจนถึงน้ำโขง (ปากน้ำงึม) เฉียงกับบ้านหนองกุ้ง อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย ได้เกิดพายุใหญ่ เสียงฟ้าคำรามคะนองร้องลั่น ในที่สุดพระสุกได้แหกแพจมลงไปในน้ำ ซึ่งอาการวิปริตต่างๆ ก็ได้หายไปเป็นอัศจรรย์ยิ่ง บริเวณนั้นจึงได้ชื่อว่า "เวินสุก" และพระสุกก็จมอยู่ในน้ำตรงนั้นมาจนถึงปัจจุบันนี้

ก็ยังเหลือแต่พระเสริม พระใส ที่ได้นำขึ้นมาถึงเมืองหนองคาย พระเสริมนั้นได้ถูกอัญเชิญประดิษฐานไว้ ณ วัดโพธิ์ชัย ส่วนพระใส ได้อัญเชิญประดิษฐานไว้ ณ วัดหอก่อง (ปัจจุบันคือวัดประดิษฐ์ธรรมคุณ)

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้ขุนวรธานีและเจ้าเหม็น (ข้าหลวง) อัญเชิญพระเสริม จากวัดโพธิ์ชัย หนองคายไปกรุงเทพฯ และอัญเชิญพระใสจากวัดหอก่องขึ้นประดิษฐานบนเกวียนจะอัญเชิญลงไปกรุงเทพฯ ด้วย แต่พอมาถึงวัดโพธิ์ชัย หลวงพ่อพระใสได้แสดงปาฏิหาริย์จนเกวียนหักจึงอัญเชิญลงไปไม่ได้ ได้แต่พระเสริมลงกรุงเทพฯ ประดิษฐาน ณ วัดปทุมวนาราม ส่วนหลวงพ่อพระใสได้อัญเชิญประดิษฐาน ณ วัดโพธิ์ชัย อ.เมืองหนองคาย จนถึงปัจจุบัน ความอัศจรรย์ของหลวงพ่อพระใสจนได้สมญาว่า "หลวงพ่อเกวียนหัก"














พยายามจะเก็บภาพจิตรกรรมฝาผนังให้ครบทุกมุม...เยอะมากแทบทุกตารางนิ้วของพื้นที่ผนังเลยค่ะ


























องค์จำลอง พระสุก พระเสริม พระใส






นักเรียนมาทัศนศึกษาเยอะแล้วค่ะ ไปดีกว่า...






เมฆกับปะป๊า อีกรูปเนาะ









ออกมาข้างนอกเห็นเจ้านี่ โดนผูกเชือกไว้ ใครช่างทำ...







หน้าตาก็ดีนะเนี่ย...










เด็กๆ มาทัศนศึกษาที่วัด...เดินเป็นระเบียบเรียบร้อยเชียว...






สุดท้ายจริงๆ อำลาวัดโพธิ์ชัยแล้วค่ะ






ขอบคุณข้อมูลจาก...https://www.watphochai.net/


ขอบคุณเฮดบล็อก และบีจีคุณญามี่


บล็อกหน้า...พาไปกินอาหารเวียดนาม...ที่แดงแหนมเนือง


Create Date :20 มกราคม 2554 Last Update :28 ธันวาคม 2561 20:52:20 น. Counter : Pageviews. Comments :37