bloggang.com mainmenu search
{afp}
Shure HeadphonesWireless Stereo HeadphonesComputer HeadphonesIpod In Ear HeadphonesHeadphone AmplifiersBest Portable HeadphonesHeadphones Earbuds MotorcycleDj HeadphonesBest Noise Cancel HeadphonesHeadphone StandIn Ear HeadphonesIpod Nano HeadphonesMetal Detector HeadphonesNoise Cancelling Headphone RatingsRadio HeadphonesHeadphone AmpIpod Wireless HeadphonesSony Cordless HeadphonesWireless Headphones For TvAkg HeadphonesBest Wireless Headphones ReviewIpod In Ear Headphones ReviewWireless In Ear HeadphonesTv HeadphonesSony Noise Canceling HeadphonesCordless Stereo HeadphonesAble Planet Clear Harmony Active Noise Canceling HeadphonesMotorola S9 Bluetooth Stereo HeadphonesBluetooth Wireless Bluetooth HeadphonesHeadphones With Volume ControlIn-ear HeadphonesWireless Bluetooth Headphones For IpodWireless Bluetooth HeadphonesCoby HeadphonesIphone HeadphonesSennheiser Px 100 Collapsible HeadphonesSony In Ear HeadphonesEtymotic HeadphonesSennheiser Wireless HeadphonesUnisar Tv Listener Wireless HeadphonesBose Around Ear HeadphonesBose Headphones On SaleIfrogz Earpollution Toxix Ear Headphones BrownScosche Earbud HeadphonesIfrogz Earpollution Throw Bax Headphones PinkIphone Bluetooth HeadphonesLogitech Wireless Ipod HeadphonesMetal Detector HeadphoneStereo Bluetooth HeadphonesAmplified HeadphonesBlogBlogBlogBlogBlog







เชื่อว่าผู้อ่านที่เป็นคุณแม่ทั้งหลายต้องสะดุดกับชื่อเรื่อง และรีบอ่านเรื่องนี้อย่างแน่นอน เพราะใครๆ ก็อยากให้ลูกเก่ง แต่การทำให้ลูกเก่งมีไอคิวสูงไม่ใช่เนื้อหาของเรื่องนี้

ช้าก่อน อย่าเพิ่งพลิกหน้ากระดาษไป เพราะเรื่องไอคิว (IQ) นั้นทำให้สูงขึ้นได้ลำบากกว่าการทำให้ไอคิวต่ำลง แต่การป้องกันไม่ให้ไอคิวต่ำลงนั้นอยู่ในวิสัยที่คุณแม่จะทำได้ ทั้งนี้มีวิธีการอยู่หลายวิธี แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะการดูแลลูกน้อยเมื่อเป็นไข้ คุณผู้อ่านคงจะนึกไม่ถึงว่าไข้กับไอคิว มันเกี่ยวข้องกันอย่างไร
 
     ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับไข้กันก่อน เมื่อไหร่ จึงจะถือว่าเป็นไข้ คือภาวะที่ตัวร้อน เมื่อนำปรอทวัดไข้มาวัดอุณหภูมิร่างกาย หากวัดทางรักแร้ได้สูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส จะถือว่าเป็นไข้ มักเกิดจากการติดเชื้อโรค เช่น หวัด ท้องเสียจากการติดเชื้อ เป็นต้น
อาการชักเมื่อไข้สูง
     พบมากในเด็กอายุระหว่าง 6 เดือน – 5 ปี (พบมากที่สุดในช่วง 3 ขวบปีแรก) เนื่องจากสมองของเด็กกำลังเจริญเติบโต จึงมีความไวต่อการกระตุ้นจากไข้
ขณะที่เด็กมีไข้ใน 24 ชั่วโมงแรก จะมีอาการชักเกร็งกระตุกขึ้นมาประมาณ 1-2 นาที ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ยาวนานมากในความรู้สึกของแม่ แต่จะหยุดชักได้เอง หลังหยุดชัก เด็กจะฟื้นคืนสติเป็นปกติ ไม่ซึม ไม่มีอาการแขนขาอ่อนแรง และมักจะไม่ชักซ้ำอีกในการเจ็บป่วยครั้งนั้น โดยมากไม่มีอันตรายร้ายแรงและไม่มีผลกระทบต่อสติปัญญา
     แต่ถ้าเด็กชักนานเกิน 15 นาที หรือมีอาการชักเกิดขึ้นซ้ำภายใน 24 ชั่วโมงหรือในการเจ็บป่วยครั้งนั้นๆ หรือภายหลังการชักอาจมีอาการซึมหรือแขนขาอ่อนแรง หรือชักในขณะที่ไม่มีไข้ เป็นสัญญาณบอกถึงอาการชักที่น่าจะไม่ธรรมดา ซึ่งอาจเกิดความเสียหายต่อสมองเด็กและทำให้มี IQ ต่ำลงได้ จึงควรรีบพบแพทย์เพื่อให้การรักษาได้ทันท่วงที
คุณแม่ควรทำอย่างไรเมื่อลูกชัก
     คุณแม่ควรควบคุมสติให้ดี อย่าตกใจเกินกว่าเหตุ
จับให้ลูกนอนตะแคงในที่ปลอดภัยเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการพลัดตก
เช็ดตัวให้ลูกด้วยน้ำธรรมดาเพื่อลดไข้โดยเร็ว
     ถ้าเป็นอาการชักครั้งแรก ควรพาลูกไปพบแพทย์เพื่อหาว่ามีสาเหตุอื่นๆ ของการชักนอกจากเรื่องไข้สูงหรือไม่
เมื่อลูกเคยชักจากไข้สูงแล้วครั้งหนึ่ง ลูกมีโอกาสจะชักได้อีกเมื่อมีไข้สูง คุณแม่จึงควรเตรียมยาลดไข้ติดบ้านไว้และศึกษาวิธีใช้จากฉลากยาให้ดี
ใช้ยาลดไข้อย่างไร
     การใช้ยาลดไข้อย่างถูกต้องจะช่วยลดไข้ได้อย่างเหมาะสม ปลอดภัย และป้องกันผลเสียจากการชักของเด็กได้ ยาลดไข้ในปัจจุบันมี 3 ชนิด คือ พาราเซตามอล แอสไพริน และไอบูโพรเฟน
     ยาลดไข้ที่ควรใช้เป็นชนิดแรกในเด็ก คือ พาราเซตามอล ผลิตภัณฑ์มีหลายขนาดความแรง และมีอยู่ในรูปยาน้ำชนิดหยด ขนาด 500 มิลลิกรัมต่อ 5 ซีซี ยาน้ำเชื่อม หรือยาน้ำแขวนตะกอน ขนาด 120 มิลลิกรัมต่อ 1 ช้อนชา 160 มิลลิกรัมต่อ 1 ช้อนชา และ 250 มิลลิกรัมต่อ 1 ช้อนชา โดยที่ 1 ช้อนชาเทียบเท่ากับ 5 ซีซี ห้ามใช้ช้อนชาที่ใช้ชงชากาแฟ เพราะช้อนที่ใช้ชงชากาแฟในแต่ละบ้านมีขนาดไม่เท่ากันและมีปริมาตรน้อยกว่า 5 ซีซี ถ้านำมาตวงยาจะทำให้เด็กได้รับยาน้อยกว่าที่ควร
     พาราเซตามอลชนิดหยดสำหรับเด็กเล็ก มีขนาดความแรงสูง (100 มิลลิกรัมต่อ 1 ซีซี) ต้องให้โดยใช้หลอดหยดซึ่งมักจะมีมาพร้อมกับขวดยาในกล่อง ให้สังเกตที่หลอดหยดยาจะมีปริมาตรบอกไว้ เป็น 0.3 ซีซี 0.6 ซีซี หรือ 1 ซีซี ให้ดูดยาตามปริมาตรที่แพทย์สั่ง บางครั้งบนฉลากจะระบุว่าให้ป้อนยาเด็ก 1 หลอด ก็ต้องใช้หลอดดูดยาที่มีให้มากับยาขวดนั้น ห้ามเทลงในช้อนชาโดยเด็ดขาด เพราะ 1 หลอดไม่เท่ากับ 1 ช้อนชา หากป้อนยาให้เด็ก 1 ช้อนชาก็จะทำให้เด็กได้รับยาเกินขนาดอย่างมาก
ขนาดยาพาราเซตามอลปกติในเด็กคือ 10-15 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อครั้ง ทุก 4-6 ชั่วโมง เวลามีไข้ ขนาดยาสูงสุดไม่เกินวันละ 5 ครั้ง ควรให้ยาพร้อมกับการเช็ดตัวลดไข้ที่ถูกวิธี แต่ถ้าเด็กยังคงมีไข้สูงและซึมลง ควรพบแพทย์เพื่อพิจารณาหาสาเหตุอีกครั้ง
แอสไพรินและไอบูโพรเฟน เป็นยาอีก 2 ชนิดที่เลือกใช้ลดไข้เด็กได้
     แอสไพริน เป็นยาเม็ด มีขนาดเม็ดละ 60 มิลลิกรัม ขนาดยาจะแปรไปตามอายุของเด็ก กล่าวคือ เด็กอายุ 1 ปีให้ครั้งละ 1 เม็ด ทุก 8 ชั่วโมง และให้ได้สูงสุดไม่เกินครั้งละ 5 เม็ด
     ไม่ให้แอสไพรินในยเด็กที่สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก อายุต่ำกว่า 16 ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่ติดเชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัดใหญ่ โรคอีสุกอีใส เพราะอาจเกิดความผิดปกติรุนแรงของสมองและตับ โดยเป็นโรคที่เรียกว่า ไรย์ซินโดรม (Reye’s syndrome)
     ไอบูโพรเฟน มีชนิดยาเม็ดในขนาด 200, 400, 600, 800 มิลลิกรัม ยาน้ำชนิดหยด ขนาด 200 มิลลิกรัมต่อ 1 ช้อนชา ยาน้ำเชื่อม และยาน้ำแขวนตะกอน ขนาด 100 มิลลิกรัมต่อ 1 ช้อนชา ขนาดยาปกติในเด็กคือ 5 – 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อครั้ง ทุก 8 ชั่วโมง ขนาดยาสูงสุดไม่เกิน 40 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมต่อวัน
     ยาน้ำสำหรับเด็กต้องเขย่าขวดก่อนใช้ และจะใช้ในกรณีที่ใช้ยาพาราเซตามอลอย่างเดียวแล้วไข้ไม่ลง ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยและเลือกให้ยา ไม่ควรให้ยาไอบูโพรเฟนตอนท้องว่าง เพราะยาระคายกระเพาะอาหาร แต่ก็ไม่ควรหยอดยาลงในนม เพราะยาอาจทำให้รสชาติของนมเปลี่ยนไป และเด็กอาจไม่ยอมกินนม
     ไม่ให้ไอบูโพรเฟนในเด็กที่สงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก เนื่องจากยาจะทำให้มีภาวะเลือดออกรุนแรงขึ้น และไม่ใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน
ควรมียาลดไข้ไว้ประจำบ้านหรือไม่
     ยาพาราเซตามอล เป็นยาที่ใช้ได้ผลดีมากสำหรับการลดไข้ในเด็ก จึงควรมีไว้เป็นยาสามัญประจำบ้าน แต่ควรพิจารณาขนาดและรูปแบบยาที่เหมาะสมสำหรับเด็กในแต่ละช่วงอายุ หากมีปัญหาในการเลือกใช้ยาควรปรึกษาเภสัชกร
โดยสรุปแล้วการใช้ยาลดไข้ในเด็กมีประโยชน์อย่างยิ่งถ้าใช้ถูกขนาด ถูกวิธี และเพื่อให้ปลอดภัยในการใช้ยาควรปรึกษาเภสัชกร


healthtoday

 


From: //variety.teenee.com/science/19939.html
Create Date :04 เมษายน 2553 Last Update :4 เมษายน 2553 23:23:23 น. Counter : Pageviews. Comments :0