Group Blog
 
 
กรกฏาคม 2548
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
3 กรกฏาคม 2548
 
All Blogs
 

หนังสัจจนิยม(Realism)







เหตุผลให้ต้องเริ่มเขียนประเภทหนังนั้นเนืองจากว่าการจะวิจารณ์บทความหนังเรื่องต่างๆ ได้นั้น การรู้จริงในสิ่งที่เขียนนั้นเป็นสิ่งที่ดีที่สุด และเมื่อนำไปรวมกับการภาษาเขียนที่ดี ก็จะได้งานวิจารณ์ชั้นเลิศ การแบ่งประเภทภาพยนตร์นั้นก็ถือเป็นความรู้พื้นฐานที่นักดูหนัง และผู้ที่อยากเป็นนักวิจารณ์ควรรู้

ภาพยนตร์ประเภท สัจจนิยม หรือ Realism ก่อเกิดขึ้นตั้งแต่เริ่มเกิดประดิษฐกรรมที่บันทึกภาพเคลื่อนไหวนี้ ในฐานะที่มันเป็นสื่อที่บันทึก "ความเป็นจริงตามธรรมชาติ" ซึ่งถือเป็นความเชื่อแรกๆ ที่ก่อเกิด ดังนั้น ภาพข่าว, การบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ จึงถือเป็นภาพยนตร์แนวนี้ที่ชัดเจนที่สุด ตามพื้นฐานในการบันทึกภาพความเป็นจริงในชีวิตประจำวันโดยปราศจากการปรุงแต่ง อย่างไรก็ตามหลังจากผู้คิดค้นอย่าง หลุยส์ ลูมิแอร์ บันทึกภาพชีวิตผู้คน ภาพการเคลื่อนตัวของรถไฟ ไปได้ไม่นาน ผู้ชมก็เริ่มเบื่อไปสนใจภาพยนตร์ที่สร้างความบันเทิงมากกว่าทดแทน ทำให้ภาพยนตร์แนวนี้ไม่ประสบความสำเร็จ

ภาพยนตร์แนวสัจจนิยม มาได้รับการสนใจอีกครั้ง จากรัสเซีย ที่ต้องการให้สร้างหนังที่สะท้อนสภาพสังคมระบบเก่า เพื่อส่งเสริมให้เกิดการสร้างชาติแบบคอมมิวนิสต์ แต่อย่างไรก็ตามแนวทางนี้ได้ตื่นตัว และน่าจะประสบความสำเร็จมาจากการเกิดภาพยนตร์สัจจนิยมแนวใหม่ หรือ นีโอรีลลิสม์ในอิตาลี จากสภาพสังคมที่เศรษฐกิจตกต่ำหลังสงครามโลกครั้งที่สอง คนไม่พอใจ การปกครองแบบยุคฟาสซิสม์ โรงถ่ายภาพยนตร์เสียหาย กลุ่มนักทำหนังรุ่นใหม่ได้สร้างหนังที่สะท้อนความเป็นจริงอันน่าเศร้าในสังคม โดยใช้ทุนต่ำ และไม่ใช้นักแสดงอาชีพ แต่หนังก็ประสบความสำเร็จ เข้าถึงใจคนดูได้ ภาพยนตร์แนวนี้ที่ได้รับการยกย่อง ได้แก่ Bicycle Thief ของ วิคทอริโอ เดอซิก้า, Open City ของ โรแบร์โต้ รอสเซลลินี่, La Strada ของ เฟเดอริโก้ เฟลลินี่, Rocco and His Brother ของ ลุยเซียโน่ วิสคอนติ ฯลฯ จุดเด่นของ นีโอ-รีลลิสม์ คือการสะท้อนสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคม และเรียกร้องให้สังคมดีขึ้น โดยศิลปะทางภาพยนตร์ที่ช่วยโน้นน้าวผู้คนที่เห็นเหตุการณ์สะเทือนใจอันสมจริง แต่เรื่องราวที่เกิดขึ้นราวกับเรื่องแต่ง



ภาพยนตร์แนวนี้ได้รับความนิยมอยู่ช่วงหนึ่งเท่านั้น ส่วนหนึ่งเพราะสภาพสังคมที่ดีขึ้น และการหันไปสนใจแนวทางศิลปะแบบอื่นของผู้กำกับแนวนี้ อย่างไรก็ตามมันก็ได้แพร่หลายแนวคิดการทำภาพยนตร์ที่สะท้อนภาพเป็นจริงไปหลายประเทศ หนึ่งในนั้นได้แก่ผลงานของ สัตยาจิต เรย์ ของอินเดีย ในหนังไตรภาคของ Apu(จากภาพมาจาก ภาคสองในตอน The Unvanquished) และหนังอีกหลายเรื่องของเขา ซึ่งสะท้อนภาพชีวิตของอาปูตั้งแต่เด็กจนโต ที่ผ่านสภาพสังคมที่ไม่เท่าเทียมกัน และการสูญเสียพ่อและแม่ด้วยความยากจน และโรคภัยสารพัด หนังเหมือนจะบ่งบอกชัดเจนให้เราเห็นอนาคตที่ดีกว่า ด้วยการสร้างความรู้ ท่ามกลางอุปสรรค ปัญหาที่มีสารพัดในประเทศอินเดีย



ประเทศไทยก็มีหนังประเภทนี้อยู่เหมือนกัน ที่ผมเคยดู เช่น ประชาชนนอก ของ มานพ อุดมเดช ที่สะท้อนสังคมที่ไม่เท่าเทียมกันในชีวิตของคนต่างจังหวัดที่เข้ามาทำงานในเมือง หรือแม้แต่ในชนบทก็ตาม หนังใช้นักแสดงสมัครเล่น, ถ่ายทอดราวกับภาพบันทึกเหตุการณ์จริง, เน้นการแสดงปัญหาที่มีอยู่แต่ไร้ซึ่งคำตอบ อย่างไรก็ตามหนังก็ถูกห้ามฉายอยู่หลายสิบปี ด้วยการถูกมองว่าเป็นหนังคอมมิวนิสต์



สภาพแบบเดียวกันยังมีขึ้นในประเทศอิหร่าน ซึ่งทำหนังสะท้อนสังคมในลีลาแบบเดียวกัน นีโอ-รีลลิสม์ โดยผู้สร้างบุกเบิกงานประเภทนี้ อย่างอับบาส เคียลอสตามี่ และคนอื่นๆ ที่ทำหนังแนวเดียวกัน ก็ถูกห้ามฉายในประเทศ แต่ก็ได้รับความสำเร็จมากมาย เช่น Where is The Friend 's Home, Children of Heaven, White Balloon ภายหลังหนังอิหร่านซึ่งเน้นสภาพชีวิตด้วยมุมมองของเด็ก หรือผู้หญิง ก็แปรเปลี่ยนไปทดลองทำหนังด้วยลีลาที่แตกต่างมากขึ้น เน้นศิลปะแนวทางอื่นเหมือนกัน



นอกจากนี้ในยุโรป ประเทศเดนมาร์กได้เกิดกลุ่ม Dogme 95 ซึ่งเน้นการทำหนังโดยปราศจากการปรุงแต่ง เพื่อสร้างศิลปะบริสุทธิ์ อย่างไรก็ตามผู้ก่อตั้ง หรือผู้ทำหนังด๊อกม่าส่วนใหญ่ มักหาแนวทางมาคลี่คลายข้อจำกัดต่างๆ มากกว่าจะมุ่งเน้นทำหนังสมจริง แต่จากที่กล่าวมาทั้งหมดแสดงให้เห็นว่าหนังแนวสัจจนิยม คงไม่ใช่แนวทางที่คนดูส่วนใหญ่ตอบรับ แต่ก็ยังมีผู้สนใจในการนำเสนอหนังประเภทนี้อยู่เสมอ เพราะสังคมยังมีปัญหามากมายที่ต้องการถ่ายทอดออกมาโดยศิลปิน และผู้สร้างสรรค์ภาพยนตร์ แม้แต่ในหนังดราม่าทั่วไป อาทิ หนังสงครามอย่าง Killing Field ของ โรแลนด์ จอฟฟี่ย์ ก็มีหลายฉากที่มีเจตนาราวกับเป็นภาพบันทึกสงครามในกัมพูชาได้อย่างสมจริง เป็นต้น



อาจกล่าวได้ว่าการแบ่งแยกประเภทหนังสมจริง หรือ หนังแนวสัจจนิยม นั้นคือ เป็นหนังที่ถ่ายทอดเรื่องราว-เหตุการณ์ที่มีจริงอยู่ในสังคม หรือเน้นความสมจริงในแบบยุคสมัยที่ถ่ายทอด(แต่มีน้อยเรื่อง) ภาพที่ถ่ายทอดมีลักษณะคล้ายภาพข่าว ไม่มีการจัดแสง หรือเทคนิคการตัดต่อที่เร้าอารมณ์ เสมือนภาพบันทึกเหตุการณ์ตามเวลา(แต่ผู้ชมอาจเกิดความสะเทือนใจได้จากความสมจริงของภาพ และเรื่องราว) ผู้แสดงไม่ใช้คนที่คุ้นเคย มีชื่อเสียง หรืออาจจะแสดงในบทบาทที่สมมติ ไม่แต่งหน้า ใช้เครื่องแต่งกายทั่วไป มีเจตนาสะท้อนสภาพสังคมในยุคนั้นๆ อาจด้วยเจตนาเรียกร้องสิ่งที่ดีขึ้นในอนาคต







 

Create Date : 03 กรกฎาคม 2548
4 comments
Last Update : 9 กรกฎาคม 2548 17:22:21 น.
Counter : 9190 Pageviews.

 



ขอบคุณสำหรับข้อเขียนดีๆ

ชอบ Children of Heaven มากเลยค่ะ

 

โดย: keyzer 3 กรกฎาคม 2548 2:49:14 น.  

 

ขอบคุณที่เข้ามาแวะชมเช่นกันครับ

 

โดย: yuttipung (yuttipung ) 9 กรกฎาคม 2548 17:22:53 น.  

 

ได้ความรู้เพิ่มเติม

ขอบคุณค่ะ

 

โดย: octavio 7 พฤษภาคม 2549 13:01:55 น.  

 

ขอบคุนมากคับ ผมกำลังจะเอาความรู้ไปใช้ในรายงานพอดี

 

โดย: บอด IP: 124.121.139.24 23 กันยายน 2550 22:25:15 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


yuttipung
Location :
สมุทรปราการ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




เป็นคนไม่เป็นโล้เป็นพายคนหนึ่งที่ติดอินเตอรเน็ต จนได้งานพอประทังเลี้ยงชีพ Blog นี้มอบให้แก่หญิงสาวที่ให้กำลังใจสำหรับความฝันอันริบหรี่ของผมมาตลอด ปัจจุบันเรียนโทจบแล้ว ทำงานหลายที่ หลักๆ ตอนนี้เพิ่งเริ่มเป็น Webmaster นิตยสารแห่งหนึ่ง ส่วนงานพิเศษคือลงข่าว และข้อมูลหนัง ดูแลเว็บให้กับ Popcornmag กับ เครือข่ายคนดูหนัง และเขียนวิจารณ์ภาพยนตร์ให้กับ Filmax

Friends' blogs
[Add yuttipung's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.