Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2548
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
13 พฤศจิกายน 2548
 
All Blogs
 
Plot ตอน 2



มาต่อกับเรื่องของ Plot ที่ผมเคยทิ้งเชื้อว่าจะเขียนอีกใน ตอนที่แล้ว หลังจากที่ปล่อยให้เว๊บร้างมานาน

Plot หรือ เค้าโครงเรื่อง ถ้าใครยังนึกไม่ออกว่าเป็นอย่างไร ให้ลองเล่าเรื่องหนังสักเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบ โดยมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้ในเรื่องที่เล่า

1.เริ่มเรื่อง(Initial situation ) เป็นการกล่าวถึงที่มาตัวละครหลัก และเหตุการณ์เริ่มต้น
2.ปัญหา หรือ ปมขัดแย้ง(Conflict or Problem )
3.อุปสรรคที่ต้องแก้ไข(Complication)
4.ไคลแม็กซ์(Climax) หรือฉากที่น่าสนใจที่สุดในเรื่อง
5.ปริศนา(Suspense) ที่ทำให้ผู้รับสารสงสัยใคร่รู้
6.บทเฉลย(Denouement) หรือส่วนที่คลี่คลายปริศนา
7.บทสรุป(Conclusion)

สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ในหนังเรื่องหนึ่งย่อมหมายความ หนังหนึ่งเรื่องมีพล๊อตมากกว่า 1 แต่พล็อตหลัก(Main Plot) จะเรียกว่าเป็น A-Plot ส่วนพล็อตรอง(Sub Plot) จะเรียกว่าเป็น B-Plot ดังตัวอย่างที่ผมจะยกหนังดังที่เราเคยดูกันมาแล้ว ยกมาอธิบาย องค์ประกอบข้างบนคือ Spider-Man ผลงานของ แซม ไรมี่ (ดังนั้นใครที่ยังไม่เคยดู กรุณาหลับหูหลับตานะครับ)

1.จุดเริ่มต้น--ปีเตอร์ ปาร์คเกอร์ เด็กเรียนท่าทางอ่อนแอ ที่แอบหลงรักสาวข้างบ้าน แมรี่ เจน เกิดความเปลี่ยนแปลงในตัวหลังจากถูกแมงมุมในศูนย์ทดลองวิทยาศาตร์กัดเข้า

2.ปัญหาของปาร์คเกอร์เกิดตามมาหลายอย่างแม้จะได้รับพลังผิดมนุษย์ แต่ปัญหาสำคัญที่สุดของเขาก็คือเจ้าพลังที่ว่านั้นทำให้เขาลำพองจนละเลยคุณธรรม นั่นทำให้ปู่ของเขาเสียชีวิต กลายเป็นปมฝังใจเขาว่าจะจัดการกับพลังนี้ยังไง นั่นทำให้เขาตัดสินใจกลายเป็นผู้พิทักษ์คุณธรรมในนามของ Spider-Man

3.อุปสรรคที่เขาต้องแก้ไขให้กับเมืองคือมีเหตุการณ์เลวร้ายเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้งในเมืองใหญ่ โดยเฉพาะกับวายร้าย กรีน กอบลิน

4.ไคลแม็กซ์ของเรื่องจึงอยู่ที่การต่อสู้ระหว่างเขากับ กรีน กอบลิน เพื่อช่วยผู้คน และหญิงสาวที่เขารัก

5.ปริศนาสำคัญในที่นี้อยู่ที่ตัวกรีน กอบลิน ว่าแท้จริงเขาคือใคร ทำไมเขาถึงคลุ้มคลั่งได้ขนาดนี้

6.แล้วทุกอย่างก็กระจ่างเมื่อเขาต่อสู้กับมันจึงได้รู้ว่า กรีน กอบลิน คือ นักวิทยาศาสตร์ นอร์แมน ออสบอร์น พ่อของเพื่อนสนิท และคนที่เขาเคารพ ซึ่งมีปมการได้รับพลังที่ไม่ต่างจากเขานัก

7.หนังจบด้วยการเอาชนะตัววายร้ายนี้ได้ แต่ปีเตอร์ ก็ต้องแลกกับความรักที่เขาจำต้องปฏิเสธ เพราะพลังยิ่งใหญ่ของเขามาพร้อมกับความรับผิดชอบอันใหญ่ยิ่ง

จะเห็นได้ว่าที่ผมเล่านั้นเรื่องหลักเป็นเรื่องของ ปีเตอร์ ปาร์คเกอร์ ตัวเอก ซึ่งเป็นพล็อตหลักนั่นเอง ส่วนพล็อตรองนั้นได้แก่ ในส่วนเรื่องราวความรักของเขา, เรื่องราวชีวิตของ นอร์แมน ออสบอร์น หรือช่วงการเรียนรู้ตัวเองของปาร์คเกอร์ในตอนต้น ก็คงพอจะทำให้เห็นภาพของพล็อต และการนำส่วนที่เหมาะสมไปใส่ในบทวิจารณ์ได้บ้างนะครับ

ส่วนใครที่สนใจอยากรู้ว่า Plot มีกี่แบบ ในเว๊บ Wikipedia จะมีบอกไว้ครับว่า หนังสือที่ชื่อ The Thirty-Six Dramatic Situations ซึ่ง Georges Polti ได้เขียนไว้ในปี 1868 ว่าด้วยสถานการณืที่สามารถทำให้เกิดเรื่องราวต่างๆ ได้ 36 อย่างด้วยกัน สามารถดูได้ ที่นี่


Create Date : 13 พฤศจิกายน 2548
Last Update : 13 พฤศจิกายน 2548 13:55:18 น. 6 comments
Counter : 1133 Pageviews.

 
มาอ่านค่ะ


โดย: rebel วันที่: 13 พฤศจิกายน 2548 เวลา:17:08:54 น.  

 
หวัดดีค่ะคุณท๊อป...
อืมมม...ร้างไปนานจิงๆ อ่ะแหละ

มาอ่านเก็บความรู้ค่ะ...ว่าแต่ นี่มันคนละตำรากะที่เคยเรียนมาเลยอ่ะ
ไม่เปนไร ประดับความรู้ เข้าใจง่ายดีค่ะ

เรื่อง Ardor เนี่ย...บังเอิญไปเจอในกระบะที่เค้าเซลล์หนังอ่ะค่ะ แหะๆๆ
แต่ยังไม่ได้ดูเลย ต้องตามคิว เมื่อวานดู Monster ก้อแสนจะหดหู่
เขียนไม่ออก...
Christina Ricci เล่นได้น่า....มาก เกลียดไปเลย
อินกะหนังด้วยนะนี่

รู้สึกพักนี้จะเฟมินิสต์จ๋ายังไงไม่รู้...ทำไงดี


โดย: กี๋พกแป้ง วันที่: 14 พฤศจิกายน 2548 เวลา:16:35:50 น.  

 
ตำราที่คุณกี๋ว่าเป็นยังไงล่ะครับ เอามาแบ่งปันกันบ้าง

เท่าที่ผมทราบ หลักการเขียนบทบ้าง , องค์ประกอบพล็อตบ้าง มันคล้ายๆ กันน่ะครับ บางคนก็ว่ามี 5 ข้อบ้าง 6 ข้อบ้าง จริงๆ แล้วผมว่าคงต่างกันนิดหน่อยล่ะมั้งครับ

ส่วนอันนี้ผมไปได้มาจากเว๊บ Wikipedia ครับ ตามความคิดผม พล็อตอาจไม่ต้องมีรายละเอียดขนาดนั้นก็ได้


โดย: yuttipung IP: 58.9.39.18 วันที่: 14 พฤศจิกายน 2548 เวลา:17:37:29 น.  

 
มันก้อไม่เชิงเป็นตำราจริงจังอะไรหรอกค่ะ
เป็นสิ่งที่ครูสอนมามากกว่า

เราไม่เคยเรียนเรื่ององค์ประกอบของพล็อตแบบนี้อ่ะค่ะ
จะเป็นแนวกว้างๆ คือองค์ประกอบของบทหนังมากกว่า
ที่เวลาขึ้นเป็น Premise ไปถึง Plot >> Synopsis >> Treatment และสุดท้ายที่ Full script
ก็จะยึดกฎ 3 องก์อย่างเหนียวแน่น คือ
1.เกริ่นนำปัญหาของตัวเอก
2.การแก้ไขปัญหา
3.จุดคลี่คลายปัญหา
ส่วนองค์ประกอบปลีกย่อยมันจะแทรกๆ อยู่ในสามองก์เนี่ยล่ะค่ะ
สัดส่วนมากน้อยก้อว่ากันไป สำคัญที่ทั้งสามองก์ต้องทำหน้าที่ของตัวเองให้ครบถ้วน
เราเพิ่งเคยรู้เรื่ององค์ประกอบของพล็อตเนี่ยล่ะค่ะ

เวลาเราทดลองแยกโครงสร้างบทหนัง
ตอนแรกที่ดูจบเลยก้อจะหาธีมก่อนว่าพูดถึงอะไรกันแน่
แล้วถึงจะหาเมน แมสเสจ
เสร็จแล้วก้อลองมาแยกองก์ทั้งสาม
แล้วถึงวิเคราะห์ตัวละครเป็นส่วนๆ ไป
ถูกมั่งผิดมั่งอ่ะค่ะ

ตอนเรียนเรียกได้ว่าเป็นนักเรียนที่ครูระอามากที่สุด
เพราะตอบอะไรไม่เคยเหมือนชาวบ้าน
จะเป็นคำตอบเดียวโดดๆ ตลอด
ครูก้อไม่เคยเฉลยว่าของใครผิดของใครถูก
เราเลยคิดว่าตัวเองคงจะเอาดีทางนี้ไม่ได้แน่ๆ
ความคิดที่จะเป็นนักวิจารณ์หรือนักเขียนบทก้อเลยพับไป
ดูอย่างเดียวหนุกกว่าเยอะ
แต่ถ้าได้เพื่อนมาช่วยกันถกหลังจากดูหนังแต่ละเรื่องก้อจะสนุกมากขึ้นอ่ะค่ะ
เสียแต่ว่าตอนนี้หาไม่ค่อยได้แล้ว...


โดย: กี๋พกแป้ง วันที่: 18 พฤศจิกายน 2548 เวลา:15:24:38 น.  

 
...อีกที

พวกองค์ประกอบต่างๆ ของบทหนังนี่เยอะมากๆ ค่ะ
เราจำได้ไม่หมด ครูจะสอนบนพื้นฐานของ Drama น่ะค่ะ
ต้องขอเวลาค้นก่อนแล้วจะเอามาเล่าให้ฟัง

ที่แน่ๆ เราจะต้องถอดพวกนี้ให้ได้ในการดูหนังแต่ละเรื่อง
ก้อมี Conflex เอ๊ย..Conflict อันนี้แน่นอน
แล้วก้อมี Protagonist , Antagonist ,
Theme , Concept , Symbolic , Main Massage , Motif , Goal แต่พอดูจิงๆ ก้อได้มั่งไม่ได้มั่งอ่ะค่ะ


โดย: กี๋พกแป้ง วันที่: 18 พฤศจิกายน 2548 เวลา:15:36:33 น.  

 
ผมเรียนมาจากครูจำเป็นน่ะครับ เป็นพี่ที่เขาสอนให้ฟรี จากนั้นก็หาอ่านมาเรื่อยครับ

การพัฒนาบทเป็นอย่างที่คุณกี๋ว่าแหละครับ บางคนยังถึงกับบอกว่าทำทรีทเมนต์นี่แหละสำคัญที่สุดในการเขียนบทมาถึงตรงนี้ ที่เหลือก็ง่ายแล้ว (แต่เหนื่อย นั่นคือการเขียน Screenplay จนไปถึง Shooting Script)

โดยหลักๆ ที่ผมเคยอ่านมาจะไม่เหมือนกับที่คุณกี๋ว่าครับในเรื่องของบท แต่ก็คล้ายๆ กันนั่นแหละครับ คือกำหนดตัวละคร, เวลา-สถานที่, สร้าง Frame หรือ Concept, ปัญหาของตัวละคร -ของเรื่อง จนถึงความขัดแย้ง ไปจนถึงบทสรุป

Main Message คิดว่าก็คล้ายกับ Theme นะครับ เพราะผมไม่เคยได้ยินคำนี้ แต่ถ้าได้ดูหนังฮอลลีวู้ดเกือบทุกเรื่อง จะต้องมีคำที่บอก Theme เรื่องได้น่ะครับ

ที่ผมเคยเห็น เวลาเขียนบทแบบ 3 องค์ ไม่จำเป็นต้องมี Motif, Symbolic หรือ Metaphor ก็ได้นะครับ(เคยอ่านสัมภาษณ์นานแล้วเขาบอกคนเขียนบทเมืองไทยจะใส่ไปเขาก็ไม่เข้าใจก็มี...แต่สมัยก่อนนานแล้วครับ) แต่มันเป็นส่วนที่จำเป็นต้องใส่ไว้ในทุกศิลปะ และวรรณกรรม เพื่อให้ครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น


โดย: yuttipung IP: 202.44.8.98 วันที่: 18 พฤศจิกายน 2548 เวลา:16:04:49 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

yuttipung
Location :
สมุทรปราการ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




เป็นคนไม่เป็นโล้เป็นพายคนหนึ่งที่ติดอินเตอรเน็ต จนได้งานพอประทังเลี้ยงชีพ Blog นี้มอบให้แก่หญิงสาวที่ให้กำลังใจสำหรับความฝันอันริบหรี่ของผมมาตลอด ปัจจุบันเรียนโทจบแล้ว ทำงานหลายที่ หลักๆ ตอนนี้เพิ่งเริ่มเป็น Webmaster นิตยสารแห่งหนึ่ง ส่วนงานพิเศษคือลงข่าว และข้อมูลหนัง ดูแลเว็บให้กับ Popcornmag กับ เครือข่ายคนดูหนัง และเขียนวิจารณ์ภาพยนตร์ให้กับ Filmax

Friends' blogs
[Add yuttipung's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.