Group Blog
 
 
กรกฏาคม 2548
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
6 กรกฏาคม 2548
 
All Blogs
 

Classicalism หรือ Drama





The Godfather



ภาพยนตร์เมื่อแรกเริ่มสามารถแบ่งตามรูปแบบศิลปะได้ 2 แบบดังที่ได้เคยเสนอให้ทราบแล้วนั่นคือ ภาพยนตร์แบบสัจจนิยม(Realism) และ ภาพยนตร์แบบรูปแบบนิยม(Formalism) ซึ่งทั้ง 2 อย่างนั้นถือเป็นการมองภาพยนตร์ด้วยแนวทางที่สุดโต่งแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับผู้สร้างภาพยนตร์แต่ละคนต้องการให้หนังที่ออกมานั้นนำเสนอแบบไหน



แต่เมื่อศิลปะที่อายุน้อยที่สุดอย่างภาพยนตร์ได้ผลิตออกมามากมาย มีความนิยมที่มากขึ้นเรื่อยๆ เราก็จะพบว่าหนังที่นำเสนอด้วยรูปแบบศิลปะที่แตกต่างกันนั้น ได้รับความนิยมเพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น แต่ภาพยนตร์ที่สร้างกันจนถึงทุกวันนี้มีลักษณะที่อยู่กึ่งกลางระหว่างศิลปะ 2 แบบนั้น ไม่สมจริงเกินไป และไม่นำเสนอด้วยรูปแบบศิลปะที่มากนัก นั่นคือภาพยนตร์แบบที่เรียกว่า Classicalism ซึ่งหมายถึง แนวทางซึ่งได้รับการยอมรับ หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นภาพยนตร์ Drama



คำๆ นี้ไม่ได้หมายถึงตระกูลหนัง(Genre) ดราม่า ที่เน้นการเล่าเรื่องทั่วไปในสังคม แต่น่าจะมาจากคำที่ใช้เรียกวิธีการนำเสนอ และดำเนินเรื่องที่ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะการละคร ซึ่งในขณะเริ่มแรกของภาพยนตร์ ยังอยู่ในภาวะลองผิดลองถูก มีการนำเสนอรูปแบบทางศิลปะที่หลากหลาย แต่วิธีการที่นำเสนอด้วยการเล่าเรื่องราวต่างๆ และสร้างอารมณ์ต่างๆให้ผู้คนคล้อยตาม มีเทคนิคการถ่ายทำที่อาจโอนเอียงไปในทางสมจริง หรือเหนือจริง หรือผสมผสานทั้งสองอย่างเข้าด้วยกัน โดยมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อรองรับการเล่าเรื่องเป็นสำคัญ



หนังในปัจจุบันเกือบทั้งหมดเป็นหนังแบบ Drama ไม่ว่าจะเป็นหนังชั้นเลิศทางศิลปะอย่าง The Godfather, Raging Bull ไปจนถึงหนังที่ประสบความล้มเหลวทั้งรายได้และคำวิจารณ์อย่าง Gigli, House of The Dead ก็ล้วนเป็นหนังนำเสนอศิลปะที่อยู่ตรงกึ่งกลางอย่าง Classicalism ขึ้นอยู่ว่าจะเน้นหรือถูกมองในมุมไหนมากกว่ากัน




Citizen Kane



ที่ว่าถูกมองมุมไหนมากกว่ากันนั้นหมายถึงการมองในแง่ศิลปะ แม้จะเป็นหนังที่เน้นการเล่าเรื่อง แต่การนำเสนอทางด้านงานภาพ, การตัดต่อ และจัดองค์ประกอบของภาพ อาจจะถูกมองหนังเรื่องเดียวกันได้หลายแง่มุม เช่น ภาพยนตร์ที่ได้การยอมรับว่าเป็นเลิศที่สุดอย่าง Citizen Kane ก็มีคนมองได้ทั้งการถ่ายภาพที่เน้นความชัดลึกทางมิติอย่างสมจริง การนำเสนอที่ดูสมจริงจนน่าคล้อยตาม แต่ในมุมมองของอีกฝ่ายก็จะมองถึงสัญลักษณ์ที่หนังสอดแทรก รวมถึงการจัดวางองค์ประกอบภาพที่แสดงให้เห็นถึงตัวละครที่กำลังอยู่ในโลกจอมปลอมมากกว่าความสุขที่เขาไขว่คว้า




Raging Bull



หนังอย่าง Raging Bull ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นสุดยอดของภาพยนตร์ในยุค 80 ก็อาจถูกมองได้ทั้งสองทางเช่นกัน ขึ้นอยู่กับสายตาที่จะมอง อาทิ การถ่ายทอดงานภาพขาว-ดำ เพื่อถ่ายทอดชีวประวัตินักมวย แจ๊ค ลามอตต้า ได้อย่างสมจริงเป็นอิทธิพลจากภาพข่าว แต่ขณะเดียวกันภาพของแจ๊คที่อยู่บนสังเวียน ก็มักถูกแสดงให้เห็นมุมมองที่โดดเดี่ยว พอๆ กับความหลงตนเองที่มักอ้าแขนเปรียบตนไม่ต่างกันพระเจ้า ซึ่งเป็นประเด็นที่ผู้กำกับ มาร์ติน สกอร์เซซี มักกล่าวอ้างถึงเสมอ






 

Create Date : 06 กรกฎาคม 2548
1 comments
Last Update : 9 กรกฎาคม 2548 17:32:10 น.
Counter : 980 Pageviews.

 

ได้ความรู้ดีครับ
แต่ 3 เรื่องนี้ยังไม่ได้ดูสักกะเรื่องเลย เหอๆ

 

โดย: null (คำห้วน-lopzang-เฉือนคำรัก ) 24 มิถุนายน 2550 16:57:20 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


yuttipung
Location :
สมุทรปราการ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 2 คน [?]




เป็นคนไม่เป็นโล้เป็นพายคนหนึ่งที่ติดอินเตอรเน็ต จนได้งานพอประทังเลี้ยงชีพ Blog นี้มอบให้แก่หญิงสาวที่ให้กำลังใจสำหรับความฝันอันริบหรี่ของผมมาตลอด ปัจจุบันเรียนโทจบแล้ว ทำงานหลายที่ หลักๆ ตอนนี้เพิ่งเริ่มเป็น Webmaster นิตยสารแห่งหนึ่ง ส่วนงานพิเศษคือลงข่าว และข้อมูลหนัง ดูแลเว็บให้กับ Popcornmag กับ เครือข่ายคนดูหนัง และเขียนวิจารณ์ภาพยนตร์ให้กับ Filmax

Friends' blogs
[Add yuttipung's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.