บริหาร การจัดการ การตลาด พัฒนาตนเอง พัฒนาความคิด กลยุทธ์ ธรรมะ จักรราศี ฯลฯ
จัดตั้งธุรกิจ ปรับปรุงกิจการ | ไขความลับสมองเงินล้าน | การเขียนแผนธุรกิจ | บริหารคน บริหารงาน | พัฒนาความคิด
พระไตรปิฎกฉบับหลวง | แด่องค์กรที่แสนรัก | สุขใจกับเด็กสมาธิสั้น
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2548
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
13 พฤษภาคม 2548
 
All Blogs
 
สร้างระบบควบคุมการผลิต

ผมเอาระบบการควบคุมการผลิตทางฝั่งยุโรปมาอธิบายให้ฟังนะครับว่า เขามีวิธีการอย่างไร ซึ่งการควบคุมอย่างนี้ ทำให้ระบบงานการผลิตโดยเฉพาะ ระบบงานที่ต้องใช้คนทำนั้น สามารถทำให้เขาทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีประสิทธิผลมากขึ้น เพราะสามารถตรวจวัดได้ทั้งประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ทั้งตัวบุคคล และ ทั้งแผนก รวมทั้งยังสามารถประเมินสถานการณ์ของแผนกว่า คนแต่ละคนทำงานได้เต็มประสิทธิภาพแล้วหรือยัง หรือ งานเกินคนจนต้องเพิ่มคนเข้ามาทำงานแล้ว หรือ มีปริมาณงานน้อยกว่าจำนวนคน ควรจะยักย้ายถ่ายเทคนไปทำงานอย่างอื่นๆได้แล้ว หรือเอางานมาเพิ่มให้เขาทำงานได้เต็มที่มากที่สุด โดยไม่ได้ให้เขาทำเกินกว่าความสามารถของคนทั่วไป

ฟังดูมันเหมือนหรูหราเลยนะครับ แต่จริงๆแล้ว มันก็เป็นแค่วิธีการหนึ่งเท่านั้น ที่จะทำให้การผลิตสามารถดำเนินไปได้ด้วยระบบของมันเอง โดยมีเครื่องมือไว้ควบคุมและดูแล ก็เท่านั้น...

การผลิตที่ใช้คนเป็นพื้นฐานนั้น ย่อมมีองค์ประกอบหลักหลายอย่าง แต่ที่ขาดไม่ได้ก็คือกำลังคนซึ่งเป็นทรัพยากรที่ควบคุมยากที่สุดจากนั้นก็จะมี ประเภทของงาน เวลา ปริมาณ คุณภาพ วัตถุดิบ หรือ ทรัพยากรต่างๆนั่นเอง...

ขั้นตอนแรกของการควบคุมการผลิตโดยทั่วไป มักสร้างขั้นตอนต่างๆ จากประสบการณ์ของผู้คุมระบบว่า เกิดปัญหาอย่างนั้นก็ต้องเพิ่มการตรวจสอบตรงนั้น ตรงนี้... การทำงานผ่านไป เวลาผ่านมากขึ้น การผลิตก็จะมีขั้นตอนที่เพิ่มเข้ามามากขึ้น เอกสารมากขีั้น ขั้นตอนซ้ำซ้อนกันมากขึ้น จนทำให้ระบบงานที่เคยทำในอดีตเกิดความล่าช้าไป ระบบจะเริ่มสับสน แต่ก็ยังคงรักษาการทำงานต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง เพราะทุกคนพยายามทำตามขั้นตอนของระบบงาน สิ่งแรกที่ต้องทำสำหรับการเอาระบบไปใช้กับการทำงานอย่างจริงจัง ก็คือ ต้องเข้าใจ วิธีการทำงานเดิมๆก่อน เพื่อนำมาปรับปรุง หาจุดเด่น จุดด้อยของการทำงานปัจจุบัน แล้วค่อยทำความเข้าใจกับคนทำงาน ถึงระบบงานที่ได้จัดเตรียมการนำมาใช้ ค่อยๆเพิ่มข้อมูลหรือวิธีการที่เป็นระบบงานเข้าไปในการทำงานดั้งเดิิม ทีละเล็กละน้อย จะสามารถปรับเปลี่ยนได้ทั้งหมด ถ้าคุณคิดจะปรับปรุงการผลิตที่เกี่ยวกับแรงงานคนนั้น มันต้องใช้เวลา และความมุ่งมั่นของผู้ที่อยากจะปรับเปลียนนะครับ...

การศึกษาระบบงานเดิม

แน่นอนว่า ระบบงานทุกระบบย่อมต้องมีคนเป็นองค์ประกอบ มีเอกสาร มีการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ การที่จะทำให้เกิดความเข้าใจในระบบงานเดิมให้ดียิ่งขึ้น หรือ ต้องการที่จะเรียนรู้ระบบงานใดๆ เมื่อเข้าไปทำงานใหม่ๆ นั้น แนะนำว่าให้เริ่มจากการเขียนผังการทำงาน อย่างเป็นขั้นตอน โดยอาศัยการสอบถามระบบงาน การสังเกตุ และ สร้างให้หัวหน้างานเกิดความร่วมมือในการที่จะอธิบายถึงระบบงาน และ มาช่วยกันพัฒนาระบบงานให้ดีขึ้น

การทำผังการทำงานนั้น อาจจะเริ่มจากการทำผังทางเดินเอกสาร ก่อน โดยให้รวบรวมเอกสารที่ใช้ทั้งหมดที่ใช้งานในระบบมา แล้วนำมาวางหรือ ปิดไว้กับกระดานขนาดใหญ่ โดยให้ใช้หลักว่า เอกสารเข้า -> ใครไปจัดการต่อ -> และจะส่งเอกสารใดออกมา เอกสารนี้เป็นเอกสารที่จะนำไปใช้กับ ใครต่อหรือเปล่า และ ได้ผลลัพธ์อะไรออกมา อาจจะทำเป็นสายใยต่อๆกันไป หรือ เป็นโครงร่างใดๆก็สุดแล้วแต่ แต่พยายามทำให้อยู่ในกระดานแผ่นเดียว และควรจะทำอย่างเปิดเผย เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วม ว่า ยังขาดผังการทำงานอย่างใดบ้าง มีเอกสารใดที่ใช้งานแล้วยังไม่ได้ลงในกระดานนี้ ก็เอามาลง ลากเส้น วางเอกสารเพิ่มเติมได้ อาจจะใช้เวลาสัก สัปดาห์สองสัปดาห์ หากรอบงานเป็นเดือน ก็ต้องวางเอกสารเพื่อให้ทุกคนได้ศีกษาเป็นเดือนสองเดือน ซึ่งก็แล้วแต่ลักษณะของงานแต่ละคน เพื่อให้ทุกคนได้ทำงานครบรอบ เพื่อได้ทบทวนซึ่งอาจจะมีอะไรหลงจากความคิดแรกๆ จะได้เอามาใส่ในกระดานนี้

ในช่วงเวลาที่ให้คนทำงานได้ทบทวนเอกสารที่ใช้นั้น ผู้วิเคราะห์ระบบงาน ต้องคอยเฝ้าการเปลี่ยนแปลง และวิเคราะห์ หาเอกสารที่ซ้ำซ้อนซึ่งมีหลักการทำงานของเอกสารเหมือนกันแต่แตกต่างกันในเรื่องของคนที่จะใช้ ปรับให้ใช้เอกสารในรูปแบบที่คล้ายกันให้มากที่สุด เพื่อเป็นการลดการซ้ำซ้อนหรือ การสิ้นเปลือง โดยไม่จำเป็น ผู้วิเคราะห์ควรจะเดินออกห่างกระดานนี้ เพื่อจะได้มองเห็นภาพรวมของการเคลื่อนไหวของเอกสารได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น และ จะได้เข้าใจระบบงานที่สะสมมานานมากยิ่งขึ้นด้วย เมื่อมีความคิดเห็น หรือคำแนะนำใดๆ ก็ให้จดบันทึกไว้ก่อน

เมื่อถึงกำหนดหรือไม่มีการเปลี่ยนแปลงสักสัปดาห์สองสัปดาห์ ก็ต้องเรียกคนที่เกี่ยวข้องกับระบบงานมาสอบถามว่าการเดินของเอกสารมันเดินอย่างไร ใครทำ ใครรับผิดชอบ เอกสารมันเหมือนกันเปลียนเป็นรูปแบบเดียวกันได้หรือไม่ ทำอย่างนั้นเพิ่มดีหรือไม่ ทำอย่างนั้นเพิ่มดีหรือไม่ ตัดอันนี้ เพิ่มอันนั้นดีหรือไม่ เพื่อทำให้ระบบเอกสารรัดกุมให้มากที่สุด และ เดินทางได้สั้นที่สุด ไม่ต้องผ่านหลากหลายขั้นตอนมากนัก

เมื่อระบบภายนอกเป็นที่น่าพอใจระดับหนึ่ง ก็ต้องให้คนทำงานได้ลองปรับเปลี่ยนกระดานระบบงานเขาเอง โดยผู้วิเคราะห์ต้องพยายามแนะนำ ว่าน่าจะทำอย่างนั้น อย่างนี้หรือเปล่า มีปัญหาอะไรบ้างหรือเปล่า แล้วให้คนทำงานตัดสินใจเองว่า เขาจะทำหรือปล่อยผ่าน ซึ่งอาจจะได้คนที่พยายามปรับปรุงระบบสักคนสองคน แต่อีกสิบกว่าคนก็ยังไม่เข้าใจว่า ระบบเดิมๆนะ ดีอยู่แล้วจะปรับไปทำไมก็มี แต่อย่างน้อย การทำลักษณะนี้ก็เป็นการละลายพฤติกรรมระดับหนึ่ง ทำให้เกิดการตื่นตัวที่จะเปลี่ยนแปลง ยิ่งเจ้านายใหญ่ให้การสนับสนุนด้วยแล้ว จะยิ่งทำให้การเปลี่ยนแปลงทั้งระบบงานทำได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

เมื่อเข้าใจการทำงาน และ ทำให้คนทำงานเดิม ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ก็ต้องค่อยๆเริ่มในเรื่องอื่นๆถัดไป...

แยกย่อยงานที่ทำ

เมื่อได้คนที่ชอบการเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น และ ทราบว่าคนไหนคือหัวหน้างาน คนไหนสามารถมีการตัดสินใจ คนไหนเป็นหัวหอกขององค์กร ก็จะเริ่มจัดกลุ่มเพื่อและเรียกประชุมถึงการจัดการงาน อาจจะมีการอบรมในเรื่องต่างๆ อย่างเช่น อะไรบ้างที่จะทำให้เกิดความสูญเสียของเวลาการทำงานอย่างไม่จำเป็น หรือ งานคืออะไร อะไรที่เป็นงานที่ทำแล้วเป็นผลงาน งานอะไรเป็นงานในเชิงปริมาณ งานใดเป็นงานในเชิงคุณภาพ ซึ่งจะทำให้หัวหน้างานและคนที่มีอำนาจเห็นถึงภาพการทำงานที่ดีๆได้

จากนั้นก็ต้องเริ่มให้การบ้านเพื่อให้หัวหน้างาน หรือ Key man ต่างๆ ได้เริ่มหาว่า งานของตนที่เป็นหัวหน้างานนั้นมีหน้าที่อะไรบ้าง งานของลูกน้องมีงานอะไรบ้าง หน้าที่ใด มีงานอะไรบ้าง ทำขั้นตอนอย่างไรบ้าง เพื่อจะได้ทราบว่า ในการทำงานหนึ่งๆ มีกี่ขั้นตอนที่ต้องสูญเสียไป มีงานใดที่แต่ละคนทำเหมือนกัน มีงานใดที่เป็นงานพิเศษ ซึ่งแน่นอนต้องรวมไปถึงการประชุม การอบรม หรืองานใดๆก็ตามที่ต้องเสียเวลาในการทำงาน และ องค์ประกอบของงานมีอะไรบ้าง

อย่างเช่น
1. การขนย้ายวัตถุดิบ จากโกดัง ไปโรงงาน / รถเข็น / คนเข็น /
2. การประกอบขึ้นรูป / วัตถุดิบ / คนงานหญิง
3. ตรวจสอบการประกอบขึ้นรูป / คนงานหญิง / กล่องแยกผลิตภัณฑ์ตามเกรด
4. การเบิกวัตถุดิบ / คนเบิก / คนคุม / วัตถุดิบ
5. ประชุมประจำสัปดาห์ / พนักงานทุกคน / ห้องประชุม

เหล่านี้เป็นต้น ซึ่งเมื่อแยกย่อยงานออกมาแล้วก็จะมองเห็นว่า มีองค์ประกอบอะไรบ้างในแต่ละงาน แน่นอน ย่อมมีเวลา เข้าไปเกี่ยวข้องกับงานทุกงานที่ใช้คนงานอยู่แล้ว และ ให้เวลาแต่ละคน ได้พยายามเขียนงานออกมาให้ครอบคลุมตามรอบระยะเวลาของแต่ละคน เพื่อจะได้ให้ครอบคลุมมากที่สุด

เมื่อได้งานออกมาแล้วค่อยมาวิเคราห์หาจุดอ่อนจุดแข็งของแต่ละงาน เมื่อมีจุดอ่อนก็ต้องหาวิธีแก้ที่เป็นไปได้ และใช้ค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด อาจจะเขียนเพิ่มเติม หรือ มีข้อเสนอแนะว่า หากมีเงินจะทำอย่างนั้น...อย่างนี้เพื่อลดจุดอ่อนของแต่ละงาน

เช่น การขนย้ายวัตถุดิบ จุดอ่อน-แดดร้อน ฝนตก (ทำที่บังแดดบังฝน) รถเสีย (มีรถเข็นสำรอง?) คนงานอู้ (?)

บางงานอาจจะต้องมีวิธีการทำงานเสริมเข้ามา ก็จะเพิ่มวิธีการทำงานเข้าไป เช่น การตรวจสอบคุณภาพมีข้ันตอนดังนี้ - เช็คปากขวด เช็คก้นขวด เช็ครอบขวดว่ามีฟองอากาศหรือไม่ สีตรงกับที่สั่ง? เป็นต้น (ทำจริงก็ทำเป็นตารางนะครับดูง่ายกว่าเยอะ)

ตรวจจับเวลา

เมื่อได้รายการของแต่ละงานแล้ว ก็ต้องเรียกคนที่เกี่ยวข้อง หรือ หัวหน้างาน มาประชุมเพื่อให้ความรู้ในเรื่องเวลาที่ใชไปกับงาน แล้วลองให้หัวหน้างานจับเวลการทำงานของแต่ละคนว่า ทำงานใช้เวลาในการทำงานต่อคนเท่าใดในแต่ละงาน โดยให้เขาทำตามสบายไม่ต้องรีบร้อน แต่ส่วนใหญ่แรกๆที่จับเวลา จะพยายามทำให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้เพราะจะได้เห็นว่าเขามีความสามารถ แต่นั่นเป็นสิ่งที่ผิด จุดประสงค์ที่จะจับเวลาไม่ใช่ให้เขาแข่งขันกัน แต่ต้องการทราบว่า หากเขาทำงานโดยปกติแล้ว เขาจะใช้เวลาประมาณเท่าใดในการทำงาน โดยปกติกัน ซึ่งแน่นอน งานเดียวกัน ย่อมมีบางคนทำงานได้รวดเร็วบางคนก็ทำได้ช้า ซึ่งก็ต้องตรวจวัดกันไป

การตรวจวัดงานนั้น ต้องตรวจวัดเป็นช่วงเวลา อาจจะภายใน 1 ชั่วโมง เขาทำงานใดบ้าง ใช้เวลาทำงานนั้น ได้ปริมาณเท่าใด หากมีงานที่แทรก ก็ต้องหยุดเวลาของการจับเวลาหลัก แล้วจับเวลาของการทำงานแทรกว่า เขาใช้เวลาเท่าใด และทำงานแทรกได้ปริมาณเท่าใด หากเขาเข้าห้องน้ำก็ต้องหยุดเวลาไว้ หากเขาเดินไปคุยเล่นกับเพื่อนๆ ก็ต้องบอกให้เขามาทำงานเพราะเรากำลังจับเวลาอยู่ ไม่รวมเวลาคุยเล่นกัน ทำนอนนี้ ซึ่งจะได้ข้อมูลลักษณะนี้

นาย A วันที่ xxxxxxxx จับเวลา โดย...
10:10 - 10:30 ขนย้ายวัสดุ ได้ 2 เที่ยว แล้วพักทานน้ำ
10:42 - 11:04 เดินไปเบิกวัสดุ
11:04 - 12:00 ประกอบ ได้ 35 ชิ้น

ก็จับเวลาลักษณะนี้ ไป จำนวนชั่วโมงอาจจะมากบ้างน้อยบ้าง แต่ต้องจับเวลาให้ได้ทุกงานของทุกคนครับ อาจจะต้องจับหลายรอบต่อคนก็ได้

หาค่าเฉลี่ยของงานต่อหน่วย

เมื่อมีข้อมูลที่จับเวลามา ย่อมจะหาค่าเฉลี่ยเวลาที่ใช้กับงานนั้นๆ ต่อหน่วยงานได้ โดยใช้สูตรง่ายๆ ซึ่งลองคำนวนของแต่ละคน แล้วค่อยมาดูว่า ค่าใดโดดเกินไปก็เอาออก แต่หากอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกันมากๆ ก็ค่อยเอามาใช้หาเฉลี่ยของทั้งหมด เช่น

งานขนย้ายวัสดุ
นาย A ทำครั้งแรกได้เที่ยวละ 10 นาที จับเวลาครั้งที่ 2 ทำได้เที่ยวละ 11 นาที
นาย B ทำได้เที่ยวละ 12 นาที จับเวลาครั้งที่ 2 ทำได้เที่ยวละ 15 นาที จับเวลาครั้งที่ 3 ทำได้เที่ยวละ 10 นาที
นาย C ทำได้เที่ยวละ 9 นาที จับเวลาครั้งที่ 2 ทำได้ 11 นาที
นาย D ทำได้ เที่ยวละ 43 นาที
นาย E ทำได้เที่ยวละ 14 นาที จับเวลาครั้งที่ 2 ทำได้ 12 นาที

ซึ่งจะเห็นว่า นาย D ทำเวลาโดดกว่าชาวบ้านมากนัก ข้อมูลของ นาย D อาจจะต้องไปจับเวลามาใหม่ ซึ่งหากเฉลี่ยเวลาการทำงานออกมาจะได้ว่า งานขนย้ายวัสดุใช้เวลาเฉลี่ยต่อเที่ยว 11.5556 นาที เป็นต้น หากเทียบกลับไป แสดงว่า น่าจะขนย้ายวัสดุได้ 5 เที่ยวต่่อชั่วโมง เป็นต้น

เมื่อได้ตัวเลขแล้วต้องแสดงให้คนทำงานได้เห็นถึงประสิทธิภาพของการจับเวลาที่เราได้ เพื่อสร้างกระแสให้เขาได้เห็นผลงานที่ดี หรือ ไม่ดีที่เขาทำให้เราจับเวลา และอธิบายว่า เวลาที่ได้เฉลี่ยนของทุกคนนั้นได้จำนวนเท่าใด แสดงว่า ควรจะทำได้ประมาณสักเท่าใดต่อชั่วโมง เป็นต้น

คำนวนย้อนกลับ

ระหว่างจับเวลา ก็ต้องเริ่มให้พนักงานได้จดบันทึกรายวันของตัวเองว่า ทำงานในแต่ละงานเป็นจำนวนเท่าใดต่อวัน ทำหลายงาน ก็จดมาหลายๆงาน เพื่อให้เขาเกิดความเคยชิน

เมื่อได้ค่าเฉลี่ยและจำนวนที่พนักงานทำงานได้ต่อวันแล้ว ก็สามารถหาได้ว่า เวลาที่พนักงานทำให้กับเรา นั้นใช้เวลาต่อวันไปเท่าใดกับงาน โดยการ เอาจำนวนงานที่ได้ คูณกับ เวลาเฉลี่ย แล้วเอาจำนวนที่ได้ของแต่ละงานมารวมเข้าด้วยกันของแต่ละบุคคล ก็จะได้ เวลาที่แต่ละบุคคลให้กับโรงงาน

อย่างเช่น นาย A ขนย้ายวัสดุอย่างเดียว โดยทำงาน 4 วัน ทุกวันทำงาน เข้าออกตรงเวลา 8 ชั่วโมงทำงานให้กับโรงงาน และได้งาน 33, 20, 35, 40 เที่ยวตามลำดับ ดังนั้นจากค่าเฉลี่ยของการขนย้ายวัสดุ เป็น 11.6 นาที นาย A ใช้เวลาทำงาน 6.38, 3.87, 6.77, 7.73 ชั่วโมงตามลำดับเช่นกัน (มาจาก 33*11.6/60 หารด้วย 60 เพื่อแปลงเป็นชั่วโมง ) ดังนั้น งานที่นาย A ทำให้กับโรงงานจะได้ 79.75%, 48.38%, 84.63% และ 96.63% ตามลำดับ ซึ่งพบว่า วันที่ 2 เขาทำงานได้น้อย และ วันที่ 4 เขาก็ทำงานได้มากที่สุด หากการตรวจสอบทำทุกวัน จะสามารถรู้ในตอนเย็นได้เลยว่า วันที่ 2 ทำไมเขาถึงทำงานได้น้อย ทั้งๆที่ เขาทำงานได้ดีมาโดยตลอด อาจจะเกิดจากไม่สบาย ตัวร้อน หรือ ฝนตกทำให้ไม่สามารถขนย้ายวัสดุได้

ตัวเลขมาตรฐานของสากลทั่วไป การที่พนักงานทำงานได้ 80% ถือว่ามาตรฐาน สาเหตุเพราะว่า ให้เวลา 20% ของพนักงานเพื่อทานน้ำ เข้าห้องนำ้ ทำธุระส่วนตัว

หากทำได้มากกว่า 100% ทุกครั้ง ก็ต้องย้อนกลับไปดูตั้งแต่การจับเวลา หรือ หาค่าเฉลี่ยต่องาน ว่ามีความบกพร่่อง ณ จุดใดหรือเปล่า... หรือว่า เขาทำงานได้เร็วกว่าคนอื่นมากๆ ซึ่งบางคนอาจจะเกินกว่า 110% ก็มี แต่ถ้าทุกคนเกิน 100% แสดงว่า ตัวเลขค่าเฉลี่ยไม่ถูกต้อง ควรจะหาตัวเลขเฉลี่ยของการทำงานใหม่ตั้งแต่ต้น

ซึ่งจากตัวอย่าง นาย A มีมาตรฐานการทำงานเฉลี่ยอยู่ที่ 77.34% ซึ่งก็ไม่เลวนัก

หลักคิดโดยรวม

พนักงานทำงาน ไม่ใช่ทำงานกันเพียงงานเดียวทั้งวัน หรือตลอดเวลา ซึ่งจะต้องมีการทำงานนั่น งานนี่ อาจจะต้องทำงานหลายๆอย่างในหนึ่งวัน หรือการทำงานที่มีระบบมากขึ้น ก็จะมีบ้างที่อาจจะต้องมีการประชุม อบรม หรือ มีการทำกิจกรรมในเวลางาน และ การเข้าออกงาน ของพนักงานก็จะเป็นตัวแปลอีกตัวที่อย่ามองข้าม การที่คนเข้าทำงานเช้า กลับดึก แต่จำนวนผลงานของบางคนอาจจะต่ำกว่าคนทำงาน เข้าตรงเวลาออกตรงเวลาเสียอีก.. ดังนั้น จึงต้องเอาเรื่องเวลาเข้างานและออกงานมายุ่งด้วย...

บางกิจการมีการตอกเวลาเข้าออกแล้ว แต่บางกิจการก็ไม่มีหรือมีก็เอามาเพื่อควบคุมการเข้าออก แต่ไม่ได้เอามาใช้งานจริงๆ ดังนั้นหากจะใช้ระบบงานนี้ ต้องเริ่มให้มีการจดบันทึก หรือ ตอกบัตรอย่างจริงจัง เพราะจะได้เห็นภาพรวมได้ดีขึ้น

ตัวอย่าง

นาย A ทำงานที่ 1 เขาเริ่มทำงาน 7 โมงเช้า และกลับ 1 ทุ่ม ในวันทำงาน และเขาทำงานได้งานที่คำนวนย้อนกลับมาเป็นเวลาทำงานได้ 3.3 ชั่วโมง ทำงานที่ 2 ได้งานสัก 2.5 ช่ัวโมง เข้าประชุม 1.5 ชั่วโมง

กับนาย B ทำงาน เข้า 8 โมงเช้า กลับ 5 โมงเย็น ทำงานที่ 1 ได้ 3 ชั่วโมง ทำงานที่ 2 ได้ 2.1 ชั่วโมง และ เข้าประชุม 1.5 ชั่วโมงเท่ากัน...

ถ้ามองดูแล้ว นาย A ทุ่มเทให้กับงาน มาเช้ากลับดึก และ ได้งานมากกว่า นาย B ซึ่งไม่ทุ่มเทให้กับบริษัทฯเลย... และได้งานน้อยกว่าด้วย

แต่ถ้ามองในเชิงคุณภาพแล้ว คงต้องลองคำนวนผลงานของทั้ง 2 คนขึ้นมาดูครับ

นาย A ทำงานทั้งหมด 11 ชั่วโมง ซึ่งมาจากเวลาเลิกงานลบด้วยเวลาเข้างาน และ ลบเวลาพักกลางวัน 1 ชั่วโมง เวลาของงานที่นาย A ทำได้ 7.3 ชั่วโมง (3.3+2.5+1.5) ดังนั้น ผลงานของนาย A จะได้ 66.36% (7.3/11*100)

นาย B ทำงานทั้งหมด 8 ชั่วโมง (17-8-1) และทำงานได้ 6.6 ชั่วโมง (3+2.1+1.5) ดังนั้น ผลงานของนาย B จะได้ 82.5% (ุ6.6/8*100)

เมื่อคำนวนออกมาแล้ว นาย B กลับทำงานได้ดีกว่า นาย A ซึ่งหมายถึง ในเวลางานเท่ากัน นาย B ทุ่มเททำงานมากกว่า นาย A ดังนั้นการมาทำงานเช้ากลับสายของนาย A ไม่ใช่สิ่งที่ดีเลย เพราะ องค์กรต้องเสียเงินค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าแอร์เพิ่มมากขึ้นเพื่อให้ทำงาน

ไม่ว่าองค์กรของการผลิตหรือองค์กรใดๆ ที่ไม่ได้จัดทำตัวเลขออกมาแสดงให้เป็นรูปธรรมแล้ว จะมองไม่ค่อยเห็นผลงานของคนทำงานจริงๆ แต่กลับไปเห็นภาพลวงที่ดูเหมือนจะเป็นการทุ่มเทให้กับองค์กร ดังนั้นจึงมีเรื่องบ่อยๆว่า คนประจบเจ้านายจะได้ดีกว่าคนที่ทำงานทุ่มเท คนมาเช้ากลับสายแต่เดินไปเดินมา กลับได้รับเลื่อนขั้น คนทำงานหนักตั้งแต่เข้างานจนออกจากงาน กลับกลายเป็นคนทำงานไม่มีประสิทธิภาพไป...



Create Date : 13 พฤษภาคม 2548
Last Update : 13 สิงหาคม 2548 0:07:13 น. 3 comments
Counter : 3024 Pageviews.

 
น่าอ่านมากค่ะ


โดย: ใจ IP: 124.157.217.53 วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:21:04:22 น.  

 
น่าอ่านมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆค่ะ


โดย: ฟ้า IP: 124.157.217.53 วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2551 เวลา:21:05:19 น.  

 
มีประโยชน์มากเลย
ขอบคุณคับ


โดย: จงกล IP: 124.120.89.251 วันที่: 18 สิงหาคม 2554 เวลา:9:36:13 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

wbj
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 210 คน [?]




ต้องการสอบถาม กรุณาติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com หรือ 062 641 5992, 062 826 1544

วิทยากรเชิงกิจกรรม

วิทยากรกระบวนการ

ที่ปรึกษาธุรกิจ

ด้านการบริหารจัดการ

การตลาดและการประชาสัมพันธ์

การบริหารทรัพยากรมนุษย์

การวางแผนกลยุทธ์

วิจัยธุรกิจ

IT Dashboard



ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้...
ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย
และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด



<< Main Menu >>



ดวงถาวร


ดวงตามวันเกิด



ดวงตามปีเกิด






;b[^]pN 06' ไรินนื ่นนืเ "รินนื ๋นนืเ c:j06'

ต้องการสอบถาม โทร 062-641-5992, 062-826-1544
ติดต่อทางเมล์ที่ wbjoong@gmail.com
Line ID : wbjoong

ที่ปรึกษาธุรกิจ ด้านการบริหารจัดการ การตลาดและการประชาสัมพันธ์ การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และ การวางแผนกลยุทธ์ วิทยากรเชิงกิจกรรม, วิทยากรกระบวนการ นักวิจัยการดำเนินงานธุรกิจ Executive & Management Coach

ไม่ได้ ไม่มี ไม่ดี ไม่ได้... ต้องได้ ต้องดี ต้องมี ต้องง่าย และ ทำให้ดีกว่าดีที่สุด
<< Main Menu >>
Friends' blogs
[Add wbj's blog to your web]
Links
 
MY VIP Friends


 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.