ความทรงจำเก่า ๆ ก่อนจะลืมเลือนหายไปกับกาลเวลา
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2555
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
6 ธันวาคม 2555
 
All Blogs
 

10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์

พวกเราส่วนมากหารือเกี่ยวกับแนวคิดเศรษฐกิจด้านต่าง ๆ
แต่บางครั้งเป็นเรื่องดีที่จะกลับไปสู่หลักการพื้นฐาน
Balaji Viswanathan (บาลาจิ วิศวนธาน)
ผู้บริหารระดับสูงสุด (CEO) ของ ZingFin.com
ได้เขียนบทความที่ดีใน Quora 10 แนวคิด
รวมทั้งข้อมูลเชิงลึกแถมให้อีกสองเรื่อง - ที่ทุกคนควรรู้

บทความดังกล่าวเป็นภาพรวมที่ดีมาก
ที่สอดคล้องลืนไหลผ่านคำจำกัดความที่สำคัญ
แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์และทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์
ขอขอบคุณ Viswanathan วิศวนธาน อนุญาตให้เผยแพร่ในครั้งนี้


เศรษฐศาสตร์มีสองสายหลัก - เศรษฐศาสตร์จุลภาคและเศรษฐศาสตร์มหภาค
Economics has two main streams - Microeconomics and Macroeconomics.

เศรษฐศาสตร์จุลภาค เสนอเรื่องเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้บริโภค
แรงจูงใจด้านต่าง ๆ  การกำหนดราคา ผลกำไรต่าง ๆ  ฯลฯ 

เศรษฐศาสตร์มหภาค  เสนอเรื่องในเชิงกว้างและเรื่องขนาดใหญ่
เช่น อัตราดอกเบี้ย, ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) และเรื่องอื่น ๆ

เรื่องเหล่านี้มักจะพบเห็นในคอลัมน์หนังสือพิมพ์ด้านธุรกิจ
เศรษฐศาสตร์จุลภาคมีประโยชน์กับผู้บริหารทั่วไป
เศรษฐศาสตร์มหภาคมีประโยชน์กับนักลงทุนในการนำไปใช้งาน

ยกเว้นในเรื่องที่ 2 และ 3 จะเป็นบทความที่ครอบคลุมในเรื่องอื่น  ๆ
ของเศรษฐศาสตร์มหภาค


กฎของอุปสงค์กับอุปทาน: เรื่องนี้คือรากฐานของเศรษฐศาสตร์

Law of Supply & Demand: This is the founding block of economics.

เมื่อใดก็ตามที่อุปทาน(การตอบสนอง)ของสิ่งของบางสิ่งบางอย่างเพิ่มขึ้น ราคาของจะลดลง
และเมื่อใดก็ตามที่อุปสงค์(ความต้องการ)เพิ่มขึ้น  ราคาจะเพิ่มขึ้น 

ดังนั้นเมื่อมีการผลิตข้าวโพดจำนวนมากขึ้นมา(มีส่วนเกินของข้าวโพด)
ราคาอาหารจะลดลงราคา และในทำนองกลับกัน(ข้าวโพดมีน้อย ราคาจะแพงขึ้น)

ลองคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างธรรมดา ๆ
จะพบการประยุกต์ใช้ในเรื่องแบบนี้มากกว่าพันกรณีขึ้นไป


อรรถประโยชน์ส่วนเพิ่ม (Marginal Utility)

เมื่อใดก็ตามที่จำเป็น
ต้องหาของบางสิ่งบางอย่างเพิ่มขึ้น
แต่ทำให้ต้องลดค่าใช้จ่ายลง

ดังนั้นรายจ่าย 100 เหรียญสหรัฐจะมีค่ามาก
เมื่อมีรายรับ  1,000 เหรียญสหรัฐต่อเดือน
แตกต่างมากับเมื่อมีรายรับ 1,000,000 เหรียญสหรัฐต่อเดือน

เรื่องนี้จึงใช้กันอย่างแพร่หลายในการตั้งราคาสินค้า


ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)
Gross Domestic Product (GDP)

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ
เป็นตัวชี้วัดระดับพื้นฐานของขนาดของเศรษฐกิจ

นี้คือ ผลรวมของกรอบแนวคิดที่ว่า
ผลรวมของรายได้ของทุกคนในประเทศ
หรือผลรวมของมูลค่าตลาดของสินค้าและบริการทั้งหมดที่ผลิตในประเทศ

ตอนนี้สหรัฐอเมริกามีเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในแง่ของ GDP
อยู่ที่ประมาณ 14 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ
นั่นหมายความว่ามี
ผลรวมของมูลค่า 14 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ
มาจากการผลิต(สินค้าและบริการ)ในสหรัฐอเมริกาทุกปี


อัตราการเติบโต Growth Rate

การเติบโตของเศรษฐกิจจะวัดในแง่ของ
อัตราการเจริญเติบโตของ GDP
เริ่มตั้งแต่ใช้ GDP เป็นตัวชี้วัดรายได้ประชาชาติ
อัตราการเจริญเติบโตนี้เป็นตัวแทนชี้วัดแบบหยาบ ๆ
เกี่ยวกับรายได้เฉลี่ยของประชากรที่เติบโตขึ้นทุกปี


เงินเฟ้อ Inflation

เรื่องที่รู้อยู่แล้วว่าราคาผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ในขณะนี้
มีราคาสูงกว่าในช่วงเวลาของคุณปู่ของทุกคน
อัตราเงินเฟ้อ (วัดเป็นเปอร์เซ็นต์) เป็นตัวชี้วัดว่า
มีอัตราเพิ่มขึ้นเท่าใดในด้านราคาของผลิตภัณฑ์จากปีที่ผ่านมา

ในระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่แล้ว
อัตราเงินเฟ้อต่อปีจะตกอยู่ที่ประมาณร้อยละ 2

นั่นหมายความว่่า
ราคาเฉลี่ยของสินค้าและบริการ
จะขึ้นไปถึงร้อยละ 2 ในทุกปี

บทบาทพื้นฐานของธนาคารชาติ
คือ การบริหารจัดการกับอัตราเงินเฟ้อนี้
และให้มันไปเป็นตัวเลขบวกในระดับต่ำ

ตัวอย่างนี่คือตัวเลขเงินเฟ้อในรอบ 100 ปีของสหรัฐอเมริกา


อัตราดอกเบี้ย Interest Rates

เมื่อคุณให้ใครสักคนหนึ่งยืมเงินไป
คุณย่อมคาดหวังว่าจะได้อะไรที่พิเศษกลับคืนมา
สิ่งนี้คือ ส่วนเกินที่่เรียกว่าดอกเบี้ย
อัตราดอกเบี้ยคือ จำนวนที่บวกเพิ่มจากมาตรฐาน
ของจำนวนตัวเลขที่ต้องการหรือคาดหวัง
เป็นส่วนเกินที่คุณควรจะได้รับจากการปล่อยกู้

ตัวอย่างนี้คือ การกระจายของอัตราดอกเบี้ย
อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นจะถูกกำหนดโดยธนาคารชาติ
ตอนนี้อัตราดอกเบี้ยเกือบเตะทีใกล้ศูนย์แล้ว

ในระยะยาวอัตราดอกเบียจะถูกกำหนดโดยตลาด
และขึ้นอยู่กับอัตราเงินเฟ้อและแนวโน้มเศรษฐกิจในระยะยาว
กลไกที่ธนาคารชาติควบคุมอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น เรียกว่า นโยบายการเงิน


ผลกระทบระหว่างกันของอัตราดอกเบี้ย, เงินเฟ้อ, การเจริญเติบโต
Interest Rates vs. Inflation vs. Growth

มันมีความสัมพันธ์ในแบบผกผันซึ่งกันและกัน
ระหว่างอัตราดอกเบี้ยกับการเจริญเติบโต
อัตราดอกเบี้ยสามารถส่งผลกระทบโดยตรงต่ออัตราเงินเฟ้อ

ดังนั้นเมื่อเพิ่มอัตราดอกเบี้ยแล้ว
อัตราเงินเฟ้อจะมีแนวโน้มลดลง
พร้อมกับการเจริญเติบโตที่ลดลงไปด้วย 

บางครั้งเป็นเรื่องดีแต่บางครั้งเป็นเรื่องเลวร้าย

ดังนั้นจึงมีความตึงเครียดอย่างต่อเนื่อง
เกี่ยวกับการกำหนดอัตราดอกเบี้ยในสหรัฐอเมริกา

เมื่อธนาคารชาติของสหรัฐกำหนดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น
ทำให้มักจะเป็นข่าวหน้าหนึ่งในข่าวเศรษฐกิจ
ที่มีการจับตามองมากที่สุดในสหรัฐอเมริกาและนานาชาติ


นโยบายการคลัง Fiscal Policy

รัฐบาลสามารถควบคุมเศรษฐกิจส่วนใหญ่ภายในชาติ
ได้โดยการปรับเพิ่ม/ลด ค่าใช้จ่าย
กลไกการปรับเพิ่ม/ลด ค่าใช้จ่าย
ด้วยการใช้นโยบายการคลัง

เมื่อรัฐบาลมีการใช้จ่ายมากขึ้น
จะนำไปสู่​​อุปสงค์(ความต้องการ)มากขึ้น
ราคาสินค้าและบริการจะเพิ่มขึ้นมากขึ้น

นั่นหมายความว่า
จะมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูง
และอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นพร้อมกัน

ส่วนการควบคุมในแบบตรงกันข้าม
จะทำให้การเจริญเติบโตลดลง
และอัตราเงินเฟ้อลดลงเช่นกัน

ดังนั้นรัฐบาลพยายาม
จะใช้จ่ายมากขึ้น
ในช่วงระยะเวลาของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจต่ำ
และมีอัตราเงินเฟ้อต่ำ

ลดค่าใช้จ่ายลง
ในช่วงระยะเวลาของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูง
และอัตราเงินเฟ้อสูง


วงจรธุรกิจ  Business Cycle

เศรษฐกิจมีช่วงระยะเวลา รุ่งกับร่วง
ใช้รอบระยะเวลานานประมาณ 7 ปี

ในช่วงเริ่มต้นของวงจรธุรกิจจะรุ่ง
แล้วเมื่อไปถึงระดับช่วงบนสุดแล้ว
จะิเิริ่มมีการหดตัวลง(ร่วง)
นำไปสู่​​ภาวะเศรษฐกิจถดถอย
ระยะเวลาของการเจริญเติบโตเศรษฐกิจเชิงลบ
และ/หรือ การว่างงานเพิ่มขึ้น

ต่อมาจะตามมาด้วยการขยายตัวทางเศรษฐกิจอีกครั้ง


ต้นทุนค่าเสียโอกาส Opportunity Cost

เมื่อคุณลงมือทำกิจกรรมใด ๆ
มักจะเลือกเอาวิธีการที่ดีที่สุด
เปรียบเทียบกับทางเลือกอื่น

ยกตัวอย่างเช่น
เมื่อคุณกำลังทำงานเกี่ยวกับโครงการอย่างหนักในคืนวันศุกร์
คุณอาจจะคิดว่า "เห้ ไปทำเรื่องอื่นดีกว่า "
ทางเลือกคือ ในกรณีนี้จะไปสังสรรค์กับเพื่อน ๆ 
ที่คิดว่ามีมูลค่ามากกว่าการทำงานกับโครงการที่น่าสนใจในตอนนี้

มูลค่าทางเลือกนี้เรียกว่าเป็น "ต้นทุนค่าเสียโอกาส"
เป็นมูลค่าที่ตัดสินใจจะยอมละทิ้งไปเลย

ดังนั้นถ้าคุณลาออกจากงานที่จ่ายเงิน
ให้หนึ่งแสนสองหมื่่นเหรียญสหรัฐต่อปี
นั่นคือ ค่าเริ่มต้นของค่าใช้จ่าย(หรือค่าเสียโอกาส)
ที่หนึ่งแสนสองหมื่นเหรียญสหรัฐต่อปีเช่นกัน

สิ่งที่คุณจ่ายไปควรจะสูงกว่าสิ่งที่คุณยอมละทิ้งไป 
เคล็ดลับจาก  p: Charles Phan


ความสามารถในการแข่งขันโดยเปรียบเทียบ Comparative Advantage

ขณะที่คุณกำลังเริ่มต้นใช้งานเทคโนโลยี
และวันหนึ่งมีลูกค้าถามว่า
คุณสามารถสร้างเว็บไซต์ให้กับพวกเขาได้หรือไม่
คุณควรจะสร้างเว็บไซต์สำหรับพวกเขาหรือไม่
หรือคุณควรจะมอบโอกาสนี้กับเพื่อนของคุณทำงานแทน
จะตัดสินใจอย่างไร?

คนที่มีเหตุผลอาจคำนวณว่า
จะใช้เวลานานเท่าใดในการสร้างเว็ปไซด์
หรือว่าจะใช้เวลาให้กับการทำรายได้เพิ่มขึ้น
จากการเริ่มต้นสร้างผลิตภัณฑ์

ดังนั้น เขาหรือเธอ อาจคำนวณว่าเพื่อนสามารถ
ที่จะสร้างเว็บไซต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพกว่า
หากเพื่อนคุณสามารถสร้างเว็ปไซด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และคุณมีงานอยู่เต็มมือในตอนนี้
คุณควรจะผ่านโอกาสนี้ไปเสีย

เรื่องนี้เรียกว่า ทฤษฎีได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ
(ความสามารถในการแข่งขันโดยเปรียบเทียบ)
เพื่อนของคุณมีความได้เปรียบในตอนนี้
และมันไม่กระทบความรู้สึกมากเลยที่จะทำแบบนั้น
ชาติต่าง ๆ ธุรกิจต่าง ๆ และประชาชน
ทุกคนควรจะทำในสิ่งที่ทำได้ดีกว่า
และปล่อยให้งานส่วนที่เหลือไปให้กับผู้อื่นทำแทน 
เคล็ดลับ: Aron Klemm



เรียบเรียงจาก Business Insider




 

Create Date : 06 ธันวาคม 2555
0 comments
Last Update : 7 กุมภาพันธ์ 2557 17:25:15 น.
Counter : 2169 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


ravio
Location :
สงขลา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 32 คน [?]




เกิดหาดใหญ่ วัยเด็กเรียนหนังสือโรงเรียน Catholic คณะ Salesian มีนักบุญประจำโรงเรียน Saint Bosco, Saint Savio ชอบอ่านหนังสือ godfather เกี่ยวกับ Mafio ของพวกซิซีเลียน เคยเล่นเกมส์ Mario แล้วได้คะแนนนำเลยนำสระโอมาต่อท้ายชื่อเป็น Ravio ได้กลิ่นอายแบบ Italino เคยเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเรียนวิชาชีพทำมาหากิน แต่ไม่ใช่วิชาที่ชื่นชอบมากนัก เรียนอยู่กว่าเจ็ดปี ต้องกลับมาทำงานเป็นกรรมกรที่บ้านเกิด จนเริ่มเกิดความหลงรักชีวิตบ้านนอก และวิถีชิวิตชุมชนท้องถิ่นที่ตนอยู่และไปร่วมวงเสวนา

เกิดเดือนมีนาคม แต่ลัคนาราศรีตุลย์ ชอบไปทุกเรื่อง สุดท้ายทำอะไรที่ได้เรื่องไม่กี่เรื่อง แต่ส่วนมากมักไม่ได้เรื่อง

ชอบขับรถยนต์ท่องเที่ยวชมภูเขา ป่าไม้ น้ำตก แต่ไม่ชอบทะเลหรือชายหาด เพราะรู้สึกอ้างว้าง โดดเดี่ยว เมื่อคิดถึงชีวิตตนเองที่มาเปรียบเทียบกับสองสิ่งสองอย่างนี้ รู้สึกว่ามนุษย์เป็นเพียงชีวิตที่เล็กน้อยมากที่มาอยู่อาศัยในโลกใบนี้

ชอบอ่านหนังสือ ท่องเที่ยวใน Internet ชอบเดินทางท่องเที่ยวแถว ในละแวกท้องถิ่นบ้านเกิด นาน ๆ ครั้งจะขึ้นไปเยี่ยมเพื่อนที่กรุงเทพฯ หรือไปหาซื้อหนังสือแถวสยามสแควร์ ถิ่นเก่าที่อยู่และที่เรียน






Friends' blogs
[Add ravio's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.