ความทรงจำเก่า ๆ ก่อนจะลืมเลือนหายไปกับกาลเวลา
Group Blog
 
<<
กันยายน 2558
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
 
22 กันยายน 2558
 
All Blogs
 
บันทึกอาบรังสีของ Marie Curie




 La Radiactividad - Marie Curie Pierre Curie Henri Becquerel - Física




Credit The Wellcome Trust


ในการค้นคว้าชีวประวัตินักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียง
การเข้าใจเข้าถึงผลงาน/ข้าวของในการทำงานของพวกท่าน
จัดว่าเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากในการฟันฝ่าปัญหาอุปสรรคนี้
แต่เรื่องหนึ่งที่ยากที่สุดคือ ชีวประวัติของ  Marie Curie
นักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานร่วมกับสามี Pierre Curie





ที่มา //google.com


ทั้งสองคนคือผู้ค้นพบธาตุกัมมันตรังสี  polonium กับ radium
และเป็นผู้ริเริ่มแนวคิดเรื่องอนุภาคฟิสิคส์ particle physics
แต่สมุดบันทึก เสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ ข้าวของสวยงามของเธอ
แม้ว่าจะได้รับการเก็บรักษาไว้เป็นอย่างดีที่บ้านชานเมืองปารีส
แต่ยังมีกัมมันตภาพรังสี  ที่มีช่วงอายุกว่า 1,600 ปีหรือมากกว่าตกค้างอยู่



ที่มา //bit.ly/1I44ZCa



บุตรสาวที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ฝรั่งเศสและได้รับรางวัล Noble ด้วยเช่นกัน



บุตรสาวที่เป็นนักเขียน นักข่าว นักเปียนโน และโอนไปถือสัญชาติอเมริกัน

ที่มา //google.com


สำหรับผู้ที่สนใจอยากจะอ่านเอกสารต้นฉบับลายมือ Marie Curie
จะต้องลงนามสละสิทธิ์ความรับผิดชอบ
กับ  France’s Bibliotheque Nationale
แล้วจึงจะสามารถเข้าถึงสมุดบันทึกเล่มนี้ได้
สมุดบันทีกเล่มนี้ที่ถูกเก็บรักษาไว้อย่างดีในกล่องบรรจุที่ทำด้วยตะกั่ว
เพราะยังมีกัมมันตภาพรังสี หรือ isotope  ของ radium-226 ตกค้าง
ช่วงครึ่งอายุหรือเพียง 1,601 ปีเท่านั้นเอง

เรื่องนี้ทำให้นึกถึงการ์ตูน/ภาพยนตร์เรื่อง Death Note
ที่เป็นเรื่องโปรดอีกเรื่องหนึ่งที่ชื่นชอบ
เพราะถ้าคนจับอ่านบันทึกเล่มนี้
แบบไม่มีอุปกรณ์ป้องกันกัมมันภาพรังสี
ก็ต้องรอวันตายที่จะมาเยี่ยมเยือนไม่เร็วก็ช้า



ที่มา //bit.ly/1hB7ozq


ครอบครัว Curies ต่างไม่รู้ถึงภยันตรายจากธาตุกัมมันตรังสี
และไม่รู้เกี่ยวกับกัมมันตภาพรังสีเลยก็ได้
งานวิจัยของพวกท่านพยายามที่จะค้นหาเกี่ยวกับ
ธาตุกัมมันตรังสี  ว่าเป็นมาเช่นใด ทำงานได้อย่างไร
และธาตุประกอบกัมมันตรังสีที่อันตรายอย่างมากเช่น
thorium, uranium, plutonium







ที่มาของภาพ  //google.com


ธาตุเหล่านี้ต่างถูกบรรจุไว้ในหลอดแก้วทดลองวิทยาศาสตร์
แล้ววางทิ้งอยู่ภายในห้องทำงาน/ในบ้านของพวกท่าน
พวกมันส่องแสงประกายแสงยามราตรี
ในความทรงจำ Marie Curie บอกเล่าว่า
" งดงามมาก มีแสงสลัว ๆ เหมือนแสงวิเศษของนางฟ้าในนิทาน ”
เรื่องนี้เธอเขียนไว้ในสมุดบันทึกส่วนตัว
Marie Curie ยังพกพาธาตุกัมมันตรังสีดังกล่าวไว้ภายในกระเป๋าของเธอ
ทั้งเธอกับสามีของเธอต่างสวมใส่เสื้อผ้าแบบทั่วไปในห้องปฏิบัติงาน
(ไม่ใช่ชุดทำงานที่มีการป้องกันรังสีในแบบปัจจุบันนี้)





ที่มาของภาพ  //bit.ly/1Jopb2x


Marie Curie มตะ(ตาย) ตอนอายุ 66 ปีในปี 1934(2477)
สาเหตุจากโรค aplastic anemia เกี่ยวเนื่องจากงานวิจัยธาตุกัมมันตรังสี
(โรคโลหิตจางจากไขกระดูกฝ่อ (aplastic anemia)
เป็นโรคที่ไขกระดูกไม่สามารถสร้างเซลล์เม็ดเลือดได้
ทำให้ผู้ป่วยมีปัญหาโลหิตจาง เลือดออกจากเกร็ดเลือดต่ำ
และติดเชื้อโรคง่ายจากเม็ดเลือดขาวต่ำ
โรคนี้จะพบในประชากรทางกลุ่มประเทศทางตะวันออกมากกว่าประเทศทางตะวันตก
ที่มา  //bit.ly/1h4ZSvF )



ที่มา  //google.com


อย่างไรก็ตามบ้านของเธอยังมีการใช้งานอยู่จนกระทั่งถึงปี 1978(2521)
โดย  สถาบันนิวเคลียร์ฟิสิคส์ปารีส คณะวิทยาศาสตร์ และมูลนิธิ Curie
Institute of Nuclear Physics of the Paris Faculty of Science and the Curie Foundation
หลังจากนั้นอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลรักษาอย่างเข้มงวดโดยพนักงานเจ้าหน้าที่รัฐ
เพราะตระหนักถึงภยันตรายจากกัมมันตภาพรังสีที่ยังตกค้างอยู่ภายในอาคาร
เพราะมีชาวบ้านละแวกใกล้เคียงบ้านหลังนี้
ต่างเป็นโรคมะเร็งมีอัตราจำนวนสูงมากกว่า
ชาวบ้านที่อยู่อาศัยในบริเวณอื่นห่างไกลจากบ้านหลังนี้
ตามรายงานของหนังสือพิมพ์  Le Parisien
ชาวบ้านแถวนี้ต่างกล่าวโทษว่ามาจากบ้านของ Curie
ที่มา  //bit.ly/1KDFnxP



ภายในสุสานรัฐ Panthéon ใน Paris  ที่มา //bit.ly/1hBbZS7


ห้องปฏิบัติการกับอาคารหลังนี้
ได้รับการขจัดกัมมันตภาพรังสีในปี 1991(2534)
หนึ่งปีหลังจากนั้นทรัพย์มรดกของ Marie Curie
ที่ประกอบไปด้วยบันทึกส่วนตัวและข้าวของต่าง ๆ
ได้ถูกนำออกมาจากบ้านของเธอ
เพื่อนำไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ



บ้านของ Marie Curie ที่มาของภาพ  //bit.ly/1PsWK82



ป้ายห้ามเข้า  ที่มาของภาพ  //bit.ly/1KDFnxP


ทำให้ชั้นหนังสือในท้องตลาดต่างเกาะกระแส
แล้วท่วมท้นไปด้วยหนังสือเกี่ยวกับเธอ เช่น
Marie Curie: A Life by Susan Quinn in 1995
Pierre Curie by Anna Hurwic in 1998
Curie: Le rêve scientifique by Loïc Barbo in 1999
Marie Curie et son laboratoire by Soraya Boudia in 2001
Obsessive Genius: The Inner World of Marie Curie by Barbara Goldsmith in 2005
Radioactive: Marie and Pierre Curie, a Tale of Love and Fallout by Lauren Redniss in 2011



ที่ฝังศพ Pierre Curie ที่มา //bit.ly/1hBbZS7


แม้ว่าเธอจะเสียชีวิตในวัย 66 ปี
แต่เธอเป็นสตรีคนแรกที่เปลี่ยนแปลงวงการวิทยาศาสตร์
Marie Curie คือสตรีคนแรกที่ได้รับรางวัล Nobel Prize
ร่วมกับสามี (รางวัลคนละครึ่ง) ในด้านฟิสิคส์ ปี 1903(2446)
และเป็นสตรีคนเดียวที่ได้รับรางวัลอีกครั้งด้านเคมี ปี 1911(2454)
ที่มา //bit.ly/1WMcoRF
สตรีคนแรกที่ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ที่
University of Paris-Sorbonne //bit.ly/1U7KFXl



ที่ฝังศพ Marie Curie  ที่มา  //bit.ly/1hBbZS7


สตรีต่างชาติคนแรกที่ได้รับการฝังที่  Panthéon ใน Paris
โดยได้รับเกียรติสูงสุดจากผลงานและชื่อเสียงของตนเอง
เธอได้โอนไปถือสัญชาติฝรั่งเศสตาม Pierre ในภายหลัง
โดยคำสั่งของประธานาธิบดี  Francois Mitterrand
ให้ย้ายกระดูกของเธอกับสามีที่ถูกฝังอยู่ที่สุสานในชานเมืองแถบชนบท
ให้ขนย้ายมาฝังที่สุสานรัฐ Panthéon ใน Paris
ที่ฝังศพผู้มีชื่อเสียงของฝรั่งเศสจำนวนมาก เช่น
Voltaire, Jean-Jacques Rousseau, Victor Hugo และ Emile Zola
ในวันที่ 20 เมษายน ปี 1995(2538) ที่มา //nyti.ms/1MLlCdB
วันดังกล่าวเป็นรัฐพิธีที่มีประธานาธิบดีโปแลนด์ Lech Walesa เข้าร่วมงานด้วย

ในปี 1907(2450) Marcellin Berthelot ได้ถูกฝังร่วมกับภริยา Sophie Berthelot
นับว่าเป็นสตรีคนแรกที่ได้รับการฝังที่สุสานหลวงแห่งนี้
แต่เธอได้รับเกียรติดังกล่าวเพราะผลงานของสามีเธอ



ที่มา //google.com


Marie Curie ต้องต่อสู้กับเรื่องราวภายในจิตใจอย่างมากมาย
หลังการเสียชีวิตของ Pierre สามีเธอในปี  1906(2449)
ที่ลื่นหกล้มหลังจากฝนตกบนท้องถนนที่วุ่นวายในปารีส
แล้วถูกล้อรถม้าลากรถบรรทุกเหยียบตาย





ที่มา //google.com



เรียบเรียง/ที่มา

//bit.ly/1V1ybCW
//bit.ly/1Jopb2x
//bit.ly/1PsY9LZ
//bit.ly/1WMcoRF
//bit.ly/1Jd3hQD

หมายเหตุ

ในยุคนั้น นักวิทยาศาสตร์ยังไม่เข้าใจ/รับรู้ถึง
ภยันตรายจากธาตุกัมมันตรังสี/กัมมันตภาพรังสี
จนกระทั่งปี 1938(2481) หลังการตายของ Marie Curie 4 ปี
จึงมีกฎหมายด้าน อาหาร ยา และเครื่องสำอาง  
ว่าห้ามใช้ธาตุกัมมันตรังสี/กัมมันตภาพรังสีกับสินค้าเหล่านี้
แต่ก็ยังล่าช้าเกินไปแล้วเพราะ
มีการผลิตและขายกันอย่างหลากหลายผลิตภัณฑ์

มีนักอุตสาหกรรมและนักกิจกรรมสังคม Eben Byers
ผู้พยายามทดสอบ/รักษาแขนข้างที่บาดเจ็บ
ด้วยขวดบรรจุน้ำที่แช่ธาตุเรเดียม กับ เมโซธอเลี่ยม
(radium&mesothorium-infused water) กว่า 1,400 ขวด
ทำให้ตอนที่เขาตายแล้วต้องฝังไว้ในโลงศพตะกั่ว



Eben Byers



น้ำยามหัศจรรย์



น้ำดื่มบำรุงร่างกาย



ยาเพิ่มพลังชีวิตจากธาตุเรเดียม



ผลิตภัณฑ์นมจากเรเดียม



ข่าวมตะ(ตาย) Eben Byers


แต่ทุกวันนี้มีการศึกษาและค้นคว้ากันอย่างต่อเนื่อง
จนสามารถทำความเข้าใจและใช้ประโยชน์จากธาตุกัมมันตรังสี
ในกิจการทางการแพทย์ พลังงานนิวเคลียร์ วัสดุต่าง ๆ
การถนอมรักษาอาหาร พืชและผัก(ฆ่าแมลง/เชื้อโรค)
ทดสอบคุณภาพ/ประสิทธิภาพโลหะ
ตรวจวัดอายุของโบราณตามธรรมชาติ
แม้กระทั่งอายุขัยของโลกเอง

เรียบเรียง/ที่มา

//bit.ly/1PsY9LZ
//bit.ly/1JqvmDj (ภาพและรายละเอียดเพิ่มเติม)

ภาพ Marie Curie บนแสตมป์ไม่ใช่ภาพจริง Marie Curie   //pantip.com/topic/31760907





Create Date : 22 กันยายน 2558
Last Update : 1 มีนาคม 2559 21:50:31 น. 1 comments
Counter : 2907 Pageviews.

 
น่ากลัวเนาะ น้ำดื่มบำรุงกำลัง


โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 30 กันยายน 2558 เวลา:20:14:54 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ravio
Location :
สงขลา Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 32 คน [?]




เกิดหาดใหญ่ วัยเด็กเรียนหนังสือโรงเรียน Catholic คณะ Salesian มีนักบุญประจำโรงเรียน Saint Bosco, Saint Savio ชอบอ่านหนังสือ godfather เกี่ยวกับ Mafio ของพวกซิซีเลียน เคยเล่นเกมส์ Mario แล้วได้คะแนนนำเลยนำสระโอมาต่อท้ายชื่อเป็น Ravio ได้กลิ่นอายแบบ Italino เคยเดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเรียนวิชาชีพทำมาหากิน แต่ไม่ใช่วิชาที่ชื่นชอบมากนัก เรียนอยู่กว่าเจ็ดปี ต้องกลับมาทำงานเป็นกรรมกรที่บ้านเกิด จนเริ่มเกิดความหลงรักชีวิตบ้านนอก และวิถีชิวิตชุมชนท้องถิ่นที่ตนอยู่และไปร่วมวงเสวนา

เกิดเดือนมีนาคม แต่ลัคนาราศรีตุลย์ ชอบไปทุกเรื่อง สุดท้ายทำอะไรที่ได้เรื่องไม่กี่เรื่อง แต่ส่วนมากมักไม่ได้เรื่อง

ชอบขับรถยนต์ท่องเที่ยวชมภูเขา ป่าไม้ น้ำตก แต่ไม่ชอบทะเลหรือชายหาด เพราะรู้สึกอ้างว้าง โดดเดี่ยว เมื่อคิดถึงชีวิตตนเองที่มาเปรียบเทียบกับสองสิ่งสองอย่างนี้ รู้สึกว่ามนุษย์เป็นเพียงชีวิตที่เล็กน้อยมากที่มาอยู่อาศัยในโลกใบนี้

ชอบอ่านหนังสือ ท่องเที่ยวใน Internet ชอบเดินทางท่องเที่ยวแถว ในละแวกท้องถิ่นบ้านเกิด นาน ๆ ครั้งจะขึ้นไปเยี่ยมเพื่อนที่กรุงเทพฯ หรือไปหาซื้อหนังสือแถวสยามสแควร์ ถิ่นเก่าที่อยู่และที่เรียน






Friends' blogs
[Add ravio's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.