โลกมีทางให้เดินเป็นพันพันทาง เราต่างใช้ปรัชญาแห่งชนชั้นของตน นำทางในการเดิน เราต่างเดินตาม ปรัชญาแห่งชนชั้นตน
 
กรกฏาคม 2553
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
20 กรกฏาคม 2553
 
 

บทที่ 4 สมัยปัญญาทางปรัชญา

บทที่ 4
สมัยปัญญาทางปรัชญา

การเกิดของวัฒนธรรมคนเมืองใหม่, จากการที่พวกคนเถื่อนโนแม็ดส๎ผิวขาวซึ่งมีประชาธิปไตยสมบูรณ์ของชุมชนบุพกาล บุกเข้ายึดถิ่นฐานบ้าน เมืองของคนผิวดำ เจ้าของวัฒนธรรมคนเมืองโบราณตามลุ่มน้ำใหญ่ๆของโลกนั้น แทนที่จะปลดปล่อยพวกทาสให้เป็นอิสระไป กลับทำให้ระบบทาสร้ายแรงหนักเข้า โดยที่คนเมืองผิวดำที่เป็นชนชั้นปกครองเป็นนายทาสนั้นเองก็ถูกทอนลงเป็นทาสด้วย ในระยะนี้พวกทาสใหม่จึงมีทั้งผู้มีปัญญา ฝีมือ และความเก่งกาจในการรบพุ่ง พวกเขาจะพยายามต่อสู้เพื่อให้พ้นจากความเป็นทาส ในการนี้ก็ย่อมต้องต่อสู้ทั้งในทางปัญญาด้วย
พวกคนเถื่อนโนแม็ดส๎อารยันส๎ ซึ่งกลายมาเป็นชนชั้นปกครองแล้วนั้น ปกครองพวกเดียวกันเองด้วยวิธีประชาธิปไตย ทั้งนี้โดยการนำเอาประชาธิปไตยของชนเผ่าแต่ดั้งเดิมของพวกเขานั้นเองมาเป็นหลัก จริงอยู่ย่อมไม่มีประชาธิปไตยสำหรับพวกทาส แต่การพูดหาเสียง การโต้แย้งทางประชาธิปไตย การแสดงความคิดเห็นในสภา การเรียกร้องสิทธิและเสรีภาพของบรรดาอิสระชนที่ยากจน ย่อมทำให้ปัญญาชนทาสผิวดำที่เป็นมีจิตตื่นอยู่ และคงจะเข้าร่วมในการเรียกร้องความเสมอภาคของมนุษย์บ้าง การกระทำต่างๆทางประชาธิปไตยของอิสระชนที่ยากจนนี้ ทำให้ความคิดของมนุษย์ที่เคยยอมจำนนในความเป็นทาสต่อชนชั้นปกครองเปลี่ยนไปเป็นอย่างใหม่
เราไม่ใคร่มีประวัติศาสตร์เกี่ยวกับประชาธิปไตยแต่โบราณของจีนและอินเดีย แต่เราก็เห็นร่องรอยของมันอยู่บ้างในอินเดีย เช่นในหมู่พวกเจ้าลิจฉวีเป็นต้นประชาธิปไตยของนครรัฐต่างๆของกรีกนั้นมีประวัติศาสตร์ยืนยันแน่นอน และรายละเอียดในเรื่องนี้จะหาอ่านได้จากวิวัฒนาการแห่งปัญญา และพัฒนาการแห่งปัญญาใหม่ ในหนังสือชื่อ ปัญญาวิวัฒน์ ของผู้เขียน

66 วิชาปรัชญา สมัคร บุราวาศ

4.1 กำเนิดปรัชญาสสารนิยม (Materialism มะเทีย-เรียะลิส’ม)
ได้กล่าวมาแล้วถึงการหาอาหารของมนุษย์สมัยโบราณ ก่อนพบวิธีเลี้ยงสัตว์และเพาะปลูกนั้น เขาเพียงหาเลี้ยงตนด้วยการเก็บของกินและของใช้จากธรรมชาติเท่านั้น ข้อนี้ทำให้เขาตกอยู่ใต้อำนาจของธรรมชาติอันเป็นอื่นจากเขาโดยสิ้นเชิง การพึ่งพาธรรมชาติทั้งหมดนี้ทำให้เกิดลัทธิวิญญาณนิยมขึ้น มนุษย์ได้เพ่งมองไปยังเรื่องวิญญาณฐานเป็นความจริงอันเขาเชื่อกันอยู่ ทั้งนี้เพราะเขาพึ่งธรรมชาติและเข้าใจว่าธรรมชาติพึ่งวิญญาณ
เมื่อมนุษย์ค้นพบวิธีเลี้ยงสัตว์และเพาะปลูก มนุษย์ก็เริ่มสังเกตว่าพืชผลเกิดขึ้นจากเหตุคือตัวเขา แต่ข้อนี้ยังไม่ตระหนักชัดนัก เพราะฤดูกาลอันเป็นธรรมชาติยังเข้ามาพัวพันอยู่ด้วย กระทั่งมาในชั้นหลังๆ ได้เกิดหัตถกรรมและสินค้าหัตถกรรมขึ้นจากมนุษย์
มนุษย์ผู้ทำงานซึ่งส่วนมากเป็นพวกทาส จึงเกิดความตระหนักว่า มีสิ่งที่เกิดจากการทำงานของมนุษย์ กระบวนการผลิตสิ่งหัตถกรรมนี้ได้ให้ข้อคิดว่าไม่ใช่วิญญาณอะไรที่ไหนสร้าง หากมนุษย์เป็นๆแท้ๆที่สร้างสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาได้ ด้วยการออกแรงกายทำงาน ทำให้พวกทาสตระหนักว่าสิ่งที่มี, ที่ทำให้เขาต้องออกแรง คือ สสารวัตถุ เมื่อเขามองไปรอบตัวก็พบว่าธรรมชาติก็ประกอบขึ้นด้วยสสารวัตถุ การกลั่นสุราซึ่งให้ข้อเท็จจริงว่าไอน้ำหรือไอสุรากลายไปเป็นของเหลวได้ การเห็นน้ำกลายไปเป็นน้ำแข็ง การหลอมโลหะให้ละลายเป็นของเหลว การคุ้นเคยกับไฟ การหุงต้ม การเผาไหม้ฯลฯ เหล่านี้ทำให้มนุษย์ในสมัยนี้ค้นพบว่ามีกระบวนการทางสสารวัตถุ อันเป็นไปภายใต้กรรม-การทำงานของมนุษย์ หามีเทพเจ้าอะไรมาบัญชาในเรื่องนี้ไม่ วิญญาณนิยมจึงคลายพลังครอบงำความคิดของเขา ลงไป วิทยาศาสตร์จึงกำลังจะเกิดขึ้น
การเฝ้าดูดวงดาวและวัตถุอื่นในท้องฟ้า ก็ให้ข้อเท็จจริงอันเข้ากันไม่ได้กับสมมติฐานที่ว่า วัตถุในท้องฟ้าทั้งหลายหมุนไปรอบๆโลก ทั้งนี้เพราะมีปรากฏการเกี่ยวกับสุริยุปราคาและจันทรุปราคา และมีการเคลื่อนที่ไปในระหว่างดาวฤกษ์และดาวเคราะห์ต่างๆ
การบดแป้ง การตำยา หรือทำสิ่งอื่นๆให้เป็นผงได้นั้น ทำให้เกิดความคิดว่า สิ่งใหญ่สร้างขึ้นด้วยสิ่งเล็กย่อยๆ การก่อสร้างอาคารด้วยหินก้อนหรืออิฐหรือไม้ก็ให้ข้อคิดเรื่องโครงสร้างและส่วนประกอบการสลัก

4.2 การแปรโฉมของปรัชญาวิญญาณนิยม 67

หินเป็นรูปต่างๆ การปั้นภาชนะด้วยดินดิบเหล่านี้ได้ให้ข้อคิดเรื่องเนื้อหาและรูปแบบ มนุษย์ราวๆ 1000 ปี ก่อน ค.ศ. จึงเริ่มสนใจสสารวัตถุ และคิดว่ามันประกอบขึ้นด้วยสิ่งย่อยๆที่เรียกว่า ปรมาณู (Atom อะตอม) ความคิดเหล่านี้ปรากฏขึ้นทั้งในอินเดียและกรีซ แต่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่ามีในจีน ปัญญาทางวิทยาศาสตร์อย่างหยาบๆได้เริ่มเกิดขึ้นในโลกแล้ว

4.2 การแปรโฉมของปรัชญาวิญญาณนิยม

เมื่อมนุษย์ได้สังเกตว่าธรรมชาติอันเป็นสสารวัตถุเกี่ยวข้องกับตัวเขาอย่างไร เขาก็เริ่มรับรู้ในความยิ่งใหญ่ของธรรมชาติ ความนึกคิดในเทพเจ้าองค์เดียวก็เปลี่ยนไป คือแทนที่จะเชื่อว่าพระองค์เป็นมนุษย์ กลับเกิดความสำนึกขึ้นว่า พระองค์ไม่ควรจะมีรูปร่างเป็นมนุษย์ หากเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่านั้น คือ เป็นธรรมชาติ หรือเป็นสิ่งอื่นใดที่ยิ่งไปกว่าธรรมชาติ ด้วยประการฉะนี้ การนิยมถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นเทพเจ้าคล้ายคนก็ค่อยๆกลายไปเป็นนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์อันเป็นเพียงนามธรรมไม่มีรูปไป นี่คือลัทธิสกลเทพนิยม (Pantheism แพนธิอิส’ม)
แต่เดิมนั้นมีการเชื่อว่า พระเป็นเจ้าซึ่งเป็นจิตหรือวิญญาณ กระทำการติดต่อกับเฉพาะราชะหรือนักศาสนาผู้ใหญ่ ครั้นถึงสมัยเรียกร้องความเสมอภาคในประชาธิปไตย ความเข้าใจนี้ก็เคลื่อนไปเป็นว่า จิตของพระเป็นเจ้าเข้าถึงได้ทุกคน
สมัยโบราณถือกันว่า ราชะ คือ พระเจ้า และมีจิตเยี่ยงมนุษย์ คนทุกคนซึ่งเป็นอิสระชนก็น่าจะมีจิตเป็นพระเจ้า แล้วพวกทาสซึ่งเป็นปัญญาชนก็คิดต่อไปว่าจิตของคนทุกคนก็เป็นจิตพระเจ้าด้วย เลยได้ข้อคิดทางปรัชญาว่า จิตของพระเจ้าแตกตัวมาอยู่ในคนทุกคน ครั้นแล้วก็คิดต่อไปว่า มันอยู่ในทุกสรรพสิ่งในโลกด้วย
ในทางกลับนั้นก็คิดว่า เมื่อทุกคนมีจิตคล้ายกับของพระเป็นเจ้า ก็จะเสมอภาคกันหมด ไม่ว่าจะเป็นนายก ประธานาธิบดี ราชา อำมาตย์ กษัตริย์ พราหมณ์ ไวศยะ หรือศูทร ไม่ว่าจะเป็นทาสหรือนายทาส นี่ก็คือประชาธิปไตยในปรัชญานั่นเอง มันไม่ได้เกิดจากเหตุอื่นใดเลยนอกจากเหตุเดียวคือการที่คนเถื่อนอารยันส์นำประชาธิปไตยของชุมชนบุพกาลมาใช้ในวัฒนธรรมใหม่เท่านั้น ปรัชญาจิตนิยมจึงก้าวหน้าไปอย่างใหญ่หลวง

68 วิชาปรัชญา สมัคร บุราวาศ

4.3 กำเนิดจริยธรรม (Ethics เอ็ธ-ถิคซ๎)
เมื่อคนทะเลาะเบาะแว้งกัน รัฐต่อกรกับรัฐ คนมีเล่นงานคนจน คนจนแข็งข้อกับคนมี นายทาสต่อสู้กับนายทาส พวกทาสก็ก่อการขบถจลาจลขึ้นเช่นนี้ ก็เกิดการพูดเรื่องความดีความชั่วขึ้น ฝ่ายที่เดือดร้อนอ้างว่าตนเป็นฝ่ายคนดี แต่อีกฝ่ายหนึ่งนั้นเป็นฝ่ายก่อความเดือดร้อนแก่มนุษย์เป็นคนชั่ว
แม้ในระยะต้นๆที่มีรัฐซึ่งหญิงไร้กรรมสิทธิ์ใดๆแล้ว เพราะระบบครอบครัวเปลี่ยนเป็นพ่อเป็นใหญ่ในบ้านนั้น ก็ปรากฏว่าผู้หญิงพยายามหาเลี้ยงชีวิตโดยเที่ยวออกรับจ้างเช่นผู้ชายอิสระชนที่ยากจนและตกยาก เธอกลายเป็นลูกจ้างไปบ้าง แต่งานรับจ้างของพวกเธอคือ อาชีพโสเภณีตามนครต่างๆ ในอาชีพนี้, มิใช่เธอจะได้เงินมาเลี้ยงชีพอย่างเดียว มันยังแสดงถึงอิสรภาพในการมีผัวหลายเหมือนในชุมชนบุพกาลแต่อดีตด้วย ส่วนหญิงคนดีนั้นเล่า เมื่อต้องตกเป็นทาสและเป็นภรรยาน้อยในครัวเรือนของนายทาส ทั้งๆที่เธอรักใคร่อยู่กับชายอื่น ก็ริอ่านคบชู้สู่สาว เกิดการผิดผัวผิดเมียขึ้น ความทุกข์ยากทำให้ผู้ทุกข์ยากดับทุกข์ชั่วคราวด้วยการเสพสุราและของมึนเมาอื่นๆ เหล่านี้ย่อมเป็นความชั่วอยู่ในสมัยนั้น
ในสมัยก่อนหน้านี้ คนไม่มีอิสระจะคิดอะไรเลยเขาเลยรับความเป็นไป เหล่านี้ไว้ฐานเป็นโชคลิขิต แต่ในสมัยประชาธิปไตยโบราณหวนคืนมาในวัฒนธรรมคนเมืองใหม่นี้เขาสามารถใช้ซุ่มเสียงในการเมืองได้เขาจะเรียกร้องสิทธิ์ของตนเอง และเที่ยวมองหาคนที่ทำลายสิทธิ์เหล่านี้ แล้วเขาก็พบว่า ต้นเหตุแห่งความทุกข์ยากของเขานั้น มาจากความประพฤติที่ไม่ดีของผู้อื่น เลยเกิดการค้นพบว่าเหตุแห่งความทุกข์ยากของมนุษย์นั้น ส่วนใหญ่อยู่ที่ความประพฤติชั่วของมนุษย์ด้วยกันเอง
นี่เป็นการค้นพบอันยิ่งใหญ่ อันเป็นการหลุดพ้นจากความเชื่อมั่นในลัทธิโชคนิยม ลัทธิกรรมจึงเกิดขึ้นในโลก ในทำนองที่ว่าความเป็นไปของคนเรานั้นเกิดจากกรรมที่คนเราทำกันไว้เอง ด้วยประการฉะนี้ ทางแก้ก็คือกระทำกรรมที่ดี และ งดเว้นกระทำกรรมที่ชั่ว ซึ่งเมื่อ ประกอบเข้ากับศาสนาเทพเจ้า ที่สืบเนื่องมาแต่เก่าก่อนก็จะเกิดศาสนาของประชาโลกในขณะนี้ จีน อินเดีย และกรีซ ในวาระอันยุ่งเหยิงภายในจักรวรรดิของตนนั้นก็ให้กำเนิดจริยธรรมขึ้นมาเหมือนๆกัน

4.3 กำเนิดจริยธรรม (Ethics เอ็ธ-ถิคซ) 69
4.4 กำเนิดตรรกบัญญัติ
(Formal Logic ฟอ-แมล ลอจ-อิค)

เมื่อมนุษย์ทะเลาะกันมากๆเข้า ระเบียบในการคิดก็ปรากฏออกมา แล้วการเมืองแบบประชาธิปไตย ก็เปิดให้คนหัดโต้แย้งกันอย่างสันติ ในการโต้แย้งกันนี้ บางคนพูดจามีหลักดีกว่าอีกคนหนึ่ง และได้รับการเชื่อถือ มนุษย์ในรัฐประชาธิปไตยได้หัดใช้วาทศิลป์ (Rhetoric เรท-โอริค) และรู้จักโต้แย้ง (Dialectic ไดอะเลค-ถิค) ด้วยเหตุผล
แต่ในการโต้แย้งที่มีระเบียบที่สุดนั้นปรากฏในศาล ซึ่งโจทก์กับจำเลย นำพยานหลักฐานมาสืบต่อหน้าศาล แล้วมีการพิจารณาว่า การกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด เป็นสิ่งเดียวกับที่ระบุไว้ในกฎหมายหรือไม่ ในความชำนาญในการนี้ก็เกิดระเบียบในการคิดขึ้น เป็นทำนองที่ว่า สิ่งหนึ่งเป็นอย่างเดียวกับอีกสิ่งหนึ่ง หรือเหมือนกัน หรือผิดกัน หรือมีบางส่วนเหมือนกันหรือเป็นสิ่งเดียวกันอย่างไร ระเบียบการคิดตามบัญญัตินี้ทำให้เราสามารถคิดโยงจากเหตุไปถึงผลได้ กล่าวคือจากเหตุอาจคิดให้รู้ผลและจากผลอาจคิดให้รู้เหตุได้ การคิดด้วยการใช้เหตุผล (Reasoning รี-สนิ่ง) ก็เป็นอย่างนี้เอง ในวิชาคณิตศาสตร์ (Mathematics แมธิแมท-อิคซ๎) ซึ่งขณะนั้นมีเลขคณิตกับเรขาคณิตแล้ว ก็อาศัยตรรกบัญญัติในทำนองเดียวกันนี้ ความคุ้นเคยกับคณิตศาสตร์ เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดความมั่นใจว่า จากเหตุอาจคิดให้รู้ผล หรือจากผลอาจคิดให้รู้เหตุได้ เช่นอาจพิสูจน์ได้ว่า 3 + 1 เท่ากับ 4 หรือ มุม 3 มุมของรูปสามเหลี่ยมรวมกันเข้า จะเท่ากับสองมุมฉากดังนี้เป็นต้น
เมื่อยึดถือเป็นหลักญาณวิทยา (Epistemology อิพีซเทม้อล-โอะจิ่) ว่า จากเหตุอาจคิดให้รู้ผลได้ หรือจากผลอาจคิดให้รู้เหตุได้ ซึ่งเป็นลัทธิเหตุผลนิยม (Rationalism แรฌ-อะแนะลิส’ม) ทางญาณวิทยา ก็เกิดความเชื่อมั่นกันว่า จากการคิดเราอาจรู้ความแท้จริงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือรู้ความแท้จริงอันติมะได้ ทั้งนี้โดยเราไม่เคยเห็นและไม่เคยทราบมาก่อนเลยว่าความแท้จริงนั้นๆจะเป็นอย่างไร ตรรกบัญญัติจึงก่อให้เกิดการเก็งความจริงทางปรัชญา (Philosophical speculation ฟิโละซอฟ-อิแค็ล ซเพค-อิวเลฌัน) ขึ้น
ได้มีนักปรัชญาหลายคนในสมัยอันค่อนข้างยืนยาวแห่งปัญญาทาง

70 วิชาปรัชญา สมัคร บุราวาศ

ปรัชญานี้ ทำการค้นหาความจริงด้วยการใช้เหตุผล และการใช้เหตุผลนี้เองคือการคิดปรัชญา หรือคล้ายที่ทางศาสนาพุทธเรียกว่า วิปัสสนา (Meditation เมดิเท-ฌั่น) นี่เป็นการค้นพบขั้นแรกในวิทยาศาสตร์สังคมทีเดียว จริยธรรมจึงบังเกิดขึ้นในโลก
เมื่อใช้ตรรกวิทยาค้นหาความแท้จริงอันติมะ (Ultimate reality (อัล-ทิมิท ริแอล-อิทิ่) ก็ได้หลักปรัชญามา ซึ่งยกย่องกันว่าเป็นผลสำเร็จอันยิ่งใหญ่ คือระบบปรัชญาที่ได้จัดเป็นอภิปรัชญา (Metaphysics เมทะฟิส-อิคซ๎) ซึ่งแปลว่า ภายหลังวิชาฟิสิกส์ อาริสโตเติ้ลเป็นผู้ใช้คำนี้ในการอธิบายอย่างกว้างๆถึงโลกและกระบวนการต่างๆของมัน แต่ในปัจจุบันมันถูกใช้แทนคำ ภววิทยา (Ontology อ่อนท้อล-โอะจิ่) ซึ่งว่าด้วยลักษณะและความเกี่ยวข้องของสิ่งที่มี รวมหรือระคนไปกับญาณวิทยา ซึ่งว่าด้วยกำเนิดและความผิดถูกของปัญหาดังกล่าวมาแล้ว ในกรณีซึ่งต้องคลำหาความจริงด้วยการใช้เหตุผลนี้เอง เราจึงระแวงว่าความจริงที่คิดขึ้นมานั้นอาจไม่มีอยู่ก็ได้ จึงมีนักคิดสมัยใหม่ที่เชื่อเฉพาะการได้ความรู้มาทางการรับรู้ เขาอ้างว่านักอภิปรัชญานั้นเปรียบประดุจคนตาบอดคลำหาแมวดำในห้องมืด ซึ่งที่จริง,แมวดำหามีอยู่ไม่! นี่เป็นคำกล่าวที่ถูกต้อง และเป็นการโจมตีของสมัยตรรกวิทยาศาสตร์ หรือสมัยวิธีการวิทยาศาสตร์ (Scientific Method ไซเอ็นทีฟ-อิค เมธ-อัด) ต่อสมัยตรรกบัญญัติทีเดียว อย่างไรก็ตามก็ยังมีนักปรัชญาและนักคิดอีกมากหลายที่เชื่อว่าเราอาจคิดให้รู้ความจริงได้ทางตรรกบัญญัติ นักวิทยาศาสตร์เองก็มีมาก ที่เข้าใจผิดคิดไปว่าคณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือค้นหาความจริงอยู่ ที่แท้แล้วคณิตศาสตร์เป็นผลได้จากตรรกบัญญัติ และจะใช้ค้นหาความจริงหาได้ไม่ เราอาจใช้มันได้เพียงเป็นเครื่องมือสำหรับคิดหาปริมาณของการเปลี่ยนแปลงใดๆ อันเราได้สูตรแห่งความเกี่ยวข้องทางการสังเกตโดยตรงมาก่อนแล้วเท่านั้น

4.5 สมัยเกิดปรัชญาในสมัยปัญญาทางปรัชญา

ปรัชญาในสมัยแห่งปัญญาทางปรัชญานี้ เกิดในศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสต์กาล หรือราวๆสมัยพุทธกาล เกิดทั้งในจีน อินเดีย และกรีซ เกือบพร้อมๆกัน นี่คือสมัยทองทางปัญญาของโลก แต่กลับเป็นกลียุคทางความเป็นอยู่ของมนุษย์ภายใต้ระบอบทาส พ้นจากคริสต์ศตวรรษที่ 6

4.4 กำเนิดตรรกบัญญัติ 71

ไป จีนกับอินเดียก็เข้าสู่ความเสื่อมทางปัญญา กรีกได้รับทอดการพัฒนาปัญญาทางปรัชญาต่อไป มีปรัชญากรีกเกิดขึ้นต่อมาจากนั้น กระทั่ง ประเทศกรีซเองก็ประสบกับความเสื่อมและความวิบัติในปี 300 ก่อนคริสต์ กาล หลังจากนั้นแล้วพวกโรมันจึงได้สร้างปรัชญาขึ้นตามหลังพวกกรีกบ้าง แต่ไม่มีความสำคัญมากนัก ปรัชญา ได้ถึงวาระเสื่อมครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง หลังสมัยของพระเยซูคริสต์ แม้พวกอาหรับที่เจริญขึ้นมาตั้งแต่ปีค.ศ. 600 จะได้ฟื้นฟูปรัชญาขึ้นมาบ้างก็ตาม แต่ก็เป็นแนวเดียวกับของอาริสโตเติ้ลในสมัยกรีก โดยไม่มีอะไรใหม่เลย

ภายหลัง ปี ค.ศ. 900-1000 เมื่อจักรวรรดิโรมันล่มลงแล้ว ยุโรป,ก็ก้าวเข้าสู่ สมัยมืดมนทางปัญญา (Dark age ดาค เอจ) หรือสมัยกลาง (Middle age มีด-ด’ล เอจ) ปรัชญาใหม่ๆก็ไม่ได้ขึ้นเกิดเลย คงมีแต่การทุ่ม เถียงกันของพวกพระในคริสต์ศาสนา ที่เชื่อในปรัชญาของพลาโต้ (Plato) กับอาริสโตเติ้ล (Aristotle) แต่การทุ่มเถียงกันอย่างนี้ก็ซ้ำกับที่เคยเกิดขึ้น ในสมัยของสองปราชญ์กรีกนั้นเอง สมัยปัญญาทางปรัชญาจึงสิ้นสุดลงพร้อมกับสมัยฟื้นฟู (Renaissance เรอเนอซัง) ในยุโรปราวๆคริสต์ศตวรรษที่ 15-16 ทั้งนี้เพราะมีปัญญาทางวิทยาศาสตร์เข้ามาแทนที่ บัดนี้จึงถึงวาระที่เราจะกล่าวถึงระบบปรัชญาในสมัยปัญญาทางปรัชญาต่อไป

4.6 ปรัชญาการเมือง
(Political Philosophy โพะลีท-อิแค็ล ฟิลอซ-โอะฟิ่)

ดังได้กล่าวแล้วว่า ได้เกิดรัฐประชาธิปไตยขึ้นในวัฒนธรรมใหม่ของโลกนับตั้งแต่ 1000 ปีก่อนค.ศ.เป็นต้นมา ทั้งยังได้มีการดำเนินงานการเมืองทางประชาธิปไตย และเกิดความบกพร่องต่างๆนานาขึ้น จึงมี นักคิดทำการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง ในกรณีอย่างนี้, นักปรัชญาจึงพยายามแก้ไขการเมืองโดยการวางหลักวิธีการปกครองให้ใหม่ นั่นก็คือพวกเขาพยายามวางหลักให้แก่ประชาธิปไตยและการปกครองที่ดี หลักในการนี้ก็คือ ปรัชญาการเมือง นั่นเอง
เราพบปรัชญานี้อย่างเด่นชัดในวัฒนธรรมของกรีก แต่ในจีน, ขงจื๊อ ก็ระบุถึงเรื่องนี้บ้างในอินเดีย, พระศาสดาสิทธัตถะ, ก็วางหลักปรัชญาสังคมไว้เหมือนกัน และการจัดตั้งองค์การสงฆ์ในพุทธศาสนา ก็เป็นการ

72 วิชาปรัชญา สมัคร บุราวาศ

กระทำที่น่าจะวางหลักให้แก่การเมืองแบบประชาธิปไตยเป็นอย่างดี แต่พระองค์ก็มิได้ระบุแน่ชัดว่าจุดมุ่งหมายของการจัดตั้งนี้ จะให้เป็นตัวอย่างแก่การเมืองฝ่ายโลก ในการสาธยายปรัชญาโบราณของจีน อินเดีย และกรีก เราจึงต้องกล่าวถึงปรัชญาการเมืองพร้อมๆกันไปด้วย




 

Create Date : 20 กรกฎาคม 2553
0 comments
Last Update : 20 กรกฎาคม 2553 14:48:40 น.
Counter : 1390 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

 

ลุงกฤช
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]




อดีต : พ่อค้า ผู้รับเหมาก่อสร้าง

ปัจจุบัน : อาจารย์พิเศษสอนปรัชญาเป็นประจำแก่สถาบันของรัฐแห่งหนึ่ง สอนพิเศษนักศึกษาปริญญาตรีและโทมหาลัยมหิดล

คืนกำไรให้ชีวิตหลังจากการทำงานหนักมาเกือบตลอดชีวิต ขับรถไปฮันนี่มูนต่างจังหวัดบ้าง ไปสอนต่างจังหวัดบ้าง มีความสุขกับศรีภรรยาที่อยู่กันมาเกือบ 50 ปี
เธอดูแลเราเหมือนลูก เพราะลูกๆต่างก็มีครอบครัวแยกย้ายไปทำมาหากินกันดีๆทุกคนแล้ว เราเลยอยู่กันสามพ่อแม่ลูก(คนสุดท้อง)ซึงไม่ยอมมีผัว เพื่อดูแลพ่อแม่ กับหมาอีก 8 ตัว บางวันก็ไปสอนบ้าง บางวันก็เข้ามาในบล๊อกบ้างเพื่อเอางานที่เรียนรู้มา มาคืนให้แก่สังคม ดังที่เห็นๆกันแล้ว งานส่วนใหญ่ที่คัดลอกมาให้อ่านกันเป็นงานเขียนของท่านอาจารย์สมัคร บุราวาศ และทรรศนะส่วนตัว
อยากให้คนสนใจเรื่องปรัชญา เพราะตัวเองนั้นมีความสุขอยู่ได้ทุกวันนี้ก็เพราะมีปรัชญาชี้นำการดำเนินชีวิต มีความรู้ในการปฏิบัติทำมาหากิน ภายหลังหยุดชีวิตการทำมาหากินแล้วก็ยังมีสมบัติทีมากกว่าเบี้ยบำนาญของราชการ

แม้ไม่รวย แต่ก็ไม่จน จึงอยากให้เป็นตัวอย่างแก่คนรุ่นใหม่ที่ไม่มีทุนเข้ามหาลัยได้ดูเป็นแบบอย่างบ้าง เพราะชีวิตผมเริ่มต้นจากสูญ ไม่มีมรดกจากพ่อแม่

บทความซึ่งจะนำลงตอนละประมาณหนึ่งอาทิตย์ ถ้าใครไม่สนใจอ่านจะลบทิ้ง

บทความตอนใดที่ไม่มีผู้สนใจอ่าน(ไม่ให้ความเห็น)
จะลบออกเร็วกว่านั้น
อยากบอกอยากถามก็ขอให้เขียน เรามาแลกเปลี่ยนวิถีทรรศน์ของกันและกัน เพื่อเดินทางร่วมกันฉันท์สหาย
[Add ลุงกฤช's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com