โลกมีทางให้เดินเป็นพันพันทาง เราต่างใช้ปรัชญาแห่งชนชั้นของตน นำทางในการเดิน เราต่างเดินตาม ปรัชญาแห่งชนชั้นตน
 
กรกฏาคม 2551
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
10 กรกฏาคม 2551
 
 

ปรัชญาสังคม 2

8.ปรัชญาสังคม
8.4 ภาวะทางวัตถุ,เป็นเหตุแห่งสังคมสัตว์

หากผู้ใดยังข้องใจในเรื่องมหาบุรุษ เชื้อชาติ ความคิดอยู่ว่าเป็นเหตุแห่งสังคมแล้ว เขาจะเลิกเชื่ออย่างนี้หากศึกษาสังคมสัตว์ ซึ่งเห็นได้ชัดว่าเกิดจากภาวะทางวัตถุแท้ๆ เพราะสัตว์เช่นมดจะมีความนึกคิดจัดสังคมขึ้นอย่างไรได้

เราจะเห็นว่าในพวกสัตว์ เครื่องมือในการผลิตนั้นติดอยู่กับตัวมัน และเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ดังนั้นสังคมของมันจึงเปลี่ยนแปลงไม่ได้ เพราะเครื่องมือในการผลิตกำหนดตายตัวไว้แค่สังคมแบบหนึ่งๆเท่านั้น สัตว์,มีเรื่องทางวัตถุอยู่สองเรื่องอันมากำหนดสังคมของมัน คือเรื่องอาหาร กับหลบหลีกศัตรู ตามปรกติแล้ว,สัตว์ใดมีศัตรูน้อยหรือไม่มีเลย จะอยู่เป็นครอบครัวที่เล็กที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ คือมีพ่อ แม่ และลูกน้อยเท่านั้น หากลูกโตขึ้นแล้วพ่อแม่ก็จะขับลูกไปเสีย ทั้งนี้เนื่องด้วยการหึงหวงในเรื่องคู่ผัวตัวเมีย และการไม่ต้องการให้มีพรรคพวกไว้ช่วยป้องกันศัตรู สัตว์หลายอย่างเช่นนกเงือกมีครอบครัวแบบผัวเดียวเมียเดียว นี่,เกิดจากการหึงหวงและการไม่มีศัตรูดังกล่าวมาแล้วหาใช่เกิดจากการมีภูมิธรรมอะไรไม่

มนุษย์เรายกย่องระบบผัวเดียวเมียเดียวกัน แต่หารู้ไม่นกเงือกก็ใช้ระบบนี้อยู่ และเคร่งครัดยิ่งกว่ามนุษย์มาก จากการศึกษาสัตว์ที่มีระบบครอบครัวผัวเดียวเมียเดียวเราจึงทราบว่า,ภาวะทางวัตถุอันเหมาะสม,จะก่อให้เกิดระบบนี้ในความเป็นจริง หาใช่การพร่ำสอนว่า,การมีผัวเดียวเมียเดียวดีอย่างนั้นอย่างนี้ไม่.

ความจำเป็นต้องสู้ศัตรูร่วมกัน ทำให้สัตว์มาอยู่รวมกันเป็นฝูง และความจำเป็นต้องแบ่งงานกันในการผลิตอาหาร ก็ทำให้สัตว์มาอยู่รวมกันเป็นฝูงเหมือนกัน ในการรวมกันเป็นฝูงนี้หากมีระบบครอบครัวแบบผัวเดียวเมียเดียว ประกอบกับการหึงหวงแล้วฝูงก็จะแตก ฝูงสัตว์,จึงมีความขัดแย้งอยู่กับครอบครัวสัตว์. สัตว์ฝูง,จึงผสมพันธุ์กันแบบส่ำส่อน คือตัวผู้ทุกตัวเป็นผัวของตัวเมียทุกตัว และตัวเมียทุกตัวก็เป็นเมียของตัวผู้ทุกตัว ภาวะเช่นนี้ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ประการอื่นๆขึ้นอีกด้วย คือในกาลต่อมาจะเกิดการนับถือตัวเมีย ขึ้นในฝูง ทั้งนี้เพราะพวกลูกๆ จะรู้จักแต่แม่ไม่รู้จักพ่อเราจึงพบว่าในสัตว์ฝูงเช่น ช้าง ตัวเมียเป็นจ่าฝูง ในสังคมของมด ปลวก และผึ้ง ระบบนับถือตัวเมียเป็นประมุขนี้ก้าวไปถึงขีดสูงยิ่ง กระทั่งตัวราชินีของมันมีรูปร่างผิดกับมด ปลวก และผึ้งสามัญไปด้วย

เมื่อมนุษย์ยังมีการสืบพันธุ์แบบส่ำส่อนอยู่ เขาก็ยกสตรีเป็นใหญ่เหมือนกัน นี่,หาได้เกิดจากการคิดจะยกยอเพศอ่อนแอหรือยกย่องความงดงามแต่อย่างใดไม่ หากเกิดจากการที่ลูกๆรู้จักแม่ แต่ไม่รู้จักพ่อเท่านั้น ปรากฏการณ์ในสังคมมนุษย์,ที่รู้คิด,ก็ไม่ผิดอะไรกับในสังคมสัตว์ นี่,ก็เพราะภาวะทางวัตถุเป็นเหตุของสังคม

เมื่อมดรบกัน, และฝ่ายหนึ่งรบชนะ ก็เกิดมดทาสขึ้นโดยเอาเชลยศึกผู้แพ้มาใช้งาน เมื่อมนุษย์รบกัน และฝ่ายหนึ่งชนะ ฝ่ายที่แพ้ก็ถูกกักตัวไว้เป็นทาส นี่,เป็นเรื่องทางวัตถุแท้ๆ หาได้เกิดจากความนึกคิดที่ว่าทาสเป็นของดีมาแต่เดิมไม่ เพราะก่อนรบพุ่งกัน จะไม่เกิดความนึกคิดเรื่องทาสมาก่อนเลย
สัตว์,เที่ยวขวนขวายหาอาหารด้วยประการต่างๆมันจึงรู้จักเลี้ยงสัตว์เหมือนมนุษย์ ทั้งนี้ก็โดยคุ้นเคยกับสัตว์บางอย่าง และเอามันเลี้ยงไว้เป็นสัตว์เลี้ยง มด,ชอบเลี้ยงตัวอะไฟ๊ด์,ไว้กินน้ำหวานที่ก้นมัน โดยทำให้ตัวอะไฟ๊ดกินอาหารอย่างอื่น ที่ไม่ใช่น้ำหวาน ปลวก ซึ่งกินพืช ก็รู้จักปลูกเห็ดต่างๆ กล่าวคือ รู้จักทำกสิกรรมนั่นเอง เห็นเช่นเห็ดโคน มนุษย์เรายังปลูกไม่เป็นด้วยซ้ำ ฉะนั้นก็เห็นได้ชัดว่า ความรู้ในการเลี้ยงสัตว์และปลูกพืชนี้ แม้สัตว์ก็ได้ค้นพบและใช้ประโยชน์อยู่ ความรู้ในการนี้จึงมิได้เกิดขึ้นจากญาณวิเศษอะไรเลย หากเกิดจากการเรียนรู้โลกภายนอกเท่านั้นเอง มนุษย์เรียนจากโลกภายนอกได้อย่างไร สัตว์,ก็เรียนได้อย่างนั้น มดและปลวก,เกิดก่อนมนุษย์มาก การค้นพบวิธีปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ จึงน่าจะถูกค้นพบก่อนมนุษย์หลายสิบล้านปีทีเดียว

จากการศึกษาธรรมชาติวิทยา เราจึงแน่ใจว่าภาวะทางวัตถุเป็นต้น เหตุแห่งความนึกคิดทั้งปวงของมนุษย์ และเป็นต้นเหตุแห่งสังคม กับความนึกคิดทางสังคมทั้งปวงของเขาด้วย ดังสังคมสัตว์ชี้ให้เห็น,เช่นที่กล่าวมาแล้ว

8.ปรัชญาสังคม
8.5. การสำรวจร่องรอยแห่งวิวัฒนาการของสังคม

วิวัฒนาการเท่าที่กล่าวมาแล้ว ได้แก่วิวัฒนาการของสสารขั้นต่างๆที่ต่อทอดเป็นลำดับกันมาแต่นี่,หาได้หมายความว่า, สสาร,ที่เริ่มต้นทั้งหมด จะกลายเป็นสิ่งอื่นไปทั้งหมดโดยสิ้นเชิงไม่เพราะในวิวัฒนาการ จะมีพลังขัดขวางการเปลี่ยนแปลงคอยต้านวิวัฒนาการอยู่ด้วย ในการเปลี่ยนแปลงนั้น ,เราได้กล่าวมาแล้วว่า ความเป็นสิ่งเดียวกับตัวเอง (Identity) แย้งอยู่กับความเป็นสิ่งอื่น (Nonidentity) หรือสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลง (Change) จึงเกิดขึ้นได้ แต่ความเป็นสิ่งเดียวกับตัวเอง(Identity) นี้ก็เป็นพลังอันหนึ่งซึ่งพิทักษ์ความคงกระพันของสิ่งนั้นไว้ ผลคือ, แม้พืช,เซลล์เดียว,จำนวนหนึ่งจะแปลงไปเป็นตะไคร่ (Algae) แม้สัตว์เลื้อยคลายกลายไปเป็นนกก็ตาม พืชเซลล์เดียวและสัตว์เลื้อยคลานอีกส่วนหนึ่งก็คงมีอยู่ แม้พันธุ์ดูจะไม่คงกระพันและเปลี่ยนแปลงได้ แต่ก็มีพลังในธรรมชาติที่รักษาพันธุ์หนึ่งๆไว้สืบต่อมากระทั่งบัดนี้

ความขัดแข้งของสิ่งหนึ่ง, ที่จะดำรงสภาพของตัวมันไว้ กับอำนาจสิ่งแวดล้อมที่ทำให้มันกลายเป็นอื่นไปนี้เข้าใจกันว่าเกิดจากพลังรากฐานทางสสาร อันปรากฏเป็นความดึงดูดระหว่างกัน และการเคลื่อนไหวออกห่างจากกัน นี่,ปรากฏเป็นการหดตัวและขยายตัว. สิ่งๆหนึ่ง,ประกอบด้วยปฏิกิริยาภายในซึ่งสำเร็จในตัว และคุมส่วนต่างๆให้สนิทเป็นหนึ่งเดียวกันไว้ แต่ตัวมันทั้งตัว,ก็มีปฏิกิริยากับสสารภายนอก อันจะทำให้มันเป็นอื่นไป ผลคือ,การเปลี่ยนแปลงเป็นอื่น แต่ก็ยังเป็นตัวของมันเองอยู่

เรื่องนี้,นักตรรกวิทยาแบบฉบับ (Formal Logic) หรือสามัญชนไม่ใคร่เข้าใจกัน เพราะมโนภาพของคนเราเป็นภาพซึ่งถ่ายไว้ในสมอง,อันเป็นภาพนิ่ง และเรารังแต่จะเอาภาพนิ่งอันเป็นภาพชั่วขณะของรูปแบบตรงขั้นใดขั้นหนึ่งของพัฒนาการ เป็นภาพของสิ่งนั้นไป ซึ่งนี่,หาเป็นการถูกต้องไม่ การนึกคิดถึงมโนภาพที่ได้รับมาอย่างนี้ จะทำให้เราเกิดความเข้าใจผิดว่า มีสิ่งอันไม่เปลี่ยนแปลงนี่,เลยก่อให้เกิดตรรกวิทยาแบบฉบับ,ที่กล่าวเฉพาะเรื่องความเป็นสิ่งเดียวกับตัวเอง (Identity)

หากคนเราสังเกตสิ่งนอกภายให้มาก และคิดจากมโนภาพให้น้อยแล้วเขาก็พบกับความจริงที่ว่า,ธรรมชาติ,เต็มไปด้วยความขัดแย้ง (Contradiction) และเรื่องโอละพ่อ เหลาจื่อนักปราชญ์จีนเป็นผู้พบความโอละพ่อในโลกก่อนผู้อื่น และได้นำมาสอนไว้เป็นหลักปฏิบัติ เช่นสอนว่า มีความต้องการน้อย จะได้มาก ถ้ามีความต้องการมากจะได้น้อยเป็นต้น เฮอราคลิตัส (Heraclitus) ก็สอนเรื่องการขัดแย้งในธรรมชาติไว้ถัดจากเหลาจื่อ นักปรัชญาชาวฝรั่งเศสชื่อแบร์ก์ซอง (Bergson) ในหนังสือ (Creative Evolution เอโฝะลยู-ฌั่น ) ได้อุปมาไว้อย่างงดงามว่า การเปลี่ยนแปลงเปรียบเหมือนกระแสธารใหญ่ที่ถาโถมไปข้างหน้า ภายในกระแสธารนี้เต็มไปด้วยวังวนต่างๆมากมาย วังวนแต่ละอันเปรียบได้กับสสารในแบบรูปอย่างหนึ่งๆซึ่งดำรงแบบรูปของมันไว้ แต่แบบรูป,ก็ผ่านพัฒนาการเกิด เจริญ เสื่อม ดับสูญและเกิดใหม่เป็นวงเวียนที่เทียบได้กับวังวนของน้ำ น้ำส่วนใหญ่,ได้ไหลไปข้างหน้า และก่อให้เกิดวังวนอันใหม่ๆขึ้นอีก แต่วังวนเก่า,จะคงหมุนเวียนอยู่ที่เดิม คำอุปมานี้ใกล้เคียงกับการเปลี่ยนแปลงในโลกอันไพศาลมาก

จากสสารอนินทรีย์, กระแสธารแห่งการเปลี่ยนแปลงของสสารได้ไหลไปข้างหน้า ทิ้งสสารอนินทรีย์จำนวนหนึ่งไว้ที่จุดตั้งต้น ต่อมากระแสธารใหญ่แห่งการเปลี่ยนแปลงนั้นก็ก่อให้เกิดวังวนสสารอินทรีย์ แล้วก็พุ่งเลยไป, ก่อให้เกิดวังวนชีวิตเซลล์เดียวขึ้น ถัดมาอีกก็สร้างวังวนที่เป็นชีวิตในแบบรูปหรือพันธุ์ต่างๆวิวัฒนาการรวมของสสาร, จึงก่อให้เกิดสสารในแบบรูปต่างๆอยู่ร่วมกันในโลกนี้ ร่องรอยของวิวัฒนาการแห่งสสาร, อยู่ที่แบบรูปตามขั้นต่างๆของวิวัฒนาการ อันมีอยู่รวมกันในขณะนี้ เช่นอนุภาคค๊อสมิกในอวกาศ(Space) หมอกธาตุใหญ่ หมอกธาตุเล็ก ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ต่างๆ ชีวิตพันธุ์ต่างๆรวมทั้งชีวิตพันธุ์ที่สูญไป และที่ทิ้งซากโบราณ (Fossils) ไว้

เมื่อนำเรื่องนี้ไปสรวมเข้ากับเรื่องวิวัฒนาการของสังคม เราก็เห็นว่า,สังคม,ก็วิวัฒน์ไปในทำนองเดียวกัน แต่ในกรณีของสังคมนี้,มีกฎเพิ่มมาใหม่,เพราะเนื้อของสังคม,คือคนเรานั้น เป็นพันธุ์เดียวกันหมด วิวัฒนาการแห่งสังคม,เป็นวิวัฒนาการของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ซึ่งเป็นสัตว์พันธุ์ พันธุ์เดียวกัน และเนื่องจากมีชนอยู่เป็นเชื้อชาติต่างๆ แยกห่างจากกันด้วยภูมิประเทศ ยากที่จะติดต่อถึงกันได้ เช่นพวกอยู่เกาะกับพวกอยู่บนทวีป พวกอยู่ในแดนหนาว,ที่มีทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ กับพวกอยู่ในแดนร้อน,อันมีป่าทึบและลุ่มแม่น้ำใหญ่ๆเป็นต้น วิวัฒนาการของสังคมจึงเป็นไปไม่ทันกันในเชื้อชาติต่างๆคนป่าชาวพื้นเมืองของออสเตรเลีย ยังอยู่ในสังคมบุพกาลสมัยหินเก่า (Palaeolithic) แต่คนป่านในเกาะนิวกินีกับชาวอินเดียนแดงบางเผ่าในอเมริกายังอยู่ในสังคมหินใหม่ (Neolithic) อันเก่าแก่เมื่อ อังกฤษ,ผ่านไปสู่ระบบทุนนิยมแล้ว แต่ไทยเรายังอยู่แค่ระบบศักดินาเป็นต้น

ด้วยประการฉะนี้ เราจึงมองเห็นตัวอย่างของขั้นต่างๆของสังคม,ที่เรียกว่าระบบสังคม (Social System) การศึกษาสังคมของชนชาติล้าหลังต่างๆดังเช่นนายบุญช่วย ศรีสวัสดิ์กระทำในหมู่ชาติกุลไทยและจีน, ในจังหวัดเชียงราย จึงเป็นสิ่งจำเป็นยิ่ง ขณะนี้,นักสังคมวิทยา,กำลังสำรวจสังคมของชนล้าหลังกันอยู่ตามที่ต่างๆทั่วโลก สังคมของชนล้าหลังนี้เอง คือร่องรอยแห่งวิวัฒนาการของสังคมในอดีตของทุกเชื้อชาติ มันเปรียบได้กับวังวนในกระแสธารแห่งวิวัฒนาการของสังคม และเปรียบได้กับพันธุ์ต่างๆของสัตว์และพืช อันบังเกิดขึ้นตามระดับชั้นต่างๆในวิวัฒนาการของชีวิต

นักวิทยาศาสตร์สังคมสำรวจสังคมในปัจจุบันก็ด้วยความปรารถนาที่จะรวบรวมวิวัฒนาการสังคมจากต้นจนปลายขึ้น ดังที่นัก วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ,เคยกระทำแก่พืชและสัตว์มาแล้ว ทั้งนี้,เขาย่อมถือสมมติฐานที่ว่า สังคมมนุษย์,ไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติใด ไม่ว่าจะตั้งอยู่ ณ ส่วนใดของโลก, จะพัฒนาไปตามกฎอย่างเดียวกันหมด และกฎนี้ก็เป็นกฎวิทยาศาสตร์สังคมเช่นเดียวกับกฎวิวัฒนาการในวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เอสเอ็ม. ก็รับเชื่อในสมมติฐานเช่นนี้ และจึงได้เอากฎแห่งวิวัฒนาการของสังคมมาทำเป็นปรัชญาสังคมนั่นเอง

นอกจากจะศึกษาวังวนแห่งกระแสธารวิวัฒนาการของสังคม อันได้แก่สังคมของชนชาติล้าหลังต่างๆแล้ว การศึกษาสังคมชาวชนบทก็มีความสำคัญทัดเทียมกัน เพราะว่าในชาติหนึ่งๆชนบทกับเมืองมีวิวัฒนาการทางสังคมไม่ทันกัน คือสังคมในเมืองวิวัฒน์ไปเร็วกว่า และตามความเป็นจริงแล้วชาวชนบท,ก็คือชาติกุลที่ล้าหลังของประเทศหนึ่งๆ นั่นเอง คนทางอีสานยังอยู่ในสภาพสังคมล้าหลังเช่นนี้จึงยังนิยมถือสิทธิทางมารดากันอยู่ การศึกษาสังคมของชนบท จึงเป็นทางหนึ่งในการติดตามร่องรอยของวิวัฒนาการแห่งสังคมมารดากันอยู่ การศึกษาสังคมของชนบท จึงเป็นทางหนึ่งในการติดตามร่องรอยของวิวัฒนาการแห่งสังคมของชนชาตินั้น ในชนบทนั้น,แม้ศาสนา,ก็ยังอยู่ในขั้นล้าหลังตามสังคมของชาติกุลนั้นๆไปด้วย ศาสนาใหม่,จะมีกำลังความนิยมอยู่แต่ในเมืองเท่านั้น

บันทึกทางประวัติศาสตร์ย่อมเป็นข้อเท็จจริงอย่างดีสำหรับศึกษาวิวัฒนาการของสังคม และซากโบราณของสังคมวิทยา ก็เหมือนกัน,ไม่ผิดอะไรกับซากโบราณของธรณีวิทยาเลย ซากโบราณ,ของสังคมวิทยานั่นเอง ซากโบราณของสังคมวิทยาหรือประวัติศาสตร์,ก็คือวัตถุโบราณนั่นเอง และโบราณคดี (Archaeology) ก็คือวิทยาศาสตร์แห่งการค้นหา รักษา และอธิบายวัตถุโบราณเหล่านี้ วิชานี้เทียบได้กับโบราณชีววิทยา(Palaeontology ออนทอล-โอะจิ่) ของธรณีวิทยา

สังคมหนึ่งๆได้ให้กำเนิดวัตถและความเชื่อมั่นอย่างใดอย่างหนึ่งไว้ อันรวมเรียกว่าวัฒนธรรม (Culture) ซึ่งแปลว่า,สิ่งที่เพาะขึ้นมา วัตถุวัฒนธรรม (Material Culture) หรือ ประจักษ์พยานทางวัฒนธรรมนั้น ได้แก่เครื่องมือในการผลิต และวัตถุอันเป็นศิลปะ (Works of Arts) ต่างๆ รวมทั้งวัตถุสำหรับใช้ และอาคารทุกชนิดน วัฒนธรรมทางจิตหรือความคิดหรือจิตวัฒนธรรม (Mental of Ideological Cuture) ศาสตราจารย์แอล.ชาร์พกล่าวว่า เป็นแบบแผนแห่งพฤติกรรม ความเชื่อ และความรู้สึกที่จัดไว้เป็นส่วนรวม อันชนหมู่หนึ่งได้เรียนรู้และนำมาใช้ นี่,เป็นเรื่องที่มานุษยวิทยาวัฒนธรรม (Cultural Antropology) สนในศึกษา วัฒนธรรมทางความคิด หรือขนบประเพณีมีร่องรอยเหลือมา
บันทึกต่างๆ และในคำพูดของมนุษย์ในปัจจุบัน บางทีก็มีวัตถุที่ใช้ใน
การนี้ (Cultural Object) เหลืออยู่เป็นประจักษ์พยานด้วย

8.ปรัชญาสังคม
8.6.ภาวะทางวัตถุเป็นต้นเหตุแห่งความนึกคิดทางสังคม

วัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง, ทำให้คนเราเข้าสัมพันธ์กันด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง, หลังจากนี้,ความนึกคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ดังกล่าว,ก็จะเกิดขึ้นและพัฒนาไป. ขวานหินในออสเตรเลียเหนือ,เป็นต้นเหตุให้เด็กและผู้หญิงคนป่าพื้นเมือง เข้าสัมพันธ์กับคนป่า,ผู้ใหญ่ชาย,ที่ทำขวานหินเป็น และก่อให้เกิดความภักดีต่อผู้ใหญ่ชายขึ้น แต่ขวานเหล็กจากหมอสอนศาสนาชาวฝรั่ง,ก็ทำลายความสัมพันธ์อันนี้เสีย เด็กและผู้หญิงคนป่ากลับหันไปภักดีต่อหมอสอนศาสนาชาวต่างประเทศแทน.

ในการเปลี่ยนแปลงนี้, ความนึกคิดเก่า,คือความภักดีต่อผู้ใหญ่ชายในเชื้อชาติเดียวกันจะยังคงมีอยู่ในจิตใจของเด็กและผู้หญิงคนป่า,เป็นมโนธรรมประจำหมู่คณะ ความนึกคิดใหม่ในการภักดีต่อชาวต่างชาติ, เพราะขวานเหล็ก เป็นเหตุ จะเกิดต้านกับความนึกคิดเก่า กลายเป็นอำนาจฝ่ายสูงกับฝ่ายต่ำแย้งกันอยู่ภายในจิตใจของคนๆเดียวไป

ในเวลาเดียวกันนี้,ผู้ใหญ่ชายก็มั่นอยู่ในความคิดเก่าซึ่งเป็นประโยชน์ต่อตัวเขา และพยายามเผยแพร่ความคิดเก่าด้านความคิดใหม่ไว้ การจึงดูเสมือนว่ามีความคิดเก่ากับใหม่ขัดแย้งกันอยู่ในการขัดแย้งนี้,อาจมีการอ้างเหตุผลทางตรรกวิทยาแบบฉบับนานาประการ อาจมีการอ้างเชื้อชาติสายเลือด ฯลฯ แต่ความจริงคงอยู่ที่การเปลี่ยนแปลงทางวัตถุนั่นเอง
กรณีศึกษาของดร.แอล.ชาร์พ นี้เป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่า ความเป็นไปและความนึกคิดทางสังคมขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงทางวัตถุ วัตถุ,ที่เป็นเครื่องมือในการผลิตอย่างใดอย่างหนึ่ง จะก่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์,ในการผลิตขึ้นมาก่อน ถัดมาก็เกิดขนบประเพณี กฎหมาย ทรรศนะทางสังคมและปรัชญา ศานา ศิลปะ ติดตามความสัมพันธ์เช่นนั้นมา ซึ่งรวมเรียกว่า “ความนึกคิดทางสังคม”

เมื่อวัตถุ,อันเป็นเครื่องมือในการผลิต,เปลี่ยนไปเป็นอย่างใหม่ ก็เกิดความสัมพันธ์ในการผลิตอย่างใหม่ขึ้น ที่นี้,พวกเก่า, ที่ได้ประโยชน์จากความนึกคิดเก่าก็จะเอาความนึกคิดเก่าไปป้องกันความสัมพันธ์อย่างใหม่ไว้ไม่ให้งอกงาม แต่พวกใหม่,ที่คิดตรงกับความสัมพันธ์อย่างใหม่,ก็จะเอาความนึกคิดใหม่ของเขาออกต้าน ในจิตใจของคนๆหนึ่ง,ความนึกคิดเก่ากับใหม่นี้ จะปรากฏอยู่เป็นความขัดแย้ง ไม่เข้าใจ หากเป็นเรื่องความประพฤติก็ปรากฏเป็นอำนาจฝ่ายสูงกับฝ่ายต่ำรบกวนจิตใจอยู่ แต่การกระทำย่อมเป็นไปตามความนึกคิดเท่าที่เป็นประโยชน์แก่ตน การขัดแย้งทางความนึกคิดนี้ จะปรากฏออกมาภายนอก,เป็นการทุ่มเถียงหรือโต้แย้ง อภิปรายทางปัญญากัน ฝ่ายความคิดเก่าที่ได้ชื่อว่า,เป็นฝ่ายอนุรักษ์นิยม (Conservative) ฝ่ายความคิดใหม่,ได้ชื่อว่าเป็นฝ่าย นวนิยม (Progressive) ความคิดเก่ากับความคิดใหม่ทางสังคมนี้เป็นปัจจัยหรือเป็นอุปกรณ์ในวิวัฒนาการทางสังคม เพราว่ามีการกระทำทางวัตถุติดตามมาด้วย เช่นพวกความคิดเก่า,ก็ป้องกันมิให้ความสัมพันธ์ใหม่ มาทำลายความสัมพันธ์เก่า,ที่มีมาเก่า พวกความคิดใหม่,ก็ช่วยเข็นความ สัมพันธ์ใหม่ให้แผ่ขยายออกไป ทุกยุคทุกสมัยในประวัติศาสตร์,เรื่องการขัดแย้งและต่อสู้ดิ้นรนนี้จะเกิดมีอยู่เสมอพระพุทธเจ้าจึงทรงสรุปว่าโลกนี้เป็นทุกข็ และทรงแนะให้หาทางแก้ไขโดยดับกิเลสคือความนึกคิดที่ผูกพันอยู่กับวัตถุเสีย

ฝ่ายอนุรักษ์นิยมกับฝ่ายนวนิยมนี้ บางที,เกิดในประเทศเดียวกัน บางทีเกิดในต่างเชื้อชาติกัน ทั้งนี้ก็เนื่องด้วยการเหลื่อมล้ำกันทางวิวัฒนาการของสังคม ในสมัยโบราณมีการขัดแย้งเกิดขึ้นระหว่างชนที่ทำกสิกรรรม กับชนเร่เร่อนเลี้ยงสัตว์,พวก (Nomad) ทั้งนี้เพราะชนที่ทำกสิกรรมมีพัฒนาการก้าวไปไกลกว่าชนโนแมดที่เลี้ยงสัตว์ ,การขัดแข้งนี้ลงเอยด้วยการรบพุ่งกัน แล้วสังคมก็ก้าวหน้าไปอีก การขัดแย้งหรือการประชันขันต่อ (Challenge) ระหว่างพวกทำกสิกรรรมกับพวกเลี้ยงสัตว์นี้ทอนบีนักประวัติศาสตร์อังกฤษว่า เป็นต้นเหตุใหญ่ของประวัติศาสตร์ แต่นักสังคมวิทยาถือเป็นปัจจัยอย่างหนึ่งหรืออุปกรณ์ (Factor) อย่างหนึ่งแห่งการเปลี่ยนแปลงสังคมเท่านั้น เพราะพวกโนแมดมาขัดแย้งกับพวกทำกสิกรรมก็เพราะเรื่องวัตถุเป็นเหตุ อย่างไรก็ดีปรากฏการณ์ทางประวัติศาสตร์อันสำคัญยิ่งอย่างหนึ่งได้แก่การที่ชนโนแมด,มาชิงดินแดนของชนชาติกสิกรรม นี่,เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลกและจำเป็นต้องเอามาคิดคำนึงด้วย

เราจึงสรุปดังนี้คือ ในประเทศหนึ่งๆ การเลปี่ยนแปลงทางวัตถุ,ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความสัมพันธ์ในการผลิตขึ้น นี่,จะก่อให้เกิดความนึกคิดใหม่ทางสังคม ซึ่งจะเข้าขัดแย้งกับความนึกคิดเก่า ที่มีวัตถุเก่าเป็นต้นเหตุอยู่ พวกที่มีความคิดใหม่ก็จะเข้าขัดแย้งกับพวกที่มีความคิดเก่าสามัคคีธรรม ระเบียบ การยอมรับอำนาจกันก็จะแตกสลาย ที่นี้,พวกโนแมด,ก็จะเข้ามาทำลายความสัมพันธ์ทางการผลิตแบบเก่าให้สูญสิ้นไป แต่ตามประวัติศาสตร์,เราก็เห็นได้ว่า ความสัมพันธ์เก่านี้ บางทีก็กลับถูกพวกโนแมดมารักษาเอาไว้อย่างเดิม เช่นพวกคนป่า,คนป่าะชนอารยันผิวขาวที่มาขับไล่อารยะชนผิวดำในคาบสมุทรกรีก และแหลมบอลข่าน กลับดำรงระบบทาสไว้อย่างเดิมเป็นต้นแต่ระบบทาสในประเทศโรมัน ก็จะทลายเพราะมีคนป่าเยอรมันเป็นปัจจัย เราจึงกล่าวได้ว่าพวกโนแมด,เป็นเพียงปัจจัยของการเปลี่ยนแปลงระบบสังคม หาใช่ต้นเหตุไม่ ต้นเหตุที่แท้จริงคือการเปลี่ยนแปลงทางวัตถุ และการเปลี่ยนแปลงในความสัมพันธ์ทางการผลิต ดังกล่าวมาแล้ว

สมัคร บุราวาศ




 

Create Date : 10 กรกฎาคม 2551
0 comments
Last Update : 4 กรกฎาคม 2553 23:40:23 น.
Counter : 1686 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

 

ลุงกฤช
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]




อดีต : พ่อค้า ผู้รับเหมาก่อสร้าง

ปัจจุบัน : อาจารย์พิเศษสอนปรัชญาเป็นประจำแก่สถาบันของรัฐแห่งหนึ่ง สอนพิเศษนักศึกษาปริญญาตรีและโทมหาลัยมหิดล

คืนกำไรให้ชีวิตหลังจากการทำงานหนักมาเกือบตลอดชีวิต ขับรถไปฮันนี่มูนต่างจังหวัดบ้าง ไปสอนต่างจังหวัดบ้าง มีความสุขกับศรีภรรยาที่อยู่กันมาเกือบ 50 ปี
เธอดูแลเราเหมือนลูก เพราะลูกๆต่างก็มีครอบครัวแยกย้ายไปทำมาหากินกันดีๆทุกคนแล้ว เราเลยอยู่กันสามพ่อแม่ลูก(คนสุดท้อง)ซึงไม่ยอมมีผัว เพื่อดูแลพ่อแม่ กับหมาอีก 8 ตัว บางวันก็ไปสอนบ้าง บางวันก็เข้ามาในบล๊อกบ้างเพื่อเอางานที่เรียนรู้มา มาคืนให้แก่สังคม ดังที่เห็นๆกันแล้ว งานส่วนใหญ่ที่คัดลอกมาให้อ่านกันเป็นงานเขียนของท่านอาจารย์สมัคร บุราวาศ และทรรศนะส่วนตัว
อยากให้คนสนใจเรื่องปรัชญา เพราะตัวเองนั้นมีความสุขอยู่ได้ทุกวันนี้ก็เพราะมีปรัชญาชี้นำการดำเนินชีวิต มีความรู้ในการปฏิบัติทำมาหากิน ภายหลังหยุดชีวิตการทำมาหากินแล้วก็ยังมีสมบัติทีมากกว่าเบี้ยบำนาญของราชการ

แม้ไม่รวย แต่ก็ไม่จน จึงอยากให้เป็นตัวอย่างแก่คนรุ่นใหม่ที่ไม่มีทุนเข้ามหาลัยได้ดูเป็นแบบอย่างบ้าง เพราะชีวิตผมเริ่มต้นจากสูญ ไม่มีมรดกจากพ่อแม่

บทความซึ่งจะนำลงตอนละประมาณหนึ่งอาทิตย์ ถ้าใครไม่สนใจอ่านจะลบทิ้ง

บทความตอนใดที่ไม่มีผู้สนใจอ่าน(ไม่ให้ความเห็น)
จะลบออกเร็วกว่านั้น
อยากบอกอยากถามก็ขอให้เขียน เรามาแลกเปลี่ยนวิถีทรรศน์ของกันและกัน เพื่อเดินทางร่วมกันฉันท์สหาย
[Add ลุงกฤช's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com