โลกมีทางให้เดินเป็นพันพันทาง เราต่างใช้ปรัชญาแห่งชนชั้นของตน นำทางในการเดิน เราต่างเดินตาม ปรัชญาแห่งชนชั้นตน
 
กรกฏาคม 2551
 
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
13 กรกฏาคม 2551
 
 

ที่มาแห่งความรู้อันเป็นสัจธรรม (Truth)

ญาณวิทยาของสถาบัน (ปรัชญา) เอสเอ็ม


ความรู้มิใช่จะได้มาจากการคิด แต่ความรู้ได้จากการรับรู้ – โดยอวัยวะรับสัมผัสทาง ใดทางหนึ่งเท่านั้น ดังนั้นเมื่อไม่รู้อะไร จึงต้องไปทำการรับรู้ ปฏิบัติ และวิจัย การคิด, เป็นการทวนระลึกถึงมโนภาพที่ได้เคยรับรู้มาก่อนแล้วเท่านั้น ทั้งยังอาจเป็นความรู้ที่เป็นเท็จเพราะ ความรู้อันเป็น สัจธรรม นั้น จะต้องเป็นความรู้ที่เป็น กฎวิทยาศาสตร์ ซึ่งพิสูจน์แล้ว เท่านั้น หรืออย่างน้อยต้องเป็นทฤษฎี การคิด,เป็นเพียงการเสริมต่อสิ่งที่เคยรับรู้ไปเท่านั้นความทรงจำ จึงเป็นหัวใจของการเรียนรู้ ดังนั้น ถ้ารู้ตัวว่าสมองไม่ดี ต้องท่องหรืออ่าน ซ้ำๆจนจำได้ ที่กล่าวกันว่า การท่องจำทำให้คิดไม่เป็นทำไม่เป็นนั้น ก็เพราะไปจำความรู้ในอดีตที่ส่วนใหญ่เป็นสมมติฐาน ที่ไม่เคยได้ รับการพิสูจน์เลยว่า เป็นคู่เหตุคู่ผลตามมติที่ให้ไว้ จึงเป็นเท็จ (และยังอยู่ในหลักสูตรมาก) เมื่อคิดขึ้นมา จึงนำไปสู่นำไปปฏิบัติไม่ได้ สูญเปล่าทำให้เป็นผู้ซื้อตลอดกาลไม่อาจเป็นผู้ขายหรือผู้ผลิตได้ หรือเป็นความรู้ที่เป็น ตรรกบัญญัติตกสมัย ซึ่งได้ผลเฉพาะสังคมที่ บัญญัติเท่านั้น เป็นความรู้ที่ชนชั้นปกครองเผด็จการในอดีตได้วางยาไว้ให้ประชาชนของตนเป็นคนโง่ ว่าง่ายสอนง่าย เพื่อเป็นผู้ยอมจำนนต่ออำนาจปกครองของตน และจนบัดนี้ ก็ยังไม่มีการชำระสะสางกัน ดังนั้นการศึกษาจะต้องเป็นอิสระเสรี จากอำนาจรัฐส่วนกลาง แต่ละท้องถิ่นต้องจัดการศึกษาเป็นของตนเอง

ความรู้ ก็คือ มโนภาพแห่งจินตนาการ อันเกิดจากการนึกหรือทวนระลึกให้มโนภาพแห่งความตรึงตราที่เคยได้รับทางสัมผัส และพิมพ์ไว้ในสมอง, ส่วนบันทึกความทรงจำ แล้วปรากฏซ้ำขึ้นเมื่อมีการนึก หรือทวนระลึก


3 แผนภูมิของการเกิดความรู้ของมนุษย์ในขั้นปฐมภูมิ
(Primary Occurrence of the Human Knowledge)
















โลกภายนอกอันปรากฏแก่เราใน 3 ลักษณะ คือ สสาร หรือพลังงาน ปรากฏการณ์ของสสารหรือพลังงาน ความเกี่ยวข้องของสสารหรือพลังงาน เมื่อมากระทบเข้ากับอวัยวะรับสัมผัสใดสัมผัสหนึ่ง ก็จะบังเกิดเป็นกระแสไฟฟ้า วิ่งไปตามเส้นประสาท ผ่านไขสันหลังสู่สมอง เกิดเป็นภาพขึ้นในสมอง ซึ่งอาจเป็นมโนภาพของการได้เห็น การได้รส การได้กลิ่น การได้ยินเสียง หรือการได้สัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง ภาพที่เกิดขึ้นในสมองขณะที่มีสัมผัสนั้นเราเรียกมโนภาพชนิดนี้ว่า มโนภาพแห่งความตรึงตรา (Idea of Impression ไอดี-อะ อ็อฝ อิมพเรฌ-อัน) ในส่วนที่สนใจชอบ ชังหรือวางเฉยจะถูกพิมพ์ไว้เป็นความทรงจำ (Memory เมม-โอะริ)
ในกรณีที่มีการนึกหรือทวนระลึก (Re-collection รีค็อลเลค-ฌัน) ผลของการนึกหรือทวนระลึก จะปรากฏเป็นมโนภาพซ้ำของเดิมขึ้นในสมอง พร้อมๆติดอารมรณ์ชอบ ชัง หรือวางเฉยตามมาอีกด้วย มโนภาพที่เกิดจากการนึกหรือทวนระลึกนี้เราเรียกใหม่ว่า มโนภาพแห่งจินตนาการ (Idea of Imagination ไอดี-อะ อ็อฝ อิแมจิเน-ฌัน) มโนภาพแห่งจินตนาการนี้แหละจะเป็น ความรู้ (Knowledge นอล-เอ็จ) เฉพาะตัว ที่เรียกว่า ความรู้ของฉัน หรือ มโนภาพของฉัน (My Idea ไม ไอดี-อะ) นี่ดูจะตรงกับ วิญญาณธาตุ ในพุทธศาสนา
เมื่อเราใช้สื่อแทนมโนภาพแห่งจินตนาการ, อันเป็นปรากฏการณ์ของสมองดังกล่าวแล้วนั้น ด้วยสื่ออย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เสียง หรือสัญลักษณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง มโนภาพแห่งจินตนาการอันเป็นปรากฏการณ์ในสมอง ก็จะเปลี่ยนไปเป็นสื่อแห่งสสารวัตถุของความรู้ (Material of Knowledge มะ-เทีย-เรียล อ็อฝ นอล-เอ็จ) ที่ถูกบันทึกด้วยสสารภายนอกนั้นๆแทนความรู้หรือมโนภาพของอดีต มันจึงไม่สูญหายไปพร้อมกับความตายของเจ้าของมโนภาพ แต่กลับได้รับการถ่ายทอดแพร่หลายสืบต่อทอดมาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
มโนภาพแห่งความตรึงตราที่ไม่สนใจนั้นจะสูญไป หรือแม้สนใจแต่ถ้าสมองมีความ จำไม่ดี ก็จะพิมพ์ไว้เป็นความทรงจำในช่วงระยะเวลาสั้นๆ จะนึกเป็นมโนภาพแห่งจินตนาการขึ้นมาไม่ได้ มโนภาพแห่งจินตนาการที่เรียกว่า ความรู้ ก็จะไม่เกิดขึ้น
มโนภาพแห่งความตรึงตราที่มีความสนใจชอบ ชัง หรือวางเฉย ก็ดี หรือมโนภาพแห่งจินตนาการที่มีอารมณ์ชอบ,ชังหรือวางเฉยก็ดีจะนำไปสู่ การสังเกต (Observation ออบเสอะเฝ-ฌัน) และ พิจารณา (Discrimination ดิซครีมิเน-ฌัน) ต่อโลกภายนอกอันมี 3 ลักษณะนั้นต่อไป และจะนำไปสู่การเกิดความรู้ของมนุษย์ในขั้นทุติยภูมิ (The Secondary Occurrence of the Human Knowledge ฑิ เซค-อันเดริ อ็อคเคอ-เร็นซ อ็อฝ ฑิ ฮยู-แม็น นอล-เอ็จ)
เราจึงสรุปได้เป็นกฎว่าไม่มีมโนภาพแห่งความตรึงตราในสิ่งใดมาก่อนก็จะมีมโนภาพ แห่งจินตนาการในสิ่งนั้น กล่าวคือ เมื่อมิได้รับรู้และจดจำสิ่งหนึ่งสิ่งใดไว้ก่อนแล้ว ก็จะคิดสิ่งนั้นขึ้นมาไม่ได้
สถาบันแห่งการเรียนรู้ชีวิต สังคมและโลกด้วยปรัชญาวิทยาศาสตร์

5 แผนภูมิแสดงการเกิดความรู้ของมนุษยขั้นทุติยภูมิ
The Secondary Occurrence of the Human Knowledge










ความรู้ของมนุษย์ในขั้นปฐมภูมิที่ได้รับรู้โลกภายนอกอันเป็นสสาร ปรากฏการณ์ของสสาร ความเกี่ยวข้องของสสารกับปรากฏการณ์ หรือความเกี่ยวข้องระหว่างปรากฏการณ์กับปรากฏการณ์อันรวมเรียกว่าสรรพสิ่งและสรรพปรากฏการณ์ โดยทางอวัยวะรับสัมผัส และถูกบันทึกเป็นความทรงจำไว้ในสมองในรูปของมโนภาพแห่งจินตนาการนั้น
เมื่อนำมโนภาพเหล่านั้นมาประชุมเทียบเคียงกัน กล่าวคือ อาจเป็นการนำเอามโนภาพแห่งความตรึงตรา กับมโนภาพแห่งจินตนาการในสรรพสิ่งในสรรพปรากฏการณ์ หรืออาจเป็นมโนภาพแห่งความตรึงตรากับมโนภาพแห่งความตรึงตราด้วยกันมาเทียบเคียงกัน ก็จะปรากฏมโนภาพอีกมโนภาพหนึ่งเกิดแซกขึ้นระหว่างกลางมโนภาพทั้งสองนั้น มโนภาพที่สามนี้เอง ที่เราเรียกว่า ข้อคิด (Concept คอน-เซ็พท๎) อันหมายถึงมโนภาพของสิ่งที่เป็นกลางระหว่างสิ่งที่รับทราบสองสิ่งนั้นเอง
ตัวอย่างเช่นดังที่เราได้กล่าวมาแล้ว ถึงเรื่องแมวกับเสือ โดยเรามีความรู้ในขั้นปฐมภูมิ คือ การได้เห็นแมว แล้วพ่อแม่ได้สอนเราว่านั่นคือสัตว์เลี้ยงที่เรียกว่า แมว ทำให้เรารู้จักแมว แล้วเราจดจำไว้. ดังนั้นขณะที่เราเห็นเสือ, อันเป็นมโนภาพแห่งความตรึงตราในเสือรูปร่างอย่างกว้างๆของเสือก็ชวนให้เราคิดถึงแมว มโนภาพแห่งจินตนาการของแมวก็ปรากฏขึ้นมาเทียบเคียง, ในเวลาเดียวกันก็จะเกิดมโนภาพที่สามที่เรียกว่าข้อคิด (Concept คอน-เซ็พท๎) แซก ขึ้นระหว่างสองมโนภาพ คือข้อคิดในเรื่องความเหมือน (Likeness ไลค๎-เน็ซ) หรือ ความเป็นสิ่งเดียวกัน (Identity ไอ๊เด้นทิทิ่) เกิดขึ้นทันที แต่เมื่อเดินเข้าไปใกล้เสือ ข้อคิดเดิมจะเปลี่ยนไปเป็นข้อคิดในเรื่องความแตกต่าง (Difference ดีฟ-เฟอะเร็นซ๎) และความเป็นคนละสิ่ง(Non-Identity น็อนไอ๊เด้นทิทิ่) ในขนาดระหว่างเสือกับแมวก็ปรากฏขึ้น เราจึงรู้ว่าเสือไม่ใช่แมว
ด้วยการกระทำอย่างนี้ในสรรพสิ่งและสรรพปรากฏการณ์ต่างๆ ทำให้เราได้มาซึ่งความ รู้ในขั้นทุติยภูมิที่เรียกว่า การแยกประเภทของสรรพสิ่ง (Category แคท-อิโกริ)
ในส่วนปรากฏการณ์ของสสารอันหมายถึงการเคลื่อนไหว เกี่ยวข้อง และเปลี่ยนแปลงของสสารนั้น ในการสังเกตรับรู้สิ่งสองสิ่งพร้อมๆกัน มโนภาพที่แซกซ้อนกันอยู่ก็จะก่อให้เกิดมโนภาพอันที่ 3 ที่เรียกว่าข้อคิดอันเป็นมโนภาพที่เป็นกลางระหว่างสองมโนภาพนั้นขึ้นมาเหมือนกัน อาจเป็นข้อคิดที่เป็นเหตุเป็นผลกัน หรือข้อคิดแปรเปลี่ยนไปจากกันก็ได้
ข้อคิด (Concept คอน-เซ็พท๎) ดังกล่าวนี้จัดเป็นความรู้ขั้นทุติยภูมิ เป็นความรู้ที่มีคุณค่าอย่างมหาศาล เพราะทำให้เราสามารถถอดหลักออกจากภววิสัยที่เรียกว่า การอุปนัย (Induction อินดัค-ฌัน) นำมาสร้างเป็นความรู้เกี่ยวกับทฤษฎี (Theory ธี-โอะริ) หรือ กฎวิทยาศาสตร์ (Scientific Law ไซเอ็นทีฟ-อิค ลอ) ให้แก่โลกนั้นเอง

7 แผนภูมิการเกิดความรู้ของมนุษย์ขั้นตติยภูมิ
The Tertiary Occurrence of the Human Knowledge





1. การนึกคิดประเภทมโนภาพแห่งจินตนาการอุปนัย (Inductive Idea of Imagination อินดัค-ทิฝ ไอดี-อะ อ็อฝ อิแมจิเน-ฌัน) เป็นจินตนาการที่นำเอามโนภาพทั้งภาพหลายๆ มโนภาพมาเกี่ยวข้องกัน (Associate Idea of Imagination แอ็ซโซ-ฌิเอท ไอดี-อะ อ็อฝ อิแมจิเน-ฌัน) ฐานเป็นเหตุเป็นผลแก่กันและกัน หลักแห่งความเกี่ยวข้องที่เกิดจากการรวมมโนภาพนี้ก็คือความรู้ที่เราเรียกว่าสมมติฐาน (Hypothesis ไฮพอธ-อิซิซ) การนึกคิดหรือมโนภาพแห่งจินตนาการอุปนัยนี้ก็คือ การถอดหลักออกจากข้อเท็จจริงด้วยวิธี คิดเดา นั่นเอง โดยคิดเดาเอาว่า มีของจริงในโลกภายนอกเกี่ยวข้องเป็นเหตุเป็นผลเช่นเดียวกันกับเหตุผลที่ได้จาก มโนภาพที่นำมาเกี่ยวข้องกันในจินตนาการ ทำให้ได้ผลของการคิดเดาหรือสมมติฐานมา มโนภาพแห่งจินตนาการอุปนัย อันสร้างสมมติฐานให้แก่เรานี้ เกิดขึ้นด้วยวิธีที่เรานึกถึง มโนภาพคู่เหตุคู่ผลอันเป็นที่คุ้นเคยขึ้นมาเทียบกับมโนภาพเดี่ยวเฉพาะเหตุหรือผล ทำให้เราเก็งว่าน่าจะมีอีกมโนภาพหนึ่งที่เป็นผลหรือเหตุคู่กันอยู่ จึงนำมโนภาพทั้งสองนั้นมาเกี่ยวข้องเป็นคู่เหตุคู่ผลกันในมโนภาพหรือในความคิด แล้วก็มีมติเอาเองว่าตรงกับหลักแห่งความเกี่ยวข้องเป็นเหตุเป็นผลกันจริงๆทางภววิสัยหรือในโลกภายนอก
มโนภาพแห่งจินตนาการอุปนัย (Inductive Idea of Imagination อินดัค-ทิฝ ไอดี-อะ อ็อฝ อิแมจิเน-ฌัน) นี้ก็คล้ายกับการอุปนัยทางวิทยาศาสตร์นั่นเอง หากผิดกันที่เป็นการหาความจริงจากการคิด-จากจินตนาการ แต่การอุปนัยทางวิทยาศาสตร์เป็นการค้นหาความจริงจากการสังเกตภววิสัย อย่างไรก็ตามหลักแห่งความเกี่ยวข้องจากสมมติฐาน,ที่ได้จากการรวมมโนภาพเช่นนี้ หากได้รับการทดสอบแล้วเป็นความจริงตามที่คาดคิดไว้ หรือมีของจริงในโลกแทนมันอยู่ สมมติฐานดังกล่าวก็จะได้รับการเลื่อนขั้นเป็นทฤษฎีได้ และถ้านำมาทดสอบในห้องวิจัยแล้วยังปรากฏเป็นเหตุเป็นผลคงตัว ทฤษฎีนั้นก็ได้รับการเลื่อนขั้นเป็นกฎวิทยาศาสตร์ไปได้. แต่ส่วนใหญ่ของสมมติฐานหรือความเกี่ยวข้องที่ได้จากมโนภาพแห่งจินตนาการอุปนัยนี้มักเป็นเท็จ เพราะเมื่อนำไปทดสอบแล้วมักไม่มีความเป็นจริงในโลกภายนอกแทนมันอยู่ ทั้งนี้เพราะเราอาจจินตนาการได้หลายแบบหลายอย่างนั่นเอง วิทยาการอันสร้างขึ้นจากจินตนาการอุปนัยนี้จึงรังแต่จะนำไปสู่การหลงผิด (Self delusion เซ็ลฟ๎ ดิลยู-ฌัน) และติดอยู่ในวังวนของอวิชชา มันยากแก่การถอดถอนความเท็จไปสู่การมีปัญญา ได้, มันได้แก่ความคิดแบบจิตนิยม (Idealism ไอดี-แอะลิส'ม) ทั้งปวง เป็นต้นว่าปรัชญา จิตนิยม ศาสนาบางศาสนา การเมืองหรือเศรษฐศาสตร์ที่สอนว่าความคิดเปลี่ยนแปลงสังคมและเศรษฐกิจ และการแบ่งแยกประเภทแบบจิตนิยมเหล่านี้เป็นต้น.
สถาบันแห่งการเรียนรู้ชีวิต สังคมและโลกด้วยปรัชญาวิทยาศาสตร์ 9
2. การนึกคิดประเภทมโนภาพแห่งจินตนาการนิรนัย (Deductive Idea of Imagination ดิดัค-ทิฝ ไอดี-อะ อ็อฝ อิแมจิเน-ฌัน) มโนภาพแห่งจินตนาการนิรนัยนี้ เป็นวิธีคิดเพื่อค้นหาความเกี่ยวข้องอย่างใหม่ทางภววิสัย โดยคิดคืบด้วยเหตุหรือผลเทียบเคียงไปจากหลัก,ประเภทสมมติฐาน ทฤษฎี หรือกฎที่หาไว้แล้วจากจินตนาการอุปนัยนั่นเอง วิธีคิดก็คือ นึกมโนภาพของประเภท สมมติฐาน ทฤษฎีหรือกฎวิทยาศาสตร์ขึ้นก่อน ทีนี้ก็นึกถึงมโนภาพของสิ่งที่เป็นผลหรือเป็นเหตุ จากนี้ก็จะเกิดมโนภาพคู่, ที่เป็นเหตุหรือผลตามมา และนี่เป็นผลของ การคิดไปจากหลักอย่างนั้น เช่น เมื่อนึกถึงสัตว์ในสกุลแมว และนึกถึงภาพแมว เราก็จะได้ มโนภาพเสือหรือสิงโตตามมา หรือเมื่อนึกถึงมโนภาพแท่งโลหะที่ยาวขึ้นเมื่อมีอุณหภูมิสูงขึ้น เราก็จะได้มโนภาพของรางรถไฟยืดตัวเวลาถูกแดดหรือสีกับล้อรถไฟจนร้อน นี่คือ ผลของการคิดคืบไปจากหลักดังกล่าว. เมื่อเราคิดไปจากหลักแล้วก็จะเกิดการวินิจฉัยขึ้นว่าควรจะทำอย่างไรต่อไป การวินิจฉัย (Judgment จัจ-เม็นท๎) ชวนให้เกิด เจตจำนง (Will วิล) ที่จะกระทำการ ถัดไปการปฏิบัติจึงตามมาเป็นผลของความคิดในขั้นสุดท้าย จากการดูผลที่ได้จากการปฏิบัติ เราจะทดสอบได้ว่าประเภท ทฤษฎี และกฎที่เราค้นไว้นั้นใช้ได้หรือใช้ไม่ได้ไปในตัวด้วย หากปรากฏว่าใช้ได้, เราก็จะเกิดความสมหวังตามเจตจำนง หากใช้ไม่ได้เราก็ได้ละทิ้งประเภท ทฤษฎี หรือกฎดังกล่าว หรือคิดแก้ไขเสียใหม่ให้ถูกต้อง.
3. การนึกคิดประเภทมโนภาพแห่งจินตนาการสังขารนัย (Constitutive Idea Of Imagination ไอดี-อะ อ็อฝ อิแมจิเน-ฌัน) มโนภาพแห่งจินตนาการสังขารนัยนี้ ได้แก่การคิดรังสรรค์ หรือสร้างเนื้อหาของมโนภาพขึ้นมาใหม่ จากส่วนหรือเสี่ยงของมโนภาพเก่า ที่เคยได้รับมาทางอวัยวะรับสัมผัสก่อนแล้วนั่นเอง โดยให้มโนภาพใหม่นี้มีความเกี่ยวข้องกันในทางเนื้อหา (Content คอน-เท็นท๎) จินตนาการสังขารนัยนี้จึงรวมเอาไว้ซึ่งความคิดหรือจินตนาการ 2 ชนิด กระทำการซ้อนกันไปพร้อมๆกัน โดยจินตนาการชนิดแรกทำการจินตนาการเชิงวิเคราะห์ (Analytic Idea of Imagination แอนะลีท-อิค ไอดี-อะ อ็อฝ อิแมจิเน-ฌัน) คือ ฉีกแบ่งมโนภาพทั้งภาพออกเป็นส่วนๆ หรือเป็นเสี่ยงย่อยๆ จากนั้นจินตนาการชนิดที่สอง คือ จินตนาการเชิงสังเคราะห์ (Synthetic Idea of Imagination ซินเธท-อิค ไอดี-อะ อ็อฝ อิแมจิเน-ฌัน) ก็จะกระทำการสังเคราะห์, รวมส่วนหรือเสี่ยงย่อยของมโนภาพเหล่านั้นเข้าเป็นมโนภาพใหม่ มโนภาพเดียว โดยมีความเกี่ยวข้องกันในทางเนื้อหา เช่น การรังสรรค์มโนภาพของยักษ์ขึ้นจากชิ้นส่วนของคนหน้าดุ ผิวดำ ร่างใหญ่ กับเขี้ยวหมูป่า เป็นต้น หรือมโนภาพ ของนางเงือก ซึ่งสังขารนัยจากท่อนบนอันเปล่าเปลือยของหญิงงาม กับท่อนล่างของปลาเป็นต้น มโนภาพแห่งจินตนาการสังขารนัยนี้ทำให้เกิดสิ่งใหม่หรือชีวิตใหม่ทางจิต (Mental Life เมน-แท็ล ไลฟ๎) ขึ้นมา นี่, คืออำนาจที่ทางพุทธศาสนาเรียกว่า สังขาร นั่นเอง อำนาจในการรังสรรค์หรือสังขารนัยมโนภาพขึ้นใหม่ได้ด้วยวิธีดังกล่าวแล้วนี้ ได้ถูกเข้าใจอย่างผิดๆว่า จิตมีอำนาจรังสรรค์มโนภาพใหม่ขึ้นได้โดยสิ้นเชิงจากความว่างเปล่า (Void ฟอยด๎) จึงขอยืนยันอีกครั้งว่า สังขาร คือ อำนาจปรุงแต่งมโนภาพใหม่ขึ้นมาจากมโนภาพเก่า ที่เคยได้รับมาทางอวัยวะรับสัมผัสก่อนแล้วเท่านั้น ผลของการรังสรรค์นี้อาจมีได้ 2 ประการ คือเป็นไปได้กับเป็นไปไม่ได้ เช่น ยักษ์เป็นต้น ซึ่งยักษ์หน้าตาอย่างนี้เป็นไปไม่ได้ที่จะมีอยู่ในโลก ตัว ซฟิงซ๎ (Sphinx) ก็ดี หรือพระพิฆเณศร์ตังเป็นคนหัวเป็นช้างก็ดี หรือนางเงือก,หญิงที่มีท่อนล่างเป็นปลาก็ดี ล้วนเป็นจินตนาการสังขารนัย (Constitutive Idea Of Imagination ไอดี-อะ อ็อฝ อิแมจิเน-ฌัน) อันทำให้เกิดเป็นชีวิตใหม่ขึ้นในจิตของผู้สังขารนัยขึ้นจากมโนภาพปลีกย่อยที่มีอยู่จริงทั้งสิ้น แต่ผลของจินตนาการ นี้หาได้เกิดขึ้นตามธรรมมชาติจริงในโลกไม่ จริงอยู่,คนเราอาจสร้างหรือปั้นรูปให้เหมือนจินตนาการดังกล่าวได้ แต่นี่ก็มิได้หมายความว่ามันเกิด เองและมีอยู่จริงตามธรรมชาติ มันคงเป็นชีวิตทางจิต (Mental Life เมน -แท็ลไลฟ๎) ซึ่งถูกสร้างขึ้นจากจินตนาการสังขารนัยเท่านั้น จินตนาการประเภทนี้มีอิทธิพลอย่างมากต่อชนชาติที่ล้าหลังทางปัญญาวิทยาศาสตร์ และบั่นทอนความก้าวหน้าของชีวิตของเขา และสังคมของเขาอย่างมากมายมหาศาล จนบางชนเผ่าถึงกับสูญเผ่าพันธุ์ไปแล้วอย่างน่าเสียดาย.
จินตนาการสังขารนัยนี้ไม่ได้ช่วยให้เรารู้ความจริง แต่มันช่วยให้เรารังสรรค์ของกินของ ใช้ขึ้นได้อย่างหลากหลาย ในวิชาเคมี, เราใช้จินตนาการสังขารนัยนี้สร้างสารสังเคราะห์ขึ้นใช้ได้ บางทีก็สร้างสารสังเคราะห์หรือแม้แต่ธาตุใหม่ๆขึ้นมาได้ ซึ่งยังไม่เคยได้พบมาแต่ก่อน
ฉะนั้นเราจะต้องยอมรับว่า มโนภาพแห่งจินตนาการสังขารนัยอันดำเนินไปตามกฎ เกณฑ์ของวิทยาศาสตร์อาจสามารถรังสรรค์มโนภาพที่เป็นไปได้ขึ้นได้ ในการออกแบบเครื่องจักรกลต่างๆ อาคารแบบต่างๆจินตนาการสังขารนัยนี้ทำประโยชน์ให้แก่มนุษยชาติอย่างเห็นได้ชัด เพราะด้วยจินตนาการประเภทนี้เราจึงได้วัฒนธรรมสมัยใหม่มา เครื่องจักรกลต่างๆ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ของกินของใช้หลากหลาย อาคารบ้านเรือน เครื่องใช้สำนักงานและเครื่องเรือนที่มีคุณภาพยอดเยี่ยม ให้ทั้งประโยชน์และความงดงาม ช่วยให้สะดวกสบายนานัปการ รวมไปถึงยาบำรุงและรักษาโรคภัยไข้เจ็บในปัจจุบันนี้ แสดงให้เห็นชัดถึงการที่ จิตทำการสังขารนัย ด้วยวิธีวิเคราะห์และสังเคราะห์มโนภาพเก่าให้เป็น มโนภาพใหม่ และมโนภาพใหม่นี้, เป็นแบบแปลนแห่งการปฏิบัติให้เกิดของจริงขึ้นตามนั้น.
4. การนึกคิดประเภทมโนภาพแห่งจินตนาการสังขตนัย (Composite Idea of Imagination ค็อมพอส-อิท ไอดี-อะ อ็อฝ อิแมจิเน-ฌัน) เป็นจินตนาการที่นำเอามโนภาพเก่า,ทั้งมโนภาพมาปรุงแต่งแบบเรียงลำดับตามกาลหรือเรื่องราวให้ต่อเนื่องกันเป็นเรื่องทั้งเรื่องขึ้นใหม่ เป็นการล้อเลียนปรากฏการณ์ (Phenomena ฟินอม-อินะ) หรือเรื่องราว (Event อิเฝนท๎) ดังที่เคยพบเห็นมาแล้วนั่นเอง กล่าวคือเราคิดนำเอามโนภาพย่อยๆมาเรียงกันเข้าตามลำดับกาล ให้เกิดเป็นมโนภาพของเรื่องทั้งเรื่องขึ้น นี่,ได้แก่การประพันธ์ นวนิยาย วรรณคดี ร้อยกรอง ร้อยแก้ว และรวมไปถึงความฝันระหว่างที่เราหลับ การรังสรรค์แบบสังขตนัย,โดยสร้างเรื่องขึ้นทั้งเรื่องนี้เป็นการสร้างประวัติศาสตร์ขึ้นใหม่จากข้อเท็จจริงแห่งประวัติศาสตร์เก่า นี่,เป็นจินตนาการจากเรื่องจริงที่เกิดขึ้นแล้ว และใช้มากในการสืบสวนสอบสวนพิจารณาคดี วิจัยธรณีวิทยาส่วนประวัติศาสตร์ วิจัยพัฒนาการและวิวัฒนาการของชีวิต ฯลฯ แต่เราก็ไม่ควรจะลืมว่า เราอาจปั้นเรื่องเท็จขึ้นทั้งเรื่องก็ได้ ทั้งนี้เพราะเราอาจเพิ่มจินตนาการสังขารนัยเข้าไปโดยไม่รู้ตัว เช่นความฝันนั้นมักเป็นเรื่องที่ปั้นขึ้นตามความปรารถนาหรือความหวาดเกรงของเรา และก็คงเป็นดังในกรณีอื่นๆ เราจะรู้ว่าเรื่องที่จินตนาการขึ้นนั้นจะจริงหรือเท็จก็ด้วยการมองหาความจริงในนั้นว่ามีมากเพียงไรหรือไม่ และไม่มีทางทดสอบทางอื่นใดอีก
อนึ่ง, การเชื่อถือผู้ที่แจ้งเรื่องที่เขาจินตนาการขึ้นนั้น ย่อมไม่ใช่เครื่องพิสูจน์ทดสอบความจริงที่ใช้ได้เลย และแม้การดูความสมเหตุสมผลของเรื่องทางตรรกวิทยา ก็ไม่ใช่เครื่องทดสอบความจริง ความจริงที่ได้จากความประจักษ์ทางอวัยวะรับสัมผัสเท่านั้น จึงจะเป็นเครื่องทดสอบที่แท้ แต่การทดสอบในสิ่งเหล่านี้เรามักละเลยไม่สนใจ เพราะผู้แจ้งข้อเท็จจริงส่วนใหญ่เป็นผู้มีอาวุโสที่เรานับถือ หรือเป็นครูอาจารย์ที่เราเคารพรัก เราจึงเชื่อตามๆกันมาโดยไม่ใช้หลักกาลามสูตรเลย ผลก็คือ ความรู้อันเป็นเท็จ,ของโบราณสมัยจึงยังคงตกทอดมาถึงเรา ให้เราเชื่อว่าเป็นจริงเป็นสัจธรรมจนถึงปัจจุบัน และเสริมสร้างป้อมปราการที่แข็งแกร่งให้แก่ปรัชญาจิตนิยมดำรงอยู่จนถึงปัจจุบัน เพราะการกล่าวข้อเท็จจริง (Fact) นั้นที่แท้ก็คือ การกล่าว ความจริงที่ปรากฏ แต่อำพรางส่วนที่เป็นเท็จไว้ สานุศิษย์เอสเอ็มจะกล่าวแต่ความจริง (Reality) แต่ถ้าจะเสนอข้อเท็จจริง (Fact) ก็ต้องเสนอทั้งสองด้าน
หมายเหตุ มโนภาพแห่งจินตนาการสังขตนัย (Composite Idea of Imagination ค็อมพอส-อิท ไอดี-อะ อ็อฝ อิแมจิเน-ฌัน) หรือแม้จินตนาการสังขารนัย (Constitutive Idea of Imagination คอนสทิยู-ทิฝ ไอดี-อะ อ็อฝ อิแมจิเน-ฌัน) อันรวมไว้ซึ่งจินตนาการวิเคราะห์และสังเคราะห์ (Analytic and Synthetic Idea of Imagination, แอนะลีท-อิค แอนด ซินเธท-อิค ไอดี-อะ อ็อฝ อิแมจิเน-ฌัน) ตรงกับคำว่า จินตภาพ (Conception of Idea ค็อนเซพ-ฌัน อ็อฝ ไอดี-อะ) ด้วย

อภินันทนาการจาก สถาบัน (ปรัชญา) เอสเอ็ม
สถาบันแห่งการเรียนรู้ชีวิต สังคมและโลกด้วยปรัชญาวิทยาศาสตร์
โทร. 0-3420-0273 E-mail : winijchai@msn.com

แผนผังหายไปเพราะผมยังทำไม่เป็นครับ
ขอขอบคุณที่ได้รับอนุญาตจากอาจารย์วินิจฉัยฯ ให้เผยแพร่ได้




 

Create Date : 13 กรกฎาคม 2551
3 comments
Last Update : 13 กรกฎาคม 2551 10:54:07 น.
Counter : 1361 Pageviews.

 

สนใจมาก แต่สีไม่เหมาะกับสายตาผู้สูงอายุเลย อ่านสักพักก็ล้าแล้ว หน้านี้ภาพจะหาได้จากไหนคะ ขอบคุณค่ะ

 

โดย: อิ่ม IP: 124.121.245.9 3 พฤษภาคม 2552 21:01:49 น.  

 

ขอบคุณครับ

 

โดย: อ IP: 110.168.22.150 24 พฤษภาคม 2553 16:16:44 น.  

 

ค้น google มาเจอ เลยเข้ามาอ่านเก็บเกี่ยวความรู้ครับ

ถ้าใครอ่านตัวหนังสือแล้วมองเห็นยาก ให้คลิ๊กเมาส์ปุ่มซ้าย แล้วลากครอบตัวหนังสือน่ะครับ จะได้สีพื้นกับตัวอักษรที่ตัดกันชัดเจน

 

โดย: นกกินเปี้ยว 24 พฤศจิกายน 2553 16:59:47 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

 

ลุงกฤช
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]




อดีต : พ่อค้า ผู้รับเหมาก่อสร้าง

ปัจจุบัน : อาจารย์พิเศษสอนปรัชญาเป็นประจำแก่สถาบันของรัฐแห่งหนึ่ง สอนพิเศษนักศึกษาปริญญาตรีและโทมหาลัยมหิดล

คืนกำไรให้ชีวิตหลังจากการทำงานหนักมาเกือบตลอดชีวิต ขับรถไปฮันนี่มูนต่างจังหวัดบ้าง ไปสอนต่างจังหวัดบ้าง มีความสุขกับศรีภรรยาที่อยู่กันมาเกือบ 50 ปี
เธอดูแลเราเหมือนลูก เพราะลูกๆต่างก็มีครอบครัวแยกย้ายไปทำมาหากินกันดีๆทุกคนแล้ว เราเลยอยู่กันสามพ่อแม่ลูก(คนสุดท้อง)ซึงไม่ยอมมีผัว เพื่อดูแลพ่อแม่ กับหมาอีก 8 ตัว บางวันก็ไปสอนบ้าง บางวันก็เข้ามาในบล๊อกบ้างเพื่อเอางานที่เรียนรู้มา มาคืนให้แก่สังคม ดังที่เห็นๆกันแล้ว งานส่วนใหญ่ที่คัดลอกมาให้อ่านกันเป็นงานเขียนของท่านอาจารย์สมัคร บุราวาศ และทรรศนะส่วนตัว
อยากให้คนสนใจเรื่องปรัชญา เพราะตัวเองนั้นมีความสุขอยู่ได้ทุกวันนี้ก็เพราะมีปรัชญาชี้นำการดำเนินชีวิต มีความรู้ในการปฏิบัติทำมาหากิน ภายหลังหยุดชีวิตการทำมาหากินแล้วก็ยังมีสมบัติทีมากกว่าเบี้ยบำนาญของราชการ

แม้ไม่รวย แต่ก็ไม่จน จึงอยากให้เป็นตัวอย่างแก่คนรุ่นใหม่ที่ไม่มีทุนเข้ามหาลัยได้ดูเป็นแบบอย่างบ้าง เพราะชีวิตผมเริ่มต้นจากสูญ ไม่มีมรดกจากพ่อแม่

บทความซึ่งจะนำลงตอนละประมาณหนึ่งอาทิตย์ ถ้าใครไม่สนใจอ่านจะลบทิ้ง

บทความตอนใดที่ไม่มีผู้สนใจอ่าน(ไม่ให้ความเห็น)
จะลบออกเร็วกว่านั้น
อยากบอกอยากถามก็ขอให้เขียน เรามาแลกเปลี่ยนวิถีทรรศน์ของกันและกัน เพื่อเดินทางร่วมกันฉันท์สหาย
[Add ลุงกฤช's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com