โลกมีทางให้เดินเป็นพันพันทาง เราต่างใช้ปรัชญาแห่งชนชั้นของตน นำทางในการเดิน เราต่างเดินตาม ปรัชญาแห่งชนชั้นตน
 
กรกฏาคม 2553
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
3 กรกฏาคม 2553
 
 

ปรัชญาเจตนนิยมของนิตซ์เช่

ปรัชญาเจตนนิยมของนิตซ์เช่

25.8 จิตนิยมโต้สสารนิยมวิภาษวิธี
ขณะที่อภิชนกับประชาชนในเยอรมนีขัดแย้งกันนั้น ก็ปรากฏการขัดแย้งระหว่างทรรศนะของอภิชนกับประชาชนขึ้น เป็นการโต้แย้งระหว่างจิตนิยมกับสสารนิยม เมื่อสสารนิยมวิภาษวิธีเข้าข้างประชาชนและกรรมกร นัก
ปรัชญาจิตนิยมก็เข้าโต้สสารนิยมอีกโดยเข้าข้างอภิชน ข้อนี้เห็นได้ชัดในปรัชญาเจตนนิยมของนิตซ์เช่

25.8.1 เจตนนิยม (Voluntarism ฟอล-อันเทริส'ม) ของฟรีดริค วิลเฮล์ม นิตซ์เช่ (Friedric Wilhelm Nietzsche 1844-1900) ปรัชญาของโชเป็นเฮาเอ้อร์นั้นแม้จะมีแนวไปในทางสัมบูรณนิยมแบบสปิโนซ่าก็ตาม ก็ได้สร้างแนวความคิดไว้อีกสาขาหนึ่งเรียกว่าเจตนนิยม คือความแท้จริงอันติมะถูกถือเป็นจิตอันมีลักษณะเด่นทางเจตจำนง (Will วิล) เป็นเจตจำนงไม่ใช่ของตัวตนหนึ่งใดโดยเฉพาะ หากเป็นเจตจำนงทั่วไป (Will in General วิล อิน เจน-เออะแร็ล) เราจะเห็นได้ว่า สำหรับนักจิตนิยมธรรมดาแล้วความแท้จริงอันติมะแม้จะมีธรรมชาติเป็นพิชาน ก็ถูกเข้าใจว่าเป็นพิชานที่ฏิบัติการ ไปอย่างชอบด้วยเหตุผล (Rational Mind แรฌ-อะแน็ล ไมนด) นักจิตนิยมสามัญไม่ได้มองเจตจำนงของจิตเลย

นิตซ์เช่เป็นคนทุพพลภาพ โดยมีโรคปวดศีรษะอยู่เนืองนิจและเป็นโรคเส้นประสาทด้วย ปมด้อยซึ่งเกิดขึ้นผลักดันจิตใจให้หาทางออกเป็นความเข้มแข็งทางใจ,เขาจึงคิดปรัชญาอภิมนุษย์ (Superman Philosophy ซยู-เพอะ แม็น ฟิลอซ-โอะฟิ) ขึ้น นี่ดูจะตรงกับภาวะทางสังคมของเยอรมนี ซึ่งมีอุตสาหกรรมเติบใหญ่ตามหลังอังกฤษและฝรั่งเศสมา หากขาดดินแดนเมือง ขึ้นสำหรับเป็นแหล่งวัตถุดิบและตลาดสินค้า คนเยอรมันเกิดความปรารถนาจะขยายตัวและแสดงออกเป็นการแสวงความยิ่งใหญ่แสวงอำนาจ

ปรัชญาของนิตซ์เช่ จึงตรงกับความนึกคิดแต่โบราณกาลของอารยันคนเถื่อนที่เข้ามารุกรานคนเมืองตามลุ่มน้ำใหญ่ๆของโลก และเป็นเหตุสนับสนุนระบบจักรวรรดินิยมสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และระบบเผด็จการในเยอรมนีปรัชญาอภิมนุษย์นี้เป็นหลักส่งเสริมความเห็นแก่ตัวอย่างแรงอย่างหนึ่ง (Solipsism โซลิปซิส’ม)อันน่าจะถูกใจคนทั่วไปที่ใฝ่อำนาจเหนือเพื่อนมนุษย์

นิตซ์เช่พยายามผสมผสานความคิดของค้านต์, โชเป็นเฮาเอ้อร์และดาร์วินเข้าด้วยกัน เขาทำการอนุมานไปจากทฤษฎีความรู้ของค้านต์ว่า ไม่มีสิ่งใดเป็นความรู้จริงๆเลย คงมีแต่เรื่องสมมติขึ้นทั้งสิ้น ความจริงนั้นคนเราไม่ได้รับรู้มาแต่ไหนเลย หากถูกสร้างสรรค์หรือประดิษฐ์ขึ้น อย่างไรก็ตามความเชื่อมั่นหรือศรัทธาต่างๆเหล่านี้ไม่ได้เหมือนกันไปเสียหมด หากผิดแผกกัน อย่างเห็นได้ตรงที่อย่างหนึ่งมีประโยชน์ อีกอย่างหนึ่งไร้ประโยชน์ ไม่ใช่ผิดแผกกันในแง่ที่ว่าอย่างหนึ่งถูกหรืออีกอย่างหนึ่งผิด

เหมือนโชเป็นเฮาเอ้อร์, นิตซ์เช่ว่า,ความแท้จริงเป็นเจตจำนง แต่ไม่ใช่เจตจำนงที่จะมีชีวิตอยู่เฉย หากเป็นเจตจำนงใฝ่อำนาจ (Will to Power วิล ทู เพา-เออะ) เขาว่า ความรักในอำนาจ คือ ภูตพรายที่หลอกหลอนมนุษยชาติอยู่ เขามองโลกด้วยความเศร้าใจเหมือนโชเป็นเฮาเอ้อร์ แต่แทนที่จะหันมาแก้ไขข้อนี้ด้วยการสละกิเลสเช่นพุทธศาสนา กลับสอนยุยั่วให้คนเรามีชีวิตอย่างเสี่ยงอันตรายและตื่นเต้น ทั้งนี้เพื่อทำงานออกจากความโศกเศร้านั้น ชีวิตของคนเราเขาว่าเหมือนกับตัวละครกรีก ที่พระเอกพยายามแสดงความแกว่นกล้าให้เป็นที่ประจักษ์

การต่อสู้เพื่อความคงอยู่ของดาร์วิน ถูกตีความไปในแง่ที่ว่ามีประโยชน์ตรงที่ทำให้มนุษย์ที่เลิศไต่ขึ้นไปได้ถึงสุดยอดในชีวิต แล้วเขา,นิตซ์เช่ก็เฝ้ารอการมาสู่โลกของอภิมนุษย์ อันเป็นผลของความคงอยู่ของผู้ที่เหมาะสมที่สุด เขาว่าอภิมนุษย์ทั้งหลายจะมีลักษณะเลิศล้ำเหนือชนชาติมนุษย์ใดๆ ซึ่งมีอยู่ในขณะนี้ เสมือนคนเราในปัจจุบันมีความเลิศล้ำเหนือวานรฉะนั้น

ปรัชญาเจตนนิยมของนิตซ์เช่ดูทีจะได้ผล เพราะในพรรคชาติสังคมนิยมเยอรมนีต่อมาได้มีนักปรัชญาชื่อโรเซนบุช (Rosenbusch) ทำการตอบปัญหาของนิตซ์เช่ว่าอภิมนุษย์ คือคนป่าคอเคแฌ็ลหรืออารยันซึ่งในประวัติ ศาสตร์โบราณ ได้มาทำลายวัฒนธรรมของพวกผิวดำตามลุ่มน้ำใหญ่ๆของโลกและทอนพวกผิวดำลงอยู่ใต้อำนาจ แล้วกลายเป็นชนชั้นปกครองอยู่ในอิหร่าน อินเดีย อิตาลี กรีซ ฝรั่งเศสและเยอรมนี เราได้กล่าวถึงเรื่องนี้มาแล้วในตอนต้นของหนังสือเล่มนี้

ขั้นที่สามของปรัชญานิตซ์เช่ ได้แก่การเกิดระบบฟาสซิสต์ขึ้นในอิตาลีและเยอรมนี อภิชนในประเทศเหล่านี้มีเจตนาจะจัดระเบียบโลกเสียใหม่ ผู้นำของเขาคือมุสโซลินีและฮิตเล่อร์ ซึ่งบัดนี้แพ้สงครามและตายไปแล้วเพราะประชาชนที่ไม่ใช่อภิมนุษย์

ในวาระสุดท้ายของชีวิตนิตซ์เช่กลายเป็นบ้าไปและตายทั้งๆ บ้า!

จากวิชาปรัชญา สมัคร บุราวาศ




 

Create Date : 03 กรกฎาคม 2553
3 comments
Last Update : 4 กรกฎาคม 2553 22:56:21 น.
Counter : 1709 Pageviews.

 

 

โดย: หาแฟนตัวเป็นเกลียว 3 กรกฎาคม 2553 16:19:54 น.  

 

นิตซ์เช่ คือ ศาสดาผู้ล้มเหลว

แต่มีหลายอย่างของปรัชญาของนิตซ์เช่ ที่ผมชอบเป็นการส่วนตัว คือ เรื่อง อภิมนุษย์ เพียงแต่ในโลกแห่งความเป็นจริงในมวลหมู่มนุษยชาติ จะมีอภิมนุษย์ได้สักกี่คน เพียงแต่นิตซ์เช่ผิดพลาดที่เชื่อว่า คนทุกคนจะเป็นอภิมนุษย์ได้

เหมือนกับคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า คือ คนทุกคนสามารถที่จะไปสู่ พระนิพพานได้ แต่ท่านพุทธทาสได้เคยกล่าวว่า มนุษย์ส่วนมากจะวิ่งเลียบตามสายธารแห่งพระนิพพานเท่านั้นไม่สามารถที่จะว่ายข้ามไปยังอีกฝั่งหนึ่งของพระนิพพานได้ แต่ พระนิพพานก็ยังคงเป็นเป้าหมายสูงสุดของชาวพุทธ เช่นเดียวกับ อภิมนุษย์เป็นเป้าหมายสูงสุดของนิทเช่ หรือ เปล่า

เป็นความเห็นส่วนตัวของ Moonfleet การนำไปอ้างอิงโดยไม่ศึกษาให้ถ่องแท้อาจเป็นอันตรายได้

 

โดย: moonfleet 3 กรกฎาคม 2553 17:37:40 น.  

 

ความคิดเห็นที่ 3

จากที่ลุงกฤช ยกมาใน #2 ขออธิบาย เพื่อสะท้อนความเข้าใจ ..ว่า

นิตซ์เช่ อาจถือได้ว่า เป็นนักจิตนิยม เพราะ เจตจำนงแห่งอำนาจ คือ อัตลักษณ์ของจิต
และคงมีมากอย่างมีนัยยะ เฉพาะกับบุคคลที่ใฝ่คว้า อภิมนุษย์ แต่คงไม่ใช่ทุกคนที่มุ่งไปใน
ทิศทางนั้น เพราะ อันที่จริง ปชช.ส่วนใหญ่หาเป็นเช่นนั้นไม่


อย่างไรก็ตาม ผมประทับใจประโยคนี้...
"นิตซ์เช่ว่า,ความแท้จริงเป็นเจตจำนง แต่ไม่ใช่เจตจำนงที่จะมีชีวิตอยู่เฉย หากเป็นเจตจำนงใฝ่อำนาจ (Will to Power วิล ทู เพา-เออะ) เขาว่า ความรักในอำนาจ คือ ภูตพรายที่หลอกหลอนมนุษยชาติอยู่ เขามองโลกด้วยความเศร้าใจเหมือนโชเป็นเฮาเอ้อร์ แต่แทนที่จะหันมาแก้ไขข้อนี้ด้วยการสละกิเลสเช่นพุทธศาสนา กลับสอนยุยั่วให้คนเรามีชีวิตอย่างเสี่ยงอันตรายและตื่นเต้น ทั้งนี้เพื่อทำงานออกจากความโศกเศร้านั้น ชีวิตของคนเราเขาว่าเหมือนกับตัวละครกรีก ที่พระเอกพยายามแสดงความแกว่นกล้าให้เป็นที่ประจักษ์"
^
^
ผมขอตีความว่า..............

แม้เขาจะถือมั่นในจิต แต่กลับพบว่า มิใช่จิตที่เกียจคร้าน หรือถดถอย
หรือหนีห่างจากโลกที่เป็นจริง แต่นิตซ์เช่ สอนให้แสดงออก และมิใช่แสดงออกอย่างธรรมดา
แต่ "จงมีชีวิตอย่างเสี่ยงอันตรายและตื่นเต้น" ตรงนี้ มิอาจดำรงอยู่ได้ ถ้าไม่ได้มีโลกทัศน์เปิดรับ
ภววิสัยที่เป็นจริง เท่ากับว่า เขายอมรับโลกแห่งปรากฏการณ์ด้วย ซึ่งมีแนวโน้มว่า เขาน่าจะมอง
หรือยอมรับวัตถุหรือสสาร ในฐานะภาพสะท้อนของโลกของเจตจำนงเช่นกัน


ในพุทธฯ สอนให้ลด-เลิก-ละ...กิเลส อันเป็นพลังดิบของพฤกติกรรม
แต่นิตซ์เช่ สอนให้ทำตรงกันข้าม คือ ส่งเสริมให้กล้าแกร่งและแสดงออกอย่างห้าวหาญ
ในแง่นี้ เท่ากับ เขาได้สถาปนาตนเองเป็นนักอัตถิภาวะนิยมที่โดดเด่นคนหนึ่งเข้าให้แล้ว
นั่นคือ การดำรงอยู่ของบุคคล มิใช่แค่ตัวตนทางกายภาพเฉยๆ
แต่คือ การแสดงออกในทางหนึ่งทางใดให้ประจักษ์ต่อโลก ความเป็นบุคคลนั้นๆจึงจักสมบูรณ์
นัยยะคือ ปฏิกิริยาตอบสนองต่อโลกเชิงประจักษ์ จึงจักบ่งบอก ความเป็นมนุษย์ในตัวเรา

และสำหรับเขาแล้ว ชีวิตในความเสี่ยงหรืออันตราย คือ วิถีแห่งอภิมนุษย์

จากคุณ : dicky5
เขียนเมื่อ : 3 ก.ค. 53 18:08:24
ถูกใจ : jazz..a.a.minor







 

โดย: dicky5 (ลุงกฤช ) 4 กรกฎาคม 2553 23:02:10 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

 

ลุงกฤช
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 8 คน [?]




อดีต : พ่อค้า ผู้รับเหมาก่อสร้าง

ปัจจุบัน : อาจารย์พิเศษสอนปรัชญาเป็นประจำแก่สถาบันของรัฐแห่งหนึ่ง สอนพิเศษนักศึกษาปริญญาตรีและโทมหาลัยมหิดล

คืนกำไรให้ชีวิตหลังจากการทำงานหนักมาเกือบตลอดชีวิต ขับรถไปฮันนี่มูนต่างจังหวัดบ้าง ไปสอนต่างจังหวัดบ้าง มีความสุขกับศรีภรรยาที่อยู่กันมาเกือบ 50 ปี
เธอดูแลเราเหมือนลูก เพราะลูกๆต่างก็มีครอบครัวแยกย้ายไปทำมาหากินกันดีๆทุกคนแล้ว เราเลยอยู่กันสามพ่อแม่ลูก(คนสุดท้อง)ซึงไม่ยอมมีผัว เพื่อดูแลพ่อแม่ กับหมาอีก 8 ตัว บางวันก็ไปสอนบ้าง บางวันก็เข้ามาในบล๊อกบ้างเพื่อเอางานที่เรียนรู้มา มาคืนให้แก่สังคม ดังที่เห็นๆกันแล้ว งานส่วนใหญ่ที่คัดลอกมาให้อ่านกันเป็นงานเขียนของท่านอาจารย์สมัคร บุราวาศ และทรรศนะส่วนตัว
อยากให้คนสนใจเรื่องปรัชญา เพราะตัวเองนั้นมีความสุขอยู่ได้ทุกวันนี้ก็เพราะมีปรัชญาชี้นำการดำเนินชีวิต มีความรู้ในการปฏิบัติทำมาหากิน ภายหลังหยุดชีวิตการทำมาหากินแล้วก็ยังมีสมบัติทีมากกว่าเบี้ยบำนาญของราชการ

แม้ไม่รวย แต่ก็ไม่จน จึงอยากให้เป็นตัวอย่างแก่คนรุ่นใหม่ที่ไม่มีทุนเข้ามหาลัยได้ดูเป็นแบบอย่างบ้าง เพราะชีวิตผมเริ่มต้นจากสูญ ไม่มีมรดกจากพ่อแม่

บทความซึ่งจะนำลงตอนละประมาณหนึ่งอาทิตย์ ถ้าใครไม่สนใจอ่านจะลบทิ้ง

บทความตอนใดที่ไม่มีผู้สนใจอ่าน(ไม่ให้ความเห็น)
จะลบออกเร็วกว่านั้น
อยากบอกอยากถามก็ขอให้เขียน เรามาแลกเปลี่ยนวิถีทรรศน์ของกันและกัน เพื่อเดินทางร่วมกันฉันท์สหาย
[Add ลุงกฤช's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com