สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ

'ระวังปอดอักเสบหรือปอดบวม...ภัยเงียบที่ต้องรู้จัก'

เมื่ออากาศเปลี่ยนแปลงเริ่มเข้าสู่หน้าหนาว สิ่งที่มักตามมาคือโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ โดยเฉพาะไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ และปอดอักเสบหรือปอดบวม โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ทางกระทรวงสาธารณสุขได้ออกมาเตือนว่า ในช่วงฤดูหนาวนี้นอกจากการคุมเข้มการแพร่ระบาดซ้ำระลอก 2 ของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 แล้ว ต้องเพิ่มการเฝ้าระวังโรคปอดบวมเป็นพิเศษอีกด้วย เนื่องจากพบว่าในช่วงฤดูหนาวของทุก ๆ ปี จะพบการแพร่ระบาดของปอดบวมสูง และยังพบว่าปอดบวมเป็นโรคแทรกซ้อนสำคัญในผู้ป่วย โรคไข้หวัดใหญ่ 2009 ที่เป็นต้นเหตุสำคัญของการเสียชีวิตในผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 อีกด้วย

ข้อมูลจาก รศ.พลตรีหญิง พญ.ฤดีวิไล สามโกเศศ กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคติดเชื้อ รพ.พระมงกุฎเกล้า ระบุว่า โรคปอดบวม จัดเป็นปัญหาสาธารณสุขระดับโลกที่องค์การอนามัยโลก ออกแถลงการณ์เตือนให้ทุกประเทศเฝ้าระวัง โดยเฉพาะการแพร่ระบาดในเด็กเล็ก โดยจากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ระบุว่า ทุก ๆ 15 วินาที จะมีเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ขวบทั่วโลกเสียชีวิตด้วยโรคปอดบวม 1 คน หรือสูงถึง 2 ล้านคนต่อปี ซึ่งเป็นจำนวนมากกว่าเด็กที่เสียชีวิต จากโรคเอดส์ โรคมาลาเรีย และโรคหัด รวมกัน หรือคิดเป็นสัดส่วนมากถึงร้อยละ 20 ของเด็กเล็กที่เสียชีวิตทั่วโลกทั้งหมดในแต่ละปี

โดยพบว่าเด็กในทวีปเอเชียมีอัตราการแพร่ระบาดของปอดบวมสูงมาก จากข้อมูลล่าสุดขององค์การสหประชาชาติ (UN) เปิดเผยอัตราเสียชีวิตเด็กของเอเชียจากโรคปอดบวมสูงถึง 98 คนต่อชั่วโมง โดยกว่าร้อยละ 50 มีสาเหตุการตายจากโรคปอดบวมที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัส ซึ่งก่อให้เกิดการติดเชื้อรุนแรงที่ปอด ทำให้ระบบการหายใจล้มเหลว นอกจากนี้เชื้อดังกล่าวยังเป็นสาเหตุที่สำคัญของโรคติดเชื้อรุนแรงต่าง ๆ ได้แก่ กลุ่มโรคไอพีดี ซึ่งประกอบไปด้วย โรคติดเชื้อในกระแสเลือด โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ อีกด้วย

ดังนั้น องค์กรพันธมิตรปอดบวมโลกซึ่งเกิดจากการร่วมมือกันขององค์กรสุขภาพทั่วโลกกว่า 50 องค์กรจากทุกภูมิภาค จึงได้กำหนดให้มีการจัดกิจกรรม “วันปอดบวมโลก” (World Pneumonia Day) ขึ้นเป็นครั้งแรกในโลกใน วันที่ 2 พฤศจิกายน 2552 และนับจากนี้ไปกำหนดให้ทุก ๆ วันที่ 2 พฤศจิกายนของปีเป็น วันปอดบวมโลก โดยมีวัตถุประสงค์ในการผลักดันให้โรคปอดบวมเป็นประเด็นสุขภาพที่ทั่วโลกควรให้ความสำคัญ เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการ เร่งลดอุบัติการณ์การเสียชีวิตของเด็กเล็กจากโรคปอดบวมที่เกิดขึ้นทุก ๆ ปีอย่างเป็นรูปธรรมและ ต่อเนื่อง

ข้อมูลจาก รศ.พ.อ.หญิง ชลิดา เลาห พันธ์ ผู้อำนวยการกองกุมารเวชกรรม รพ.พระมงกุฎเกล้า ในงาน “รวมพลังเด็กไทย ไร้ ปอดบวม” ซึ่ง กองกุมารเวชกรรม โรงพยาบาล พระมงกุฎเกล้า ร่วมกับภาควิชากุมารเวชศาสตร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ได้จัดขึ้นเพื่อร่วมรณรงค์ป้องกันโรคปอดบวมในเด็ก เนื่องในวันปอดบวมโลกครั้งแรก ซึ่งตรงกับวันที่ 2 พฤศจิกายน 2552 ว่า โรคปอดบวมถือเป็นมฤตยูร้ายของเด็กเล็ก เพราะเป็นโรคที่ทำให้เด็กเล็กเสียชีวิตมากที่สุด ซึ่งปอดบวมเป็นโรคระบบทางเดินหายใจที่ระบาดในช่วงหน้าหนาว เกิดจากการอักเสบและติดเชื้อของเนื้อปอด รวมทั้งหลอดลม และถุงลม เมื่อมีการอักเสบของปอดจึงทำให้ความสามารถในการทำงานของอวัยวะเหล่านี้ลดลง ซึ่งในผู้ป่วยบางรายอาจรุนแรงจนเป็นสาเหตุทำให้ร่างกายเกิดภาวะขาดออกซิเจน หรือมีการ คั่งของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และมีโอกาสเสียชีวิตได้

โรคปอดบวมเกิดได้จากเชื้อหลายชนิด เช่น เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หรือทั้งเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรียร่วมกัน แต่ที่พบบ่อยที่สุด คือเชื้อไวรัส ซึ่งยังไม่มียาต้านไวรัส โรคจะหายได้จากการที่ร่างกายสามารถสร้างภูมิต้านทานมากำจัดเชื้อไวรัสได้เอง ส่วนที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียนั้น พบว่าโรคปอดอักเสบที่เกิดจากเชื้อนิวโมคอคคัสพบมากที่สุด เพราะเชื้อนิวโมคอคคัสเป็นเชื้อแบคทีเรียที่อาจพบอยู่ ในเยื่อบุโพรงจมูก ลำคอของ คนเรา เมื่อร่างกายอ่อนแอ หรือเยื่อบุดังกล่าวโดน ทำลาย เชื้อนิวโมคอคคัสก็จะหลุดเข้าสู่ร่างกาย นอกจากนี้อาจติดเชื้อได้จากการสัมผัสละอองของน้ำมูกน้ำลายของผู้ที่มีเชื้อซึ่งก่อให้เกิดโรคในระบบต่าง ๆ ที่สำคัญของร่างกาย เช่น โรคปอดอักเสบ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคติดเชื้อในกระแสเลือด โรคหูชั้นกลางอักเสบ (หูน้ำหนวก) หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจทำให้เชื้อลุกลามไปยังอวัยวะอื่น ๆ ที่สำคัญ ได้แก่ สมอง และกระแสเลือด เป็นต้น ทำให้มีโอกาสเสียชีวิตสูงขึ้น

อาการของโรคปอดบวมในเด็ก เช่น มีไข้ ไอ หายใจถี่และหอบ หายใจลำบากหรือมีเสียงดังวี๊ด ๆ หรือหายใจแรงจนซี่โครงบุ๋ม ถ้าพบว่าเด็กมีอาการ ไข้ ไอบ่อย หรือหายใจเร็ว (ในเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 1 ขวบ หายใจเร็วมากกว่า 50 ครั้งต่อนาที และในเด็กเล็กที่มากกว่า 1 ขวบ หายใจเร็วมากกว่า 40 ครั้งต่อนาที) ให้สงสัยว่า เด็กอาจเป็นโรคปอดอักเสบ ควรพาไปพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจยืนยันและการรักษาที่ถูกต้อง หากพ่อแม่นิ่งนอนใจ ปล่อยทิ้งไว้นานเด็กอาจ มีอาการหอบ หายใจลำบาก มีอาการรุนแรงมากขึ้นและอาจไม่ทันการ ซึ่งเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบจะเป็นกลุ่มเสี่ยงสูง เนื่องจากภูมิคุ้มกันยัง ไม่แข็งแรง

ดังนั้น การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยจึงเป็นสิ่งสำคัญ ด้วยการเลี้ยงดูเด็กให้มีสุขภาพแข็งแรง ให้ทารกดื่มนมแม่ รับประทานอาหาร ให้ครบ 5 หมู่ และสอนให้เด็กรู้จักรักษาสุข อนามัยเป็นประจำ โดยเฉพาะการล้างมืออย่างถูกวิธีเป็นประจำจะช่วยลดการติดเชื้อที่สัมผัสติดมากับมือได้ รวมทั้งการใส่หน้ากากอนามัย นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการพาเด็กเล็กไปในที่ชุมชนและสถานที่แออัดเป็นเวลานาน ๆ หรืออาจปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาเสริมภูมิคุ้มกันด้วยวัคซีน ซึ่งสามารถป้องกันโรคปอดบวมรุนแรงได้อีกทางหนึ่ง หน้าหนาวนี้คุณพ่อคุณแม่ต้องระวังดูแลสุขภาพลูกน้อยให้ดี




ขอบคุณข้อมูลจาก ดร.อภิสิทธิ์ ฉัตรทนานนท์
ประธานมูลนิธิคุณแม่คุณภาพ.
//www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=530&contentId=33303




 

Create Date : 24 พฤศจิกายน 2552
0 comments
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2552 9:17:53 น.
Counter : 892 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
24 พฤศจิกายน 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.