สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ
จำเป็นไหม ต้องกินยาทุกครั้งที่ไอ น้ำมูก หรือเจ็บคอ

ยาปฏิชีวนะ เป็นยารักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ยากลุ่มน้ำมีหลายชนิด เช่น เพนนิซิลลิน อะม็อกซิซิลลิน เดตร้าซัยคลิน อิริทโทรมัยซิน โคทรัยม็อกซาโซล ซัลฟา เป็นต้น ซึ่งแต่ละชนิดใช้รักษาแบคทีเรียต่างชนิดกัน

        ยาปฏิชีวนะต้องใช้เฉพาะเมื่อมีอาการเจ็บป่วยที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น ซึ่งยาปฏิชีวนะที่ใช้ก็ต้องตรงกับเชื้อที่เป็นสาเหตุไม่ใช่จะใช้ยาชนิดใดก็ได้

       
หลายคนเข้าใจผิด คิดว่าเมื่อเป็นหวัด มีอาการเจ็บคอ น้ำมูกไหล เสียงแหบ มีเสมหะต้องกินยาปฏิชีวนะซึ่งไม่ถูกต้อง เพราะอาการเหล่านี้เป็นอาการของโรคหวัดซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส ส่วนยาปฏิชีวนะใช้สำหรับฆ่าเชื้อแบคทีเรีย จึงใช้ไม่ได้ผลกับโรคหวัด

  
  โรคหวัดหายได้เอง โดยไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ  

         การรักษาโรคหวัด ควรรักษาตามอาการ เช่น

         - ถ้าเป็นไข้ ก็กินยาลดไข้ เช่น พาราเซตามอล หรือเช็ดตัวให้ไข้ลด
         - ถ้ามีน้ำมูกมาก อาจล้างรูจมูกด้วยน้ำสะอาด เพื่อให้จมูกโล่งขึ้น
         - ถ้าคัดจมูก อาจกินยาเพื่อบรรเทาอาการคัดจมูก
         - ถ้ามีอาการเจ็บคอ เสียงแหบหรือไอ ควรลดการใช้เสียง ดื่มน้ำอุ่น อาจกินยาฟ้าทะลายโจร เพื่อบรรเทาอาการเจ็บคอ หรืออมยามะแว้ง เพื่อให้ชุ่มคอ
         - หากไอมากอาจใช้ยากแก้ไอช่วยบรรเทาอาการสำคัญ คือ การรักษาร่างกาย (โดยเฉพาะลำคอ) ให้อบอุ่น พักผ่อนให้เพียงพอ จะช่วยให้หวัดหายได้เร็วขึ้น

        อาการเจ็บคอแบบไหนที่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ

       หากเจ็บคอมากและมีไข้สูง โดยไม่มีอาการหวัดหรือไอ มีจุดสีขาวที่ต่อมทอนซิล หรือคลำบริเวณขากรรไกรพบต่อมน้ำเหลืองโตกดเจ็บ ควรไปพบแพทย์ เพื่อรับการวินิจฉัยโรคและเชื้อที่เป็นสาเหตุ และรับการรักษาหรือยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมทั้งชนิด ขนาด และระยะเวลารักษา ไม่ควรหาซื้อยามากินเองเด็ดขาด
       เชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคเจ็บคอรักษาได้ง่ายด้วยยาปฏิชีวนะเบื้องต้นที่มีราคาถูก ซึ่งแพทย์หรือเภสัชกรจะเลือกใช้ยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์แคบและเจาะจงต่อเชื้อให้กับเพื่อป้องกันปัญหาเชื้อดื้อยา และลดอันตรายจากยาที่ออกฤทธิ์กว้าง

        ใช้ให้ถูก เมื่อจำเป็นต้องใช้ ... ยาปฏิชีวนะ

       - เมื่อจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร โดยกินยาให้ครบตามขนาดและตามกำหนดอย่างเคร่งครัด
      - อย่าแบ่งยาให้ผู้อื่น เพราะจะทำให้ทั้งเราและผู้อื่นกินไม่ครบตามขนาด
      - อย่าเก็บไว้กินครั้งต่อไป เพราะยาอาจหมดอายุ หรืออาจเป็นเชื้อชนิดอื่นที่ไม่สามารถใช้ยานี้รักษาได้
      - อย่าใช้ยาปฏิชีวนะ ตามที่คนอื่นแนะนำ เพราะเขาอาจหวังดีแต่เขาไม่มีความรู้เรื่องยาและโรคที่เราเป็น จึงอาจเป็นอันตรายกับเราได้

       
ยาปฏิชีวนะรักษาไม่ได้ทุกการอักเสบ

        การอักเสบ เป็นผลจากการที่ร่างกายมีปฏิกิริยาต่อสิ่งแปลกปลอมหรือสิ่งที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บต่อร่างกาย ก่อให้เกิดอาการปวด บวม แดง ร้อน และอาจมีไข้

               การอักเสบมีหลายสาเหตุ คือ
              1. การอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย
              2. การอักเสบจากการติดเชื้อไวรัส
              3. การอักเสบจากการไม่ติดเชื้อ เช่น กล้ามเนื้ออักเสบ ปวดข้อ ปวดกระดูก ปวดประจำเดือน หลอดลมอักเสบจากโรคภูมิแพ้

        การอักเสบส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ แต่ยาปฏิชีวนะเป็นยาที่ใช้รักษาอาการอักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น ไม่ได้รักษาอาการอักเสบจากเชื้อไวรัส ( เช่น หวัด ) หรือการอักเสบจากสาเหตุอื่นๆ

       
ดังนั้น การเรียก "ยาปฏิชีวนะ" ว่า "ยาแก้อักเสบ" จึงไม่ถูกต้อง เพราะทำให้เข้าใจผิดว่าทุกครั้งที่มีอาการอักเสบไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดก็ต้องใช้ยาปฏิชีวนะรักษา ซึ่งอันตรายมากเพราะอาการอักเสบที่เป็นอยู่ก็ไม่หาย แต่ยังเสี่ยงกับผลข้างเคียงของยา แพ้ยา และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น






ขอบคุณข้อมูลจาก
//www.thaiza.com/


Create Date : 04 ตุลาคม 2553
Last Update : 4 ตุลาคม 2553 8:45:05 น. 0 comments
Counter : 872 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2553
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
4 ตุลาคม 2553
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.