สวัสดีค่ะ ภาระหน้าที่ทำให้ต้องเดินทางไกลมาถึงบัวโนสไอเรส แต่ยังคิดถึงเพื่อนบล็อกทุกคนนะค่ะ

การนวดดีจริงหรือ ?

หลายครั้งเมื่อเกิดอาการปวด หลายคนมักลงเอยด้วยการนวด บางคนก็อาจสบายขึ้น แต่บางคนอาจเป็นหนักกว่าเดิม แท้จริงแล้วการนวดช่วยอะไรได้บ้าง จริงหรือไม่ที่การนวดช่วยรักษาโรคได้ ผศ.นพ. วิศาล คันธารัตนกุล อายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู จึงมาให้ความกระจ่าง

สบายกับหาย
     การจะเข้าใจประโยชน์ของการนวดอย่างแท้จริง สิ่งสำคัญต้องเข้าใจความหมายของสองคำสำคัญคือ สบายกับหายโรค สบายคือความรู้สึกผ่อนคลาย จากปวดก็หายปวด แต่ไม่ได้หมายความว่าโรคที่เป็นจะหายไป ส่วนการหายโรค คือโรคมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นจนกระทั่งหายเป็นปกติ ข้อดีของการนวดช่วยให้สบายขึ้นแน่นอน ซึ่งอาจไม่ได้ช่วยให้หายโรค แต่ช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตครึ่งซีก มีอาการขาเกร็ง พอนวดแล้วรู้สึกโล่งขึ้น แต่ไม่ได้ช่วยให้อัมพาตหายไป หรือผู้ป่วยอัมพาตที่เดินเกร็ง หลังจากนวดแล้ว รู้สึกคลาย อาจขยับร่างกายได้ดีขึ้น เพราะกล้ามเนื้อคลายตัว แต่อัมพาตก็ยังไม่หาย


การนวดที่ช่วยให้หายโรค
     
การนวดที่สามารถรักษาโรคส่วนใหญ่จะเป็นโรคที่สัมพันธ์กับกล้ามเนื้อ เช่น ออฟฟิศซินโดรม อันเกิดจากการนั่งในท่าทางไม่ถูกต้อง โรคความดันขึ้นที่มีสาเหตุจากกล้ามเนื้อเกร็ง เพราะการนวดช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัวลง ความดันจึงปรับลดลงมา หรืออาการปวดหัวจากกล้ามเนื้อดีขึ้น เป็นต้น

โรคที่การนวดไม่ได้ช่วยให้หายโรค
     
ขณะเดียวกันก็มีอีกหลายโรค ที่การนวดไม่ได้ช่วยให้หายโรค เช่น โรคมะเร็ง การนวดไม่ได้ช่วยให้ตัวโรคหาย แต่อาจส่งผลดีต่อการรักษา ยกตัวอย่างผู้ที่มีอาการปวดหัวจากมะเร็ง เพราะเกิดจากกล้ามเนื้อตึง พอไปนวดก็รู้สึกสบายขึ้น ส่งผลให้นอนหลับสบาย จากที่เคยนอนไม่หลับ พอพักผ่อนเพียงพอ ร่างกายก็มีภูมิคุ้มกันที่ดีขึ้น ส่งผลให้สุขภาพดีขึ้นและอารมณ์แจ่มใส ผู้ป่วยก็จะมีกำลังใจต่อสู้กับโรค กล่าวได้ว่าการนวดไม่ได้ขจัดเซลล์มะเร็งออกไป แต่ช่วยรักษาสมดุลของร่างกาย

ไมเกรนนวดแล้วหาย ?
     
เป็นความเข้าใจผิดอย่างมากว่าไมเกรน คืออาการปวดหัวข้างเดียว เพราะแท้จริงแล้วไมเกรนต้องมีอาการอย่างอื่นอีก ดังนั้นความเชื่อที่ว่าการนวดช่วยรักษาอาการไมเกรนโดยดูจากอาการปวดหัวที่หายไปหลังจากการนวดนั้น จึงเป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้องนัก เพราะหากเป็นไมเกรนจริงๆ การนวดจะไม่ช่วยรักษาโรค ส่วนที่เมื่อไปนวดแล้วอาการปวดหัวข้างเดียวดีขึ้น ส่วนใหญ่เกิดจากการปวดหัวข้างเดียวจากกล้ามเนื้อมากกว่า ไม่ได้สรุปว่าการนวดไม่ดี แต่ว่าไมเกรนจริงๆ ต้องอาศัยยาในการรักษาด้วย ไม่ใช่พึ่งการนวดเพียงอย่างเดียว

ผู้ที่ไปนวดควรรู้อะไรบ้าง
     
ปัจจุบันมีหมอนวดมากมาย บ้างก็มีคุณภาพ บ้างก็ไม่มี แล้วจะมีหลักเกณฑ์การแยกแยะระหว่างหมอนวดที่มีคุณภาพกับไม่มีอย่างไร แม้จะเป็นคำถามที่ตอบได้ยากมาก แต่ก็พอมีหลักเกณฑ์พิจารณากว้างๆ ดังนี้

     
1. หลังจากนวดแล้วต้องสบาย อาจยังไม่รู้สึกทันทีก็ได้ นวดเสร็จอาจปวดบ้าง แต่ต้องไม่ทิ้งระยะเวลานานเกิน 1 วันนับจากวันที่นวด ถ้าเกินควรเปลี่ยนหมอนวด เพราะแสดงว่าหมอนวดผู้นี้อาจลงน้ำหนักมือแรงเกินไป จนกระทั่งทำให้กล้ามเนื้อช้ำ

     
2. ผู้สูงอายุไม่ควรนวดท่าดัดตัว

     
3. ไม่ควรมีการกดเส้นเลือด คือท่ากดเฉพาะจุดแล้วปล่อย โดยเฉพาะตรงบ่าหรือขาหนีบ การทำเช่นนี้ส่งผลร้ายต่อร่างกายคือทำให้เส้นเลือดช้ำ จึงควรหลีกเลี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุ

     
4. ผู้ที่มีอาการปวดฉับพลันไม่ควรนวดแรง เพราะจะยิ่งทำให้กล้ามเนื้อช้ำ เช่น อาการปวดจากการเล่นกีฬาควรนวดในลักษณะผ่อนคลาย

นวดแล้วเจ็บนั้นดี ?

     ความเชื่อที่ว่าถ้าไปนวดต้องเจ็บจึงจะหาย อาจจะไม่ใช่ความเชื่อที่ถูกต้องเสมอไป คือระหว่างนวดอาจมีความรู้สึกเจ็บได้เพราะมีจุดที่กล้ามเนื้อมีปัญหาอยู่ แต่ถ้าลงน้ำหนักมือไม่เหมาะสม กดแรงเกินไปและกดย้ำๆ ก็จะทำให้เนื้อเยื่อช้ำได้แล้วเกิดการระบม ส่งผลให้ยิ่งปวดมากขึ้น ดังนั้นถ้านวดวันนี้แล้วพรุ่งนี้ไม่หาย แนะนำว่าควรเปลี่ยนหมอนวด

อาการไหล่ติดกับการนวด
     
หากมีอาการไหล่ติด พอไปนวดแล้วดีขึ้น นั่นแสดงว่าไม่ใช่อาการไหล่ติดจริงๆ อาจเป็นแค่อาการไหล่ฝืด ที่เกิดจากกล้ามเนื้อมีปัญหา เพราะหากเป็นไหล่ติดจริงๆ ต้องใช้ระยะเวลาหลายเดือนกว่าจะหาย เนื่องจากอาการไหล่ติดเกิดจากการบาดเจ็บของเอ็นรอบหัวไหล่ค่อยๆ อักเสบจนกระทั่งอักเสบมาก แล้วร่างกายก็ตอบสนองด้วยสร้างสารน้ำที่มีลักษณะเหมือนกาว ส่งผลให้ข้อต่อยึดติดกัน

กระดูกหักแล้วไปนวดเสี่ยง !
     
ส่วนการนวดเพื่อต่อกระดูกที่หักให้กลับสู่สภาพปกติ ขออธิบายว่าอวัยวะบางส่วนเมื่อหักแล้วร่างกายสามารถรักษาตัวเองได้ เช่น ข้อมือ การแพทย์แผนปัจจุบันมีความรู้ที่ชัดเจน โดยสามารถเอกซเรย์เห็นได้อย่างแม่นยำว่าจุดไหนหัก จึงสามารถรักษาได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดยการใส่เฝือก หากจะใช้การนวดแทนการรักษาแบบแผนปัจจุบัน หมอนวดผู้นั้นต้องเก่งและเชี่ยวชาญมากๆ เพราะไม่อย่างนั้นอาจนวดผิดจนไปถูกเส้นประสาท ซึ่งจะยิ่งทำให้อาการแย่ลงไปอีก และผู้ที่จะมีความเชี่ยวชาญระดับนั้นก็ค่อนข้างมีน้อย เพราะฉะนั้นทางเลือกที่ปลอดภัยที่สุดคือการไปรักษากับแพทย์ในโรงพยาบาล

ดูแลตัวเองไม่ต้องเสียเงินไปนวด
     
การนวดบ่อยๆ เท่าที่ต้องการก็สามารถทำได้ ขึ้นอยู่กับความสามารถในการจ่าย แต่มีวิธีแก้อาการปวดที่ดีกว่านั้น คือการกลับไปแก้ที่ต้นเหตุ นั่นก็คือการใช้อวัยวะต่างๆ ให้ถูกต้อง ยกตัวอย่างเช่น อาการปวดหลัง ที่เกิดจากการนั่งผิดท่า แทนที่จะไปนวดเมื่อปวด ก็เปลี่ยนเป็นการปรับท่านั่งให้ถูกต้อง บวกกับการออกกำลังกายด้วยวิธียืดเหยียด กล้ามเนื้อก็จะแข็งแรง ส่งผลให้อาการปวดลดน้อยลง การนวดแม้ช่วยให้สบายขึ้น แต่ถ้าไม่ปรับพฤติกรรม ก็ไม่หายขาด ต้องกลับไปนวดซ้ำๆ

      “การนวดเป็นศาสตร์ที่ช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ช่วยในภาวะโรคหลายโรค แต่ถ้านวดแล้วไม่สบายคุณก็ควรพิจารณาว่าจะนวดต่อไปไหม แต่ถ้านวดแล้วรู้สึกสบายก็ควรดูแลตัวเองด้วย โดยการใช้ร่างกายให้ถูกต้อง และบริหารร่างกาย ขนาดรถยนต์คุณยังดูแลอย่างดี แต่ทำไมร่างกายตัวเองคุณจึงจะไม่ดูแล” ผศ.นพ.วิศาล กล่าวทิ้งท้าย



ข้อมูลจาก

//www.healthtodaythailand.com/




 

Create Date : 29 มีนาคม 2555
0 comments
Last Update : 29 มีนาคม 2555 8:34:14 น.
Counter : 1721 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


kobnon
Location :
นนทบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 92 คน [?]




.
สาระน่ารู้ประจำวัน
1.โรคข้อสันหลังอักเสบติดยึด
2. บุหรี่ ทำนมยาน หูตึง
3. Upside down pineapple cake


music
Group Blog
 
<<
มีนาคม 2555
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
29 มีนาคม 2555
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add kobnon's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.