ศิลปะในแง่ของการเป็นอาหาร
วันนั้นผมคิดอะไรอยู่เพลินๆเรื่องของศิลปะแต่ก็ลืมไปแล้วว่าเรื่องอะไร อาจเป็นเพราะอิทธิผลที่เป็นควันหลงหลังจากที่ได้อ่าน The Lost Symbol จบลงไปได้ไม่นาน แต่บังเอิิญที่ผมดันเกิดความสงสัยขึ้นมาว่า ความหมายของศิลปะคืออะไร? คำจำกัดความของศิลปะแท้จริงคืออะไร? ผมก็เลยลองถามกูเกิ้ลดู ซึ่งก็พบคำตอบมากมายและคำตอบทั้งหลายเหล่านั้นอธิบายให้เห็นถึงความหมายของศิลปะในทิศทางเดียวกัน แต่ผมพบว่ามีอยู่คำตอบนึงซึ่งสะดุดใจให้เป็นประเด็นแง่คิดในมุมที่ว่า ศิลปะนั้นอาจเป็นอาหารอีกอย่างหนึ่งของมนุษย์ ผมเห็นด้วยกับคำกล่าวนี้และคิดว่าสามารถชี้จุดนี้ให้เห็นได้ด้วยมุมมองทางพุทธศาสตร์

แต่ต้องขออนุญาตไม่กล่าวถึงความหมายของศิลปะเนื่องจากสามารถพบคำตอบได้มากมายจากกูเกิ้ลอยู่แล้ว

ในพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงตรัสเรื่องอาหารไว้ว่ามีอยู่ 4 ประเพทได้แก่ อาหารทางกายที่รับประทานเข้าไป (กวฬิงการาหาร) อาหารทางสัมผัสที่ได้จากสัมผัสทางกาย (ผัสสาหาร) อาหารทางเจตจำนงค์ (มโนสัญญาเจตนาหาร) และอาหารทางวิญญาน (วิญญานาหาร) ซึ่งหมายถึงความรู้ ซึ่งโดยหน้าที่แล้ว อาหารเป็นสิ่งที่ทำให้เราตำรงความมีชีวิตอยู่ได้ เป็นสิ่งที่จะเชื่อมต่อสายแห่งชีวิตนี้ของเรา ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ชี้ให้เห็นว่าคนเราไม่ใช่แค่มีความต้องการอาหารทางด้านร่างกายเท่านั้น เนื่องจากมนุษย์นั้นมีประสาทสัมผัสอื่นๆที่มีนัยสำคัญต่อจิตใจและความรู้สึกจึงสามารถจัดเอาสิ่งที่ตอบสนองประสาทสัมผัสเหล่านั้นให้เป็นอาหารได้เช่นกัน โดยอาศัยโปรโตคอลง่ายๆที่ว่า ความหิวคือ request การรับรู้ความหิวและดำเนินการหาอาหารคือ acknowledge และการได้อาหารรับประทานคือ response ดังนั้นจะเห็นได้ว่า แม้ในแง่ของอารมณ์และความคิดที่ประกอบไปด้วยความต้องการและการตอบสนองอยู่เสมอเหล่านี้ ก็สามารถจัดให้เป็นเรื่องของอาหารได้

ตัวอย่างอันเป็นปกติมีอยู่ทั่วไป ที่สามารถเห็นตามได้ง่ายๆเช่น คนเรายังต้องการการถูกต้องสัมผัสกันทางกายเนื้อ เช่นลูกต้องต้องการสัมผัสจากอ้อมอกแม่ แม่ต้องการแสดงความรักและอาทรต่อลูกผ่านการโอบกอดและสัมผัสจากใบหน้า หรือการถ่ายทอดความรู้สึกอันอบอุ่นและสวยงามจากสัมผัสที่เกิดจากความรักระหว่างคู่รัก หรือแรงผลักดันทางความคิดที่ทำให้เราต้องการมีความรู้ในศาสตร์แขนงต่างๆ และหรือแม้แต่ความตั้งใจมั่นที่จะบรรลุผลในสิ่งที่ทำหรือจุดหมายที่หวังไว้ จะเห็นว่า สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่อาจจะยังไม่ได้เกิดขึ้นกับเรา หรือเกิดขึ้นกับเราแล้ว และหรือจบลงไปแล้ว แต่สิ่งเหล่านี้ก็ยังวนเวียนเข้ามาหาเราอยู่เสมอโดยเกิดจากความต้องการของเราเอง เป็นแรงผลักดันภายใน เปรียบเสมือนเป็นดังเช่นอาหารที่เราบริโภคเข้าไป เป็นสิ่งที่เมื่อเราบริโภคแล้วอิ่มได้ ย่อยได้ สลายได้ หรือแม้แต่อร่อย/ไม่อร่อยได้ และปรารถนาที่จะบริโภคซ้ำใหม่ได้ ดังนี้

ศึลปะเป็นคำตอบที่ดีที่อธิบายได้ว่าทำไมมนุษย์ถึงได้มีความพยายามสร้างสรรชิ้นงานขึ้นมาและอธิบายถึงคุณค่าความหมายซ่อนเร้นและสุนทรีย์รสที่มันมอบให้ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นรูปแบบหนึ่งของอาหารทางความรู้และอาหารทางเจตจำนงค์

ศิลปินได้บังเกิดแรงผลักดันภายใน มีความต้องการอยากบริโภคอาหารทางเจตจำนงค์ และถ่ายทอดความหมายผ่านทางผลงานศิลปะ ศิลปินต้องใช้เทคนิคในการสร้างสรรถ่ายทอดออกมา ศิลปินจึงมีแรงผลักดันอันเป็นอาหารให้เกิดความต้องการในการศึกษาเทคนิคเหล่านั้น เป็นการได้บริโภคอาหารทั้งทางด้านมโนสัญญาเจตนาหารและวิญญานาหาร รวมทั้งชิ้นงานที่ศิลปินเลือกสร้างสรรขึ้นนั้นอาจเป็นผลงานที่ศิลปินได้บริโภคผัสสาหารด้วยตนเองอีกด้วย

ส่วนทางด้านผู้ชมผลงานศิลปะนั้น แม้ไม่อาจได้เป็นผู้เข้าถึงแรงผลักดันภายในของศิลปินเหล่านั้น แต่ก็อาจมีแรงผลักดันภายในอย่างอื่นที่ตอบสนองต่อความหิวที่ไม่ใช่กวฬิงการาหาร เช่นความต้องการในการเสพสุนทรีย์รสจากผลงานศิลปะเหล่านั้น หรือแม้แต่ความพยายามเข้าถึงแรงผลักดันภายในของศิลปิน และความพยายามในการค้าหาความหมายแฝงเร้นในผลงานศิลปะเหล่านั้น

หากคำอธิบายที่ว่าการเสพสุนทรีย์รสของศิลปะนั้นไม่ทำให้ความหมายของศิลปะในแง่ที่เป็นอาหารกระจ่างชัด อาจแยกแยะให้เห็นได้ดังนี้เช่น ในการฟังผลงานทางตนตรีนั้น ผู้ฟังใช้โสตประสาท (หู) ในการรับฟัง และโสตตะวิญญานในการจับรู้ และความหมายรู้นั้นก็แจ้งในสัญญาของผู้ฟัง เมื่ออาหารทางเสียงนี้อร่อย (เวทนา) ก็เกิดความเพลินและการอยากบริโภคเพิ่ม (ตัณหา) และดำเนินเป็น loop ไปเช่นนี้จนกว่าจะอิ่ม ซึ่งบางครั้งผู้ฟังอาจเห็นว่า ยังอยากจะฟังต่ออยู่เลย เฉกเช่นเดียวกับการรับประทานอาหารอร่อย หากว่าดนตรีนั้นไม่ถูกใจผู้ฟัง โสตตะวิญญานจับรู้และเช็คกับสัญญาของผู้ฟังแล้วปรากฏว่าไม่อร่อย เวทนานี้ก็จะส่งผลเป็นเชิงปฏิเสธ (วิภวตัณหา) และอาจไม่บริโภคต่อหรืออาจจะแสวงหาอาหารที่อร่อยกว่ามาบริโภคต่อไป ในทำนองเดียวกัน การการทอดทัศนาผลงานภาพเขียนก็จะได้วงจรคล้ายๆกัน เพียงแต่เปลี่ยนเป็นตาจับคู่กับจักษุวิญญาน หรือการรับประทานกวฬิงการาหารก็เป็นลิ้นจับคู่กับชิวหาวิญญาน เป็นต้น

ออกจะเลยเถิดไปสักหน่อยแต่ก็อย่างที่ออกตัวไว้แล้วครับว่าเป็นการอธิบายในเชิงพุทธศาสตร์

อาศัยสิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ผมจึงใช้เป็นเหตุผลสนับสนุนเห็นด้วยกับคำกล่าวด้านบนว่าศิลปะนั้นอาจเป็นอาหารอีกอย่างของมนุษย์ครับ

ส่วนเหตุใดพระพุทธเจ้าตรัสเรื่องอาหาร๔ นั้นเป็นอีกเรื่องนึงครับ :)







Create Date : 13 กรกฎาคม 2553
Last Update : 13 กรกฎาคม 2553 17:25:19 น.
Counter : 1718 Pageviews.

4 comments
  
สวัสดียามเย็นทานข้าวให้อร่อยนะคะ ^^

โดย: หาแฟนตัวเป็นเกลียว วันที่: 13 กรกฎาคม 2553 เวลา:18:04:30 น.
  
สวัสดีค่ะต้องการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังถวายวัดน่ะค่ะวัดไหนสนใจหรืช่วยแนะนำวัด ทั่วราชอณาจักรค่ะกรุณาติดต่อ0870833448หือ0871266897คุณ สุภาพร แหยมศรีค่ะกราบขอบพระคุณค่ะ
โดย: PU IP: 124.120.115.80 วันที่: 14 กรกฎาคม 2553 เวลา:13:54:59 น.
  
อธิบายได้ทันสมัยและเข้าใจง่ายดีมากค่ะ ^^

สาธุ
โดย: Hobbit วันที่: 13 กันยายน 2553 เวลา:21:48:37 น.
  
แวะมาทักทายค่ะ
โดย: นาฬิกาสีชมพู วันที่: 14 ตุลาคม 2553 เวลา:11:46:06 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Karz
Location :
กรุงเทพฯ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 126 คน [?]





สงวนลิขสิทธิ์
กรกฏาคม 2553

 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31