ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
9 พฤศจิกายน 2552
 
All Blogs
 

เด็กพ่อแม่หย่าร้าง "เข้มแข็ง" ได้ พบ 4 ปัจจัยพลิกปมด้อยสู่โอกาส

เด็กพ่อแม่หย่าร้าง "เข้มแข็ง" ได้ พบ 4 ปัจจัยพลิกปมด้อยสู่โอกาส



ในมุมที่สังคมส่วนหนึ่งยังเข้าใจว่า การมีครอบครัวไม่สมบูรณ์ หรือครอบครัวที่หย่าร้างนั้นส่งผลกระทบต่อสังคมใหญ่ รวมถึงงานวิจัยในอดีตที่ระบุว่า เด็กที่มาจากครอบครัวหย่าร้างมีโอกาสเสี่ยงต่ออบายมุขต่าง ๆ สูง เนื่องจากเด็กได้รับความกระทบกระเทือนทางจิตใจ ว้าเหว่ ขาดที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยว ส่งผลให้เด็กจากครอบครัวที่พ่อแม่หย่าร้างบางส่วนมีพฤติกรรมประชดบุพการีในลักษณะต่าง ๆ จนมีการรณรงค์แนวทางสร้างครอบครัวอบอุ่น หรือวิธีสานสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัวเพื่อสกัดปัญหาการหย่าร้างออกมาอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ดี จะเห็นได้ว่า สถิติการหย่าร้างในประเทศไทยก็ไม่ได้ลดลงเลย โดยข้อมูลจากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยระบุว่า ในปี พ.ศ.2545 สถิติการหย่าร้างอยู่ที่ 59,735 ครั้ง และพุ่งขึ้นเป็น 86,982 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2547 จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2549 สถิติการหย่าร้างอยู่ที่ 91,155 ครั้ง

นั่นอาจชี้ให้เห็นถึง แนวทางของการรณรงค์แก้ไขว่าอาจไม่สอดคล้องกับสิ่งที่เกิดตามยุคสมัย ขณะเดียวกันก็เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า ปัจจุบันมีเด็กจากครอบครัวที่พ่อแม่หย่าร้างกันยืนอยู่บนสังคมจำนวนมาก และเด็กเหล่านี้กำลังโดนมุมมองของสังคมทำร้าย เนื่องจากแววตาที่สังคมมองไปยังเด็ก ๆ จากครอบครัวหย่าร้างก็ยังคงไม่ได้รับการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาให้เหมาะสมขึ้นแต่อย่างใด ยังคงเป็นการมองในแง่ลบว่าเด็กกลุ่มนี้มีโอกาสก่อปัญหาสังคมสูงนั่นเอง

"เมื่อพ่อแม่แยกทางกัน มุมมองที่ทุกคนรับรู้ก็คือ เด็กมีโอกาสกลายเป็นเด็กมีปัญหาสูง แต่ทุกวันนี้ อาจารย์เองก็สังเกตเห็นว่า มีนักศึกษาบางคนที่มาจากครอบครัวพ่อแม่หย่าร้าง แต่เขาก็สามารถประสบความสำเร็จได้ ดังนั้น จึงมองว่า เราน่าจะมีมุมมองใหม่ ๆ เอาไว้เป็นแนวทางให้กับเด็กพ่อแม่หย่าร้างที่กำลังจะมีมากขึ้นในอนาคตกลุ่มนี้บ้าง" อาจารย์ระวิวรรณ ธรณี อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ผู้ทำรายงานการวิจัยเรื่อง "พลวัตการปรับตัวและการดำรงตนของบุตรในครอบครัวที่พ่อแม่หย่าร้าง" ให้ความเห็น



อาจารย์ระวิวรรณ ธรณี



พบ 4 ปัจจัยดึงเด็กสู้

ทั้งนี้ จากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มเด็กที่ประสบความสำเร็จในชีวิตแม้จะมาจากครอบครัวที่ไม่สมบูรณ์จำนวน 30 คน อาจารย์ระวิวรรณเผยว่า ความสำเร็จที่เกิดขึ้นในเด็กกลุ่มนี้ เกิดจากการที่เด็กมีมุมมองเปลี่ยนไปต่อการหย่าร้างของพ่อแม่

"แน่นอนว่าผลกระทบที่เกิดกับเด็กจากการหย่าร้างของพ่อแม่ย่อมมีอยู่ ทั้งในเรื่องของร่างกาย เช่น

- ความเป็นอยู่ลำบากขึ้น โดยเฉพาะบุตรที่หย่าร้างแล้วอยู่กับแม่ เนื่องจากพ่อไม่มาส่งเสีย ดูแล ทำให้ภาระจึงตกไปที่แม่ ทำให้เด็กบางคนต้องทำงานไปด้วยและเรียนไปด้วยเพื่อแบ่งเบาภาระของแม่

- ผลกระทบทางด้านจิตใจ จากความเศร้าเสียใจ ทำให้บุคลิกภาพเปลี่ยนจากคนร่าเริงแจ่มใส เป็นคนเก็บตัว คิดมากสะสมจนเกิดปัญหาทางสุขภาพตามมา เช่น เป็นโรคกระเพาะ

- ผลกระทบทางการเรียน คือคือการไม่สนใจเรียน โดดเรียน เพื่อประชดและเรียกร้องความสนใจจากพ่อแม่ ทำให้ผลการเรียนลดลง รวมไปถึงการติดเพื่อนมากขึ้นและถูงชักจูงให้ไปดื่มเหล้า

จะเห็นได้ว่าช่วงเวลานั้นของชีวิตของเด็กที่พ่อแม่หย่าร้างจะเต็มไปด้วยความลำบากและความเจ็บปวด ทำให้เด็กเหล่านี้ถูกมองว่าเป็น “กลุ่มเสี่ยง” ต่อการเกิดพฤติกรรมเบี่ยงเบน

แต่ในขณะเดียวกัน จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ “กลุ่มเสี่ยง” เหล่านี้กลับเลือกที่จะพลิกวิกฤติของชีวิตให้เป็นโอกาส จากประสบการณ์ชีวิตที่ได้หล่อหลอมความเข้มแข็ง และความแข็งแกร่งในชีวิต ทำให้เด็กเหล่านี้เลือกที่จะไม่นำปมในครอบครัวมาเป็นปัญหาให้กับตนเอง เขาเลือกที่จะเผชิญกับปัญหา และทางออกให้กับชีวิตของตนเองในรูปแบบของ


1)การทำใจยอมรับความจริงที่เกิดขึ้น,
2)การเห็นคุณค่าในตัวเอง
3)การวางแผนและจัดการชีวิตของตนเอง
4)การสร้างพลังขับเคลื่อนในการดำเนินชีวิต

การยอมรับความจริงของเด็กเกิดขึ้นจากสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป และจากสถิติหย่าร้างที่พุ่งสูง ดังนั้น จึงไม่แปลกหากห้องเรียนของเด็กสมัยนี้จะมีลูกที่มาจากครอบครัวหย่าร้างแฝงอยู่มากมาย และนั่นทำให้เด็ก ๆ เลือกที่จะมองว่า การหย่าร้างเป็นเรื่องปกติของสังคม ตนเองไม่ได้แปลกแยกจากเพื่อน ๆ อีกทั้งเด็กยังมองว่า สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาของผู้ใหญ่ ไม่ใช่ปัญหาของตนเองอีกต่อไป

ส่วนในมุมของการเห็นคุณค่าในตัวเองนั้น อาจารย์ระวิวรรณกล่าวว่า หลังการหย่าร้าง เด็กได้กลายกำลังหลักและความคาดหวังให้กับคนครอบครัวที่เหลืออยู่ จากหน้าที่ความรับผิดชอบและเป็นความหวังเหล่านี้จึงมีส่วนยึดโยงใจให้เด็กรู้สึกว่าตนเองเป็นคนมีคุณค่า มีความหมายอย่างมาก และเกราะป้องกันให้เด็กไม่เลือกเดินทางผิดด้วย



กุลปรียา งิ้วทอง (ซ้าย) และกรรวี บุญเล็ก



"ปัจจัยที่สาม เรื่องการวางแผนชีวิต เราพบว่าเด็กกลุ่มนี้เป็นเด็กที่มีการวางแผนชีวิตตนเองได้ดี เพราะเด็กจะต้องทำงานเก็บเงินช่วยเหลือครอบครัว เขารู้ว่าชีวิตเขาขาดตัวช่วย เขาต้องวางแผนให้ตัวเอง ซึ่งทักษะนี้ทำให้เด็กแกร่งมากขึ้น อดทน รู้จักหาข้อมูลการเรียนการศึกษาในแนวทางที่ตนเองสนใจได้โดยไม่ต้องขอความช่วยเหลือผู้ปกครอง ส่วนข้อสุดท้ายที่เด็กสามารถนำประสบการณ์ดังกล่าวมาสร้างพลังขับเคลื่อนให้กับตนเองได้นั้น เราได้พบว่า เด็กกลุ่มนี้เขารู้สึกว่า เขาเลือกเกิดไม่ได้ แต่เขาเลือกที่จะเป็นได้ เขาได้เห็นบทเรียนในการดำเนินชีวิตของพ่อแม่ ดังนั้น หลายคนจึงมีความคิดเป็นผู้ใหญ่เกินวัย และมีความละเอียดถี่ถ้วนในการเลือกคู่ครอง เพราะเขาไม่ต้องการให้เหตุการณ์เดียวกันนั้นเกิดกับครอบครัวของตัวเองอีก" อาจารย์ระวิวรรณกล่าว

ปัญหาไม่ได้อยู่ที่คนรอบข้าง

กุลปรียา งิ้วทอง นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร หนึ่งในเด็กที่ประสบปัญหาครอบครัวแตกแยกเผยถึงประสบการณ์ที่ได้พบในวัยเด็กว่า การหย่าร้างแยกทางกันของพ่อแม่เกิดขึ้นตอนเด็ก และทำให้เธอต้องพบกับช่วงชีวิตที่ยากลำบากช่วงหนึ่งเลยทีเดียว เพราะต้องย้ายมาอาศัยอยู่กับตายาย ส่วนแม่ต้องไปหางานทำที่อื่น

"หนูเจอครอบครัวของคนแถวบ้านล้อเลียนว่าเป็นเด็กไม่มีพ่อมีแม่ โดนดูถูกว่าหนูคงเรียนไม่จบมาตลอด ตั้งแต่เด็ก ๆ ซึ่งหนูก็ไม่เข้าใจว่าทำไม แต่ก็ได้กำลังใจจากคุณตา ซึ่งท่านเป็นคนที่หนูรักมาก ตาบอกว่า ไม่หวังว่าหลานคนไหนจะเอาปริญญามาฝากตาได้นอกจากหนู ขอให้หนูตั้งใจเรียน หนูจึงยึดคำพูดของคุณตาไว้บอกกับตัวเองเสมอ ว่าเราต้องเรียนให้จบให้ได้"

กรรวี บุญเล็ก นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร อีกหนึ่งเด็กสาวที่ประสบชะตากรรมเดียวกันกับกุลปรียา เมื่อพ่อแยกทางกับแม่ตั้งแต่เด็ก ๆทำให้ตัวเธอเองต้องไปอาศัยอยู่กับญาติฝั่งแม่ตั้งแต่ยังเล็ก รวมถึงการหางานพิเศษทำเพื่อหารายได้มาจุนเจือครอบครัวและการเรียนของตนเองด้วย

อย่างไรก็ดี มุมมองของกรรวีต่อชีวิตของตัวเองกลับไม่มีคำว่าปัญหา "ถึงแม้ว่าหนูกับแม่จะเจอเหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ แต่หนูไม่ได้ต้องการที่จะเป็นปัญหาสังคม หนูยังอยากดูแลตัวเองได้ ยังต้องการมีความสุข ทุกวันนี้ หากหนูมีเวลาว่าง ก็จะหางานพิเศษทำ เพราะหนูยังจำวันที่หนูไม่มีได้ อีกทั้งการได้กลับมาอยู่ร่วมกันสองคนแม่ลูกก็ดีมากแล้วสำหรับหนู ถึงมันอาจดูเป็นความสุขเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ตาม อยากฝากถึงทุกคนที่กำลังเจอเหตุการณ์ดังกล่าวว่า ทุกอย่างมันอยู่ที่เรามอง ไม่ได้อยู่ที่คนรอบข้าง ดังนั้น ขอให้ทุกคนที่พบกับเหตุการณ์ดังกล่าวเลือกเดินบนทางที่ถูกต้องค่ะ"

ที่มา
//www.manager.co.th/Family/ViewNews.aspx?NewsID=9520000128600




 

Create Date : 09 พฤศจิกายน 2552
0 comments
Last Update : 9 พฤศจิกายน 2552 13:15:32 น.
Counter : 1432 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 


scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.