ดาวน์โหลดโปรแกรม ดูละครย้อนหลัง อ่านเรื่องราวของความรู้รอบตัว วิทยาศาสตร์ ท่องเที่ยว สุขภาพ อาหาร รถยนต์ต่างๆ ไม่ทิ้งเรื่องราวความบันเทิงและเรื่องส่วนตัวอีกด้วย
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
4 พฤศจิกายน 2553
 
All Blogs
 

แนะคุณแม่อย่าเพิ่งกินยาหยุดน้ำนม หวั่นสร้างกระดูกไม่สมบูรณ์


ฮอร์โมนโปรแลกตินเป็นปัจจัยสลายกระดูกคุณแม่ไปผลิตน้ำนม ขณะเดียวกันก็ช่วยให้คุณแม่ดูดซึมแคลเซียมได้ดีกว่าคนทั่วไป (เอ็มเอสเอ็นบีซี)


แม้ว่าคุณแม่ลูกอ่อนจะเสี่ยงต่อการสูญเสียมวลกระดูก เนื่องจาก “โปรแลคติน” ฮอร์โมนสลายกระดูกคุณแม่กลั่นเป็นน้ำนมให้ลูกน้อย แต่การกินยายับยั้งฮอร์โมนดังกล่าวอาจมีผลต่อกระบวนการฟื้นฟูกระดูก เพราะฮอร์โมนนี้ช่วยให้คุณแม่จะดูดซึมแคลเซียมได้มากกว่าคนทั่วไป

จากข้อมูลว่า ผู้ที่ได้รับยารักษาโรคจิตเวชหรือโรคมะเร็งนั้นจะหลั่งฮอร์โมนโปรแลคติน (prolactin) ในระดับสูงและพบด้วยว่ามีการสูญเสียมวลกระดูก เช่นเดียวกับคุณแม่ที่ให้นมลูกและมีระดับฮอร์โมนนี้สูงกว่าคนทั่วไป ซึ่งเป็นหลักฐานหนึ่งที่บ่งชี้ว่าฮอร์โมนดังกล่าวมีผลต่อสูญเสียมวลกระดูก

น.ส.ปาหนัน สุนทรศารทูล นักศึกษาปริญญาเอกภาควิชาสรีรวิทยา (หลักสูตรนานาชาติ) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงสนใจศึกษาผลของฮอร์โมนดังกล่าว ต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของกระดูกขณะแม่ให้นมลูก ซึ่งโปรแลคตินนี้มีความสำคัญต่อการผลิตน้ำนมโดยจะสลายมวลกระดูกของแม่แล้วเปลี่ยนเป็นน้ำนม และฮอร์โมนนันยังควบคุมการเปลี่ยนแปลงการหมุนเวียนของแคลเซียมในร่างกายอีกด้วย

“ปกติแม่จะสูญเสียแคลเซียมระหว่างท้องและให้นมลูก ซึ่งทำให้สูญเสียมวลกระดูกและเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน ซึ่งในสตรีบางคนที่เสี่ยงอาจเกิดภาวะกระดูกพรุนได้จากการให้นม แต่เกิดจากปัจจัยอะไร ฮอร์โมนอะไรซึ่งปัจจุบันเป็นที่ชัดเจนแล้วว่าเกิดจากฮอร์โมนโปรแลคติน” น.ส.ปาหนัน กล่าวกับทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์

ทั้งนี้ ฮอร์โมนโปรแลคตินมีผลดีต่อลูกเพราะจะสลายมวลกระดูกไปเป็นน้ำนม แต่ในคุณแม่บางรายที่ต้องการหยุดให้นมลูกจะได้รับยาโบรโมคริปติน (Bromocriptin) เพื่อยับยั้งฮอร์โมนนี้และหยุดการหลั่งน้ำนม แต่ น.ส.ปาหนัน ให้ความเห็นว่า คุณแม่ไม่ควรกินยาดังกล่าวซึ่งอาจจะไปรบกวนการหมุนแคลเซียมได้ เพราะแม้ฮอร์โมนจะสลายกระดูกหรือดึงแคลเซียมของคุณแม่ไป แต่ระหว่างที่ระดับฮอร์โมนนี้สูงขึ้นการดูดซึมแคลเซียมของคุณแม่ก็สูงกว่าคนทั่วไปเช่นกัน

“ถ้ากินยาอาจจะไปยับยั้งการฟื้นฟูของการกระดูกได้ ดังนั้น อย่าเพิ่งไปรบกวน ซึ่งสิ่งที่อยากจะแนะนำคือให้คุณแม่ดื่มนมก่อนให้นมลูกประมาณ 30 นาที ให้ลูกได้แคลเซียมจากนมแทน” น.ส.ปาหนันแนะ

อย่างไรกดี เธอยังไม่ได้ศึกษาผลจากการหยุดให้นมโดยตรง แต่หลังจากนี้เธอจะศึกษผลหลังจากให้แม่ได้รับแคลเซียมก่อนการให้นม ซึ่งจากการทดลองก่อนวิจัยพบว่า การได้รับแคลเซียมก่อนให้นมนั้นลดและยับยั้งการสูญเสียมวลกระดูกจากการให้นมได้ โดยทั้งการศึกษาผลของโปรแลกตินต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของกระดูกขณะแม่ให้นมลูก และการให้แม่รับแคลเซียมก่อนให้นมนั้นเป็นการศึกษาในหนูทดลอง

สำหรับการศึกษาผลของโปรแลกตินต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของกระดูกขณะแม่ให้นมลูกนั้น ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการ 3 ฉบับ คือ เจ ฟิสิออล ไซ (J Physiol Sci), แอม เจ ฟิสิออล เอ็นโดครินอล มิแท็บ (Am J Physiol Endocrinol Metab) และ ฮิสโตเคม เซลล์ บิออล (Histochem Cell Biol)


ที่มา
//www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9530000153931




 

Create Date : 04 พฤศจิกายน 2553
0 comments
Last Update : 4 พฤศจิกายน 2553 17:45:40 น.
Counter : 1173 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


scimovie
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 108 คน [?]




แหล่งรวบรวมความรู้ โปรแกรม เพลง หนัง เกมส์ วิทยาศาสตร์ ดูละคร เรื่องย่อ ภาพยนตร์ การเงิน และอื่นๆ อีกมากมาย สุดท้ายขอกำลังใจให้มีแรงอัพเดทตลอดๆ ครับ ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมเยียนกันครับ
Friends' blogs
[Add scimovie's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.